พบผลลัพธ์ทั้งหมด 39 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1366/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัยไม่มีผลผูกพันเมื่อผู้เอาประกันภัยไม่มีส่วนได้เสียในเหตุการณ์ที่ประกันภัย
โจทก์จัดให้นายโอ่งประกันชีวิตโดยโจทก์เป็นผู้เสียเบี้ยประกันและเป็นผู้รับประโยชน์ โจทก์จึงเป็นผู้เอาประกัน เมื่อโจทก์ไม่มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้นั้น สัญญาประกันภัยย่อมไม่ผูกพันคู่สัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 863 โจทก์ย่อมไม่ได้รับประโยชน์จากกรมธรรม์สัญญานั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1376-1380/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประกันภัยไม่ต้องรับผิดเมื่อเกิดไฟไหม้จากทุจริตของผู้เอาประกัน
บริษัทรับประกันภัยไม่ต้องรับผิดในเมื่อทรัพย์สินที่เอาประกันถูกไฟไหม้อันเนื่องมาจากความทุจริตของผู้เอาประกันภัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1215/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระเบียบวิธีเสนอคำเรียกร้องประกันภัยทางทะเล ไม่เป็นสาระสำคัญ หากจำเลยเต็มใจรับคำเรียกร้อง ผู้เอาประกันมีสิทธิฟ้องได้
สัญญาประกันภัยการขนส่งทางทะเลมีข้อความว่า "บริษัทจะไม่ยอมรับข้อเรียกร้องใด ๆ เว้นไว้แต่จะได้มีการแจ้งความโดยทันทีแก่ผู้ที่กล่าวนามข้างใต้นี้ และได้รับรายงานการสำรวจแล้ว ในกรณีความสูญหายหรือบุบสลายนั้นให้ทำข้อเรียกร้องเป็นลายลักษณ์อักษรโดยทันทีต่อเรือหรือผู้ขนส่งอื่น และให้แนบข้อเรียกร้องและคำตอนข้อเรียกร้องไปกับข้อเรียกร้องใด ๆ ที่ได้เสนอตามกรมธรรม์ประกันภัยนี้ ฯลฯ ข้อความดังกล่าวนี้มิใช่ข้อกำหนดที่ยกเว้น หรือจำกัดความรับผิดของผู้รับประกันภัย แต่ประการใด หากเป็นเพียงข้อกำหนดเรื่องระเบียบวิธีปฏิบัติในการเสนอข้อเรียกร้องต่อผู้รับประกันภัยเพื่อขอรับเงินประกันภัยนั้น ควรจะมีอะไรเสนอพร้อมกันไปด้วยบ้างเท่านั้นเอง หากผู้รับประกันแสดงพฤติการณ์ให้เห็นว่ามิได้ถือเอาข้อกำหนดดังกล่าว เป็นข้อสาระสำคัญสำหรับวิธีปฏิบัติการเสนอคำเรียกร้องของผู้เอาประกันภัย และผู้รับประกันภัยเต็มใจยอมรับข้อเรียกร้องของผู้เอาประกันภัยไว้ดำเนินการโดยไม่ติดใจในเรื่องข้อบกพร่องอันเกี่ยวกับระเบียบปฏิบัติประการใด คำเรียกร้องของผู้เอาประกันภัยโดยไม่ได้แนบข้อเรียกร้องต่อเรือและคำตอบข้อเรียกร้องได้เสนอไปด้วย ย่อมเป็นไปโดยชอบ ผู้เอาประกันภัยย่อมมีสิทธิฟ้องผู้รับประกันภัยได้โดยสมบูรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 532/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันชีวิตโมฆะเมื่อผู้เอาประกันเสียชีวิตก่อนทำสัญญา
บริษัทรับประกันภัยสนองรับทำสัญญาประกันชีวิตเมื่อผู้เอาประกันตายไปแล้วโดยบริษัทไม่รู้ถึงความตายนั้น สัญญานั้นเป็นโมฆะ เพราะทำด้วยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม
ในสัญญาประกันชีวิต การใช้เงินย่อมอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของบุคคล.
ในสัญญาประกันชีวิต การใช้เงินย่อมอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของบุคคล.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 532/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันชีวิตเป็นโมฆะเมื่อผู้เอาประกันเสียชีวิตก่อนทำสัญญา
บริษัทรับประกันภัยสนองรับทำสัญญาประกันชีวิตเพื่อผู้เอาประกันตายไปแล้วโดยบริษัทไม่รู้ถึงความตายนั้นสัญญานั้นเป็นโมฆะเพราะทำด้วยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม
ในสัญญาประกันชีวิต การใช้เงินย่อมอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของบุคคล
ในสัญญาประกันชีวิต การใช้เงินย่อมอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของบุคคล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1431/2498 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้กระทำละเมิด: ผู้รับประกันภัยมีสิทธิเรียกร้องเท่ากับค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจริงต่อผู้เอาประกัน
ผู้รับประกันภัยย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายจากบุคคลภายนอกได้เพียงเท่ากับจำนวนที่บุคคลนั้นได้กระทำละเมิดต่อผู้เอาประกันภัยเท่านั้น จะเรียกร้องเต็มตามจำนวนที่ผู้รับประกันภัยต้องชำระให้แก่ผู้เอาประกันซึ่งเกินกว่าค่าเสียหายที่บุคคลภายนอกได้กระทำละเมิด หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6893/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องเงินประกันชีวิตเมื่อผู้รับประโยชน์และผู้เอาประกันเสียชีวิตพร้อมกัน สิทธิมิได้ตกแก่กองมรดกผู้รับประโยชน์
โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ ท. การที่ ส. ทำสัญญาประกันชีวิตกับจำเลยโดยระบุให้ ท. เป็นผู้รับประโยชน์เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ส. และ ท. ต่างถึงแก่ความตายซึ่งไม่ว่า ท. จะถึงแก่ความตายก่อนหรือหลัง ส. ท. ก็ถึงแก่ความตายเช่นเดียวกัน เมื่อ ท. ผู้รับประโยชน์ถึงแก่ความตายจึงไม่อาจเข้ารับประโยชน์ตามสัญญาประกันชีวิตของ ส. ได้ ดังนั้นจึงไม่อาจถือว่า ท. จะได้รับประโยชน์จากการจ่ายเงินตามเงื่อนไขของกรมธรรม์และไม่ถือว่าเงินตามกรมธรรม์ที่จำเลยจะต้องจ่ายให้แก่ ท. ซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์นั้นตกเป็นของกองมรดก ท. กรณีต้องถือว่า ท. ผู้รับประโยชน์ไม่อาจเข้าถือเอาประโยชน์ตามสัญญาประกันชีวิตของ ส. ดังนั้นประโยชน์ที่จะได้รับจากสัญญาประกันชีวิตจึงต้องตกแก่ทายาทโดยธรรมของ ส. ผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งเป็นทรัพย์มรดกซึ่งผู้จัดการมรดกของ ส. หรือทายาทโดยธรรมจึงจะมีสิทธิเรียกร้องเอาเงินตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันชีวิตของ ส. เมื่อโจทก์เป็นเพียงผู้จัดการมรดกของ ท. จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกให้จำเลยชำระเงินตามกรมธรรม์ประกันชีวิตของ ส. ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14216/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัยตกเป็นโมฆะเนื่องจากผู้เอาประกันภัยแสดงเจตนาไม่ตรงกัน
จำเลยขาดนัดพิจารณาและโจทก์สืบพยานไปบ้างแล้ว จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วเห็นว่าการขาดนัดเป็นไปโดยไม่จงใจให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ โจทก์โต้แย้งคำสั่งไว้ หลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว โจทก์อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน กรณีเป็นเรื่องการขอพิจารณาคดีใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 206 วรรคสาม ซึ่งไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายจำกัดสิทธิในการอุทธรณ์ฎีกาไว้ หาใช่อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่หลังจากศาลมีคำสั่งชี้ขาดให้จำเลยแพ้คดีโดยการขาดนัดพิจารณา ตามมาตรา 199 ตรี และมาตรา 207 อันเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 199 เบญจ วรรคสี่ ไม่ โจทก์จึงฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในปัญหาเรื่องการจงใจขาดนัดพิจารณาหรือไม่ ได้
ในวันนัดไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา นอกจากศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาแล้ว ยังมีคำสั่งให้รับคำฟ้อง หมายเรียกให้จำเลยยื่นคำให้การ และนัดสืบพยานโจทก์ด้วย ซึ่งในวันดังกล่าวทนายจำเลยไม่ได้มาศาลหรือลงชื่อทราบวันนัดของศาลแต่อย่างใด และแม้ทนายจำเลยเคยระบุไว้ในคำแถลงวันที่ 5 เมษายน 2544 ว่าศาลนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 23 พฤษภาคม 2544 เวลา 13.30 นาฬิกา ก็ตาม แต่ปรากฏตามคำร้องลงวันที่ 3 พฤษภาคม 2544 ของทนายจำเลยที่ขอให้จำหน่ายคดีเนื่องจากโจทก์ฟ้องคดีโดยไม่ได้เสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการพิจารณาก่อนจึงเป็นการไม่ชอบซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า "รวมและรอไว้สั่งในวันนัด" ที่หัวกระดาษบนด้านขวาเหนือตราประทับของแผนกเก็บสำนวนคดีดำเขียนว่า "24 พค 44" นอกจากนั้นบัญชีพยานจำเลยลงวันที่ 15 พฤษภาคม 2544 หัวกระดาษตอนบนมีข้อความระบุว่า "นัดวันที่ 24 พค 44 13.30 น" เมื่อพิจารณาถึงเหตุที่ทนายจำเลยมาศาลในวันที่ 24 พฤษภาคม 2544 และยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ในวันนั้นโดยระบุชัดแจ้งถึงเหตุที่มาศาลในวันนั้นเพื่อปฏิบัติหน้าที่คดีนี้และเหตุที่ไม่ได้มาศาลในวันนัด พร้อมสำเนาหลักฐานสมุดนัดความของทนายจำเลยซึ่งสอดคล้องกับเอกสารสำนวนศาล พฤติการณ์ตามข้ออ้างของทนายจำเลยจึงน่าเชื่อว่าทนายจำเลยสำคัญผิดในวันนัดและไม่ได้จงใจขาดนัดพิจารณา
จำเลยออกกรมธรรม์ประกันชีวิตให้แก่ จ. แต่อ้างว่าผู้แสดงเจตนาขอเอาประกันภัยไม่ใช่ จ. ประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่าสัญญาประกันภัยบังคับได้หรือไม่ เพียงใด จำเลยซึ่งมีภาระการพิสูจน์ย่อมสามารถนำพยานหลักฐานเข้าสืบเพื่อหักล้างให้เห็นว่าสัญญาประกันภัยไม่มีผลผูกพันได้
คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ส่งเอกสารไปตรวจพิสูจน์นั้นเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา หากโจทก์ไม่เห็นด้วยต้องโต้แย้งคัดค้านไว้ เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นทั้งที่มีเวลาเพียงพอโจทก์ไม่อาจอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้เป็นการไม่ชอบ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ในวันนัดไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา นอกจากศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาแล้ว ยังมีคำสั่งให้รับคำฟ้อง หมายเรียกให้จำเลยยื่นคำให้การ และนัดสืบพยานโจทก์ด้วย ซึ่งในวันดังกล่าวทนายจำเลยไม่ได้มาศาลหรือลงชื่อทราบวันนัดของศาลแต่อย่างใด และแม้ทนายจำเลยเคยระบุไว้ในคำแถลงวันที่ 5 เมษายน 2544 ว่าศาลนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 23 พฤษภาคม 2544 เวลา 13.30 นาฬิกา ก็ตาม แต่ปรากฏตามคำร้องลงวันที่ 3 พฤษภาคม 2544 ของทนายจำเลยที่ขอให้จำหน่ายคดีเนื่องจากโจทก์ฟ้องคดีโดยไม่ได้เสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการพิจารณาก่อนจึงเป็นการไม่ชอบซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า "รวมและรอไว้สั่งในวันนัด" ที่หัวกระดาษบนด้านขวาเหนือตราประทับของแผนกเก็บสำนวนคดีดำเขียนว่า "24 พค 44" นอกจากนั้นบัญชีพยานจำเลยลงวันที่ 15 พฤษภาคม 2544 หัวกระดาษตอนบนมีข้อความระบุว่า "นัดวันที่ 24 พค 44 13.30 น" เมื่อพิจารณาถึงเหตุที่ทนายจำเลยมาศาลในวันที่ 24 พฤษภาคม 2544 และยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ในวันนั้นโดยระบุชัดแจ้งถึงเหตุที่มาศาลในวันนั้นเพื่อปฏิบัติหน้าที่คดีนี้และเหตุที่ไม่ได้มาศาลในวันนัด พร้อมสำเนาหลักฐานสมุดนัดความของทนายจำเลยซึ่งสอดคล้องกับเอกสารสำนวนศาล พฤติการณ์ตามข้ออ้างของทนายจำเลยจึงน่าเชื่อว่าทนายจำเลยสำคัญผิดในวันนัดและไม่ได้จงใจขาดนัดพิจารณา
จำเลยออกกรมธรรม์ประกันชีวิตให้แก่ จ. แต่อ้างว่าผู้แสดงเจตนาขอเอาประกันภัยไม่ใช่ จ. ประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่าสัญญาประกันภัยบังคับได้หรือไม่ เพียงใด จำเลยซึ่งมีภาระการพิสูจน์ย่อมสามารถนำพยานหลักฐานเข้าสืบเพื่อหักล้างให้เห็นว่าสัญญาประกันภัยไม่มีผลผูกพันได้
คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ส่งเอกสารไปตรวจพิสูจน์นั้นเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา หากโจทก์ไม่เห็นด้วยต้องโต้แย้งคัดค้านไว้ เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นทั้งที่มีเวลาเพียงพอโจทก์ไม่อาจอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้เป็นการไม่ชอบ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2888/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัยค้ำจุน: ผู้รับประกันภัยต้องรับผิดเมื่อผู้ขับขี่ได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัย
จำเลยที่ 4 ไม่นำสืบว่าเหตุใดจึงยอมรับทำสัญญาประกันภัยค้ำจุนรถยนต์คันนี้กับจำเลยที่ 3 ทั้งๆ ที่น่าจะทราบดีว่าจำเลยที่ 3 ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ตามพฤติการณ์เชื่อว่าจำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 เจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์ทำสัญญาประกันภัยกับจำเลยที่ 4 โดยไม่เปิดเผยชื่อตัวการตาม ป.พ.พ. มาตรา 806 ตัวการซึ่งมิได้เปิดเผยชื่อจะกลับแสดงตนให้ปรากฏและเข้ารับเอาสัญญาใดๆ ซึ่งตัวแทนได้ทำให้แทนตนก็ได้ สัญญาประกันภัยค้ำจุนระหว่างจำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงมีผลบังคับใช้ได้ การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสามีของจำเลยที่ 2 เจ้าของกรรมสิทธิ์นำรถยนต์คันนี้ไปใช้ย่อมถือได้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขับรถคันที่เอาประกันภัยโดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยแล้ว และตามสัญญาประกันภัย หมวดที่ 2 ส่วนที่ 2 ข้อ 2.6 ระบุว่าการคุ้มครองความรับผิดของผู้ขับขี่บริษัทจะถือว่าบุคคลใดซึ่งขับขี่รถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยเอง
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันทำละเมิดแต่จำเลยที่ 4 เป็นเพียงผู้รับประกันภัยค้ำจุน มีความผูกพันที่จะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความวินาศภัยอันเกิดขึ้นตามเงื่อนไขที่ได้ระบุไว้ในกรมธรรม์ไม่ใช่ผู้ทำละเมิดหรือต้องร่วมรับผิดกับผู้ทำละเมิดอย่างลูกหนี้ร่วม เมื่อกรมธรรม์กำหนดแต่เพียงวงเงินความเสียหายที่จำเลยที่ 4 จะต้องรับผิดโดยมิได้ระบุให้ร่วมรับผิดเช่นเดียวกับผู้ทำละเมิด จำเลยที่ 4 จึงไม่ต้องรับผิดในดอกเบี้ยนับแต่วันที่ทำละเมิดเมื่อหนี้ตามสัญญาประกันภัยค้ำจุนมิได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทินและโจทก์มิได้ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 4 ตกเป็นผู้ผิดนัดก่อนที่โจทก์จะนำคดีมาฟ้อง จำเลยที่ 4 จึงต้องรับผิดชดใช้ดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันทำละเมิดแต่จำเลยที่ 4 เป็นเพียงผู้รับประกันภัยค้ำจุน มีความผูกพันที่จะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความวินาศภัยอันเกิดขึ้นตามเงื่อนไขที่ได้ระบุไว้ในกรมธรรม์ไม่ใช่ผู้ทำละเมิดหรือต้องร่วมรับผิดกับผู้ทำละเมิดอย่างลูกหนี้ร่วม เมื่อกรมธรรม์กำหนดแต่เพียงวงเงินความเสียหายที่จำเลยที่ 4 จะต้องรับผิดโดยมิได้ระบุให้ร่วมรับผิดเช่นเดียวกับผู้ทำละเมิด จำเลยที่ 4 จึงไม่ต้องรับผิดในดอกเบี้ยนับแต่วันที่ทำละเมิดเมื่อหนี้ตามสัญญาประกันภัยค้ำจุนมิได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทินและโจทก์มิได้ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 4 ตกเป็นผู้ผิดนัดก่อนที่โจทก์จะนำคดีมาฟ้อง จำเลยที่ 4 จึงต้องรับผิดชดใช้ดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป