คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้รับโอน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 363 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 250/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท: ผู้รับโอนเช็คมีอำนาจฟ้อง & ผู้ลงลายมือชื่อโดยไม่ระบุตัวแทนต้องรับผิด
เช็คพิพาทเป็นเช็คออกให้แก่ผู้ถือ ผู้ทรงคนเดิม มีสิทธิโอนต่อให้บุคคลอื่นได้และย่อมโอนให้แก่กันได้โดยการส่งมอบ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 918ประกอบมาตรา 989 เมื่อโจทก์เป็นผู้รับโอนเช็คพิพาทโดยการส่งมอบ โจทก์ย่อมเป็นผู้ครอบครองเช็คในฐานเป็นผู้รับเงินโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบตามมาตรา 904 และมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ผู้สั่งจ่ายให้รับผิดใช้เงินตามเช็คพิพาทได้ เช็คพิพาทนั้นไม่ปรากฏข้อความในเช็คว่าจำเลยที่ 2ได้เขียนระบุว่าได้กระทำการแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ทั้งจำเลยที่ 2 ก็ไม่ได้เป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 อีกด้วย แม้จำเลยที่ 2 ประทับตราของจำเลยที่ 1ในเช็คพิพาท แต่จำเลยที่ 2 ไม่มีอำนาจกระทำแทนจำเลยที่ 1 ได้กรณีจึงไม่ผูกพันจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล และถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาท ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาทโดยมิได้เขียนแถลงว่ากระทำแทนจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ย่อมต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 900วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 901

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2482/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิภารจำยอมตกติดไปกับที่ดิน แม้มีการโอนกรรมสิทธิ์ คำพิพากษาผูกพันผู้รับโอน
โจทก์ได้สิทธิภารจำยอมโดยอายุความตามคำพิพากษาของศาล โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยเจ้าของภารยทรัพย์ไปดำเนินการจดทะเบียนสิทธิภารจำยอมที่โจทก์ได้มา แต่จำเลย เพิกเฉย ถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของสามยทรัพย์จึงฟ้องจำเลยในฐานะเจ้าของภารยทรัพย์ให้จดทะเบียนสิทธิภารจำยอมให้แก่โจทก์ได้ คดีก่อนโจทก์ฟ้อง ส. เจ้าของภารยทรัพย์ที่จำเลยรับโอนต่อมาโดยจำเลยมิได้เป็นคู่ความในคดีนั้นก็ตามแต่เมื่อคดีก่อนศาลมีคำพิพากษาว่า โจทก์ได้สิทธิภารจำยอมในทางพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401ประกอบมาตรา 1382 จึงเป็นกรณีที่โจทก์ได้สิทธิภารจำยอมอันเป็นทรัพย์สิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากทางนิติกรรม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1299 วรรคสอง เป็นทรัพย์สิทธิคนละประเภทกับกรรมสิทธิ์ ที่เจ้าของกรรมสิทธิ์มีอำนาจในอสังหาริมทรัพย์ของตนเอง และภารจำยอมเป็นทรัพย์ที่กฎหมายบัญญัติเพื่อประโยชน์แก่ อสังหาริมทรัพย์มิได้มุ่งเพื่อประโยชน์ของบุคคลหนึ่งบุคคลใด โดยเฉพาะ ภารจำยอมจึงย่อมตกติดไปกับอสังหาริมทรัพย์ ที่เป็นสามยทรัพย์และภารยทรัพย์ แม้จะมีการโอน อสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวไปให้แก่บุคคลอื่น ภารจำยอมก็ หาได้หมดสิ้นไปไม่ เว้นแต่กรณีจะต้องตามบทบัญญัติของ กฎหมายเท่านั้น ดังนั้น ไม่ว่าจำเลยจะรับโอนที่พิพาทมา โดยสุจริตหรือไม่ก็ตาม ก็ไม่อาจจะยกขึ้นต่อสู้กับสิทธิ ภารจำยอมของโจทก์ได้ คำพิพากษาศาลดังกล่าวจึงผูกพันจำเลย ด้วยในฐานะที่เป็นเจ้าของภารยทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8499/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินของลูกหนี้ก่อนและหลังการขอให้ล้มละลาย และข้อยกเว้นการคุ้มครองผู้รับโอนโดยสุจริต
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 116 นั้นการที่ผู้คัดค้านที่ 4 ถึงที่ 8 จะยกเหตุตามบทมาตราดังกล่าวนี้ขึ้นกล่าวอ้างปฏิเสธว่าได้รับโอนทรัพย์พิพาทโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนได้นั้น ก็แต่เฉพาะกรณีที่ได้รับโอนทรัพย์มาก่อนมีการขอให้จำเลยล้มละลาย เมื่อผู้คัดค้านที่ 4 ถึงที่ 8มิได้รับโอนทรัพย์พิพาทมาก่อนวันดังกล่าว ดังนั้น ไม่ว่าผู้คัดค้านที่ 4 ถึงที่ 8 จะได้รับโอนมาจากจำเลย โดยตรงหรือได้รับโอนมาโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตามสิทธิของผู้คัดค้านย่อมไม่ดีกว่าผู้โอน ผู้คัดค้านที่ 4ถึงที่ 8 จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามบทบัญญัติดังกล่าว ส่วนคำร้อง ของ ผู้คัดค้านที่ 4 ถึงที่ 7 ที่ขอให้ศาลฎีการอการวินิจฉัยคดีไว้ก่อนเนื่องจากมีคำขอให้ยกเลิกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายที่ 2 แม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตามความเห็นของผู้ร้องให้ยกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายที่ 2 แล้วนั้น แต่เมื่อปรากฏว่ายังมีเจ้าหนี้คือ โจทก์ที่ 2 ซึ่งศาลได้มีคำสั่งให้ได้รับชำระหนี้ตามคำขอ และคดีถึงที่สุดแล้ว ศาลจึงไม่จำต้องรอการวินิจฉัยคดีไว้ก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8385/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์ก่อนล้มละลาย: ผู้รับโอนที่ไม่ใช่เจ้าหนี้เดิม ไม่มีอำนาจถูกเพิกถอนการโอน
การโอนทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115 ต้องเป็นการโอนให้แก่เจ้าหนี้ซึ่งเป็นเจ้าหนี้อยู่ก่อนแล้ว และการโอนเช่นนั้นทำให้เจ้าหนี้อื่น ๆ ของจำเลยเสียเปรียบ แต่กรณีการโอนตามสัญญาจะขายที่ดิน ผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้รับโอนมีนิติสัมพันธ์กับจำเลยโดยเป็นเพียงผู้ซื้อหรือเจ้าหนี้ในฐานะผู้รับโอนที่ดินจากจำเลยเท่านั้น หาได้เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยอยู่ก่อนทำสัญญาดังกล่าวไม่ จึงถือไม่ได้ว่าผู้คัดค้านเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยมาก่อนตามมาตรา 115 ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจร้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินระหว่างจำเลยกับผู้คัดค้านได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7440/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เพิกถอนการโอนทรัพย์สินหลังล้มละลาย: คุ้มครองเฉพาะผู้รับโอนโดยสุจริตก่อนการขอให้ล้มละลาย
ผู้ร้องร้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างในที่ดินระหว่างลูกหนี้กับผู้คัดค้านที่ 1 ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา114 และระหว่างผู้คัดค้านที่ 1 กับผู้คัดค้านที่ 2 และให้เพิกถอนการจำนองที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างระหว่างผู้คัดค้านที่ 2 กับผู้คัดค้านที่ 3 ตามมาตรา 116 สำหรับการโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างระหว่างลูกหนี้กับผู้คัดค้านที่ 1 ดังนี้ ผู้คัดค้านที่ 1มีภาระการพิสูจน์ว่าผู้คัดค้านที่ 1 รับโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน
ผู้คัดค้านที่ 1 ผู้รับโอนรับโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างในที่ดินจากลูกหนี้โดยรู้อยู่ว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ผู้คัดค้านที่ 1 จึงรับโอนโดยไม่สุจริต เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 114
ผู้คัดค้านที่ 2 รับโอนที่ดินพิพาทจากผู้คัดค้านที่ 1 และผู้คัดค้านที่ 3 รับจำนองที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากผู้คัดค้านที่ 2 โดยมิได้รับโอนหรือกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้กับลูกหนี้แต่อย่างใด ผู้คัดค้านที่ 2และที่ 3 ได้ชื่อว่าเป็นบุคคลภายนอกตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 116 เมื่อผู้คัดค้านที่ 1 รับโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยไม่สุจริตแล้วผู้คัดค้านที่ 1 ย่อมไม่ได้สิทธิในที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยชอบ จึงไม่มีสิทธิที่จะโอนทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่ผู้อื่น ผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 จะได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 116 ดังกล่าวจะต้องได้ความว่าผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 รับโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนก่อนมีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลาย
คดีนี้แม้ข้อเท็จจริง จะได้ความว่าก่อนที่มีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลายผู้คัดค้านที่ 3 รับจำนองที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากลูกหนี้ แต่ก่อนที่ผู้คัดค้านที่ 3จะรับจำนองจากผู้คัดค้านที่ 1 และผู้คัดค้านที่ 2 ได้มีการชำระหนี้ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 3และไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างแล้วทุกครั้ง การรับจำนองที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างระหว่างลูกหนี้กับผู้คัดค้านที่ 3 กับระหว่างผู้คัดค้านที่ 1 กับผู้คัดค้านที่ 3 และระหว่างผู้คัดค้านที่ 2 กับผู้คัดค้านที่ 3 จึงหาใช่เป็นกรณีสืบเนื่องมาจากสัญญาจำนองเดิมเพียงแต่เป็นการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ตามสัญญาจำนองเดิมที่ลูกหนี้ทำกับผู้คัดค้านที่ 3 ผู้คัดค้านที่ 2 รับโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากผู้คัดค้านที่ 1และผู้คัดค้านที่ 3 รับจำนองจากผู้คัดค้านที่ 2 หลังจากมีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลายผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 116 ไม่จำต้องวินิจฉัยว่า ผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 สุจริต และเสียค่าตอบแทนหรือไม่
การฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนทรัพย์สินหรือการกระทำใด ๆเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ตามมาตรา 114 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483นั้น มิใช่เป็นการเพิกถอนการฉ้อฉลตามมาตรา 113 ไม่มีบทบัญญัติกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7440/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เพิกถอนการโอนทรัพย์สินหลังล้มละลาย: ผู้รับโอนไม่สุจริต/ไม่มีสิทธิคุ้มครองตามมาตรา 116
ผู้ร้องร้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างในที่ดินระหว่างลูกหนี้กับผู้คัดค้านที่ 1 ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114 และระหว่างผู้คัดค้านที่ 1 กับผู้คัดค้านที่ 2 และให้เพิกถอนการจำนองที่ดินพิพาท พร้อมสิ่งปลูกสร้างระหว่างผู้คัดค้านที่ 2 กับผู้คัดค้านที่ 3 ตามมาตรา 116 สำหรับการโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างระหว่างลูกหนี้กับผู้คัดค้านที่ 1 ดังนี้ ผู้คัดค้านที่ 1มีภาระการพิสูจน์ว่าผู้คัดค้านที่ 1 รับโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน
ผู้คัดค้านที่ 1 ผู้รับโอนรับโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างในที่ดินจากลูกหนี้โดยรู้อยู่ว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ผู้คัดค้านที่ 1 จึงรับโอนโดยไม่สุจริต เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114
ผู้คัดค้านที่ 2 รับโอนที่ดินพิพาทจากผู้คัดค้านที่ 1 และผู้คัดค้านที่ 3 รับจำนองที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากผู้คัดค้านที่ 2 โดยมิได้รับโอนหรือกระทำการใด ๆเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้กับลูกหนี้แต่อย่างใด ผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 ได้ชื่อว่าเป็นบุคคลภายนอกตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 116 เมื่อผู้คัดค้านที่ 1 รับโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยไม่สุจริตแล้ว ผู้คัดค้านที่ 1 ย่อมไม่ได้สิทธิในที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยชอบ จึงไม่มีสิทธิที่จะโอนทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่ผู้อื่น ผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 จะได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 116 ดังกล่าวจะต้องได้ความว่าผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 รับโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนก่อนมีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลาย
คดีนี้แม้ข้อเท็จจริง จะได้ความว่าก่อนที่มีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลาย ผู้คัดค้านที่ 3รับจำนองที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากลูกหนี้ แต่ก่อนที่ผู้คัดค้านที่ 3 จะรับจำนองจากผู้คัดค้านที่ 1 และผู้คัดค้านที่ 2 ได้มีการชำระหนี้ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 3 และไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างแล้วทุกครั้ง การรับจำนองที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างระหว่างลูกหนี้กับผู้คัดค้านที่ 3 กับระหว่างผู้คัดค้านที่ 1 กับผู้คัดค้านที่ 3และระหว่างผู้คัดค้านที่ 2 กับผู้คัดค้านที่ 3 จึงหาใช่เป็นกรณีสืบเนื่องมาจากสัญญาจำนองเดิมเพียงแต่เป็นการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ตามสัญญาจำนองเดิมที่ลูกหนี้ทำกับผู้คัดค้านที่ 3ผู้คัดค้านที่ 2 รับโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากผู้คัดค้านที่ 1 และผู้คัดค้านที่ 3รับจำนองจากผู้คัดค้านที่ 2 หลังจากมีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลาย ผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 116ไม่จำต้องวินิจฉัยว่า ผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 สุจริต และเสียค่าตอบแทนหรือไม่
การฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนทรัพย์สินหรือการกระทำใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ตามมาตรา 114 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 นั้น มิใช่เป็นการเพิกถอนการฉ้อฉลตามมาตรา 113 ไม่มีบทบัญญัติกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6403/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อของผู้มอบอำนาจและการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตของผู้รับโอน
จำเลยที่ 1 ขอให้โจทก์ช่วยค้ำประกันหนี้กู้ยืม โดยจำเลยที่ 1นำหนังสือมอบอำนาจซึ่งยังไม่มีข้อความกรอกไว้มาให้โจทก์ลงลายมือชื่อและแจ้งว่าถ้ากรอกข้อความไปไม่ถูกต้องเจ้าพนักงานที่ดินจะไม่ดำเนินการให้ โจทก์เชื่อใจจำเลยที่ 1 จึงลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจดังกล่าว พร้อมกับมอบสำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และโฉนดที่ดินพิพาทให้ไป การกระทำของโจทก์เป็นการกระทำโดยความประมาทเลินเล่อ ยอมเสี่ยงภัยในการกระทำของตนเองอย่างร้ายแรง แม้จำเลยที่ 1 จะปลอมหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวโดยกรอกข้อความว่าโจทก์มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 มีอำนาจขายที่ดินและบ้านพิพาทได้ก็ตามดังนี้ การที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนซื้อขายเปลี่ยนชื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินและบ้านพิพาทจากโจทก์เป็นจำเลยที่ 1 แล้วจดทะเบียนจำนองเป็นประกันหนี้ต่อธนาคารจนกระทั่งจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองและโอนขายให้แก่จำเลยที่ 2 จึงเป็นผลสืบเนื่องมาจากการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของโจทก์ดังกล่าวโดยตรง
เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองคบคิดกันฉ้อฉลโจทก์อย่างไรลำพังราคาทรัพย์ที่ระบุในสัญญาจดทะเบียนโอนขายเป็นราคาประเมินหาใช่ราคาที่แท้จริงตามที่จำเลยทั้งสองซื้อขายกันจะถือว่าเป็นการกระทำที่ไม่สุจริตของจำเลยที่ 2 หาได้ไม่
การที่จำเลยที่ 2 ซื้อที่ดินและบ้านพิพาทมาจากจำเลยที่ 1มิได้ล่วงรู้ถึงข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และไม่ทราบว่าจำเลยที่ 1ปลอมแปลงหนังสือมอบอำนาจเกี่ยวกับการโอนที่ดินและบ้านพิพาทเปลี่ยนชื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์จากโจทก์เป็นจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงรับโอนที่ดินและบ้านพิพาทมาโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนเช่นกัน หากให้เพิกถอนการจดทะเบียนซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทด้วยเหตุผลว่าจำเลยที่ 2 ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้โอน ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยที่ 2 เป็นอย่างมาก และความเสียหายนี้ก็เกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของโจทก์โดยตรงดังนั้น การที่โจทก์ใช้สิทธิติดตามเอาที่ดินและบ้านพิพาทคืนโดยฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนซื้อขายเป็นคดีนี้ ถือได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ตาม ป.พ.พ.มาตรา 5 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ปัญหาเรื่องการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต เป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลย่อมยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5879/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิซื้อที่ดินเช่า: ผู้เช่านามีสิทธิซื้อที่ดินจากผู้รับโอน หากผู้ให้เช่าขายโดยไม่แจ้งสิทธิ
พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 เป็นกฎหมายพิเศษมีไว้เพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้เช่านาให้มีสิทธิซื้อที่ดินที่เช่าทำนาก่อนคนอื่น
ตามมาตรา 54 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 ที่ว่า ถ้าผู้ให้เช่านาขายนาไปโดยมิได้ปฏิบัติตามมาตรา 53ไม่ว่านานั้นจะตกโอนต่อไปยังผู้ใด ผู้เช่านามีสิทธิซื้อนาจากผู้รับโอนนั้น มีความมุ่งหมายที่จะคุ้มครองสิทธิของผู้เช่านาให้มีสิทธิซื้อนาที่เช่าได้ก่อนบุคคลอื่น และสิทธิดังกล่าวย่อมมีอยู่ ไม่ว่านาพิพาทจะโอนไปยังบุคคลใดถ้าผู้ให้เช่านาขายนาไปโดยมิได้ปฏิบัติตามมาตรา 53
จำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยมิได้แจ้งให้โจทก์ผู้เช่าที่ดินพิพาททำนาทราบ โจทก์จึงมีสิทธิซื้อนาจากจำเลยที่ 2และที่ 3 ผู้รับโอน เมื่อสิทธิของโจทก์เกิดขึ้นแล้ว แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 และศาลพิพากษาตามยอม การที่จำเลยที่ 1 ได้รับโอนที่ดินพิพาทมาตามคำพิพากษาตามยอม ก็ถือได้ว่าที่ดินพิพาทถูกโอนต่อไปหลังจากจำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยมิได้แจ้งให้โจทก์ทั้งห้าทราบ
แม้ตามมติของ คชก.ตำบลมิได้ระบุจำนวนเนื้อที่ของที่ดินพิพาทไว้และมติของ คชก.จังหวัดจะได้วินิจฉัยเพียงว่าให้โจทก์มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทจำนวนประมาณ 112 ไร่ แต่เมื่อที่ดินตามโฉนดดังกล่าวบางส่วนมีสภาพเป็นคูคลองส่งน้ำใช้ประโยชน์ในการทำนา ซึ่งเห็นได้ว่าโจทก์เจตนาเช่าที่ดินพิพาททั้งแปลง ดังนี้มติของ คชก.ตำบล และมติของ คชก.จังหวัดดังกล่าวจึงครอบถึงที่ดินพิพาททั้งแปลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5879/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิซื้อที่ดินเช่าตามพ.ร.บ.เช่าที่ดินฯ คุ้มครองแม้มีการโอนสิทธิหลายทอด ผู้เช่ามีสิทธิซื้อจากผู้รับโอน
พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524เป็นกฎหมายพิเศษมีไว้เพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้เช่านาให้มีสิทธิซื้อที่ดินที่เช่าทำนาก่อนคนอื่น ตามมาตรา 54 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 ที่ว่า ถ้าผู้ให้เช่านาขายนาไปโดยมิได้ปฏิบัติตามมาตรา 53 ไม่ว่านานั้นจะตกโอนต่อไปยังผู้ใดผู้เช่านามีสิทธิซื้อนาจากผู้รับโอนนั้น มีความมุ่งหมายที่จะคุ้มครองสิทธิของผู้เช่านาให้มีสิทธิซื้อนาที่เช่าได้ก่อนบุคคลอื่น และสิทธิดังกล่าวย่อมมีอยู่ ไม่ว่านาพิพาทจะโอนไปยังบุคคลใดถ้าผู้ให้เช่านาขายนาไปโดยมิได้ปฏิบัติตามมาตรา 53 จำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3โดยมิได้แจ้งให้โจทก์ผู้เช่าที่ดินพิพาททำนาทราบ โจทก์จึงมีสิทธิซื้อนาจากจำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้รับโอน เมื่อสิทธิของโจทก์เกิดขึ้นแล้ว แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 และศาลพิพากษาตามยอม การที่จำเลยที่ 1 ได้รับโอนที่ดินพิพาทมาตามคำพิพากษาตามยอม ก็ถือได้ว่าที่ดินพิพาทถูกโอนต่อไปหลังจากจำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยมิได้แจ้งให้โจทก์ทั้งห้าทราบ แม้ตามมติของ คชก. ตำบลมิได้ระบุจำนวนเนื้อที่ของที่ดินพิพาทไว้และมติของ คชก.จังหวัดจะได้วินิจฉัยเพียงว่าให้โจทก์มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทจำนวนประมาณ 112 ไร่ แต่เมื่อที่ดินตามโฉนดดังกล่าวบางส่วนมีสภาพเป็นคูคลองส่งน้ำใช้ประโยชน์ในการทำนาซึ่งเห็นได้ว่าโจทก์เจตนาเช่าที่ดินพิพาททั้งแปลง ดังนี้มติของ คชก.ตำบล และมติของ คชก.จังหวัดดังกล่าวจึงครอบถึงที่ดินพิพาททั้งแปลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 538/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์มรดกโดยผู้จัดการมรดก: สิทธิของผู้รับโอนโดยสุจริต
แม้การที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกอยู่ในฐานะครอบครองทรัพย์มรดกคือที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินมีโฉนดแทนทายาทได้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทเปลี่ยนแปลงฐานะผู้จัดการมรดกเป็นฐานะส่วนตัวแต่เพียงผู้เดียว จำเลยที่ 1 ยังคงไม่ได้สิทธิในส่วนมรดกของโจทก์ทั้งสองก็ตาม แต่เมื่อปรากฎว่าจำเลยที่ 1 โอนขายทรัพย์มรดกพิพาทนี้ให้แก่จำเลยที่ 2 โดยมีค่าตอบแทน และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้จดทะเบียนรับโอนสิทธิมาโดยสุจริต กรณีย่อมต้องด้วยข้อยกเว้นตามป.พ.พ.มาตรา 1300 ซึ่งคุ้มครองเป็นพิเศษ สิทธิของจำเลยที่ 2 ผู้รับโอนจึงดีกว่าจำเลยที่ 1 ผู้โอน
of 37