พบผลลัพธ์ทั้งหมด 156 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3323/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจของผู้จัดการบริษัทในการเป็นนายจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
จำเลยที่ 1 เป็นบริษัทจำกัดมีจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 เป็นกรรมการและจำเลยที่ 5 เป็นผู้จัดการ มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานได้และทำการแทนจำเลยที่ 1 ได้ จำเลยที่ 5 จึงเป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ทำงานแทนกรรมการของจำเลยที่ 1 ต้องถือว่าจำเลยที่ 5เป็นนายจ้างของโจทก์ทั้งยี่สิบสองตามคำนิยามคำว่า นายจ้างในข้อ 2 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3117/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งข้อหาผู้จัดการนิติบุคคล ไม่ถือเป็นการจับกุม จึงไม่มีสิทธิได้รับรางวัลตาม พ.ร.บ.บำเหน็จปราบปราม
โจทก์ฟ้องจำเลยในความผิดต่อ พ.ร.บ. ศุลกากรฯ คดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดให้ปรับจำเลยและให้จ่ายรางวัลร้อยละ 20 ของเงินค่าปรับแก่เจ้าหน้าที่ซึ่งจับกุม ดังนี้กรณีที่นิติบุคคลเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลยต้องดำเนินการตาม ป.วิ.อ.มาตรา 7 ซึ่งกำหนดให้ออกหมายเรียกผู้จัดการหรือผู้แทนอื่น ๆของนิติบุคคลนั้น ให้ไปยังพนักงานสอบสวนหรือศาลแล้วแต่กรณีถ้า ผู้จัดการหรือผู้แทนของนิติบุคคลนั้นไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกจะออกหมายจับมาก็ได้ แต่จะขังหรือปล่อยชั่วคราว ผู้จัดการหรือผู้แทนของนิติบุคคลนั้นไม่ได้ เพราะนิติบุคคลไม่อยู่ในสภาพที่จะให้จับกุมได้ คงให้ใช้วิธีออกหมายเรียกผู้จัดการ หรือผู้แทนของนิติบุคคลมาเพื่อการสอบสวนหรือพิจารณาแล้วแต่กรณีการที่ผู้ร้องที่ 1 ออกหมายเรียกกรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยมาแล้วแจ้งข้อหาว่าบริษัทจำเลยกระทำความผิด จึงไม่เป็นการจับกุมและผู้ร้องที่ 1 มิใช่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งจับกุมจำเลย ผู้ร้องที่ 1 จึงไม่มีสิทธิได้รับรางวัลตาม พ.ร.บ.ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำผิดฯ มาตรา 7 และ 8.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1014/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีแทนสมาคม: ต้องเป็นผู้จัดการหรือผู้แทนที่จดทะเบียนแล้ว
การเปลี่ยนตัวบุคคลซึ่งได้รับมอบหมายให้เป็นผู้จัดการสมาคมต้องแจ้งแก่นายทะเบียนเพื่อจดทะเบียนภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่ได้เปลี่ยนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1284 แม้โจทก์ที่ 2 ได้รับเลือกเป็นนายกสมาคมของโจทก์ที่ 1 แต่ก็ยังไม่ได้มีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงให้โจทก์ที่ 2 เป็นนายกสมาคมของโจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 2 จึงไม่ใช่ผู้จัดการหรือผู้แทนอื่น ๆ ของโจทก์ที่ 1 และแม้โจทก์ที่ 2 จะเป็นสมาชิกของโจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 2ก็ไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 2 ในฐานะสมาชิกสมาคมโจทก์ที่ 1 ไม่ใช่ผู้เสียหายในความผิดที่กระทำต่อสมาคมโจทก์ที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีในความผิด ดังกล่าวในนามของตนเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3196/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดเมื่อหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดถึงแก่ความตายและการรับทายาทเข้าเป็นหุ้นส่วน
โดยปกติเมื่อหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดตายห้างหุ้นส่วนจำกัดย่อมเลิกกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1055(5),1080 แต่หุ้นส่วนที่ยังอยู่อาจตกลงให้ห้างยังคงอยู่ต่อไป โดยรับทายาทของหุ้นส่วนที่ตายเข้ามาเป็นหุ้นส่วนแทนได้เมื่อปรากฏว่าหลังจาก บ.หุ้นส่วนผู้จัดการห้างโจทก์ถึงแก่ความตายในระหว่างการพิจารณา หุ้นส่วนอื่นได้รับ ช. ซึ่งเป็นทายาทผู้รับมรดกให้เข้าเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการแทน บ. ห้างโจทก์จึงคงอยู่ต่อมา และเมื่อศาลอนุญาตให้ ช. เข้าเป็นผู้แทนโจทก์แทนบ. แล้วห้างโจทก์จึงมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6726/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลายื่นฎีกา: เหตุผล 'ผู้จัดการเดินทางไปต่างประเทศ' ไม่ถือเป็นพฤติการณ์พิเศษ
การที่ผู้จัดการของโจทก์เดินทางไปต่างประเทศ โจทก์จึงไม่สามารถเบิกเงินค่าฤชาธรรมเนียมมาวางศาลพร้อมกับฎีกาได้ เป็นความผิดพลาดหรือความบกพร่องของโจทก์เอง มิใช่เป็นพฤติการณ์พิเศษซึ่งเกิดขึ้นโดยที่โจทก์ไม่อาจคาดคิดและทำให้โจทก์ไม่สามารถหาเงินค่าฤชาธรรมเนียมมาวางศาลได้ จึงไม่ถือว่าที่พฤติการณ์พิเศษที่จะขอให้ศาลสั่งขยายระยะเวลายื่นฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4715/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, หน้าที่ผู้จัดการ, ประมาทเลินเล่อ, สัญญาซื้อเชื่อ, อายุความ (การไม่ยกข้อต่อสู้)
คณะกรรมการสหกรณ์โจทก์มีมติให้ฟ้อง ส. เพียงคนเดียวและได้ลงชื่อในหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องในวันที่มีมตินั้น แต่หนังสือมอบอำนาจมิได้ระบุให้ฟ้องผู้หนึ่งผู้ใดโดยเฉพาะจึงเป็นการมอบอำนาจทั่วไป เมื่อต่อมาคณะกรรมการสหกรณ์โจทก์ได้มีมติให้ฟ้องจำเลยที่ 1 ด้วย ดังนี้ ผู้รับมอบอำนาจตามหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1
คณะกรรมการสหกรณ์โจทก์มีมติให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการจำเลยที่ 1 ได้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้จัดการของโจทก์ และโจทก์จ่ายเงินเดือนให้จำเลยที่ 1 ตลอดมาจนลาออกจากตำแหน่ง ดังนี้แม้สัญญาจ้างจำเลยที่ 1 จะมิได้ลงชื่อผู้มีอำนาจทำการแทนและประทับตราของโจทก์ตามข้อบังคับก็ตามการที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ปฏิบัติต่อกันดังกล่าว ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการของโจทก์ตลอดมาจนกระทั่งลาออก
การที่จำเลยที่ 1 ขายนมให้แก่ ส. โดยไม่มีหลักประกันใด ๆ ฝ่าฝืนมติของคณะกรรมการสหกรณ์โจทก์ เป็นเหตุให้ ส. ค้างชำระค่านมเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อในหน้าที่ของจำเลยที่ 1 จะอ้างเหตุว่าได้รับคำแนะนำจากสหกรณ์จังหวัด ฯลฯ ให้ขายนมแก่ ส. มาปัดความรับผิดไม่ได้
จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องระหว่างฎีกาว่า ได้ติดตามทวงหนี้สินจาก ส. และ ส. ได้ชำระแก่โจทก์เป็นเงิน 168,000 บาท หากเป็นความจริงจำเลยที่ 1 ย่อมขอให้โจทก์ลดจำนวนหนี้ดังกล่าวในชั้นบังคับคดีได้
จำเลยที่ 1 ไม่ได้ให้การต่อสู้เรื่องอายุความไว้ แม้จำเลยอื่นให้การต่อสู้ไว้ ก็เป็นเรื่องเฉพาะตัวของจำเลยเหล่านั้น หาทำให้จำเลยที่ 1 ได้รับประโยชน์ในเรื่องอายุความด้วยไม่ จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจยกเรื่องอายุความขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้
คณะกรรมการสหกรณ์โจทก์มีมติให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการจำเลยที่ 1 ได้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้จัดการของโจทก์ และโจทก์จ่ายเงินเดือนให้จำเลยที่ 1 ตลอดมาจนลาออกจากตำแหน่ง ดังนี้แม้สัญญาจ้างจำเลยที่ 1 จะมิได้ลงชื่อผู้มีอำนาจทำการแทนและประทับตราของโจทก์ตามข้อบังคับก็ตามการที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ปฏิบัติต่อกันดังกล่าว ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการของโจทก์ตลอดมาจนกระทั่งลาออก
การที่จำเลยที่ 1 ขายนมให้แก่ ส. โดยไม่มีหลักประกันใด ๆ ฝ่าฝืนมติของคณะกรรมการสหกรณ์โจทก์ เป็นเหตุให้ ส. ค้างชำระค่านมเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อในหน้าที่ของจำเลยที่ 1 จะอ้างเหตุว่าได้รับคำแนะนำจากสหกรณ์จังหวัด ฯลฯ ให้ขายนมแก่ ส. มาปัดความรับผิดไม่ได้
จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องระหว่างฎีกาว่า ได้ติดตามทวงหนี้สินจาก ส. และ ส. ได้ชำระแก่โจทก์เป็นเงิน 168,000 บาท หากเป็นความจริงจำเลยที่ 1 ย่อมขอให้โจทก์ลดจำนวนหนี้ดังกล่าวในชั้นบังคับคดีได้
จำเลยที่ 1 ไม่ได้ให้การต่อสู้เรื่องอายุความไว้ แม้จำเลยอื่นให้การต่อสู้ไว้ ก็เป็นเรื่องเฉพาะตัวของจำเลยเหล่านั้น หาทำให้จำเลยที่ 1 ได้รับประโยชน์ในเรื่องอายุความด้วยไม่ จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจยกเรื่องอายุความขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4715/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง-หน้าที่ผู้จัดการ-ประมาทเลินเล่อ-การปฏิบัติต่อกัน-อายุความ
คณะกรรมการสหกรณ์โจทก์มีมติให้ฟ้อง ส. เพียงคนเดียวและได้ลงชื่อในหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องในวันที่มีมตินั้น แต่หนังสือมอบอำนาจมิได้ระบุให้ฟ้องผู้หนึ่งผู้ใดโดยเฉพาะจึงเป็นการมอบอำนาจทั่วไป เมื่อต่อมาคณะกรรมการสหกรณ์โจทก์ได้มีมติให้ฟ้องจำเลยที่ 1 ด้วย ดังนี้ ผู้รับมอบอำนาจตามหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1
คณะกรรมการสหกรณ์โจทก์มีมติให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการจำเลยที่ 1 ได้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้จัดการของโจทก์ และโจทก์จ่ายเงินเดือนให้จำเลยที่ 1 ตลอดมาจนลาออกจากตำแหน่ง ดังนี้แม้สัญญาจ้างจำเลยที่ 1 จะมิได้ลงชื่อผู้มีอำนาจทำการแทนและประทับตราของโจทก์ตามข้อบังคับก็ตามการที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ปฏิบัติต่อกันดังกล่าว ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1เป็นผู้จัดการของโจทก์ตลอดมาจนกระทั่งลาออก
การที่จำเลยที่ 1 ขายนมให้แก่ ส. โดยไม่มีหลักประกันใด ๆฝ่าฝืนมติของคณะกรรมการสหกรณ์โจทก์ เป็นเหตุให้ ส. ค้างชำระค่านมเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อในหน้าที่ของจำเลยที่ 1จะอ้างเหตุว่าได้รับคำแนะนำจากสหกรณ์จังหวัด ฯลฯ ให้ขายนมแก่ ส. มาปัดความรับผิดไม่ได้
จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องระหว่างฎีกาว่า ได้ติดตามทวงหนี้สินจาก ส.และส. ได้ชำระแก่โจทก์เป็นเงิน 168,000 บาท หากเป็นความจริงจำเลยที่ 1 ย่อมขอให้โจทก์ลดจำนวนหนี้ดังกล่าวในชั้นบังคับคดีได้
จำเลยที่ 1 ไม่ได้ให้การต่อสู้เรื่องอายุความไว้ แม้จำเลยอื่นให้การต่อสู้ไว้ ก็เป็นเรื่องเฉพาะตัวของจำเลยเหล่านั้น หาทำให้จำเลยที่ 1 ได้รับประโยชน์ในเรื่องอายุความด้วยไม่ จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจยกเรื่องอายุความขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้.
คณะกรรมการสหกรณ์โจทก์มีมติให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการจำเลยที่ 1 ได้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้จัดการของโจทก์ และโจทก์จ่ายเงินเดือนให้จำเลยที่ 1 ตลอดมาจนลาออกจากตำแหน่ง ดังนี้แม้สัญญาจ้างจำเลยที่ 1 จะมิได้ลงชื่อผู้มีอำนาจทำการแทนและประทับตราของโจทก์ตามข้อบังคับก็ตามการที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ปฏิบัติต่อกันดังกล่าว ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1เป็นผู้จัดการของโจทก์ตลอดมาจนกระทั่งลาออก
การที่จำเลยที่ 1 ขายนมให้แก่ ส. โดยไม่มีหลักประกันใด ๆฝ่าฝืนมติของคณะกรรมการสหกรณ์โจทก์ เป็นเหตุให้ ส. ค้างชำระค่านมเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อในหน้าที่ของจำเลยที่ 1จะอ้างเหตุว่าได้รับคำแนะนำจากสหกรณ์จังหวัด ฯลฯ ให้ขายนมแก่ ส. มาปัดความรับผิดไม่ได้
จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องระหว่างฎีกาว่า ได้ติดตามทวงหนี้สินจาก ส.และส. ได้ชำระแก่โจทก์เป็นเงิน 168,000 บาท หากเป็นความจริงจำเลยที่ 1 ย่อมขอให้โจทก์ลดจำนวนหนี้ดังกล่าวในชั้นบังคับคดีได้
จำเลยที่ 1 ไม่ได้ให้การต่อสู้เรื่องอายุความไว้ แม้จำเลยอื่นให้การต่อสู้ไว้ ก็เป็นเรื่องเฉพาะตัวของจำเลยเหล่านั้น หาทำให้จำเลยที่ 1 ได้รับประโยชน์ในเรื่องอายุความด้วยไม่ จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจยกเรื่องอายุความขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3724/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้จัดการต่อความเสียหายจากพนักงานยักยอกสินค้า
การที่สินค้าของโจทก์ขาดหายไปนั้น แม้จะเป็นเพราะพนักงานของโจทก์ยักยอกเอาไป แต่ก็เป็นผลมาจากการปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการของโจทก์ ไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับของสหกรณ์โจทก์อย่างเคร่งครัดตามสมควร โดยมิได้จัดวางระเบียบเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ให้รัดกุมและมิได้ตรวจตรา ดู แล เจ้าหน้าที่ใต้ บังคับบัญชาให้ปฏิบัติงานโดยซื่อสัตย์ สุจริต ตลอดจนมิได้ตรวจสอบสินค้าของโจทก์โดยสม่ำเสมอ เป็นสาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้พนักงานของโจทก์ยักยอกสินค้าของโจทก์ไปอันเป็นการกระทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมาย ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 มีส่วนเป็นผู้กระทำละเมิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3724/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้จัดการต่อความเสียหายจากพฤติกรรมยักยอกของพนักงาน
การที่สินค้าของโจทก์ขาดหายไปนั้น แม้จะเป็นเพราะพนักงานของโจทก์ยักยอกเอาไป แต่ก็เป็นผลมาจากการปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการของโจทก์ ไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับของสหกรณ์โจทก์อย่างเคร่งครัดตามสมควร โดยมิได้จัดวางระเบียบเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ให้รัดกุมและมิได้ตรวจตราดูแลเจ้าหน้าที่ใต้บังคับบัญชาให้ปฏิบัติงานโดยซื่อสัตย์สุจริต ตลอดจนมิได้ตรวจสอบสินค้าของโจทก์โดยสม่ำเสมอ เป็นสาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้พนักงานของโจทก์ยักยอกสินค้าของโจทก์ไป อันเป็นการกระทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมาย ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 มีส่วนเป็นผู้กระทำละเมิดต่อโจทก์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3718/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำโดยประมาทเลินเล่อของผู้จัดการร้านทำให้สินค้าเสียหาย ผู้จัดการและผู้ค้ำประกันต้องรับผิดชอบ
เมื่อคดีเดิมซึ่งศาลสั่งริบเครื่องรับโทรทัศน์ของกลางเพราะเห็นว่าเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดถึงที่สุดโดยไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกา การที่ผู้ร้องมาร้องขอคืนเครื่องรับโทรทัศน์ของกลางจึงไม่มีข้อที่จะวินิจฉัยได้อีกว่า เครื่องรับโทรทัศน์ดังกล่าวเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในการเล่นการพนันหรือไม่ เมื่อฟังได้ว่าผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด ผู้ร้องจึงไม่อาจมาร้องขอคืนเครื่องรับโทรทัศน์ของกลางได้.