พบผลลัพธ์ทั้งหมด 208 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3691/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาผู้ให้เช่าสำคัญกว่าการบอกเลิกสัญญาเช่าใหม่ หากไม่ยินยอมให้เช่าต่อ แม้ผู้เช่าอยู่ต่อก็ไม่ถือเป็นสัญญาเช่าใหม่ไม่มีกำหนดเวลา
การที่จะถือว่าเมื่อสิ้นกำหนดการเช่าแล้วมีการเช่ากันใหม่ต่อไปไม่มีกำหนดเวลาตาม ป.พ.พ. มาตรา 570 นั้น กฎหมายไม่ได้กำหนดว่า ผู้ให้เช่ามีหน้าที่จะต้องบอกเลิกการเช่า หรือบอกกล่าวให้ผู้เช่าทราบก่อนหรือในวันครบกำหนดการเช่าว่าจะไม่ให้เช่าต่อไปหากแต่ให้ดูเจตนาของผู้ให้เช่าว่า มีการยินยอมให้ผู้เช่าอยู่ต่อไปหรือไม่ ซึ่งการยินยอมนั้นรวมถึงการไม่ทักท้วงเมื่อรู้ว่าผู้เช่าครอบครองทรัพย์สินที่เช่าต่อมาหลังจากสิ้นกำหนดเวลาเช่าแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3691/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาไม่ยินยอมให้เช่าต่อหลังสัญญาหมดอายุ ไม่ถือเป็นการเช่าใหม่ไม่มีกำหนดเวลา ผู้ให้เช่ามีอำนาจฟ้องได้โดยไม่ต้องบอกเลิกสัญญา
การที่จะถือว่าเมื่อสิ้นกำหนดการเช่าแล้วมีการเช่ากันใหม่ต่อไปไม่มีกำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 570 นั้นกฎหมายไม่ได้กำหนดว่าผู้ให้เช่ามีหน้าที่จะต้องบอกเลิกการเช่าหรือบอกกล่าวให้ผู้เช่าทราบก่อนหรือในวันครบกำหนดการเช่าว่าจะไม่ให้เช่าต่อไป หากแต่ให้ดูเจตนาของผู้ให้เช่าว่ามีการยินยอมให้ผู้เช่าอยู่ต่อไปหรือไม่ซึ่งการยินยอมนั้นรวมถึงการไม่ทักท้วงเมื่อรู้ว่าผู้เช่าครอบครองทรัพย์สินที่เช่าต่อมาหลังจากสิ้นกำหนดเวลาเช่าแล้ว สัญญาเช่าที่ดินมีกำหนดเวลาแน่นอน โจทก์มีหนังสือบอกเลิกการเช่าไปยังจำเลยในวันครบกำหนดการเช่า แสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์ว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยเช่าต่อไป นับแต่วันครบกำหนดการเช่าแล้ว และหนังสือดังกล่าวนั้นจำเลยได้รับแล้วพฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ว่าโจทก์ได้ทักท้วงในการที่จำเลยจะอยู่ในที่เช่าต่อไป ดังนี้การที่จำเลยอยู่ในที่เช่าต่อมาภายหลังสัญญาเช่าครบกำหนดแล้ว จึงไม่ใช่การเช่ากันใหม่โดยไม่มีกำหนดเวลาตามมาตรา 570 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องโดยไม่จำต้องบอกเลิกการเช่าตามมาตรา 566 อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2482/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าเช่าสังหาริมทรัพย์: องค์การโทรศัพท์ฯ ในฐานะผู้ให้เช่า
จำเลยเช่าคู่สายเคเบิลจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเพื่อใช้บริการเครื่องเทเล็กซ์ โดยเสียค่าเช่าเป็นเดือนองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย จึงเป็นบุคคลจำพวกที่ค้าในการให้เช่าสังหาริมทรัพย์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 165(6) สิทธิเรียกร้องค่าเช่าดังกล่าวมีอายุความ 2 ปี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1737/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิการเช่าต้องมีข้อตกลงในสัญญาเช่าหรือได้รับความยินยอมจากผู้ให้เช่า โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเช่าหากไม่มีโอนสิทธิที่ถูกต้อง
เมื่อสัญญาเช่าที่ดินระหว่างจำเลยที่ 2 กับ ม. ไม่มีข้อตกลงเกี่ยวกับเรื่องการโอนการเช่าไว้ในสัญญาเช่า จำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการจึงไม่มีอำนาจทำสัญญาตกลงให้สิทธิอันพึงมีตามสัญญาเช่าตกเป็นของโจทก์ โจทก์จึงไม่ได้รับโอนสิทธิการเช่าและไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทแทนจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1737/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิการเช่าต้องได้รับความยินยอมจากผู้ให้เช่า และสิทธิการเช่าไม่สามารถโอนได้โดยอัตโนมัติ แม้มีข้อตกลงระหว่างผู้เช่ากับบุคคลภายนอก
จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างจำเลยที่ 1เช่าที่ดินของ ม.มาปลูกสร้างโรงเรียน แล้วจำเลยที่ 1 ทำสัญญาขายฝากอาคารเรียนพร้อมอุปกรณ์แก่โจทก์ และจำเลยที่ 1 ที่ 2 ทำสัญญาเช่าอาคารเรียนพร้อมอุปกรณ์จากโจทก์ โดยมีข้อตกลงว่าหากไม่ไถ่คืนยอมให้สิทธิอันพึงมีตามสัญญาเช่าที่ดินระหว่างจำเลยที่ 2 กับ ม.เจ้าของที่ดินตกเป็นของโจทก์ ครบกำหนดจำเลยที่ 1ไม่ไถ่คืน อาคารเรียนพร้อมอุปกรณ์ตกเป็นของโจทก์ แต่ข้อตกลงที่จำเลยที่ 2 ผู้เช่าโอนสิทธิการเช่าให้โจทก์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ให้เช่า ไม่มีผลให้สิทธิการเช่าของจำเลยที่ 2 ผู้เช่าโอนไปยังโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเช่าที่ดินหรือค่าเสียหายจากการผิดสัญญาเช่าที่ดินจากจำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1215/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความเสียหายร้ายแรงอาคารเช่า ผู้ให้เช่ามีหน้าที่ซ่อมแซม และสิทธิไม่ชำระค่าเช่าเมื่อใช้ประโยชน์ไม่ได้
สัญญาเช่าโรงภาพยนตร์มีข้อความว่า ผู้เช่าสัญญาว่าจะจัดการดูแลรักษาทรัพย์สินที่เช่าให้อยู่ในสภาพที่เรียบร้อย และบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้เสมอด้วยค่าใช้จ่ายของผู้เช่าเองหากมีการชำรุดบกพร่อง แตกหักเสียหายด้วยประการใด ๆ ผู้เช่าจะต้องรีบแจ้งให้ผู้ให้เช่าทราบทันที และดำเนินการซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพเดิมด้วย ค่าใช้จ่ายของผู้เช่าเองทั้งสิ้นนั้น หมายถึงการซ่อมแซมบำรุงรักษาตามปกติและเป็นการซ่อมแซมเล็กน้อยเท่านั้นผู้เช่าจึงจะมีหน้าที่ซ่อมแซมทรัพย์สินที่เช่า แต่อาคารโรงภาพยนตร์ทรุด และพื้นคอนกรีตแตกร้าวเสียหายมากหลายแห่ง เป็นความเสียหายร้ายแรงจนอาจเกิดการพังทลายเป็นอันตรายแก่ผู้เข้าชมภาพยนตร์ได้จึงเป็นเรื่องมีความจำเป็นและสมควรที่จะต้องซ่อมแซมใหญ่อย่างรีบด่วนเพื่อรักษาโรงภาพยนตร์ให้สามารถใช้การต่อไปไม่ให้พังทลายไปเสียก่อนมิใช่กรณีต้องซ่อมแซมเพียงเล็กน้อย ผู้ให้เช่าจึงมีหน้าที่ต้องซ่อมแซมทรัพย์สินที่เช่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 547หาใช่หน้าที่ของผู้เช่าไม่ โจทก์อ้างว่าจำเลยค้างชำระค่าเช่าเดือนกันยายน 2525แต่โจทก์รับค่าเช่าจากจำเลยโดยไม่ได้ทวงถามค่าเช่าสำหรับเดือนดังกล่าวจนล่วงเลยมาถึงเดือนกันยายน 2526 การรับเงินค่าเช่าโจทก์ได้ออกใบรับเงินให้จำเลยทุกครั้ง กรณีจึงต้องด้วยบทสันนิษฐานของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 327 ที่ว่า ในกรณีชำระดอกเบี้ยหรือชำระหนี้อย่างอื่นอันมีกำหนดชำระเป็นระยะเวลานั้นถ้าเจ้าหนี้ออกใบเสร็จรับเงินให้เพื่อระยะหนึ่งแล้วโดยมิได้อิดเอื้อน ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้เพื่อระยะก่อน ๆ นั้นด้วยแล้ว เมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานที่มีน้ำหนักมาหักล้างข้อสันนิษฐานตามกฎหมายนี้ได้ จึงต้องฟังว่าจำเลยได้ชำระค่าเช่าเดือนกันยายน 2525 ให้โจทก์แล้ว โจทก์ปิดและบูรณะปรับปรุงโรงภาพยนตร์ที่ให้เช่า จำเลยผู้เช่าจึงไม่อาจใช้ฉายภาพยนตร์ได้ตามสิทธิการเช่าของตน สัญญาเช่าเป็นสัญญาต่างตอบแทน จำเลยย่อมมีสิทธิไม่ยอมชำระค่าเช่าในระหว่างที่โรงภาพยนตร์ต้องปิดได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 369
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5497/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเช่าสิ้นสุดลงเมื่อผู้เช่าผิดสัญญาค้างค่าเช่า ผู้ให้เช่ามีสิทธิบอกเลิกสัญญา การขายทอดตลาดสิทธิการเช่าหลังเลิกสัญญาไม่ผูกพันผู้ให้เช่า
การที่ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งอายัดสิทธิการเช่าโทรศัพท์พิพาทของจำเลยไว้ชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษานั้น ไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งเมื่อจำเลยเป็นผู้เช่าโทรศัพท์ของผู้ร้อง การที่จะให้ใครเช่าโทรศัพท์จึงเป็นสิทธิของผู้ร้องสิทธิดังกล่าวของจำเลยจะมีอยู่หรือสิ้นไปย่อมเป็นไปตามสัญญาเช่าและกฎระเบียบของผู้ร้องตาม พ.ร.บ.องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย พ.ศ.2497 เมื่อจำเลยไม่ได้ชำระค่าเช่าโทรศัพท์รายพิพาทให้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องเคยมีหนังสือเตือนให้จำเลยชำระค่าเช่าที่ค้างแต่จำเลยไม่ชำระ ผู้ร้องจึงบอกเลิกสัญญาเช่า และมีหนังสือแจ้งให้ศาลชั้นต้นทราบว่าได้เลิกสัญญาเช่าโทรศัพท์รายพิพาทกับจำเลยแล้ว สิทธิการเช่าโทรศัพท์รายพิพาทที่จำเลยเคยมีสิทธิอยู่จึงหมดไป การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดสิทธิการเช่าโทรศัพท์รายพิพาทภายหลังจากที่ผู้ร้องบอกเลิกสัญญาเช่ากับจำเลยแล้ว ย่อมไม่มีผลตามกฎหมายที่จะบังคับให้ผู้ร้องโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์รายพิพาทให้แก่ผู้ซื้อจากการขายทอดตลาดได้ คำสั่งอายัดของศาลไม่มีผลคุ้มครองห้ามผู้ร้องบอกเลิกสัญญาการเช่าโทรศัพท์รายพิพาทกับจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5497/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเช่าโทรศัพท์สิ้นสุดเมื่อผู้เช่าผิดสัญญา ค่าเช่าค้าง ผู้ให้เช่ามีสิทธิบอกเลิกสัญญา การขายทอดตลาดสิทธิเช่าหลังบอกเลิกสัญญาไม่ผูกพันผู้ให้เช่า
การที่ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งอายัดสิทธิการเช่าโทรศัพท์พิพาทของจำเลยไว้ชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษานั้น ไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งเมื่อจำเลยเป็นผู้เช่าโทรศัพท์ของผู้ร้อง การที่จะให้ใครเช่าโทรศัพท์จึงเป็นสิทธิของผู้ร้องสิทธิดังกล่าวของจำเลยจะมีอยู่หรือสิ้นไปย่อมเป็นไปตามสัญญาเช่าและกฎระเบียบของผู้ร้องตามพระราชบัญญัติองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2497 เมื่อจำเลยไม่ได้ชำระค่าเช่าโทรศัพท์รายพิพาทให้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องเคยมีหนังสือเตือนให้จำเลยชำระค่าเช่าที่ค้างแต่จำเลยไม่ชำระ ผู้ร้องจึงบอกเลิกสัญญาเช่า และมีหนังสือแจ้งให้ศาลชั้นต้นทราบว่าได้เลิกสัญญาเช่าโทรศัพท์รายพิพาทกับจำเลยแล้ว สิทธิการเช่าโทรศัพท์รายพิพาทที่จำเลยเคยมีสิทธิอยู่จึงหมดไป การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดสิทธิการเช่าโทรศัพท์รายพิพาทภายหลังจากที่ผู้ร้องบอกเลิกสัญญาเช่ากับจำเลยแล้ว ย่อมไม่มีผลตามกฎหมายที่จะบังคับให้ผู้ร้องโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์รายพิพาทให้แก่ผู้ซื้อจากการขายทอดตลาดได้ คำสั่งอายัดของศาลไม่มีผลคุ้มครองห้ามผู้ร้องบอกเลิกสัญญาการเช่าโทรศัพท์รายพิพาทกับจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3324/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องขับไล่ของผู้ให้เช่า แม้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะเปลี่ยนไป สัญญาเช่ายังใช้บังคับได้
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากห้องเช่าพิพาทและเรียกค่าเสียหายโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ ดังนี้ เมื่อจำเลยทำสัญญาเช่าห้องพิพาทจากโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิและหน้าที่ในฐานะเป็นผู้ให้เช่า เมื่อครบกำหนดเวลาตามสัญญาเช่าและสัญญาเช่าระงับสิ้นไปแล้ว โจทก์ซึ่งเป็นผู้ให้เช่าย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้ จำเลยจะโต้เถียง ว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ให้เช่าจึงไม่มีอำนาจฟ้องหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3268/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการอุทธรณ์คำวินิจฉัย คชก. ต้องเป็นกรณีมีปัญหาความสัมพันธ์ผู้เช่า-ผู้ให้เช่าเท่านั้น
ตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524มาตรา 56,57 ผู้ที่จะมีสิทธิร้องขอต่อ คชก.ตำบล วินิจฉัยเกี่ยวกับ ที่ดินที่เช่า และอุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลต่อ คชก.จังหวัด เมื่อ ไม่พอใจคำวินิจฉัยของ คชก.จังหวัดก็มีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลได้ นั้น จะ ต้องเป็นกรณีที่มีปัญหาเกิดขึ้นระหว่างผู้เช่าและผู้ให้เช่า แต่ ขณะ ที่พระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลใช้บังคับโจทก์ มิใช่ผู้เช่า นา พิพาท จาก จำเลยจึงมิใช่ผู้เช่าตามพระราชบัญญัตินี้ โจทก์จึง ไม่มี สิทธิ ร้องขอ ต่อ คชก.ตำบล วินิจฉัยหรืออุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก. จังหวัด ต่อ ศาล โจทก์ จึงไม่อาจนำปัญหาในฐานะผู้เช่านาเดิม และการเช่าระงับไปแล้วนั้นมาอาศัยสิทธิดังกล่าวได้.