คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้แทน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 150 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3496/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมของผู้เยาว์และการยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรม รวมถึงผลของการจดทะเบียนสมรส
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1574 ได้บัญญัติไว้เฉพาะในกรณีที่ผู้ใช้อำนาจปกครองของผู้เยาว์ทำนิติกรรมที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลเสียก่อน เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า โจทก์ผู้เยาว์เป็นผู้ทำสัญญาประนี-ประนอมยอมความเอง บิดาโจทก์เพียงแต่ลงลายมือชื่อในฐานะพยานเท่านั้น ดังนี้จึงไม่ต้องได้รับอนุญาตจากศาล
สัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์ผู้เยาว์ทำขึ้น มี บ.ผู้แทนโดยชอบธรรมลงลายมือชื่อเป็นพยานในเอกสารนั้น ย่อมถือได้ว่าผู้แทนโดยชอบธรรมให้ความยินยอมแล้ว ดังนั้น สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงสมบูรณ์มีผลใช้บังคับได้ ไม่เป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ. มาตรา 21
ขณะจำเลยที่ 1 จดทะเบียนสมรสกับโจทก์นั้น จำเลยที่ 1 ได้บรรลุนิติภาวะแล้ว ทั้งได้แสดงความยินยอมเป็นสามีภริยาโดยเปิดเผยต่อหน้านายทะเบียนและพยานซึ่งเป็นพนักงานฝ่ายปกครองอีกด้วย เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าการจดทะเบียนสมรสได้กระทำไปโดยเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายประการใดแล้ว ย่อมไม่เป็นเหตุให้เพิกถอนการจดทะเบียนสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2750/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีของทบวงการเมือง: ราชบัณฑิตยสถานมีอำนาจฟ้องได้เองโดยไม่ต้องได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชา
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216 เรื่อง ปรับปรุงกระทรวงทบวง กรม ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 ข้อ 30 และข้อ 29 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ได้บัญญัติให้โจทก์เป็นส่วนราชการอิสระไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวงใด มีฐานะเป็นกรมและให้อยู่ในบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โจทก์จึงเป็นนิติบุคคลจำพวกทบวงการเมืองตามป.พ.พ. มาตรา 72 (เดิม) และ 73 (เดิม)
ส. นายกราชบัณฑิตยสถานได้ประชุมราชบัณฑิตทุกสำนักและจัดวางระเบียบการของราชบัณฑิตยสถานว่าด้วยการปฏิบัติงานทั่วไปของนายก อุปนายก และเลขาธิการราชบัณฑิตยสถานขึ้น โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 20 (2) ประกอบมาตรา 23 แห่ง พ.ร.บ.ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2485 ระเบียบการดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นโมฆะ ตามข้อ 6 ของระเบียบการของราชบัณฑิตยสถานกำหนดว่าให้นายกราชบัณฑิตยสถานเป็นผู้แทนราชบัณฑิตยสถานซึ่งเป็นนิติบุคคล ดังนั้น ตามกฎหมายและข้อบังคับว่าด้วยการจัดการควบคุมทบวงการเมืองโจทก์ จึงถือได้ว่าในขณะฟ้องคดีโจทก์มี บ.นายกราชบัณฑิตยสถานเป็นเป็นผู้แทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 75 (เดิม)โจทก์โดย บ.นายกราชบัณฑิตยสถานย่อมมีอำนาจฟ้องคดีได้เองโดยตรง ไม่จำต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในฐานะผู้บังคับบัญชาก่อนโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง(ปรีชา - เฉลิมวณิชย์ - สมาน เวทวินิจ - สังเวียน รัตนมุง)ศาลแพ่ง นายสุเมธ อุปนิสากรศาลอุทธรณ์ นายสุทธิ นิชโรจน์
นายปริญญา ดีผดุง - ตรวจ/ย่อ
นายวิชัย วิวิตเสวี - ผู้ช่วยผู้พิพากษาฯ
สุมาลี พ/ท



















คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2667/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องจำเลยที่เป็นนิติบุคคล: ผู้ว่าฯ เป็นผู้แทนกระทำการ
แม้ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคามมิได้ถูกฟ้องเป็นจำเลยด้วยแต่จังหวัดมหาสารคามจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายโดยสภาพแล้วไม่สามารถกระทำการด้วยตนเองได้ เว้นแต่จะกระทำโดยทางผู้แทนดังที่กฎหมายบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 70ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคามจึงเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 ในการแสดงเจตนาแทน คำสั่งของ ส. ผู้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม ที่ให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์จึงเป็นคำสั่งของจำเลยที่ 1 นั่นเอง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 แม้ประเด็นที่พิพาทคู่ความได้นำสืบข้อเท็จจริงกันมาเสร็จสิ้นเป็นการเพียงพอที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวเสียเองได้แต่เมื่อผลแห่งการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิการฎีกาของคู่ความได้ ศาลฎีกาย่อมย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์เป็นผู้วินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2667/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องจำเลยที่เป็นนิติบุคคลและการกระทำของผู้แทน: กรณีผู้ว่าราชการจังหวัดออกคำสั่ง
ผู้ว่าราชการจังหวัดลงชื่อในคำสั่งของจังหวัดให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์ โดยอ้างว่าออกทับที่สาธารณประโยชน์ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 61 เป็นคำสั่งของจังหวัดที่กระทำโดยผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งเป็นผู้แทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 70(75 เดิม) โจทก์ฟ้องจังหวัดเป็นจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 931/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีเมื่อคู่ความถึงแก่กรรมระหว่างพิจารณา ศาลต้องเลื่อนการพิจารณาจนกว่าจะมีผู้แทน
โจทก์ได้ถึงแก่กรรมในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ซึ่งศาลชั้นต้นจะต้องเลื่อนการนั่งพิจารณาคดีรวมทั้งการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ออกไปเพื่อดำเนินการให้มีผู้เข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ก่อน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42การที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1ไปในวันดังกล่าว โดยยังไม่มีผู้เข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 931/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินการเมื่อคู่ความถึงแก่กรรมระหว่างพิจารณาคดี ศาลต้องเลื่อนการพิจารณาเพื่อหาผู้แทน
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ถึงแก่กรรมในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ศาลชั้นต้นต้องเลื่อนการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ออกไปเพื่อดำเนินการให้มีผู้เข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ การที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1ไปโดยยังไม่มีผู้เข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 778/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมการบริษัทลงลายมือชื่อเช็คในฐานะผู้แทนบริษัท ไม่ต้องรับผิดตามตั๋วเงินส่วนบุคคล
เจ้าหนี้มอบเงินให้จำเลยที่ 1 เพื่อร่วมลงทุน จำเลยที่ 1ออกเช็คพิพาทมอบให้เจ้าหนี้เพื่อเป็นหลักประกัน เช็คพิพาทมี ป.กับจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายโดยมิได้ประทับตราของจำเลยที่ 1และจำเลยที่ 2 มิได้เขียนว่ากระทำการแทน แต่การที่ ป. กับจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในฐานะกรรมการของจำเลยที่ 1 เป็นการแสดงออกถึงความประสงค์ของนิติบุคคลโดยผู้แทนของนิติบุคคล จึงเป็นการกระทำในนามของจำเลยที่ 1 มิใช่การกระทำของตัวแทนที่ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงินแทนตัวการ แต่มิได้เขียนแถลงว่ากระทำแทนบุคคลอื่น ซึ่งบุคคลนั้นต้องรับผิดตามความในตั๋วเงินนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 901 จำเลยที่ 2ไม่ต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3313/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแสดงเจตนาทำสัญญาซื้อขายลดเช็ค แม้ผู้จัดการทำแทนโดยมิชอบ ผู้ซื้อยังผูกพันตามสัญญาได้ หากไม่มีเจตนาซ่อน
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 80 เดิม(มาตรา 74 ที่แก้ไขใหม่) บัญญัติไว้ความว่า ในการอันใดถ้าประโยชน์ทางได้เสียของนิติบุคคลฝ่ายหนึ่งกับของตัวผู้จัดการอีกฝ่ายหนึ่งเป็นปฏิปักษ์แก่กันในการอันนั้น ผู้จัดการเป็นอันไม่มีอำนาจเป็นผู้แทนได้ การที่ ส.ผู้จัดการโจทก์สาขาลอง กับ ป. ต้องการขายลดเช็คให้โจทก์เอง โดยให้จำเลยทั้งสามออกหน้าเป็นผู้ขายลดเช็คนั้นส.ผู้จัดการโจทก์จึงไม่มีอำนาจเป็นผู้แทนโจทก์ตามมาตรา 80 เดิม(มาตรา 74 ที่แก้ไขใหม่) และความรู้ของ ส. ผู้จัดการโจทก์ดังกล่าวจะถือเป็นความรู้ของโจทก์ด้วยไม่ได้ การที่จำเลยทั้งสามร่วมกับ ส. ผู้จัดการโจทก์และ ป. ขายลดเช็คให้โจทก์ จำเลยทั้งสามต้องผูกพันต่อโจทก์ตามสัญญาขายลดเช็คที่จำเลยทั้งสามแสดงเจตนาต่อโจทก์ด้วย อายุความฟ้องร้องตามสัญญาขายลดเช็ค ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164 เดิม (มาตรา 193/30 ที่แก้ไขใหม่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 546/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินโดยผู้แทนและผลกระทบต่อสิทธิเรียกร้องคืนจากการครอบครองปรปักษ์
ที่พิพาทของโจทก์มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ โจทก์ให้จำเลยลงแรงทำไร่อ้อยแบ่งผลกำไรโดยโจทก์เป็นฝ่ายลงทุนค่าใช้จ่ายจำเลยจึงเป็นผู้ยึดถือครอบครองที่พิพาทในฐานะผู้แทนของโจทก์และคดีอาญาที่จำเลยเป็นโจทก์ฟ้อง ส. ภริยาโจทก์ข้อหาบุกรุก ทำให้เสียทรัพย์นั้น ศาลพิพากษายกฟ้องโดยฟังว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ การครอบครองที่พิพาทของจำเลยในระหว่างดำเนินคดีอาญา ก็ต้องถือว่าเป็นการครอบครองแทนโจทก์สามี ส.ผู้ชนะคดี จำเลยจะถือว่าการครอบครองที่พิพาทของตนระหว่างนั้นเป็นการครอบครองโดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1367 หาได้ไม่ และจะอ้างกำหนดเวลาฟ้องเรียกคืนการครอบครองตามมาตรา 1375 ขึ้นยันโจทก์ไม่ได้เช่นกัน โจทก์จึงไม่ขาดสิทธิฟ้องเอาคืนที่พิพาทจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3145/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีละเมิด: การนับระยะเวลาจากวันที่ผู้แทนของนิติบุคคลทราบถึงการละเมิด
โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทกรมในรัฐบาลมี จ. เป็นอธิบดี และตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 เรื่องระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ข้อ 32 วรรคสอง บัญญัติว่า กรมมีอธิบดีเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาข้าราชการ รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกรม ฯลฯ เช่นนี้ต้องถือว่าโจทก์มี จ. อธิบดีคนเดียวเท่านั้นเป็นผู้แทน จะถือว่าเจ้าหน้าที่ทุกคนของโจทก์เป็นผู้แทนของโจทก์ด้วยหาได้ไม่ เมื่อ จ. รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2528 นับถึงวันที่18 กุมภาพันธ์ 2529 ซึ่งเป็นวันฟ้องยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี คดีจึงไม่ขาดอายุความ.
of 15