คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้รับมอบอำนาจ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 78 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3582/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของโจทก์ตามสัญญาการรับดูแลรถยนต์ของกลาง และขอบเขตอำนาจของผู้รับมอบอำนาจ
จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับมอบอำนาจของจำเลยที่ 1 ให้สัญญาไว้ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองร้อยเอ็ดตามคำร้องขอรับรถยนต์ของกลางและรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีว่า จะนำรถยนต์ของกลางส่งพนักงานสอบสวนภายใน 15 วัน นับแต่วันที่พนักงานสอบสวนแจ้งให้ทราบเมื่อพนักงานสอบสวนแจ้งให้จำเลยส่งมอบรถยนต์ของกลางแล้ว จำเลยไม่ส่งมอบโจทก์ทั้งสองย่อมมีสิทธิฟ้องให้จำเลยทั้งสองปฏิบัติตามสัญญาได้ ไม่ว่าผู้ใดจะเป็นเจ้าของที่แท้จริงเพราะพนักงานสอบสวนจะต้องปฏิบัติไปตามขั้นตอนเรื่องการคืนของกลาง หาใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่ สารวัตรใหญ่เป็นพนักงานสอบสวนคนหนึ่ง และเป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวน การมอบอำนาจให้กระทำต่อสารวัตรใหญ่ ย่อมกระทำต่อพนักงานสอบสวนได้เช่นเดียวกัน ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 ขอรับรถยนต์ของกลางจากสารวัตรใหญ่ การที่จำเลยที่ 2ยื่นคำร้องต่อพนักงานสอบสวน จึงเป็นการกระทำภายในขอบอำนาจที่ได้รับมอบหมายและมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 ด้วย เอกสารคำร้องขอรับรถยนต์ของกลางไปเก็บรักษา และรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีที่บันทึกการรับรถยนต์ของกลางคืน หาใช่สัญญาค้ำประกันอันเป็นตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากรไม่ เอกสารทั้งสองฉบับดังกล่าวจึงไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ การที่จำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 ไปขอรับรถยนต์จากพนักงานสอบสวนนั้น จำเลยที่ 2 ย่อมกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับการขอรับรถยนต์ได้ด้วย เช่น ยื่นคำขอรับรถยนต์และเซ็นชื่อรับรถยนต์ไว้ การกระทำต่าง ๆ เหล่านี้ ย่อมเป็นการกระทำเกี่ยวกับเรื่องขอรับรถยนต์ทั้งสิ้น หาเป็นการกระทำเรื่องอื่น ๆ ต่างหากไม่จึงเป็นการมอบอำนาจให้กระทำการครั้งเดียว การปิดอากรแสตมป์5 บาท ของจำเลยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2683/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมชำระภาษีเพิ่มเติมโดยผู้รับมอบอำนาจมีผลผูกพันโจทก์ แม้คัดค้านภายหลัง
ป.ได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ให้ไปชี้แจงให้ถ้อยคำและตอบข้อซักถามของเจ้าพนักงานตรวจภาษีอากรเกี่ยวกับเรื่องภาษีอากร ตลอดจนให้ถ้อยคำยินยอมหรือปฏิเสธการรับผิดชอบที่จะเสียภาษีอากรใด ๆแทนบริษัทโจทก์จนเสร็จการที่ ป. ทราบคำชี้แจงของเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษีแล้วยอมรับว่าบริษัทโจทก์เสียภาษีการค้าไม่ถูกต้อง ยินยอมชำระภาษีการค้าส่วนที่ขาดเพิ่มเติมโดยไม่ขอโต้แย้งหรืออุทธรณ์ใด ๆ ทั้งสิ้นทั้งมีบันทึกข้อตกลงด้วย กรณีเป็นการที่ ป. ยอมรับว่าเจ้าพนักงานของจำเลยที่ 1 ได้เรียกเก็บภาษีการค้าเพิ่มและเงินเพิ่มถูกต้องดังนี้สิทธิฟ้องคดีของโจทก์ระงับไปแล้วเพราะการกระทำของ ป.ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์มีผลผูกพันโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2908/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้รับมอบอำนาจประกันตัวจำเลยไม่มีสิทธิอุทธรณ์เรื่องค่าปรับ หากผู้ประกันผิดสัญญา
ศาลสั่งปรับผู้ประกันเพราะผิดสัญญาประกันไม่นำตัวจำเลยมามอบต่อศาลตามนัด ผู้รับมอบอำนาจให้นำหนังสือรับรองการทำประโยชน์มายื่นต่อศาลและทำสัญญาประกันตัวจำเลยแทนผู้ประกัน ไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ลดค่าปรับตามสัญญาประกัน ทั้งไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นและฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เกี่ยวกับเรื่องค่าปรับตามสัญญาประกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2346/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับซื้อฝากอสังหาริมทรัพย์หลังมีประกาศรัฐมนตรี และอำนาจแก้ฟ้องแย้งของผู้รับมอบอำนาจ
บริษัทโจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล มีวุตถุประสงค์ในการรับซื้อฝากอสังหาริมทรัพย์อยู่ก่อนแล้ว ต่อมาเมื่อประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 ลงวันที่ 26 มกราคม 2515 ออกมาใช้บังคับก็ไม่ได้ระบุว่ากิจการรับซื้อฝากอสังหาริมทรัพย์เป็นกิจการที่ต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี หลังจากนั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ออกประกาศกำหนดให้กิจการรับซื้อฝากอสังหาริมทรัพย์เป็นกิจการที่ต้องขออนุญาตเพิ่มขึ้น และให้ถือว่าการประกอบกิจการดังกล่าวเป็นการประกอบธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์อย่างหนึ่ง ดังนั้น เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอรับอนุญาตต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเพื่อดำเนินกิจการดังกล่าวต่อไปภายในกำหนดตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวข้อ 22 และกระทรวงการคลังได้แจ้งชื่อบริษัทโจทก์ไปยังกระทรวงมหาดไทยเพื่อแจ้งต่อกรมที่ดินทั้งนับแต่โจทก์ยื่นคำร้องขอรับอนุญาตแล้วรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังก็ไม่เคยแจ้งโจทก์หรือกรมที่ดินว่าไม่อนุญาตตามคำร้องขอดังกล่าวของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิรับซื้อฝากที่ดินพิพาทได้โดยชอบ และมีอำนาจฟ้อง
เมื่อโจทก์มอบอำนาจให้ อ.ฟ้องและดำเนินคดีแทนแล้วอ. ย่อมมีอำนาจทำคำให้การแก้ฟ้องแย้งของจำเลยได้โดยโจทก์ไม่ต้องทำหนังสือมอบอำนาจและแต่งทนายความให้กระทำการดังกล่าวอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1262/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คที่ยังไม่ได้ลงวันเดือนปี แม้ผู้รับมอบอำนาจลงให้ ก็ยังถือเป็นเช็คที่ไม่สมบูรณ์ ไม่เข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
จำเลยออกเช็คโดยเขียนจำนวนเงินและลงลายมือชื่อเป็นผู้สั่งจ่ายไว้แต่ยังไม่ได้ลงวัน เดือน ปี กำนหเวลาสั่งให้ธนาคารใช้เงิน ดังนี้ แม้ภายหลังจำเลยจะยอมให้ผู้เสียหายเขียน วัน เดือน ปี ลงในเช็คเองต่อหน้าจำเลย ก็เพื่อให้เช็คมีรายการสมบูรณ์ตามกฎหมายมีผลให้ใช้สิทธิฟ้องร้องกันได้ในทางแพ่งเท่านั้น จำเลยจึงไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 898-912/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดี และสิทธิเรียกร้องค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนที่สิ้นไป
ผู้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีอยู่ในฐานะคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1 (11) หาใช่ 'บุคคลอื่น'ตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 มาตรา 33 ไม่ จึงชอบที่จะแต่งฟ้องลงชื่อเป็นโจทก์ในคำฟ้องแทนโจทก์และยื่นฟ้องได้ และการที่ผู้รับมอบอำนาจแถลงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคดีหรือเกี่ยวกับอำนาจของตนต่อศาล ก็มิใช่เป็นการกระทำที่ถือว่า 'ทำการเป็นทนายความ' หรือ 'ว่าความ' ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 33 ดังกล่าว
ระเบียบการลาหยุดพักผ่อนประจำปีของจำเลยทุกฉบับอนุญาตให้ลูกจ้างสะสมวันหยุดพักผ่อนประจำปีได้เพียง 2 ปีเท่านั้น จะสะสมเกินกว่านั้นมิได้ การที่โจทก์ซึ่งถูกเลิกจ้างเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2529 ฟ้องเรียกค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีย้อนหลังไปตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 ถึง พ.ศ. 2526 จึงเป็นการฟ้องโดยอาศัยสิทธิที่สิ้นไปหามีไม่แล้ว จำเลยไม่ต้องรับผิดจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีดังกล่าวแก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 898-912/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ และสิทธิเรียกร้องค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนที่สิ้นไป
ผู้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีอยู่ในฐานะคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(11) หาใช่ 'บุคคลอื่น'ตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 มาตรา 33 ไม่ จึงชอบที่จะแต่งฟ้องลงชื่อเป็นโจทก์ในคำฟ้องแทนโจทก์และยื่นฟ้องได้ และการที่ผู้รับมอบอำนาจแถลงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคดีหรือเกี่ยวกับอำนาจของตนต่อศาล ก็มิใช่เป็นการกระทำที่ถือว่า 'ทำการเป็นทนายความ' หรือ 'ว่าความ' ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 33ดังกล่าว
ระเบียบการลาหยุดพักผ่อนประจำปีของจำเลยทุกฉบับอนุญาตให้ลูกจ้างสะสมวันหยุดพักผ่อนประจำปีได้เพียง 2 ปีเท่านั้น จะสะสมเกินกว่านั้นมิได้ การที่โจทก์ซึ่งถูกเลิกจ้างเมื่อวันที่1 ตุลาคม 2529 ฟ้องเรียกค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีย้อนหลังไปตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 ถึง พ.ศ. 2526 จึงเป็นการฟ้องโดยอาศัยสิทธิที่สิ้นไปหามีไม่แล้ว จำเลยไม่ต้องรับผิดจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีดังกล่าวแก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1498/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งอุทธรณ์เนื่องจากความบกพร่องของผู้รับมอบอำนาจ ถือเป็นความรับผิดของผู้มอบหมาย
ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ในวันเดียวกับที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์และให้โจทก์ส่งสำเนาอุทธรณ์แก่จำเลยใน 7 วันโจทก์เพียงมายื่นคำร้องว่าเสมียนทนายไม่ดำเนินการเสียค่าพาหนะและนำส่งสำเนาอุทธรณ์ภายหลังยื่นอุทธรณ์ถึง 2 เดือนเศษทั้งรับว่าได้มอบหมายให้เสมียนทนายดำเนินการส่งสำเนาอุทธรณ์ แสดงว่า โจทก์ทราบคำสั่งศาลดีแล้วว่าต้องส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่จำเลยภายใน 7 วันนับแต่วันยื่นอุทธรณ์การที่เสมียนทนายซึ่งเป็นตัวแทนของโจทก์ไม่ดำเนินการให้เป็นความบกพร่องของโจทก์เองไม่ใช่ข้อแก้ตัวที่จะฟังว่าโจทก์มิได้มีเจตนาทิ้งอุทธรณ์.(ที่มา-เนติ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1453/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อสมบูรณ์เมื่อลงชื่อครบ แม้ลงชื่อหลังทำสัญญา
บทบัญญัติมาตรา 572 วรรคสอง แห่ง ป.พ.พ. ไม่ได้ระบุไว้แต่อย่างใดว่าคู่สัญญาเช่าซื้อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายต้องลงชื่อในวันทำสัญญา เมื่อคู่สัญญาลงชื่อในสัญญาเช่าซื้อทั้งสองฝ่ายย่อมถือได้ว่าสัญญาเช่าซื้อได้กระทำเป็นหนังสือแล้ว ดังนั้น การที่ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ลงชื่อในสัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยภายหลังจากวันที่ทำสัญญาเช่าซื้อนั้น สัญญาเช่าซื้อย่อมสมบูรณ์ตามกฎหมาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 904/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดี: การมอบอำนาจที่ชัดเจนในหนังสือมอบอำนาจมีผลผูกพัน แม้ผู้รับมอบอำนาจไม่ได้ลงลายมือชื่อในช่องที่กำหนด
ในหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์ระบุว่ามอบอำนาจให้ช. ฟ้องคดีแทนแม้ช. มิได้ลงลายมือชื่อในช่องผู้รับมอบอำนาจก็ต้องถือว่าช. เท่านั้นที่ได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ให้ฟ้องจำเลยป. ซึ่งลงลายมือชื่อในช่องผู้รับมอบอำนาจในหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวหามีอำนาจฟ้องไม่.
of 8