พบผลลัพธ์ทั้งหมด 50 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 781/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความละเมิด: การรู้ตัวผู้รับผิดและผลต่อการฟ้องคดี
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาเบียดบังเอาเงินของกรมที่ดินโจทก์ไป เมื่อคณะกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่งทำรายงาน กองวิชาการทำความเห็นเสนออธิบดีกรมที่ดินว่า ควรสั่งให้คณะกรรมการสอบสวนเพิ่มเติม อธิบดีมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแสดงถึงการรับทราบรายงานการสอบสวนนั้นแล้ว ต้องถือว่าโจทก์รู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันที่อธิบดีมีคำสั่ง โจทก์ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนด 1 ปีนับแต่วันมีคำสั่งดังกล่าว คดีโจทก์เฉพาะตัวจำเลยจึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. ม.448 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2528/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดผู้รับผิดในค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ และสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายของคู่สมรสที่ไม่จดทะเบียน
ในคดีละเมิด จำเลยให้การต่อสู้ว่าโจทก์ที่ 2 ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับนายบุญมาก มั่งคั่ง (ลูกจ้างขับรถของโจทก์ที่ 1 ซึ่งถึงแก่ความตายในอุบัติเหตุครั้งนี้) โจทก์ที่ 2 จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนเพราะขาดอุปการะจากจำเลย ในฟ้องแย้งของจำเลยก็ไม่ได้แสดงว่าตนมีสิทธิตามกฎหมายอย่างไรที่จะเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ที่ 2 ทั้งในคำขอก็ไม่ได้กล่าวให้ชัดแจ้งว่าประสงค์จะให้โจทก์ที่ 1 หรือที่ 2 ใช้ค่าเสียหายแก่ตน จึงต้องถือว่าจำเลยประสงค์ให้โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นนายจ้างของนายบุญมาก มั่งคั่ง ใช้ค่าเสียหายแก่ตนเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1770/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีละเมิด: การรู้ตัวผู้รับผิดและผลต่อการฟ้องคดีภายในกำหนด
องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยโจทก์จ่ายเงินค่าจองการติดตั้งโทรศัพท์คืนจำเลยที่ 1 เป็นการซ้ำซ้อนจึงตั้งคณะกรรมการสอบสวนพนักงานของโจทก์เพื่อหาตัวผู้รับผิดชอบในทางแพ่ง ผู้อำนวยการของโจทก์ทราบรายงานการสอบสวนของคณะกรรมการฯ ซึ่งระบุว่าจำเลยที่ 2ถึงที่ 8 อยู่ในข่ายต้องรับผิด เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2518 แม้จะมีข้อขัดแย้งอันเกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยที่ 7 และที่ 8 ซึ่งโจทก์มีความเห็นไปทางคณะกรรมการบริหารงานด้านปฏิบัติการ แต่ในที่สุดก็ยอมรับและปฏิบัติตามความเห็นของคณะกรรมการสอบสวนจึงต้องถือว่าโจทก์รู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนนับแต่วันที่ 14 ตุลาคม 2518 โจทก์ฟ้องคดี เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2520 พ้นกำหนดเวลา 1 ปี คดีเฉพาะจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคแรก แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2673/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งเหตุละเมิดและตัวผู้รับผิดเพื่อเริ่มนับอายุความฟ้องร้องคดีแพ่ง
รายงานที่เสนอให้อธิบดีกรมทางหลวงโจทก์ทราบว่า จำเลยขับรถวิทยุออกตรวจ แล้วเกิดอุบัติเหตุรถคว่ำได้รับความเสียหาย ได้ตั้งกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดทางแพ่งแล้วยังถือไม่ได้ว่าอธิบดีฯ ทราบเหตุละเมิดและรู้ตัวผู้พึงใช้ค่าสินไหมทดแทน และเมื่อคณะกรรมการสอบสวนมีความเห็นว่าอุบัติเหตุเกิดจากเหตุสุดวิสัย จำเลยไม่ต้องรับผิด แม้อธิบดีฯ จะเห็นพ้องด้วย แต่ความเห็นก็ยังไม่เป็นที่ยุติจะต้องเสนอให้กระทรวงการคลังวินิจฉัยชี้ขาดต่อไปตามระเบียบกระทรวงการคลัง เมื่อกรมบัญชีกลางพิจารณาแล้ววินิจฉัยว่าจำเลยกระทำละเมิด ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน และแจ้งให้อธิบดีฯ ทราบในวันใด ถือได้ว่าอธิบดีฯ ทราบเหตุละเมิดและรู้ตัวผู้พึงใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันที่ได้ทราบนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 154/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความละเมิด: โจทก์ฟ้องล่าช้าเกิน 1 ปี นับแต่วันรู้ถึงการละเมิดและตัวผู้รับผิด คดีขาดอายุความ
จำเลยที่ 1 เป็นพนักงานขับรถยนต์ของโจทก์ จำเลยที่ 2 เป็นผู้คำประกันความเสียหายที่จำเลยที่ 1 ก่อนขึ้นกับโจทก์ จำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์โดยทำให้สินค้าสูญหาย และไม่ส่งคืนเครื่องมือประจำรถบรรทุกซึ่งเป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ได้รู้ถึงการละเมิดเกินกว่า 1 ปีแล้ว เมื่อโจทก์มิได้ใช้สิทธิฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายภายใน 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน คดีโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3218/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมรวบรวมทรัพย์สินในคดีล้มละลายเมื่อถอนฟ้อง: ผู้รับผิดและอัตราการคำนวณ
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าจำเลยเป็นบุคคลล้มละลายและยื่นคำร้องขอให้พิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยชั่วคราว เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยชั่วคราวแล้ว โจทก์ก็เป็นผู้ติดตามแจ้งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการเรียกทรัพย์สินของลูกหนี้ผู้เป็นจำเลยจากกองบังคับคดีแพ่งมารวบรวมไว้ในคดีล้มละลายต่อมาโจทก์ถอนฟ้อง ซึ่งศาลอนุญาตและจำหน่ายคดีไปแล้วบรรดากิจการที่ได้ดำเนินมาย่อมต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมเงินจำนวนที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้รับมาก็ต้องคืนให้กองบังคับคดีแพ่ง และถือไม่ได้ว่าเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้ในคดีล้มละลายที่จะนำมาใช้จ่ายได้ โจทก์จึงต้องเป็นผู้รับผิดในค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการดำเนินกระบวนพิจารณาของโจทก์เองตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 155 แต่การคิดค่าธรรมเนียมในการรวบรวมทรัพย์สินเมื่อเงินที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้รับมาต้องส่งคืนไปไม่มีการจำหน่ายจึงต้องคิดค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละสามครึ่งของราคาทรัพย์สินตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 179(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3218/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมรวบรวมทรัพย์สินในคดีล้มละลายเมื่อถอนฟ้อง ผู้ใดเป็นผู้รับผิดและอัตราค่าธรรมเนียมที่ถูกต้อง
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าจำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย และยื่นคำร้องขอให้พิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยชั่วคราว เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยชั่วคราวแล้ว โจทก์ก็เป็นผู้ติดตามแจ้งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการเรียกทรัพย์สินของลูกหนี้ผู้เป็นจำเลยจากกองบังคับคดีแพ่งมารวบรวมไว้ในคดีล้มละลาย ต่อมาโจทก์ถอนฟ้อง ซึ่งศาลอนุญาตและจำหน่ายคดีไปแล้ว บรรดากิจการที่ได้ดำเนินมาย่อมต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม เงินจำนวนที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้รับมาก็ต้องคืนให้กองบังคับคดีแพ่ง และถือไม่ได้ว่าเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้ในคดีล้มละลายที่จะนำมาใช้จ่ายได้ โจทก์จึงต้องเป็นผู้รับผิดในค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการดำเนินกระบวนพิจารณาของโจทก์เองตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 155 แต่การคิดค่าธรรมเนียมในการรวบรวมทรัพย์สิน เมื่อเงินที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้รับมาต้องส่งคืนไป ไม่มีการจำหน่ายจึงต้องคิดค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละสามครึ่งของราคาทรัพย์สินตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 179(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 475/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงลายมือชื่อในตั๋วสัญญาใช้เงินโดยมิได้ระบุว่าลงแทนผู้อื่น ย่อมเป็นผู้รับผิดตามตั๋วเงินนั้น
เมื่อจำเลยลงลายมือชื่อของตนโดยมิได้เขียนแถลงว่า กระทำการแทนบุคคลอีกคนหนึ่งลงไว้ในตั๋วสัญญาใช้เงิน จำเลยจะอ้างว่าตนกระทำแทนบุคคลอื่นและขอนำพยานเข้าสืบประกอบข้ออ้างของตนหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 691/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าใช้จ่ายทวงหนี้ไม่ใช่ค่าเสียหายพิเศษ ผู้ผิดนัดไม่ต้องรับผิด
ค่าใช้จ่ายในการติดตามทวงถามหนี้สิน มิใช่ผลเกิดขึ้นโดยตรงจากการผิดสัญญาไม่ชำระหนี้. จะถือว่าเป็นค่าเสียหายพิเศษก็ไม่ได้. ทั้งไม่มีกฎหมายบังคับให้ฝ่ายผิดนัดผิดสัญญาต้องรับผิด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1085/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัยค้ำจุน: ผู้รับประกันภัยต้องรับผิดชอบค่าเสียหายจากการละเมิดของผู้อื่น
ค่าพาหนะไปมาโรงพยาบาลเพื่อรักษาพยาบาลบาดแผลที่ถูกทำละเมิดเป็นค่าเสียหายที่เกิดโดยตรงสืบเนื่องจากการละเมิด.
โจทก์ถูกทำละเมิดแขนซ้ายพิการตลอดชีวิต. มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายเพราะเหตุทุพพลภาพได้.
จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยทำสัญญากับจำเลยที่1 ว่า. จำเลยที่ 2 ยอมใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของจำเลยที่ 1. เพื่อความวินาศภัยอันเกิดแก่อีกบุคคลหนึ่งและซึ่งจำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดชอบ. มีลักษณะเป็นสัญญาประกันภัยค้ำจุน. ดังนั้นเมื่อจำเลย ที่ 1 ทำละเมิดต่อโจทก์. โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายจึงชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยโดยตรงและมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ได้.
โจทก์ถูกทำละเมิดแขนซ้ายพิการตลอดชีวิต. มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายเพราะเหตุทุพพลภาพได้.
จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยทำสัญญากับจำเลยที่1 ว่า. จำเลยที่ 2 ยอมใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของจำเลยที่ 1. เพื่อความวินาศภัยอันเกิดแก่อีกบุคคลหนึ่งและซึ่งจำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดชอบ. มีลักษณะเป็นสัญญาประกันภัยค้ำจุน. ดังนั้นเมื่อจำเลย ที่ 1 ทำละเมิดต่อโจทก์. โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายจึงชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยโดยตรงและมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ได้.