พบผลลัพธ์ทั้งหมด 132 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5330/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชยพาหนะพนักงานไม่ได้รับการยกเว้นภาษี, เงินเกินอัตราเป็นเงินได้พึงประเมิน
พนักงานของโจทก์ได้นำรถยนต์ส่วนตัวมาใช้ในการปฏิบัติการตามหน้าที่ให้แก่โจทก์ โดยโจทก์จ่ายเงินชดเชยให้ ซึ่งคำนวณมาจากข้อมูลค่าเสื่อมราคารถยนต์ ค่าดอกเบี้ยเช่าซื้อ ค่าภาษีประจำปี ค่าประกันภัย ค่าอุปกรณ์ต่าง ๆดังนี้ การจ่ายเงินของโจทก์ดังกล่าวมีลักษณะเป็นการจ่ายเงินชดเชยค่าพาหนะเหมาจ่ายแก่พนักงานของโจทก์ หาใช่จำนวนเงินที่พนักงานของโจทก์ได้จ่ายเป็นค่าพาหนะไปในการปฏิบัติการตามหน้าที่แล้วเบิกคืนจากโจทก์โดยไม่เหลือเป็นประโยชน์แก่ตน ฉะนั้นเงินได้ดังกล่าวที่พนักงานโจทก์ได้รับไปจึงไม่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42 (1)
จำนวนเงินชดเชยค่าพาหนะเหมาจ่ายที่เกินอัตรากิโลเมตรละ90 สตางค์ ซึ่งจำเลยนำเอาระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการใช้ยานพาหนะส่วนตัวเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2526 มาเทียบเคียงนั้น ถือได้ว่าเป็นประโยชน์ที่พนักงานโจทก์ได้รับเนื่องจากการจ้างแรงงานเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (1) เมื่อโจทก์มิได้หักภาษี ณ ที่จ่ายตามประมวลรัษฎากรมาตรา 50 และนำส่งตามมาตรา 52 จึงต้องร่วมรับผิดตามประมวลรัษฎากรมาตรา 54
จำนวนเงินชดเชยค่าพาหนะเหมาจ่ายที่เกินอัตรากิโลเมตรละ90 สตางค์ ซึ่งจำเลยนำเอาระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการใช้ยานพาหนะส่วนตัวเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2526 มาเทียบเคียงนั้น ถือได้ว่าเป็นประโยชน์ที่พนักงานโจทก์ได้รับเนื่องจากการจ้างแรงงานเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (1) เมื่อโจทก์มิได้หักภาษี ณ ที่จ่ายตามประมวลรัษฎากรมาตรา 50 และนำส่งตามมาตรา 52 จึงต้องร่วมรับผิดตามประมวลรัษฎากรมาตรา 54
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5330/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชยพาหนะส่วนตัวของพนักงาน: การพิจารณาว่าเป็นเงินได้พึงประเมินตามกฎหมายภาษีอากร
พนักงานของโจทก์ได้นำรถยนต์ส่วนตัวมาใช้ในการปฏิบัติการตามหน้าที่ให้แก่โจทก์ โดยโจทก์จ่ายเงินชดเชยให้ ซึ่งคำนวณมาจากข้อมูลค่าเสื่อมราคารถยนต์ ค่าดอกเบี้ยเช่าซื้อ ค่าภาษีประจำปี ค่าประกันภัยค่าอุปกรณ์ต่าง ๆ ดังนี้ การจ่ายเงินของโจทก์ดังกล่าวมีลักษณะเป็นการจ่ายเงินชดเชยค่าพาหนะเหมาจ่ายแก่พนักงานของโจทก์ หาใช่จำนวนเงินที่พนักงานของโจทก์ได้จ่ายเป็นค่าพาหนะไปในการปฏิบัติการตามหน้าที่แล้วเบิกคืนจากโจทก์โดยไม่เหลือเป็นประโยชน์แก่ตน ฉะนั้นเงินได้ดังกล่าวที่พนักงานโจทก์ได้รับไปจึงไม่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 42(1) จำนวนเงินชดเชยค่าพาหนะเหมาจ่ายที่เกินอัตรากิโลเมตรละ90 สตางค์ ซึ่งจำเลยนำเอาระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการใช้ยานพาหนะส่วนตัวเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2526มาเทียบเคียงนั้น ถือได้ว่าเป็นประโยชน์ที่พนักงานโจทก์ได้รับเนื่องจากการจ้างแรงงานเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(1) เมื่อโจทก์มิได้หักภาษี ณ ที่จ่ายตามประมวลรัษฎากร มาตรา 50และนำส่งตามมาตรา 52 จึงต้องร่วมรับผิดตามประมวลรัษฎากร มาตรา 54
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 727/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของโรงแรมต่อการสูญหายของรถยนต์ที่จอดตามคำแนะนำพนักงาน
โจทก์ได้เช่าห้องพักในโรงแรมของจำเลยและนำรถยนต์ไปจอดไว้ที่ถนนหน้าโรงแรมตามที่พนักงานโรงแรมบอกให้จอด เพราะที่จอดรถยนต์ภายในโรงแรมเต็ม เมื่อรถยนต์ของโจทก์หายไป จำเลยในฐานะเจ้าสำนักโรงแรมต้องรับผิดต่อโจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 674
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4889/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเบี้ยกิโลเมตรเป็นเงินเดือนค่าจ้าง ต้องนำไปคำนวณค่าชดเชย
จำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจจ่ายค่าเบี้ยกิโลเมตรให้โจทก์ซึ่งพนักงานขับรถทุกวันตามระยะทางที่ขับรถได้ในอัตรากิโลเมตรละ 35 สตางค์โจทก์ขับรถวันละ 609 กิโลเมตร ได้รับค่าเบี้ยกิโลเมตรวันละ 213 บาท ค่าเบี้ยกิโลเมตรดังกล่าวจึงเป็นเงินที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์เป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันที่ทำงานหรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่พนักงานทำงานได้ ค่าเบี้ยกิโลเมตรจึงเป็น "เงินเดือนค่าจ้าง" ตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจพ.ศ.2534 ข้อ 3 ซึ่งจะต้องนำไปรวมคำนวณค่าชดเชยที่จำเลยจะต้องจ่ายให้แก่โจทก์ตามข้อ 45 แห่งระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฉบับดังกล่าวด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 934/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อของพนักงานรถไฟและผลต่อความรับผิดทางอาญาต่อการชนจนมีผู้เสียชีวิตและทรัพย์สินเสียหาย
จำเลยที่ 1 เป็นนายตรวจกลประจำโรงจักรดีเซลบางซื่อติดเครื่องยนต์รถจักรดีเซล โดยมิได้ตรวจดูให้แน่ก่อนว่าคันเร่งรอบเครื่องยนต์คันเปลี่ยนอาการและคันบังคับการไฟฟ้าอยู่ในตำแหน่งที่ว่าง และลงจากรถจักรไปโดยไม่ได้ดับเครื่องยนต์ เป็นเหตุให้รถจักรดีเซลแล่นออกไปโดยไม่มีคนขับ ไปชนคนตายและบาดเจ็บ ถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยประมาท เครื่องตกรางที่ 1 อยู่ในเขตรางที่ 6 ซึ่งในวันเกิดเหตุมีประกาศปิดรางเพื่อซ่อมจึงเป็นทางปิด เมื่อปิดทางแล้วทางนั้นก็อยู่ในอำนาจของเจ้าหน้าที่ฝ่ายบำรุงทางที่จะถอดรางออกถอดประแจ ถอนไม้หมอนออกได้ ข้อบังคับและระเบียบการเดินรถพ.ศ. 2524 ข้อ 107(1) ที่กำหนดให้ปิดเครื่องตกรางและกลับประแจให้อยู่ในท่าทางประธานนั้นใช้สำหรับทางเปิดเดินรถเป็นปกติไม่ได้ใช้บังคับแก่ทางปิด เพราะทางปิดนั้นตามข้อบังคับและระเบียบการเดินรถห้ามมิให้ขบวนรถผ่านเข้าไปโดยเด็ดขาด จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานควบคุมย่านสถานีรถไฟบางซื่อมีหน้าที่ควบคุมขบวนรถไฟต่าง ๆ ที่ผ่านสถานีรถไฟบางซื่อและควบคุมการเข้าออกของหัวรถจักรดีเซลบริเวณโรงรถจักรดีเซล การที่จำเลยที่ 2 เปิดเครื่องตกรางที่ 1 โดยไม่ได้ปิด จึงไม่อยู่ในข้อบังคับและระเบียบการเดินรถดังกล่าว อย่างไรก็ตามการที่จำเลยที่ 2 เปิดเครื่องตกรางที่ 1 ก็เนื่องจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายบำรุงทางขอให้เปิดเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายบำรุงทางนำรถผลักเบาบรรทุกอุปกรณ์การซ่อมทางเข้าไปจึงนับว่ามีเหตุผลอันสมควรในระหว่างที่จำเลยที่ 2 เปิดเครื่องตกรางที่ 1 นั้น รถจักรดีเซลคันเกิดเหตุได้แล่นออกไปโดยไม่มีคนขับและก่อให้เกิดความเสียหายเป็นเหตุให้คนตายและบาดเจ็บ ที่ปลายทางสถานีรถไฟหัวลำโพงซึ่งบุคคลในภาวะเช่นจำเลยที่ 2 ย่อมไม่อาจคาดคิดได้ว่าจะมีเหตุการณ์เช่นนั้นเกิดขึ้น จึงไม่เป็นการกระทำโดยประมาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 598/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของธนาคารต่อการจ่ายเช็คปลอมจากความประมาทเลินเล่อของพนักงาน
ลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายในเช็คพิพาทกับตัวอย่างลายมือชื่อของโจทก์มีลักษณะและลวดลายการเขียนผิดกันชัดเจนหลายจุด ซึ่งหากใช้ความระมัดระวังในการตรวจก็จะเห็นได้ว่าเป็นลายมือชื่อของบุคคลคนละคนกัน การที่พนักงานของจำเลยที่ 1 ไม่ตรวจลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายในเช็คพิพาทให้ถูกต้อง จึงเป็นการประมาทเลินเล่อในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชดใช้เงินซึ่งได้จ่ายแก่ผู้นำเช็คพิพาทมาเบิกคืนให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1989/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเลิกจ้างพนักงาน: ภรรยาผู้บริหารไม่มีอำนาจ
ภรรยาของกรรมการผู้จัดการของจำเลยมิใช่กรรมการผู้จัดการของจำเลยที่จะมีอำนาจเลิกจ้างพนักงานหรือลูกจ้างของจำเลยได้ และภรรยาของกรรมการผู้จัดการของจำเลยมิได้รับมอบหมายจากกรรมการผู้จัดการของจำเลยให้มีอำนาจเลิกจ้างพนักงานหรือลูกจ้างของจำเลย ภรรยาของกรรมการผู้จัดการของจำเลยจึงไม่มีอำนาจเลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นพนักงาน การที่ภรรยากรรมการผู้จัดการของจำเลยบอกโจทก์ไม่ให้มาทำงานต่อไป ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1989/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเลิกจ้างพนักงานต้องมาจากกรรมการผู้จัดการ หรือผู้ได้รับมอบหมายจากกรรมการฯ การกระทำของภรรยาผู้บริหารจึงไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง
ภรรยาของกรรมการผู้จัดการของจำเลยมิใช่กรรมการผู้จัดการของจำเลยที่จะมีอำนาจเลิกจ้างพนักงานหรือลูกจ้างของจำเลยได้และภรรยาของกรรมการผู้จัดการของจำเลยมิได้รับมอบหมายจากกรรมการผู้จัดการของจำเลยให้มีอำนาจเลิกจ้างพนักงานหรือลูกจ้างของจำเลย ภรรยาของกรรมการผู้จัดการของจำเลยจึงไม่มีอำนาจเลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นพนักงาน การที่ภรรยากรรมการผู้จัดการของจำเลยบอกโจทก์ไม่ให้มาทำงานต่อไป ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1744/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงาน vs. พนักงาน: การพิจารณาความผิดตาม พ.ร.บ.พนักงานรัฐ การตีความคำว่า 'พนักงาน' ที่จำกัดเฉพาะผู้ไม่อยู่ในฐานะเจ้าพนักงาน
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานสงเคราะห์ตามพ.ร.บ. กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางฯ จำเลยย่อมเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย เมื่อโจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐฯ มาตรา 4 เพียงอย่างเดียวซึ่ง พ.ร.บ.ฉบับหลังนี้ให้บทวิเคราะห์ศัพท์คำว่า "พนักงาน" หมายถึงบุคคลต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ ทั้งนี้นอกจากผู้เป็นเจ้าพนักงานอยู่แล้วตามกฎหมาย เมื่อจำเลยเป็นเจ้าพนักงานอยู่แล้วตามกฎหมายจำเลยจึงไม่เป็นพนักงานตามความหมายของ พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐฯ จึงไม่อาจลงโทษจำเลยตามฟ้องได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1744/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยเป็นเจ้าพนักงาน ไม่ใช่ 'พนักงาน' ตาม พ.ร.บ.ความผิดของพนักงานฯ จึงไม่อาจลงโทษได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นเจ้าพนักงานสงเคราะห์ตำแหน่งพนักงานสงเคราะห์ยางจังหวัดสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดตรัง ตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. 2503 ได้ยักยอกปุ๋ยของกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ซึ่งอยู่ในอำนาจจัดการดูแลรักษาของจำเลยตามหน้าที่ไปเป็นประโยชน์ของจำเลย ขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐพ.ศ. 2502 มาตรา 4 แต่ตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวให้บทวิเคราะห์ศัพท์คำว่า "พนักงาน" ไว้หมายถึง บุคคลต่าง ๆตามที่ระบุไว้ ทั้งนี้นอกจากผู้เป็นเจ้าพนักงานอยู่แล้วตามกฎหมายเมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานสงเคราะห์ตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. 2503 จำเลยย่อมเป็นเจ้าพนักงานอยู่แล้วตามกฎหมายจึงไม่เป็นพนักงานตามความหมายของพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐพ.ศ. 2502 ลงโทษจำเลยตามฟ้องไม่ได้