พบผลลัพธ์ทั้งหมด 56 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4170/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งการของผู้บังคับบัญชาและการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ กรณีรายงานเท็จทำให้ถูกสอบสวน
การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นสรรพากรจังหวัดสั่งให้จำเลยที่ 1ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษี 3 เสนอสำนวนการตรวจสอบภาษีอากรของห้าง จ.ต่อจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 1 ก็ปฏิบัติตาม โดยไม่ผ่านการตรวจพิจารณาของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ช่วยสรรพากรจังหวัด ตามคำสั่งและระเบียบปฏิบัติของทางราชการนั้น เป็นกรณีที่จำเลยที่2 ในฐานะผู้บังคับบัญชาย่อมมีอำนาจที่จะสั่งการใดให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติตามได้ เพื่อให้งานดำเนินไปโดยถูกต้องและรวดเร็วเกิดผลดีแก่ทางราชการทั้งนี้เพราะคำสั่งและระเบียบปฏิบัติต่าง ๆ ย่อมมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม ส่วนจำเลยที่ 1 นั้นเพิ่งจะเข้ารับราชการ ย่อมจะต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตามจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดในสำนักงาน ประกอบกับโจทก์และจำเลยที่ 1 ได้มีการโต้เถียงกันเกี่ยวกับการตรวจสอบภาษีอากรของห้างดังกล่าว การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่อาจฟังได้ว่ามีเจตนาเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์อันจะเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
ส่วนการที่จำเลยที่ 2 รายงานต่ออธิบดีกรมสรรพากรว่า โจทก์ได้มอบเงินแก่จำเลยที่ 2 เพื่อให้จำเลยที่ 2 ช่วยเหลือในการชำระภาษีอากรของห้าง จ. นั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าโจทก์มีพฤติการณ์ดังที่จำเลยที่ 2 รายงานโดยจำเลยที่ 2 ซึ่งมีเรื่องโกรธเคืองกับโจทก์เป็นส่วนตัวแกล้งรายงานดังกล่าวจนโจทก์ถูกตั้งกรรมการสอบสวนและให้ออกจากราชการไว้ก่อน จึงเป็นความผิดฐานเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และการบรรยายฟ้องในเรื่องแกล้งรายงานของจำเลยที่ 2 นี้ เป็นการบรรยายฟ้องอ้างว่าจำเลยที่ 2 ได้กระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ตามมาตรา 157 อีกกระทงหนึ่ง นอกเหนือจากข้อหาหมิ่นประมาทตามมาตรา 326 ซึ่งถึงที่สุดแล้ว จึงลงโทษจำเลยที่ 2 ตามมาตรา 157 ได้
เมื่อการกระทำของจำเลยก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์โจทก์ย่อมเป็นผู้เสียหายฟ้องจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ได้แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อนประกอบกับจำเลยที่ 2 รับราชการมานาน ทำคุณประโยชน์แก่ทางราชการจนได้รับแต่งตั้งให้เป็นสรรพากรจังหวัด กรณีจึงมีเหตุสมควรรอการลงโทษแก่จำเลยที่ 2.
ส่วนการที่จำเลยที่ 2 รายงานต่ออธิบดีกรมสรรพากรว่า โจทก์ได้มอบเงินแก่จำเลยที่ 2 เพื่อให้จำเลยที่ 2 ช่วยเหลือในการชำระภาษีอากรของห้าง จ. นั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าโจทก์มีพฤติการณ์ดังที่จำเลยที่ 2 รายงานโดยจำเลยที่ 2 ซึ่งมีเรื่องโกรธเคืองกับโจทก์เป็นส่วนตัวแกล้งรายงานดังกล่าวจนโจทก์ถูกตั้งกรรมการสอบสวนและให้ออกจากราชการไว้ก่อน จึงเป็นความผิดฐานเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และการบรรยายฟ้องในเรื่องแกล้งรายงานของจำเลยที่ 2 นี้ เป็นการบรรยายฟ้องอ้างว่าจำเลยที่ 2 ได้กระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ตามมาตรา 157 อีกกระทงหนึ่ง นอกเหนือจากข้อหาหมิ่นประมาทตามมาตรา 326 ซึ่งถึงที่สุดแล้ว จึงลงโทษจำเลยที่ 2 ตามมาตรา 157 ได้
เมื่อการกระทำของจำเลยก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์โจทก์ย่อมเป็นผู้เสียหายฟ้องจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ได้แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อนประกอบกับจำเลยที่ 2 รับราชการมานาน ทำคุณประโยชน์แก่ทางราชการจนได้รับแต่งตั้งให้เป็นสรรพากรจังหวัด กรณีจึงมีเหตุสมควรรอการลงโทษแก่จำเลยที่ 2.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1920/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดของผู้รักษากฎหมายต่อผู้บังคับบัญชาด้วยสาเหตุเล็กน้อย ไม่เข้าข่ายความข่มเหงร้ายแรง
ผู้ตายสั่งลงโทษกักยามจำเลยฐานละทิ้งหน้าที่ ซึ่งเป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่โดยชอบ จำเลยไม่พอใจ ต่อว่า ท้าทาย และใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย ดังนี้ถือไม่ได้ว่าจำเลยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรง ด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม
จำเลยรับสารภาพเพราะจำนนต่อพยานหลักฐาน คำรับสารภาพของจำเลยจึงไม่เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา ประกอบกับจำเลยเป็นผู้รักษากฎหมายทำการอุกอาจโหดเหี้ยมอำมหิตไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายบ้านเมืองและเป็นการกระทำต่อผู้บังคับบัญชาด้วยสาเหตุเพียงเล็กน้อย พฤติการณ์แห่งคดีไม่มีเหตุสมควรลดโทษให้แก่จำเลย.(ที่มา-ส่งเสริม)
จำเลยรับสารภาพเพราะจำนนต่อพยานหลักฐาน คำรับสารภาพของจำเลยจึงไม่เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา ประกอบกับจำเลยเป็นผู้รักษากฎหมายทำการอุกอาจโหดเหี้ยมอำมหิตไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายบ้านเมืองและเป็นการกระทำต่อผู้บังคับบัญชาด้วยสาเหตุเพียงเล็กน้อย พฤติการณ์แห่งคดีไม่มีเหตุสมควรลดโทษให้แก่จำเลย.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1720/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฆ่าผู้บังคับบัญชาในหน้าที่ราชการด้วยปืน ไม่เข้าเหตุบันดาลโทสะ ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
ผู้ตายสั่งลงโทษจำเลยผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาเพราะจำเลยละทิ้งหน้าที่จำเลยไม่พอใจพูดต่อว่าและท้าทายผู้ตายให้ตั้งกรรมการสอบสวน ผู้ตายตอบว่าตั้งก็ตั้งแล้วหยิบกระดาษกับปากกาขึ้นมา จำเลยไม่พอใจ ชักปืนยิงผู้ตาย ผู้ตายมิได้แสดงกิริยาหรือกระทำการใด ๆ ในลักษณะข่มเหงจำเลย ที่ผู้ตายสั่งลงโทษจำเลยเป็นการกระทำตามหน้าที่โดยชอบ และโทษที่ลงก็เป็นโทษสถานเบาที่สุดแล้ว จำเลยจะอ้างว่ากระทำโดยบันดาลโทสะโดยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมหาได้ไม่
เหตุเกิดในเวลาและสถานที่ราชการ มีพยานรู้เป็นในขณะเกิดเหตุแม้จำเลยจะไม่ให้การรับสารภาพ พยานหลักฐานโจทก์ก็มั่นคงพอลงโทษจำเลยได้ตามฟ้อง จำเลยรับสารภาพก็เพราะจำนนต่อพยานหลักฐาน จึงไม่เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา จำเลยกระทำการอุกอาจ ไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายบ้านเมือง ทั้ง ๆ ที่จำเลยเป็นผู้มีหน้าที่รักษากฎหมาย และเป็นการกระทำต่อผู้บังคับบัญชาด้วยสาเหตุเพียงเล็กน้อย แสดงให้เห็นถึงจิตใจเหี้ยมอำมหิตของจำเลยพฤติการณ์แห่งคดีไม่มีเหตุสมควรลดโทษให้จำเลย.
เหตุเกิดในเวลาและสถานที่ราชการ มีพยานรู้เป็นในขณะเกิดเหตุแม้จำเลยจะไม่ให้การรับสารภาพ พยานหลักฐานโจทก์ก็มั่นคงพอลงโทษจำเลยได้ตามฟ้อง จำเลยรับสารภาพก็เพราะจำนนต่อพยานหลักฐาน จึงไม่เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา จำเลยกระทำการอุกอาจ ไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายบ้านเมือง ทั้ง ๆ ที่จำเลยเป็นผู้มีหน้าที่รักษากฎหมาย และเป็นการกระทำต่อผู้บังคับบัญชาด้วยสาเหตุเพียงเล็กน้อย แสดงให้เห็นถึงจิตใจเหี้ยมอำมหิตของจำเลยพฤติการณ์แห่งคดีไม่มีเหตุสมควรลดโทษให้จำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2467/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้บังคับบัญชาต่อการทุจริตของลูกน้อง และการคำนวณค่าเสียหายที่ต้องรับผิดชอบ
คำฟ้องเรียกค่าเสียหายในคดีละเมิดได้บรรยายค่าเสียหายไว้ตามบัญชีที่ 1 กับรายการโฆษณาตามบัญชีที่ 3 ท้ายฟ้อง มีชื่อผู้เช่าและระบุวันเดือนปีที่ออกรายการ รวมทั้งเงินค่าเช่าและจำนวนเงินที่ค้างชำระไว้ด้วย ซึ่งก็ชัดแจ้งเพียงพอที่จำเลยที่ 3 จะเข้าใจและต่อสู้คดีได้แล้ว ส่วนรายละเอียดอื่นกับหลักฐานอันเป็นที่มาของรายการดังกล่าวเป็นเรื่องที่โจทก์จะนำสืบในชั้นพิจารณาคดี คำฟ้องโจทก์ในส่วนนี้จึงไม่เคลือบคลุม
ตามระเบียบกระทรวงการคลัง ได้กำหนดให้ผู้บังคับบัญชาเข้มงวดกวดขันการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีให้เป็นไปตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ หากละเลยไม่ปฏิบัติตามก็ให้พิจารณาความรับผิดทางแพ่งและพิจารณาโทษทางวินัยด้วย จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นข้าราชการของโจทก์ ในตำแหน่งรับผิดชอบควบคุมบังคับบัญชาการปฏิบัติงานของจำเลยที่ 1 แต่ปล่อยปละละเลยไม่เอาใจใส่ควบคุมดูแลและตรวจสอบการปฏิบัติงานของจำเลยที่ 1 ตามระเบียบของกระทรวงการคลังจนจำเลยที่ 1 ทำละเมิดและก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ การกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ 3 เข้าลักษณะประมาทเลินเล่อและมีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ด้วย จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงต้องร่วมรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นระหว่างช่วงเวลาที่แต่ละคนเป็นผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 1 โดยถือว่าจำเลยทั้งสองก็มีส่วนทำละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420
ตามระเบียบกระทรวงการคลัง ได้กำหนดให้ผู้บังคับบัญชาเข้มงวดกวดขันการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีให้เป็นไปตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ หากละเลยไม่ปฏิบัติตามก็ให้พิจารณาความรับผิดทางแพ่งและพิจารณาโทษทางวินัยด้วย จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นข้าราชการของโจทก์ ในตำแหน่งรับผิดชอบควบคุมบังคับบัญชาการปฏิบัติงานของจำเลยที่ 1 แต่ปล่อยปละละเลยไม่เอาใจใส่ควบคุมดูแลและตรวจสอบการปฏิบัติงานของจำเลยที่ 1 ตามระเบียบของกระทรวงการคลังจนจำเลยที่ 1 ทำละเมิดและก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ การกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ 3 เข้าลักษณะประมาทเลินเล่อและมีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ด้วย จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงต้องร่วมรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นระหว่างช่วงเวลาที่แต่ละคนเป็นผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 1 โดยถือว่าจำเลยทั้งสองก็มีส่วนทำละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3820/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม แม้ใช้ภาษาพูดในรายงานต่อผู้บังคับบัญชา หากมิขัดต่อข้อบังคับและไม่ทำให้เกิดความเสียหายโดยตรง
การที่โจทก์ทำรายงานประจำวันเสนอต่อจำเลยด้วยถ้อยคำที่เป็น ภาษาพูดตามธรรมดาของชาวบ้านโดยมิได้ใช้ภาษาหนังสือที่ควรจะใช้ แต่ข้อความในรายงานนั้นเป็นเรื่องคล้ายกับการเสนอแนะให้จำเลยปรับปรุงวิธีการทำงานของจำเลยให้รัดกุมและรวดเร็วซึ่งนับว่าจะก่อให้เกิดผลดีแก่จำเลย การกระทำของโจทก์ดังกล่าวไม่ปรากฏว่าเป็นการกระทำผิดต่อข้อบังคับของจำเลยอันพึงต้องถูกลงโทษทางวินัยและจำเลยก็มิได้รับความเสียหายจากการกระทำของโจทก์โดยตรง ผลที่อาจจะมีหรือเกิดขึ้นก็เป็นเพียงความไม่สบายใจของผู้ร่วมปฏิบัติงานหรือผู้บังคับบัญชาของโจทก์เท่านั้น การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุนี้จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
โจทก์ฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมเป็นเงินจำนวนหนึ่ง กับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าอีกจำนวนหนึ่งการที่ศาลแรงงานกลางกำหนดประเด็นข้อพิพาทในปัญหาข้อนี้โดยใช้ถ้อยคำว่า ค่าเสียหายเท่าใด โดยมิได้ใช้ถ้อยคำว่าค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจำนวนเท่าใดโดยเฉพาะเจาะจงเช่นนี้ กรณีจึงต้องหมายความรวมถึงค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมกับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้านั้นด้วยอยู่ในตัว ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ด้วยนั้นจึงไม่เป็นการพิพากษานอกเหนือไปจากประเด็นข้อพิพาท
โจทก์ฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมเป็นเงินจำนวนหนึ่ง กับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าอีกจำนวนหนึ่งการที่ศาลแรงงานกลางกำหนดประเด็นข้อพิพาทในปัญหาข้อนี้โดยใช้ถ้อยคำว่า ค่าเสียหายเท่าใด โดยมิได้ใช้ถ้อยคำว่าค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจำนวนเท่าใดโดยเฉพาะเจาะจงเช่นนี้ กรณีจึงต้องหมายความรวมถึงค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมกับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้านั้นด้วยอยู่ในตัว ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ด้วยนั้นจึงไม่เป็นการพิพากษานอกเหนือไปจากประเด็นข้อพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1818/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การข่มขู่ผู้บังคับบัญชาเพื่อหลีกเลี่ยงการลงโทษทางวินัยถือเป็นการประพฤติชั่วร้ายแรง และการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
ลูกจ้างขออนุญาตผู้บังคับบัญชาออกนอกสถานที่ตั้งแต่เวลา 9 น.ถึง 11 น. แต่กลับมาถึงที่ทำงานเวลา 14 น. ผู้บังคับบัญชาสั่งให้ลูกจ้างยื่นใบลาครึ่งวัน เพราะการขออนุญาตออกนอกสถานที่ได้จะต้องไม่เกิน2 ชั่วโมงครึ่ง ลูกจ้างไม่พอใจจึงเขียนใบลาและเขียนข้อความในเอกสารใส่ซองวางไว้ที่โต๊ะผู้บังคับบัญชาโดยเจตนาให้ผู้บังคับบัญชายอมตกลงกับตนเรื่องไม่ต้องยื่นใบลา ในเอกสารดังกล่าวมีข้อความว่าลูกจ้างอาจเปิดเผยความไม่ดีของผู้บังคับบัญชาในทำนองทุจริตเกี่ยวกับอาคารพาณิชย์ การกระทำของลูกจ้างดังกล่าวมีลักษณะเป็นการข่มขู่ให้ผู้บังคับบัญชาเกิดความกลัวยอมตกลงกระทำในสิ่งที่ผิดระเบียบ มิใช่เป็นการใช้สิทธิตามปกตินิยม เพราะลูกจ้างเจตนาที่จะใช้เหตุดังกล่าวเป็น ข้อต่อรองกับผู้บังคับบัญชาให้กระทำในสิ่งที่ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของนายจ้างเพื่อประโยชน์ของลูกจ้างแต่เพียง อย่างเดียว ไม่เป็นการสมควรที่ผู้ใต้บังคับบัญชาจะพึงกระทำ ต่อผู้บังคับบัญชาเช่นนั้น ทั้งการข่มขู่ให้ผู้บังคับบัญชากระทำในสิ่งผิดระเบียบข้อบังคับของนายจ้างอาจเป็นเหตุก่อ ให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ผู้เป็นนายจ้างได้ การกระทำของลูกจ้างจึงได้ชื่อว่าเป็นการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง ซึ่งตามข้อบังคับของนายจ้างมีโทษถึงขั้นไล่ออก เป็นการ กระทำที่ฝ่าฝืน ระเบียบข้อบังคับของนายจ้างกรณีร้ายแรงตาม พระราชบัญญัติ แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 123(3)นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างได้ถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำโดยไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 740/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความละเมิดเริ่มนับเมื่อผู้บังคับบัญชาของนิติบุคคลทราบความเสียหาย การเสนอเรื่องตามลำดับขั้นไม่กระทบอายุความ
เมื่อมีการกระทำละเมิดต่อโจทก์เกิดขึ้น จะมีการเสนอเรื่องขึ้นไปตามลำดับขั้นหากตกลงกันได้ก็ไม่ต้องเสนอต่อไป หากตกลงกันไม่ได้จึงจะต้องเสนอถึงผู้ว่าการโจทก์ คดีนี้ผู้ว่าการโจทก์เพิ่งได้รับรายงานเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2522 โจทก์เป็นนิติบุคคลมีผู้ว่าการเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบเป็นผู้แทนนิติบุคคล เมื่อยังไม่ทราบความผิดตามที่รายงานมาตามลำดับ อายุความละเมิด 1 ปียังไม่เริ่มนับ โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2523 ไม่เกิน 1 ปีคดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3546/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้บังคับบัญชาต่อการทุจริตของลูกน้อง: ละเมิด-สัญญา
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 4 และที่ 6 ในฐานะเป็นผู้บังคับบัญชาของนายกิตติได้ประมาทเลินเล่อต่อการปฏิบัติงานตามหน้าที่ ไม่ปฏิบัติตามระเบียบและคำสั่งที่โจทก์วางไว้ ละเลยไม่ควบคุมดูแลตรวจสอบการเก็บเงิน รับเงินและส่งเงินของนายกิตติผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาจนเป็นเหตุให้นายกิตติทุจริตเบียดบังเงินค่าน้ำประปาและค่ามาตราวัดน้ำจำนวน 815,985.08 บาทของโจทก์ไปเป็นประโยชน์ต่อส่วนตัว เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ ทั้งผิดสัญญาจ้างและสัญญาตัวแทนเป็นที่เสียหายแก่โจทก์ ดังนี้เป็นคำบรรยายฟ้องที่ชัดแจ้งถึงสภาพแห่งข้อหา และข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว ส่วนรายละเอียดเกี่ยวกับที่นายกิตติเบียดบังอย่างไร จำเลยที่ 4 และที่ 6 ประมาทเลินเล่ออย่างไร โจทก์นำสืบได้ในชั้นพิจารณา
จำเลยที่ 4 และที่ 6 ปล่อยปละละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบของโจทก์ ทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทุจริตเบียดบังเอาเงินค่าน้ำประปาของโจทก์ไป เป็นการประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติงานตามหน้าที่เป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์และต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์เท่าที่โจทก์เสียหายไป
ระเบียบของสำนักนายกรัฐมนตรีที่ได้กำหนดตัวผู้บังคับบัญชาที่จะต้องรับผิดร่วมกับผู้ใต้บังคับบัญชาในกรณีที่มีการทุจริตทำให้เสียหายมิใช่กฎหมาย ดังนั้น จะถือว่าผู้บังคับบัญชาเหนือชั้นขึ้นไปกระทำละเมิดต่อโจทก์โดยเด็ดขาดเสมอไปมิได้ การกระทำใด ๆจะเป็นละเมิดหรือไม่ต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 420
บรรยายฟ้องว่าจำเลยประมาทเลินเล่อปล่อยให้นายกิตติยักยอกเงินของโจทก์ไป แต่นำสืบว่า นายกิตติซึ่งมีหน้าที่จ่ายใบเสร็จรับเงินให้พนักงานอื่นไปเก็บเงินจากผู้ใช้น้ำประปาได้เอาใบเสร็จรับเงินไปเก็บเงินเสียเองแล้วเบียดบังเอาเงินนั้นไปเป็นประโยชน์ต่อส่วนตัว ไม่เป็นการนำสืบนอกฟ้อง
จำเลยที่ 4 และที่ 6 ปล่อยปละละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบของโจทก์ ทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทุจริตเบียดบังเอาเงินค่าน้ำประปาของโจทก์ไป เป็นการประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติงานตามหน้าที่เป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์และต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์เท่าที่โจทก์เสียหายไป
ระเบียบของสำนักนายกรัฐมนตรีที่ได้กำหนดตัวผู้บังคับบัญชาที่จะต้องรับผิดร่วมกับผู้ใต้บังคับบัญชาในกรณีที่มีการทุจริตทำให้เสียหายมิใช่กฎหมาย ดังนั้น จะถือว่าผู้บังคับบัญชาเหนือชั้นขึ้นไปกระทำละเมิดต่อโจทก์โดยเด็ดขาดเสมอไปมิได้ การกระทำใด ๆจะเป็นละเมิดหรือไม่ต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 420
บรรยายฟ้องว่าจำเลยประมาทเลินเล่อปล่อยให้นายกิตติยักยอกเงินของโจทก์ไป แต่นำสืบว่า นายกิตติซึ่งมีหน้าที่จ่ายใบเสร็จรับเงินให้พนักงานอื่นไปเก็บเงินจากผู้ใช้น้ำประปาได้เอาใบเสร็จรับเงินไปเก็บเงินเสียเองแล้วเบียดบังเอาเงินนั้นไปเป็นประโยชน์ต่อส่วนตัว ไม่เป็นการนำสืบนอกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3546/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้บังคับบัญชาต่อการทุจริตของลูกน้อง: ละเมิด-สัญญาจ้าง-ตัวแทน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 4 และที่ 6 ในฐานะเป็นผู้บังคับบัญชาของนายกิตติได้ประมาทเลินเล่อต่อการปฏิบัติงานตามหน้าที่ ไม่ปฏิบัติตามระเบียบและคำสั่งที่โจทก์วางไว้ ละเลยไม่ควบคุมดูแลตรวจสอบการเก็บเงิน รับเงินและส่งเงินของนายกิตติผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาจนเป็นเหตุให้นายกิตติ ทุจริตเบียดบังเงินค่าน้ำประปาและค่ามาตราวัดน้ำจำนวน 815,985.08 บาทของโจทก์ไปเป็นประโยชน์ต่อส่วนตัว เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ ทั้งผิดสัญญาจ้างและสัญญาตัวแทนเป็นที่เสียหายแก่โจทก์ ดังนี้เป็นคำบรรยายฟ้องที่ชัดแจ้งถึงสภาพแห่งข้อหา และข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้วส่วนรายละเอียดเกี่ยวกับที่นายกิตติเบียดบังอย่างไร จำเลยที่ 4 และที่ 6 ประมาทเลินเล่ออย่างไร โจทก์นำสืบได้ในชั้นพิจารณา
จำเลยที่ 4 และที่ 6 ปล่อยปละละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบของโจทก์ ทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทุจริตเบียดบังเอาเงินค่าน้ำประปาของโจทก์ไป เป็นการประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติงานตามหน้าที่เป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์และต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์เท่าที่โจทก์เสียหายไป
ระเบียบของสำนักนายกรัฐมนตรีที่ได้กำหนดตัวผู้บังคับบัญชาที่จะต้องรับผิดร่วมกับผู้ใต้บังคับบัญชาในกรณีที่มีการทุจริตทำให้เสียหายมิใช่กฎหมาย ดังนั้น จะถือว่าผู้บังคับบัญชาเหนือชั้นขึ้นไปกระทำละเมิดต่อโจทก์โดยเด็ดขาดเสมอไปมิได้ การกระทำใด ๆจะเป็นละเมิดหรือไม่ต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420
บรรยายฟ้องว่าจำเลยประมาทเลินเล่อปล่อยให้นายกิตติยักยอกเงินของโจทก์ไป แต่นำสืบว่า นายกิตติซึ่งมีหน้าที่จ่ายใบเสร็จรับเงินให้พนักงานอื่นไปเก็บเงินจากผู้ใช้น้ำประปาได้เอาใบเสร็จรับเงินไปเก็บเงินเสียเองแล้วเบียดบังเอาเงินนั้นไปเป็นประโยชน์ต่อส่วนตัว ไม่เป็นการนำสืบนอกฟ้อง
จำเลยที่ 4 และที่ 6 ปล่อยปละละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบของโจทก์ ทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทุจริตเบียดบังเอาเงินค่าน้ำประปาของโจทก์ไป เป็นการประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติงานตามหน้าที่เป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์และต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์เท่าที่โจทก์เสียหายไป
ระเบียบของสำนักนายกรัฐมนตรีที่ได้กำหนดตัวผู้บังคับบัญชาที่จะต้องรับผิดร่วมกับผู้ใต้บังคับบัญชาในกรณีที่มีการทุจริตทำให้เสียหายมิใช่กฎหมาย ดังนั้น จะถือว่าผู้บังคับบัญชาเหนือชั้นขึ้นไปกระทำละเมิดต่อโจทก์โดยเด็ดขาดเสมอไปมิได้ การกระทำใด ๆจะเป็นละเมิดหรือไม่ต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420
บรรยายฟ้องว่าจำเลยประมาทเลินเล่อปล่อยให้นายกิตติยักยอกเงินของโจทก์ไป แต่นำสืบว่า นายกิตติซึ่งมีหน้าที่จ่ายใบเสร็จรับเงินให้พนักงานอื่นไปเก็บเงินจากผู้ใช้น้ำประปาได้เอาใบเสร็จรับเงินไปเก็บเงินเสียเองแล้วเบียดบังเอาเงินนั้นไปเป็นประโยชน์ต่อส่วนตัว ไม่เป็นการนำสืบนอกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2552/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหน่วยงานราชการในฐานะผู้บังคับบัญชาต่อการกระทำละเมิดของข้าราชการ
โจทก์บรรยายฟ้องในเบื้องต้นว่า จำเลยที่ 1 เป็นกรมในรัฐบาลเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย มีหน้าที่พิทักษ์สันติราษฎร์ บำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ราษฎร มีหน้าที่จับกุมผู้กระทำผิดตามกฎหมาย จำเลยที่ 2 มีหน้าที่ทำงานตามวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 ตามคำสั่งของสารวัตรใหญ่สถานีตำรวจภูธรฯซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 2 คำบรรยายฟ้องในตอนแรกนี้จึงเป็นการบรรยายฟ้องให้เห็นฐานะความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยที่ 1 ที่ 2 ว่ามีความสัมพันธ์กันตามกฎหมาย แม้ต่อมาโจทก์จะบรรยายฟ้องเกินเลยไปว่าจำเลยที่ 1 เป็นนายจ้าง จำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างกระทำการในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 ก็หาทำให้คำบรรยายฟ้องของโจทก์ตอนแรกเสียไปไม่ ทั้งโจทก์ได้บรรยายมาชัดแจ้งว่า จำเลยที่ 2 ออกปฏิบัติหน้าที่ตรวจตรารักษาความสงบตามคำสั่งของสารวัตรใหญ่สถานีตำรวจภูธรฯ อันเป็นการออกไปปฏิบัติหน้าที่ราชการตามกฎหมายเมื่อจำเลยที่ 2 ใช้อาวุธปืนที่ทางราชการจำเลยที่ 1 จ่ายให้ใช้ในราชการยิงบุตรโจทก์ถึงแก่ความตายขณะปฏิบัติหน้าที่ราชการอันเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย อันเป็นการบรรยายฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้บังคับบัญชารับผิดฐานละเมิดร่วมกับจำเลยที่ 2 หาใช่ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในฐานะนายจ้างแต่ประการเดียวไม่