คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้ประกอบการ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 101 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2430/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ประกอบการสระว่ายน้ำต่อความปลอดภัยของผู้ใช้บริการ โดยเฉพาะเด็กเล็ก และความละเลยของพนักงานช่วยชีวิต
จำเลยที่ 2 ดำเนินกิจการที่เกี่ยวกับการให้ใช้บริการสระว่ายน้ำ โดยมีค่าตอบแทนแก่บุคคลทั่วไปในรูปการจำหน่ายบัตรให้แก่ผู้ใช้บริการ จำเลยที่ 2 จึงต้องมีหน้าที่และมาตรการให้ความปลอดภัยและดูแลความเรียบร้อยของสระว่ายน้ำในระดับที่เชื่อถือและไว้วางใจได้ โดยเฉพาะผู้ใช้บริการที่เป็นเด็กเล็ก สิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการให้บริการในลักษณะนี้ของสระว่ายน้ำ ได้แก่การจัดหาพนักงานช่วยชีวิตประจำสระว่ายน้ำที่มีความสามารถและมีจำนวนเพียงพอเพื่อช่วยชีวิตหรือป้องกันอุบัติเหตุของผู้ใช้บริการในกรณีที่มีเหตุอันตรายที่เกิดขึ้นในปัจจุบันได้ ประกาศที่ทางสระว่ายน้ำระบุให้ผู้ใช้บริการรับผิดชอบความปลอดภัยของตนเองนั้น ไม่ทำให้เป็นข้อแก้ตัวที่จำเลยที่ 2 จะปัดความรับผิดได้ แม้จำเลยที่ 2 จะจ้างพนักงานช่วยชีวิตไว้ประจำสระว่ายน้ำก็ตาม แต่ขณะที่ผู้ใช้บริการซึ่งเป็นเด็กจมน้ำลงสู่พื้นสระว่ายน้ำไม่มีผู้ใดเห็นเหตุการณ์เลย ถือได้ว่าเป็นความละเลยของพนักงานช่วยชีวิตที่ไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่และพร้อมจะให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ใช้บริการ การกระทำโดยประมาทเลินเล่อดังกล่าวของพนักงานช่วยชีวิตซึ่งอยู่ในความควบคุมดูแลและสั่งการของจำเลยที่ 2 ถือว่าเป็นการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 2 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 92/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าเช่าโทรศัพท์: การพิจารณาประเภทผู้ประกอบการและข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
การที่โจทก์จัดให้มีบริการโทรศัพท์และเรียกเก็บเงินค่าเช่าเครื่องโทรศัพท์กับค่าใช้บริการโทรศัพท์นั้น ถือได้ว่าโจทก์เป็นบุคคลจำพวกที่ค้าในการให้เช่าสังหาริมทรัพย์เรียกเอาค่าเช่า และเป็นผู้ค้าในการรับทำการงานต่าง ๆ เรียกเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับในการนั้นตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 165(6),(7) ดังนั้น สิทธิเรียกร้องค่าเช่าเครื่องโทรศัพท์และค่าใช้บริการโทรศัพท์ของโจทก์จึงมีอายุความ 2 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3977/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำหน่ายหนังสือละเมิดลิขสิทธิ์: ผู้ประกอบการค้าต้องตรวจสอบความถูกต้องของสินค้าก่อนจำหน่าย
หนังสือของกลางจำนวน 91 เล่ม ที่จำเลยขายหรือเสนอขาย พิมพ์ลอกเลียนจากหนังสือฉบับแท้จริงของกระทรวงศึกษาธิการผู้เสียหายมีลักษณะแตกต่างจากหนังสือฉบับแท้จริงอย่างเห็นได้ชัด จำเลยเป็นพ่อค้าประกอบอาชีพจำหน่ายหนังสือแบบเรียนและแบบฝึกหัดมานานประมาณ20 ปีแล้ว มีร้านค้าของตนเองและเป็นตัวแทนจำหน่ายหนังสือแบบเรียนขององค์การค้าของคุรุสภา จำเลยย่อมมีความรู้ความเข้าใจมีประสบการณ์และความชำนาญในการตรวจตราหนังสือแบบเรียนและแบบฝึกหัดต่าง ๆ ที่สั่งมาจำหน่ายในร้านค้าของตนว่าถูกต้องหรือไม่ จำเลยได้รู้เห็นหนังสือของกลางนั้นอยู่แล้วว่าไม่ใช่เป็นหนังสือแบบเรียนหรือแบบฝึกหัดที่แท้จริงของผู้เสียหาย และย่อมสังเกตเห็นว่าหนังสือของกลางดังกล่าวมีลักษณะแตกต่างจากหนังสือของผู้เสียหายที่จำเลยเคยสั่งซื้อจากองค์การค้าของคุรุสภา ซึ่งผู้เสียหายสงวนลิขสิทธิ์ดังนี้ ถือได้ว่า จำเลยขายหรือเสนอขายหนังสือของกลางจำนวน 91 เล่มนั้นโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นหนังสือที่พิมพ์ขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายจำเลยจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 27.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2368/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกเก็บเงินเพิ่มค่าอากรขาเข้าและดอกเบี้ยจากผู้ประกอบการที่ผิดนัดชำระภาษีอากร
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยผู้นำสินค้าเข้าชำระเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือนของอากรขาเข้าจำนวน 1,050,684.10 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแต่ในคำฟ้องของโจทก์และตามทางนำสืบของโจทก์มิได้สืบให้เห็นว่าเงินค่าอากรขาเข้าที่ค้างชำระโดยไม่รวมเงินเพิ่มจำนวนเท่าใด เมื่อไม่ทราบจำนวนเงินอากรขาเข้าที่จะใช้เป็นฐานในการกำหนดเงินเพิ่มได้เช่นนี้แล้ว ก็ย่อมไม่อาจให้จำเลยชำระเงินเพิ่มจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จตามที่โจทก์ขอได้ ประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ทวิ บัญญัติถึงความรับผิดของผู้เสียภาษีที่ผิดนัดไม่ชำระค่าภาษีอากรไว้โดยเฉพาะแล้ว หากผู้ประกอบการค้าไม่ชำระภาษีภายในกำหนดต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1 ต่อเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ เมื่อมีกฎหมายบัญญัติให้รับผิดไว้โดยเฉพาะเช่นนี้แล้ว จึงไม่อาจนำบทบัญญัติเรื่องดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดใน ป.พ.พ. อันเป็นบทบัญญัติทั่วไปมาใช้บังคับอีก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2169/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายคอนกรีตผสมเสร็จ ไม่ใช่สัญญาจ้างทำของ ผู้ประกอบการไม่ต้องเสียภาษีการค้า
การซื้อขายสินค้านั้นผู้ขายไม่จำเป็นต้องทำสินค้าสำเร็จไว้ล่วงหน้าเสมอไปต้องคำนึงถึงคุณลักษณะพิเศษของสินค้าที่จะขายด้วยโจทก์ทั้งสองประกอบธุรกิจคอนกรีตผสมเสร็จไม่อาจผสมคอนกรีตไว้ก่อนได้ เพราะหากไม่มีผู้ใดซื้อภายใน 1 ชั่วโมง คอนกรีตผสมเสร็จที่ทำไว้จะแข็งตัวไม่อาจนำไปใช้งานได้ สินค้าชนิดนี้จำเป็นต้องขายตามคำสั่งของลูกค้าแต่ละรายไปนอกจากนี้ทั้งลูกค้าของโจทก์ที่ 1 กับโจทก์ที่ 1และโจทก์ที่ 2 กับโจทก์ที่ 1 ต่างมีเจตนาจะมุ่งให้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์เพื่อตอบแทนการใช้ราคา มิได้หวังผลสำเร็จในการงานเป็นสาระสำคัญ งานที่โจทก์ทั้งสองรับทำจนสำเร็จมิได้สำคัญไปกว่าสัมภาระหรือส่วนผสมที่นำมาใช้ในการผลิตคอนกรีตผสมเสร็จโจทก์ทั้งสองประกอบธุรกิจเป็นการทั่วไปเป็นปกติธุระมิใช่เป็นการครั้งคราวแม้ลูกค้าจะเป็นผู้กำหนดอัตราส่วนหรือสูตรในการผสมคอนกรีตผสมเสร็จตามที่ลูกค้าต้องการหรือมีการกำหนดรวมค่าขนส่งและกำหนดอัตราค่าจอดรถคอยการเทคอนกรีตลงไว้ด้วย ก็เป็นการกำหนดรายละเอียดไว้เป็นเงื่อนไขในการรับซื้อ เข้าลักษณะเป็นสัญญาซื้อขาย หาใช่สัญญาจ้างทำของไม่โจทก์ทั้งสองจึงมิใช่ผู้ประกอบการค้าที่มีหน้าที่เสียภาษีการค้าท้ายหมวด 4 ลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4749/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฝากเงินโดยไม่ได้รับอนุญาตและผลกระทบต่อความรับผิดของผู้ประกอบการ
จำเลยที่ 1 จะกู้ยืมเงินหรือรับเงินออมจากประชาชนจะต้องปฏิบัติอยู่ในกรอบกำหนดกฎเกณฑ์ตาม พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจเงินทุนฯพ.ศ. 2522 และข้อกำหนดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย แต่ตามพฤติการณ์แห่งคดีปรากฏว่าโจทก์นำเงินไปฝาก ณ สำนักงานของจำเลยที่ 1 โดยพนักงานของจำเลยที่ 1 เป็นผู้ดำเนินการ แสดงว่าจำเลยที่ 1ได้รู้เห็นยินยอมให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 ใช้สำนักงานของตนเป็นสถานที่รับฝากเงิน หากจำเลยที่ 1 รับฝากเงินไม่ได้เพราะขัดต่อ พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุนฯ กับ พ.ร.บ. การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505มาตรา 8 และอยู่นอกขอบวัตถุประสงค์ข้อบังคับของจำเลยที่ 1 แต่พนักงานของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 หรือจำเลยที่ 3 กลับรับฝากเงินของโจทก์ไว้โดยไม่แจ้งให้โจทก์ทราบ ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตหลงเข้าใจได้ว่าการรับฝากเงินเป็นกิจการของจำเลยที่ 1ที่กระทำได้ตามกฎหมายและอยู่ภายในขอบวัตถุประสงค์ข้อบังคับของจำเลยที่ 1 จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ติดต่อรับฝากเงินและรู้เห็นเองโดยจำเลยที่ 1 เชิด จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนผู้มีอำนาจกระทำการในการรับฝากเงินและออกเช็คให้แก่โจทก์จำเลยที่ 1 จึงต้องผูกพันรับเอาผลการกระทำของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 ไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 821 การกำหนดค่าฤชาธรรมเนียมเป็นดุลพินิจ ของศาลตาม ป.วิ.พ.มาตรา 161 ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 แล้วยกเสียจึงไม่ใช่กรณีที่ศาลสั่งไม่รับฟ้องแย้งซึ่งจะต้องคืนค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมดตามนัยแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 151แต่จะต้องบังคับตามบทบัญญัติมาตรา 161 กล่าวคือศาลใช้ดุลพินิจไม่คืนค่าธรรมเนียมฟ้องแย้งให้จำเลยที่ 1 ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2242/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อหากำไรและหน้าที่เสียภาษี
เมื่อปี พ.ศ. 2492 โจทก์ซื้อ ที่ดิน 1 แปลง เนื้อที่ 11 ไร่ราคา 22,320 บาท ต่อ มาปี พ.ศ. 2520 โจทก์แบ่งแยกที่ดินดังกล่าวออกเป็น 102 แปลงและให้ห้าง ส. ลงทุนทำถนน สร้างตึกแถวติดตั้ง ไฟฟ้าและน้ำประปาลงบนที่ดินที่แบ่งแยก จากนั้นโจทก์และห้าง ส. ก็ขายที่ดินและตึกแถวโดย โจทก์จดทะเบียนขายเฉพาะ ที่ดินห้าง ส. ทำสัญญาขายเฉพาะ ตึกแถว โจทก์ขายที่ดินในราคาตารางวาละ5,000 บาท ได้ เงินมาแล้ว 9 ล้านบาทเศษ ได้ กำไรถึง ประมาณ1,000 เท่า เห็นได้ว่าโจทก์ประกอบธุรกิจการค้าหากำไร จึงเป็นผู้ประกอบการค้าประเภทการค้าอสังหาริมทรัพย์ ต้อง เสียภาษีการค้า.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2161/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ประกอบการขนส่งและตัวแทน กรณีเกิดละเมิดจากการขนส่ง
จำเลยเป็นเจ้าของรถบรรทุกคันเกิดเหตุและได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถบรรทุกคันดังกล่าว แม้จำเลยจะให้ ว. เช่าซื้อรถคันนั้นไป แต่จำเลยก็ยังยื่นขอต่ออายุทะเบียนรถและหาได้บอกเลิกการประกอบการขนส่งที่เป็นสิทธิเฉพาะตัว แก่ทางราชการไม่กลับยอมให้ ว. ขับรถคันเกิดเหตุไปประกอบการขนส่งในชื่อจำเลยอีกต่อไป พฤติการณ์ดังกล่าวถือว่าจำเลยและ ว. ร่วมกันประกอบการขนส่งส่วนบุคคลและ ว. เป็นตัวแทนของจำเลยในกิจการดังกล่าวเมื่อ ว. ขับรถไปกระทำละเมิดอันต้องรับผิดชดใช้ให้โจทก์ภายในขอบอำนาจแห่งฐานะตัวแทน จำเลยซึ่งเป็นตัวการต้องร่วมรับผิดด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 427, 820 (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 3480/2530)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5519/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดแสดงแฟชั่นโชว์ที่เข้าข่ายลามกอนาจารในสถานบริการ ความรับผิดของผู้ประกอบการและผู้จัดการ
ว.ผู้จัดการสถานบริการของจำเลยที่ 1 จัดให้มีการแสดงแฟชั่นโชว์ในสถานบริการของจำเลย นางแบบแต่งกายชุดอาบน้ำตัดเย็บด้วยผ้าลูกไม้บาง บนฟลอร์มีสปอรทไลท์ฉายไปมา สามารถมองผ่านช่องว่างของผ้าลูกไม้บางนั้นเห็นนมเนื้อตัวร่างกายของนางแบบ ลักษณะการแต่งกายเช่นนี้ไม่แตกต่างไปจากการเปลือยกายและเพียงเท่านี้ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้จัดให้มีการแสดงเพื่อความบันเทิงในสถานบริการซึ่งเป็นไปในทางลามกหรืออนาจารแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ตั้งสถานบริการดังกล่าว จึงมีหน้าที่ต้องควบคุมการแสดงมิให้เป็นไปในทางลามกหรืออนาจาร แม้จำเลยจ้าง ว.ให้เป็นผู้จัดการดูแลแทนและ ว.จัดให้มีการแสดงอันเป็นความผิดดังกล่าวในขณะที่จำเลยที่ 2 ไม่อยู่ ก็หาได้ทำให้จำเลยทั้งสองหลุดพ้นจากหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้นั้นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3067/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ประกอบการค้าที่ไม่ทำบัญชีคุมสินค้าตามกฎหมาย ถือเป็นการขายสินค้าและต้องเสียภาษี
โจทก์ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปส่งจำหน่ายต่างประเทศซึ่งเป็นการประกอบการค้าประเภทการค้า 1 ชนิด 1 (ก) ตามบัญชีอัตราภาษีการค้า เมื่อโจทก์มีสินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปคงเหลือ ณ โรงงานของโจทก์ โดยโจทก์ไม่ทำบัญชีคุมสินค้าตามมาตรา 83 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร แม้โจทก์จะได้รับการส่งเสริมการลงทุนสำหรับสินค้าที่ส่งออก โจทก์ก็ไม่ได้รับยกเว้นการทำบัญชีคุมสินค้าตามมาตรา 83 ทวิ วรรค 2 แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อโจทก์ไม่ทำบัญชีคุมสินค้าจึงถือว่าเป็นการขายสินค้านั้นโดยถือมูลค่าของสินค้าดังกล่าวเป็นรายรับตามมาตรา 79 ทวิ (6) แห่งประมวลรัษฎากรโจทก์ต้องเสียภาษีการค้า เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และภาษีบำรุงเทศบาลตามกฎหมาย.
of 11