คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้ว่าราชการจังหวัด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 64 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2312/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องในคดีความเท็จเกี่ยวกับการสัมปทานที่ดิน: ผู้ว่าฯ ไม่ใช่ผู้รับผิดชอบการตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้น
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยซึ่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดว่าได้กระทำเอกสารและรับรองเป็นหลักฐานซึ่งข้อเท็จจริงอันเอกสารนั้นมุ่งพิสูจน์ความจริงอันเป็นความเท็จในเรื่องที่โจทก์ได้รับสัมปทานจากกระทรวงมหาดไทยให้เข้าไปทำการเกษตรและอุตสาหกรรมในท้องที่แห่งหนึ่งเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้ยกฟ้องโจทก์โดยได้วินิจฉัยไว้โดยละเอียดว่าเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่ตรวจพิสูจน์สิทธิและสอบสวนเกี่ยวกับที่ดินที่โจทก์ขอสัมปทานคือนายอำเภอท้องที่มิใช่จำเลยเรื่องราวที่นายอำเภอสอบสวนเสนอความเห็นต่อจำเลยและจำเลยเสนอต่อไปยังรัฐมนตรีถือไม่ได้ว่าเป็นความเท็จถือไม่ได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความเท็จและความเสียหายของโจทก์เกิดขึ้นในภายหลังซึ่งมิใช่การกระทำของจำเลยโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้นเป็นการวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายไม่มีอำนาจฟ้องโดยอาศัยข้อเท็จจริงและเหตุผลที่ปรากฏในสำนวนฎีกาของโจทก์ที่ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความเท็จโจทก์มีอำนาจฟ้องจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 220

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 391/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้ว่าฯ สั่งพ้นสมาชิกสภาจังหวัด เหตุขาดคุณสมบัติและความชอบธรรมในการเลือกตั้งแทน
ตาม พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัด พ.ศ.2482 มาตรา 18 ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาจังหวัดจะต้องมีคุณสมบัติตามมาตรา 19 ความรู้ของผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นคุณสมบัติตามมาตรา 19 และตาม พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด พ.ศ.2498 มาตรา 12(4). สมาชิกสภาแห่งสภาจังหวัดย่อมสิ้นสุดลงเมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดได้สอบสวนแล้วสั่งให้ออกโดยปรากฏว่าต่อมาเป็นผู้ขาดคุณสมบัติ การขาดคุณสมบัติในมาตรานี้มีความหมายรวมทั้งการไม่มีคุณสมบัติมาตรา 19 ด้วย ดังนั้นเมื่อปรากฏว่า ส. ซึ่งเป็นสมาชิกสภาจังหวัดมีพื้นความรู้ต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนด จำเลย ที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดจึงมีอำนาจสั่งให้ ส. ออกจากสมาชิกสภาจังหวัดได้ จำเลยที่ 1 สั่งเช่นนั้นโดยได้ตั้งกรรมการสอบสวนและได้หารือกับกระทรวงมหาดไทยและกรมอัยการแล้ว จำเลยที่ 1 ได้กระทำไปโดยรอบคอบแล้ว มิได้ประมาทเลินเล่อหรือจงใจให้ผู้ใดเสียหายเมื่อตำแหน่งสมาชิกสภาจังหวัดว่างลงเพราะผลแห่งคำสั่งของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวก็ต้องมีการเลือกตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างภายใน 90 วัน ตามที่ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด พ.ศ.2498 มาตรา 8 ได้บัญญัติไว้ ไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าในกรณีเช่นนี้หากผู้ที่ต้องพ้นตำแหน่งไปได้ฟ้องคดีต่อศาลก็ให้ระงับการเลือกตั้งไว้รอฟังผลแห่งคดีเสียก่อน การที่จำเลยที่ 1 สั่งให้มีการเลือกตั้งและจำเลยที่ 1 ที่ 3 ดำเนินการเลือกตั้งไปโดยไม่รอฟังผลที่ ส. ฟ้องจำเลยที่ 1 กับพวก จึงเป็นการปฏิบัติตามกฎหมาย ไม่เป็นละเมิดต่อผู้ใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 266/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คุณสมบัติผู้ใหญ่บ้าน/กำนัน: พักโทษไม่ถือเป็นพ้นโทษ, อำนาจสั่งพ้นตำแหน่งของผู้ว่าฯ
ในระหว่างที่โจทก์ต้องโทษจำคุก แม้โจทก์จะได้รับการพักโทษปล่อยตัวออกจากเรือนจำก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์พ้นโทษนับแต่วันที่ได้พักการลงโทษ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าวันครบกำหนดโทษของโจทก์ คือวันที่ 6 มกราคม 2515 วันพ้นโทษของโจทก์จึงต้องนับแต่วันที่ 7 มกราคม 2515เป็นต้นไป ฉะนั้น วันที่โจทก์ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ใหญ่บ้านในวันที่ 19 มกราคม 2516 และรับเลือกตั้งเป็นกำนันในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2516 จึงยังไม่พ้นกำหนด 3 ปี นับแต่วันพ้นโทษโจทก์จึงขาดคุณสมบัติในการเป็นผู้ใหญ่บ้านและกำนัน ผู้ว่าราชการจังหวัดมีคำสั่งให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งได้ โดยหาจำต้องใช้สิทธิทางศาลไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 879/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเหมืองฝายส่วนบุคคลและการชลประทานราษฎร ผู้ว่าฯ ไม่มีอำนาจเปลี่ยนประเภทโดยไม่สั่งการ
พระราชบัญญัติการชลประทานราษฎร์ พ.ศ. 2482 มาตรา 11ให้อำนาจผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศกำหนดเขตการชลประทานส่วนราษฎรได้แต่อำนาจสั่งเปลี่ยนประเภทการชลประทานส่วนบุคคลเป็นการชลประทานส่วนราษฎรจะต้องปฏิบัติตามมาตรา 9 วรรคสอง
โจทก์ได้รับโอนสิทธิในเหมืองฝายซึ่งเป็นการชลประทานส่วนบุคคลมาแล้วไม่น้อยกว่า 10 ปี จากมารดา แม้ต่อมาผู้ว่าราชการจังหวัดได้ออกประกาศโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 11 กำหนดเขตการชลประทานส่วนราษฎร มีตำบลของเหมืองฝายของโจทก์รวมอยู่ด้วยแต่ไม่ปรากฏว่าได้มีการสั่งเปลี่ยนแปลงประเภทการชลประทานส่วนบุคคลของโจทก์เป็นการชลประทานส่วนราษฎรเมื่อจำเลยถมเหมืองแล้วปลูกข้าวบนดินที่ถม โจทก์จึงเป็นผู้เสียหาย มีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358 และ 362

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 66/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีสาธารณสมบัติของแผ่นดิน: ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจฟ้องกรณีบุกรุกได้ตามประมวลกฎหมายที่ดินและ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
กระทรวงศึกษาธิการซื้อที่ดินจากเอกชนเพื่อใช้ประโยชน์เกี่ยวกับการศึกษาแล้วมอบให้โรงเรียนประชาบาลใช้ประโยชน์อัน ตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน กระทรวงการคลังได้ทำการรังวัดสำรวจขึ้นทะเบียนเป็นที่หลวง แต่ไม่ปรากฏว่าได้ขึ้นทะเบียนอะไรไว้คงขึ้นทะเบียนเป็นพัสดุเคลื่อนที่ไม่ได้ของแผนกศึกษาธิการอำเภอซึ่งเป็นหน่วยงานของกระทรวงศึกษาธิการเนื้อที่ดินดังกล่าวเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งอยู่ในอำนาจปกครองดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการคลังจึงไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องและไม่มีอำนาจฟ้องผู้อยู่ในที่ดินนั้น
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 8 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน มีคำสั่งมอบหมายให้จังหวัดเทศบาล และสุขาภิบาลมีหน้าที่ดูแลรักษาและดำเนินการคุ้มครองป้องกันที่ดินทั้งหลายอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือทรัพย์สินของแผ่นดินภายในเขตของตน ตามคำสั่งที่ 890/2498 ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นที่ทราบกันทั่วไปแล้ว ฉะนั้น จังหวัดเทศบาลและสุขาภิบาลย่อมมีอำนาจหน้าที่ในการดูแลรักษาและดำเนินการคุ้มครองป้องกันที่ดินทั้งหลายอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินภายในเขตของตน อำนาจหน้าที่เช่นว่านี้เป็นราชการแผ่นดินอย่างหนึ่งย่อมอยู่ในความรับผิดชอบและควบคุมดูแลของผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งมีอำนาจบริหารราชการแผ่นดินและควบคุมดูแลราชการบริหารส่วนท้องถิ่นในจังหวัดตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินฯ เมื่อมีบุคคลใดบุกรุกหรือเข้าครอบครองที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือทรัพย์สินของแผ่นดิน ซึ่งอยู่ในความดูแลรักษาและคุ้มครองป้องกันของจังหวัดเทศบาลหรือสุขาภิบาลในจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัดย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่บุคคลนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 66/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีรุกที่สาธารณะ: ผู้ว่าฯ-กระทรวงการคลัง มีอำนาจฟ้องได้ตามกฎหมาย
กระทรวงศึกษาธิการซื้อที่ดินจากเอกชนเพื่อใช้ประโยชน์เกี่ยวกับการศึกษาแล้วมอบให้โรงเรียนประชาบาลใช้ประโยชน์อันตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน กระทรวงการคลังได้ทำการรังวัดสำรวจขึ้นทะเบียนเป็นที่หลวง แต่ไม่ปรากฏว่าได้ขึ้นทะเบียนอะไรไว้คงขึ้นทะเบียนเป็นพัสดุเคลื่อนที่ไม่ได้ของแผนกศึกษาธิการอำเภอซึ่งเป็นหน่วยงานของกระทรวงศึกษาธิการเนื้อที่ดินดังกล่าวเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งอยู่ในอำนาจปกครองดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการคลังจึงไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องและไม่มีอำนาจฟ้องผู้อยู่ในที่ดินนั้น
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 8 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน มีคำสั่งมอบหมายให้จังหวัด เทศบาล และสุขาภิบาลมีหน้าที่ดูแลรักษาและดำเนินการคุ้มครองป้องกันที่ดินทั้งหลายอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือทรัพย์สินของแผ่นดินภายในเขตของตน ตามคำสั่งที่ 890/2498 ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นที่ทราบกันทั่วไปแล้ว ฉะนั้น จังหวัดเทศบาล และสุขาภิบาลย่อมมีอำนาจหน้าที่ในการดูแลรักษาและดำเนินการคุ้มครองป้องกันที่ดินทั้งหลายอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินภายในเขตของตน อำนาจหน้าที่เช่นว่านี้เป็นราชการแผ่นดินอย่างหนึ่งย่อมอยู่ในความรับผิดชอบและควบคุมดูแลของผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งมีอำนาจบริหารราชการแผ่นดิน และควบคุมดูแลราชการบริหารส่วนท้องถิ่นในจังหวัดตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินฯ เมื่อมีบุคคลใดบุกรุกหรือเข้าครอบครองที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือทรัพย์สินของแผ่นดิน ซึ่งอยู่ในความดูแลรักษาและคุ้มครองป้องกันของจังหวัดเทศบาลหรือสุขาภิบาลในจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัดย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่บุคคลนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3419/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุมัติเงินยืมต้องเป็นไปตามอำนาจของผู้ว่าฯ การยืมเพื่อใช้ราชการมิใช่การยืมตามกฎหมายแพ่ง
ข้อเท็จจริงได้ความว่า อำนาจอนุมัติเงินยืมเป็นอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัดแต่ผู้เดียว จำเลยที่ 2 ผู้เป็นปลัดจังหวัดจะสั่งอนุมัติได้ต่อเมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดไม่อาจปฏิบัติราชการได้ และตามระเบียบราชการผู้ขอยืมเงินจะต้องขอไปใช้ในทางราชการผู้มีอำนาจอนุมัติจึงจะอนุมัติให้ยืมได้ ดังนี้ เมื่อฟ้องโจทก์มิได้บรรยายว่าจำเลยที่ 1 ผู้เป็นเสมียนตรานำเงินยืมไปใช้นอกเหนือหน้าที่ราชการและจำเลยที่ 2 ทำนอกเหนือหน้าที่ราชการแต่อย่างใดจึงต้องฟังว่าการที่จำเลยที่ 1 ได้ขอยืมเงินทดรองราชการ และจำเลยที่ 2 อนุมัติไปตามฟ้อง เป็นการยืมไปใช้ในราชการในกรณีเช่นนี้ จำเลยที่ 1 หาได้อยู่ในฐานะผู้ยืมตามกฎหมายไม่(อ้างฎีกาที่ 1107/2499) การที่โจทก์กล่าวฟ้องว่าจำเลยที่ 1ยืมเงินทดรองราชการไปแล้วไม่ส่งใช้เงินยืมหรือไม่ส่งใบสำคัญหักล้างเงินยืม และจำเลยที่ 2 มีหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติราชการของจำเลยที่ 1 เป็นผู้อนุมัติเงินยืม จึงเป็นเรื่องที่กล่าวหาว่าจำเลย ทั้งสองไม่ปฏิบัติตามระเบียบราชการนั้นเอง หาได้กล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำละเมิดต่อโจทก์แต่ประการใดไม่ จึงไม่มีทางที่จะบังคับให้จำเลยรับผิดตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 94/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้ว่าฯประกาศเขตควบคุมการค้าข้าวและการริบข้าวสารที่ไม่ได้แจ้งปริมาณ
คณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว มีอำนาจประกาศเขตควบคุมการค้าข้าวได้ตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติการค้าข้าว พ.ศ. 2489 ผู้ว่าราชการจังหวัดไม่มีอำนาจประกาศเขตควบคุมการค้าข้าว
ตามประกาศของคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าวได้กำหนดเขตท้องที่จังหวัดทุกจังหวัดทั่วราชอาณาจักรเป็นเขตควบคุมการค้าข้าว และแต่งตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ในจังหวัดนั้น ๆ ให้มีอำนาจสั่งให้แจ้งปริมาณและสถานที่เก็บข้าว ฉะนั้น ผู้ว่าราชการจังหวัดจึงมีอำนาจประกาศสั่งให้แจ้งปริมาณและสถานที่เก็บข้าวได้ แม้ประกาศของผู้ว่าราชการจังหวัดดังกล่าวจะกำหนดเขตควบคุมการค้าข้าวไว้ด้วย ก็มีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย
ประกาศของผู้ว่าราชการจังหวัดได้อ้างถึงฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ส่วนจังหวัดและกล่าวถึงที่มาของอำนาจซึ่งได้รับจากคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว ดังนี้ แสดงว่าประกาศนั้นมิได้ออกไปตามอำนาจและหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดตามปกติ
ข้าวสารที่ไม่แจ้งปริมาณและสถานที่เก็บต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่เป็นข้าวซึ่งเกี่ยวเนื่องกับความผิด ต้องริบข้าวสารและกระสอบบรรจุข้าวสารนั้น ตามมาตรา 21 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติการค้าข้าว พ.ศ. 2489
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 3/2511)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 94/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้ว่าราชการจังหวัดในการประกาศเขตควบคุมการค้าข้าวและการสั่งให้แจ้งปริมาณข้าว ต้องอาศัยอำนาจจากคณะกรรมการฯ
คณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว มีอำนาจประกาศเขตควบคุมการค้าข้าวได้ตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติการค้าข้าว พ.ศ.2489 ผู้ว่าราชการจังหวัดไม่มีอำนาจประกาศเขตควบคุมการค้าข้าว
ตามประกาศของคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าวได้กำหนดเขตท้องที่จังหวัดทุกจังหวัดทั่วราชอาณาจักรเป็นเขตควบคุมการค้าข้าวและแต่งตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ในจังหวัดนั้นๆ ให้มีอำนาจสั่งให้แจ้งปริมาณและสถานที่เก็บข้าวฉะนั้นผู้ว่าราชการจังหวัดจึงมีอำนาจประกาศสั่งให้แจ้งปริมาณและสถานที่เก็บข้าวได้แม้ประกาศของผู้ว่าราชการจังหวัดดังกล่าวจะกำหนดเขตควบคุมการค้าข้าวไว้ด้วยก็มีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย
ประกาศของผู้ว่าราชการจังหวัดได้อ้างถึงฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ส่วนจังหวัดและกล่าวถึงที่มาของอำนาจซึ่งได้รับจากคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว ดังนี้แสดงว่าประกาศนั้นมิได้ออกไปตามอำนาจและหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดตามปกติ
ข้าวสารที่ไม่แจ้งปริมาณและสถานที่เก็บต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นข้าวซึ่งเกี่ยวเนื่องกับความผิดต้องริบข้าวสารและกระสอบบรรจุข้าวสารนั้นตามมาตรา 21ทวิ แห่งพระราชบัญญัติการค้าข้าวพ.ศ.2489
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 3/2511)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 94/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้ว่าราชการจังหวัดในการประกาศเขตควบคุมการค้าข้าวและการสั่งแจ้งปริมาณข้าว
คณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว มีอำนาจประกาศเขตควบคุมการค้าข้าวได้ตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติการค้าข้าว พ.ศ.2489 ผู้ว่าราชการจังหวัดไม่มีอำนาจประกาศเขตควบคุมการค้าข้าว.
ตามประกาศของคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว. ได้กำหนดเขตท้องที่จังหวัดทุกจังหวัดทั่วราชอาณาจักรเป็นเขตควบคุมการค้าข้าว. และแต่งตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ในจังหวัดนั้นๆ ให้มีอำนาจสั่งให้แจ้งปริมาณและสถานที่เก็บข้าว. ฉะนั้นผู้ว่าราชการจังหวัดจึงมีอำนาจประกาศสั่งให้แจ้งปริมาณและสถานที่เก็บข้าวได้. แม้ประกาศของผู้ว่าราชการจังหวัดดังกล่าวจะกำหนดเขตควบคุมการค้าข้าวไว้ด้วย ก็มีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย.
ประกาศของผู้ว่าราชการจังหวัดได้อ้างถึงฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ส่วนจังหวัดและกล่าวถึงที่มาของอำนาจซึ่งได้รับจากคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว. ดังนี้แสดงว่าประกาศนั้นมิได้ออกไปตามอำนาจและหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดตามปกติ.
ข้าวสารที่ไม่แจ้งปริมาณและสถานที่เก็บต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นข้าวซึ่งเกี่ยวเนื่องกับความผิด. ต้องริบข้าวสารและกระสอบบรรจุข้าวสารนั้น. ตามมาตรา 21ทวิ แห่งพระราชบัญญัติการค้าข้าวพ.ศ.2489. (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 3/2511).
of 7