พบผลลัพธ์ทั้งหมด 41 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2927/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการขายทอดตลาดต้องอ้างเหตุเจ้าพนักงานบังคับคดีฝ่าฝืนกฎหมาย ไม่ใช่แค่ราคาไม่สมเหตุสมผล
การที่ศาลจะสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดได้นั้น ต้องเป็นกรณีที่ต้องด้วย มาตรา 296 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง คือเจ้าพนักงานบังคับคดีต้องดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งลักษณะการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและเกิดการเสียหายแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลอื่นที่มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีบุคคลดังกล่าวจึงมีสิทธิยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลก่อนการบังคับคดีเสร็จลง ขอให้งดการบังคับคดีไว้ก่อนได้เมื่อตามคำร้องของจำเลยมิได้กล่าวอ้างเลยว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งลักษณะการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งแต่ประการใด เพียงแต่กล่าวอ้างว่าโจทก์ได้สมคบกันประมูลเพื่อกดราคาที่ดินให้ต่ำกว่าราคาที่แท้จริงมีพฤติการณ์ที่ไม่สุจริต ซึ่งมิได้เป็นการกระทำของเจ้าพนักงานบังคับคดี จำเลยจึงไม่มีสิทธิขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดตามบทกฎหมายดังยกขึ้นกล่าวข้างต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2562/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดบังคับคดีต้องมีเหตุที่ศาลออกหมายบังคับคดีหรือเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการฝ่าฝืนกฎหมาย การสมคบกันฉ้อโกงไม่เป็นเหตุ
คำร้องของผู้ร้องบรรยายความเป็นมาของเหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งผู้ร้องเห็นว่าโจทก์จำเลยในคดีนี้ได้สมคบกันทำการฉ้อโกงผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ โดยไม่ได้กล่าวอ้างว่าศาลได้ออกหมายบังคับคดีฝ่าฝืนหรือเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งลักษณะ 2 ว่าด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งอันศาลจะงดการบังคับคดีไว้ตามมาตรา 296 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ทั้งปรากฏตามคำร้องว่าผู้ร้องได้ฟ้องจำเลยที่ 1 กับพวกต่อศาลแพ่ง คดียังอยู่ในระหว่างการพิจารณา ก็แสดงว่าผู้ร้องยังไม่เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอันจะถือได้ว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 280 ศาลชอบที่จะยกคำร้องเสียได้โดยไม่จำเป็นต้องทำการไต่สวนต่อไป เพราะถึงจะไต่สวนได้คามตามคำร้อง ศาลก็จะงดการบังคับคดีไว้ตาม มาตรา 296 ไม่ได้อยู่แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2562/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดบังคับคดีต้องมีเหตุที่ศาลออกหมายบังคับคดีฝ่าฝืนกฎหมาย หรือเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการฝ่าฝืน มิใช่แค่เรื่องฉ้อโกง
คำร้องของผู้ร้องบรรยายความเป็นมาของเหตุการณ์ต่างๆ ซึ่งผู้ร้องเห็นว่าโจทก์จำเลยในคดีนี้ได้สมคบกันทำการฉ้อโกงผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ โดยไม่ได้กล่าวอ้างว่าศาลได้ออกหมายบังคับคดีฝ่าฝืนหรือเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งลักษณะ 2 ว่าด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง อันศาลจะงดการบังคับคดีไว้ตามมาตรา 296 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ทั้งปรากฏตามคำร้องว่าผู้ร้องได้ฟ้องจำเลยที่ 1 กับพวกต่อศาลแพ่ง คดียังอยู่ในระหว่างการพิจารณา ก็แสดงว่าผู้ร้องยังไม่เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอันจะถือได้ว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 280 ศาลชอบที่จะยกคำร้องเสียได้โดยไม่จำเป็นต้องทำการไต่สวนต่อไป เพราะถึงจะไต่สวนได้ความตามคำร้องศาลก็จะงดการบังคับคดีไว้ตามมาตรา 296 ไม่ได้อยู่แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2218/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สมาคมจัดทำสัญญาคล้ายประกันชีวิต ฝ่าฝืนพ.ร.บ.ประกันชีวิต แต่ตัวแทนไม่ต้องรับโทษ
สมาคมการศึกษาและการกุศลสงเคราะห์ รับสมัครสมาชิกฌาปนกิจสงเคราะห์ตามระเบียบการของสมาคม เมื่อแรกเข้าเป็นสมาชิกผู้สมัครต้องชำระเงินค่าสมัคร ค่าบำรุง ค่าอุปการะ เพื่อใช้จ่ายในการดำเนินงาน และเงินฝากสงเคราะห์ฌาปนกิจโดยชำระครั้งเดียวหรือผ่อนชำระก็ได้ เมื่อสมาชิกถึงแก่กรรม ทายาทก็จะได้รับเงินฌาปนกิจศพตามเกณฑ์อายุของสมาชิกและอายุการเป็นสมาชิกลดหลั่นกันไป เช่นนี้ เห็นได้ว่า เมื่อมีผู้เข้ามาเป็นสมาชิกตามระเบียบการของสมาคมย่อมจะเกิดเป็นสัญญาผูกพันกันระหว่างสมาคมกับสมาชิก อันสามารถบังคับกันได้ตามกฎหมายผลปฏิบัติระหว่างคู่สัญญาหาใช่เป็นการเรี่ยไรเงินระหว่างสมาชิกเพื่อเป็นการกุศลไม่ การส่งเงินฝากสงเคราะห์ฌาปนกิจของสมาชิกต่อสมาคม เป็นวิธีการปฏิบัติดุจเดียวกับการส่งเบี้ยประกันเพื่อประกันชีวิตไว้กับสมาคม สัญญาระหว่างสมาคมกับสมาชิกจึงเข้าลักษณะสัญญาประกันชีวิต การประกอบธุรกิจของสมาคมจึงเป็นการประกอบธุรกิจประกันชีวิตอันฝ่าฝืนพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2510 มาตรา 12 (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2516)
ความตามพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2510 มาตรา 58 วรรคหนึ่งจะเกิดขึ้นได้เฉพาะกรณีที่เกี่ยวกับการกระทำที่ฝ่าฝืนโดยทำการเป็นตัวแทนประกันชีวิตให้บริษัทจำกัดที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิตเท่านั้น เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นเพียงตัวแทนประกันชีวิตให้สมาคมการศึกษาและการกุศลสงเคราะห์ และจำเลยเป็นผู้ปราศจากสิทธิตามกฎหมายที่จะได้รับใบอนุญาตให้เป็นตัวแทนประกันชีวิตของบริษัทจากนายทะเบียนได้ จำเลยจึงไม่มีความผิดตามมาตรา 58 วรรคหนึ่งซึ่งมีโทษตามมาตรา 86
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 22/2516)
ความตามพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2510 มาตรา 58 วรรคหนึ่งจะเกิดขึ้นได้เฉพาะกรณีที่เกี่ยวกับการกระทำที่ฝ่าฝืนโดยทำการเป็นตัวแทนประกันชีวิตให้บริษัทจำกัดที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิตเท่านั้น เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นเพียงตัวแทนประกันชีวิตให้สมาคมการศึกษาและการกุศลสงเคราะห์ และจำเลยเป็นผู้ปราศจากสิทธิตามกฎหมายที่จะได้รับใบอนุญาตให้เป็นตัวแทนประกันชีวิตของบริษัทจากนายทะเบียนได้ จำเลยจึงไม่มีความผิดตามมาตรา 58 วรรคหนึ่งซึ่งมีโทษตามมาตรา 86
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 22/2516)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 379/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขนสุราโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้ได้รับอนุมัติจากเจ้าพนักงานสรรพสามิต ก็ยังถือเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย
ผู้ขายส่งขนสุราจากร้านขายปลีกกลับคืนร้านขายส่งแม้จะได้มีหนังสือถึงเจ้าพนักงานสรรพสามิต ขอรับสุราจากร้านขายปลีกคืนมายังร้านขายส่งและเจ้าพนักงานสรรพสามิตอนุญาตแล้วก็ตาม เมื่อไม่มีใบอนุญาตขนสุราหรือไม่นำใบอนุญาตขนสุรากำกับไปกับสุราที่ขนด้วย ย่อมเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 14 อันจะต้องมีผิดตามมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติสุรา 2493จำเลยจะต้องรู้ข้อกฎหมายดังว่านี้จะอ้างว่าไม่มีเจตนาทำผิดกฎหมายไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1909/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลางในคดีฝ่าฝืน พ.ร.บ.สำรวจและห้ามกักกันข้าว ต้องมีผู้กระทำผิดตามมาตรา 10 เท่านั้น
ข้าวและเรือที่ใช้บรรทุกข้าวของกลางในคดีที่หาว่า ทำผิด พ.ร.บ.สำรวจและห้ามกักกันข้าว จะริบได้ต่อเมื่อปรากฎว่ามีผู้หนึ่งผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 10 หากยังไม่ปรากฎว่า ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 10 แล้วจะริบมิได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2205/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้อำนาจหน้าที่โดยชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ การวินิจฉัยชี้มูลความผิดต้องไม่สุจริต จงใจ และฝ่าฝืนกฎหมาย
ข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและฎีกาของโจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยทั้งเก้ากระทำการชี้มูลความผิด โดยไม่สุจริต จงใจกระทำผิดและฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เป็นการละเมิดต่อโจทก์เพราะจำเลยทั้งเก้าไม่มีอำนาจชี้มูลความผิดเนื่องจากขณะนั้นโจทก์พ้นจากการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหากยังเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐก็พ้นจากการเป็นคณะกรรมการคัดเลือกเกิน 2 ปีแล้ว และจำเลยทั้งเก้าต้องรับฟังข้อเท็จจริงรอบด้าน ไม่ใช่รับฟังข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลปกครองกลางและศาลปกครองสูงสุด ทั้งต้องรับฟังข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานใหม่ที่โจทก์เสนอให้พิจารณา ข้อเท็จจริงที่กล่าวอ้างดังกล่าวเป็นการโต้แย้งการที่จำเลยทั้งเก้าใช้ดุลพินิจในการทำคำวินิจฉัยตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ซึ่งไม่เป็นไปตามความเห็นและความประสงค์ของโจทก์เท่านั้น ไม่พอฟังว่าเป็นข้อเท็จจริงที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยทั้งเก้าใช้ดุลพินิจชี้มูลความผิดไปโดยไม่สุจริต จงใจกระทำผิดและฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายอันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ นอกจากการใช้ดุลพินิจตามกรอบภาระหน้าที่ตามกฎหมายแล้วก็ไม่ปรากฏเหตุที่จำเลยทั้งเก้าจะกระทำการใดอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์
คดีนี้โจทก์อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ตรวจคำฟ้องแล้ว พิพากษายกฟ้องเพราะเห็นว่า จำเลยทั้งเก้ามีอำนาจดำเนินการตามกฎหมายแก่โจทก์และไม่ปรากฏการกระทำของจำเลยทั้งเก้าเป็นการละเมิดต่อโจทก์ การที่ศาลอุทธรณ์พิจารณาประเด็นที่โจทก์อุทธรณ์โดยรวมแล้ววินิจฉัย เห็นพ้องกับศาลชั้นต้นที่พิพากษายกฟ้องเพราะจำเลยทั้งเก้าใช้ดุลพินิจชอบธรรมตามกรอบภาระหน้าที่ของตนตามกฎหมาย ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ เป็นการวินิจฉัยประเด็นตามอุทธรณ์ของโจทก์โดยชอบแล้ว ฎีกาข้อนี้ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
คดีนี้โจทก์อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ตรวจคำฟ้องแล้ว พิพากษายกฟ้องเพราะเห็นว่า จำเลยทั้งเก้ามีอำนาจดำเนินการตามกฎหมายแก่โจทก์และไม่ปรากฏการกระทำของจำเลยทั้งเก้าเป็นการละเมิดต่อโจทก์ การที่ศาลอุทธรณ์พิจารณาประเด็นที่โจทก์อุทธรณ์โดยรวมแล้ววินิจฉัย เห็นพ้องกับศาลชั้นต้นที่พิพากษายกฟ้องเพราะจำเลยทั้งเก้าใช้ดุลพินิจชอบธรรมตามกรอบภาระหน้าที่ของตนตามกฎหมาย ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ เป็นการวินิจฉัยประเด็นตามอุทธรณ์ของโจทก์โดยชอบแล้ว ฎีกาข้อนี้ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16991/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเพิกถอนการขายทอดตลาด: ต้องเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายและเกิดความเสียหาย
การขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง ต้องเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งลักษณะการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง และเกิดความเสียหายแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ลูกหนี้ตามคำพิพากษา หรือบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี แม้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ซื้อทรัพย์เดิมจากการขายทอดตลาดจะเป็นบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าหลังจากผู้ร้องประมูลซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างได้จากการขายทอดตลาดแล้ว ผู้ร้องไม่ชำระราคา เป็นเหตุให้เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องนำทรัพย์ออกขายทอดตลาดใหม่ จากนั้นผู้ซื้อทรัพย์ประมูลซื้อในราคาซึ่งสูงกว่าราคาที่ผู้ร้องประมูลซื้อไว้ครั้งก่อน จึงไม่มีราคาทรัพย์ส่วนที่ขาดที่ผู้ร้องจะต้องรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 516 ผู้ร้องจึงไม่ใช่ผู้ต้องเสียหายเพราะเหตุที่เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมาย ไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2997/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีที่ฝ่าฝืนกฎหมายและการไม่มีอำนาจฟ้อง กรณีเพิกถอนการขายทอดตลาดและเรียกค่าเสียหาย
ค้ำฟ้องของโจทก์ที่ขอให้ศาลมีคำพิพากษาเพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินโฉนดเลขที่ 23422 พร้อมทั้งสิ่งปลูกสร้าง และให้จำเลยที่ 1 ที่ 3 ถอนการยึดที่ดินโฉนดเลขที่ 19323 พร้อมสิ่งปลูกสร้าง โดยโจทก์ทั้งสองอ้างว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ได้แจ้งประกาศขายทอดตลาดให้ทราบ และขายทอดตลาดทรัพย์ไปในราคาต่ำกว่าราคาปกติ ทำให้โจทก์ทั้งสองมีหนี้ค้างชำระต้องถูกยึดทรัพย์อื่นอีก อันเป็นคำฟ้องที่อ้างว่าการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง จึงต้องยื่นคำร้องต่อศาลที่มีอำนาจในการบังคับคดี โจทก์ทั้งสองหาอาจนำคดีมาฟ้องใหม่ได้ไม่และในกรณีที่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ชำระค่าเสียหายเป็นค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีแทนโจทก์ และให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระค่าเสียหายแก่โจทก์นั้น เมื่อศาลยังไม่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้เพิกถอนการขายทอดตลาดหรือเพิกถอนการยึดทรัพย์ก็จะฟังว่าการกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ทั้งสองหาได้ไม่ โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8367/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการขายทอดตลาด: การครอบครองปรปักษ์ไม่ใช่เหตุเพิกถอน หากเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ได้ฝ่าฝืนกฎหมาย
ตามคำร้องของผู้ร้องมีความประสงค์ขอให้ศาลยกเลิกการขายทอดตลาดที่ได้ขายไปแล้ว โดยอ้างว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ถูกยึดโดยการครอบครองปรปักษ์ ผู้ร้องประสงค์จะขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดดังกล่าวโดยอ้าง ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง ซึ่งกรณีจะเป็นเรื่องของ ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสองนั้น ต้องเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งลักษณะการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตาม ป.วิ.พ. และเกิดความเสียหายแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลอื่นที่มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี บุคคลดังกล่าวจึงมีสิทธิยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลก่อนการบังคับคดีได้เสร็จลง ขอให้งดการบังคับคดีไว้ก่อนแต่ตามคำร้องของผู้ร้องมิได้กล่าวอ้างเลยว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตาม ป.วิ.พ. แต่ประการใด เพียงแต่กล่าวอ้างว่า ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ถูกยึดโดยการครอบครองปรปักษ์และธนาคารที่รับจำนองทรัพย์ดังกล่าวได้รับจำนองไว้โดยไม่สุจริตจึงไม่ได้รับการคุ้มครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสองนั้น หากเป็นความจริงก็มิใช่เป็นการกระทำของเจ้าพนักงานบังคับคดี จึงไม่อาจยกเหตุที่ผู้ร้องอ้างมาเพิกถอนการขายทอดตลาดได้
การที่จะให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปล่อยทรัพย์ที่ยึดคืนแก่ผู้ร้องได้นั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 288 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ยื่นคำร้องขอต่อศาลก่อนเอาทรัพย์ออกขายทอดตลาด เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดไปก่อนแล้ว ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ได้
การที่จะให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปล่อยทรัพย์ที่ยึดคืนแก่ผู้ร้องได้นั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 288 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ยื่นคำร้องขอต่อศาลก่อนเอาทรัพย์ออกขายทอดตลาด เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดไปก่อนแล้ว ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ได้