พบผลลัพธ์ทั้งหมด 173 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2234/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานการตรวจพิสูจน์ของกลาง แม้ผู้ตรวจไม่เบิกความ
แม้โจทก์จะมิได้นำผู้ตรวจพิสูจน์ของกลางมาเบิกความประกอบรายงานการตรวจพิสูจน์ของกลางเอกสารหมาย จ.2 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 243วรรคสอง แต่โจทก์ก็ยังมีพนักงานสอบสวนมาเบิกความยืนยันว่าได้ส่งของกลางไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์ ผลปรากฎว่าของกลางเป็นเฮโรอีน ดังนี้การนำสืบพยานโจทก์ดังกล่าวรับฟังได้ว่า ของกลางตามฟ้องเป็นเฮโรอีน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1401/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งคืนของกลางในคดีป่าไม้: เจ้าพนักงานป่าไม้มีอำนาจตามกฎหมายเฉพาะ ไม่ใช่พนักงานสอบสวน
การที่เจ้าพนักงานป่าไม้จังหวัดเก็บรักษารถยนต์ของกลางซึ่งเจ้าพนักงานป่าไม้จับกุมได้พร้อมไม้แปรรูปที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไว้เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา64ทวิวรรคหนึ่งที่ให้อำนาจไว้แม้คดีอาญาจะยังไม่ถึงที่สุดพนักงานสอบสวนยังมีหน้าที่สืบสวนสอบสวนหาตัวผู้กระทำผิดต่อไปก็ตามแต่การขอคืนรถยนต์ของกลางก็ต้องเป็นไปตามที่พระราชบัญญัติป่าไม้พ.ศ.2484มาตรา64ตรีซึ่งได้บัญญัติไว้เป็นพิเศษให้ผู้มีอำนาจสั่งคืนของกลางคือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ได้แก่เจ้าพนักงานป่าไม้จังหวัดโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จำเลยซึ่งเป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวนมิใช่ผู้มีอำนาจหรือหน้าที่ในการคืนรถยนต์ของกลางแก่โจทก์โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 929/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำลายหลักฐานการสอบสวนโดยพนักงานสอบสวนเพื่อช่วยเหลือผู้ต้องหา
ป.วิ.อ. มาตรา 139 บัญญัติให้พนักงานสอบสวนบันทึกการสอบสวนตามหลักทั่วไปในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาอันว่าด้วยการสอบสวนและให้เอาบันทึกเอกสารอื่นซึ่งได้มา อีกทั้งบันทึกและเอกสารทั้งหลายซึ่งเจ้าพนักงานอื่นผู้สอบสวนคดีเดียวกันนั้นส่งมารวมเข้าสำนวนไว้ จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนจะอ้างว่าได้ทำบันทึกคำให้การของผู้ต้องหาและผู้กล่าวหาใหม่แล้วของเดิมไม่สำคัญ หรือผู้ให้ถ้อยคำไม่ประสงค์จะใช้ของเดิมจึงไม่นำเข้ารวมสำนวนไว้หาได้ไม่
การที่จำเลยที่ 1 เอาไปเสียซึ่งคำให้การฉบับเดิมของผู้ต้องหาและผู้กล่าวหาซึ่งจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ปกครองดูแลรักษาไว้ อันเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 158 นั้น ก็โดยเจตนาเพื่อช่วยเหลือผู้ต้องหามิให้ต้องโทษ ซึ่งเป็นการกระทำการในตำแหน่งพนักงานสอบสวนโดยมิชอบอันเป็นความผิด ตาม ป.อ. มาตรา 157,200 วรรคแรกด้วย การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดกรรมเดียวกัน
การที่จำเลยที่ 1 เอาไปเสียซึ่งคำให้การฉบับเดิมของผู้ต้องหาและผู้กล่าวหาซึ่งจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ปกครองดูแลรักษาไว้ อันเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 158 นั้น ก็โดยเจตนาเพื่อช่วยเหลือผู้ต้องหามิให้ต้องโทษ ซึ่งเป็นการกระทำการในตำแหน่งพนักงานสอบสวนโดยมิชอบอันเป็นความผิด ตาม ป.อ. มาตรา 157,200 วรรคแรกด้วย การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดกรรมเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 929/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพนักงานสอบสวนทำลายหลักฐานช่วยเหลือผู้ต้องหา และปฏิบัติหน้าที่มิชอบ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 139 บัญญัติว่าให้พนักงานสอบสวนบันทึกการสอบสวนตามหลักทั่วไปในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาอันว่าด้วยการสอบสวนและให้เอาบันทึกเอกสารอื่นซึ่งได้มา อีกทั้งบันทึกและเอกสารทั้งหลายซึ่งเจ้าพนักงานอื่นผู้สอบสวนคดีเดียวกันนั้นส่งมารวมเข้าสำนวนไว้ดังนั้น จำเลยที่ 1 ในฐานะพนักงานสอบสวนจึงต้องนำบันทึกคำให้การซึ่งเป็นบันทึกคำให้การของผู้ต้องหาและผู้กล่าวหาฉบับเดิมที่จำเลยที่ 1 เป็นคนร่วมสอบสวนและบันทึกรวมเข้าสำนวนไว้ จำเลยที่ 1จะอ้างว่าได้ทำบันทึกคำให้การของผู้ต้องหาและผู้กล่าวหาใหม่แล้วของเดิมไม่สำคัญ หรือผู้ให้ถ้อยคำไม่ประสงค์จะใช้ของเดิมจึงไม่นำเข้ารวมสำนวนไว้ ย่อมไม่อาจกระทำได้ การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นพนักงานสอบสวน เอาไปเสียซึ่งคำให้การฉบับเดิมของผู้ต้องหาและผู้กล่าวหา ซึ่งจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ปกครองดูแลรักษา โดยเจตนาเพื่อช่วยเหลือผู้ต้องหามิให้ต้องโทษถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำการในตำแหน่งพนักงานสอบสวนโดยมิชอบเพื่อช่วยเหลือผู้ต้องหาตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 200วรรคแรก และทำให้ผู้กล่าวหาและกรมตำรวจเสียหายอันเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามมาตรา 157 ด้วย การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดกรรมเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 929/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดของพนักงานสอบสวนที่ทำลายหลักฐานและช่วยเหลือผู้ต้องหา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 139 บัญญัติให้พนักงานสอบสวนบันทึกการสอบสวนตามหลักทั่วไปในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาอันว่าด้วยการสอบสวนและให้เอาบันทึกเอกสารอื่นซึ่งได้มา อีกทั้งบันทึกและเอกสารทั้งหลายซึ่งเจ้าพนักงานอื่นผู้สอบสวนคดีเดียวกันนั้นส่งมารวมเข้าสำนวนไว้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนจะอ้างว่าได้ทำบันทึกคำให้การของผู้ต้องหาและผู้กล่าวหาใหม่แล้วของเดิมไม่สำคัญ หรือผู้ให้ถ้อยคำไม่ประสงค์จะใช้ของเดิมจึงไม่นำเข้ารวมสำนวนไว้หาได้ไม่ การที่จำเลยที่ 1 เอาไปเสียซึ่งคำให้การฉบับเดิมของผู้ต้องหาและผู้กล่าวหาซึ่งจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ปกครองดูแลรักษาไว้ อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 158 นั้น ก็โดยเจตนาเพื่อช่วยเหลือผู้ต้องหามิให้ต้องโทษ ซึ่งเป็นการกระทำการในตำแหน่งพนักงานสอบสวนโดยมิชอบอันเป็นความผิด ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157,200 วรรคแรกด้วย การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดกรรมเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7562/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำรับสารภาพในชั้นสอบสวนต้องมีพยานหลักฐานประกอบอื่นที่ไม่ใช่คำของพนักงานสอบสวนจึงจะใช้ลงโทษจำเลยได้
พยานหลักฐานประกอบตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 176 จะต้องไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของคำรับสารภาพ การรับฟังคำรับชั้นสอบสวนซึ่งจำเลยปฏิเสธในชั้นพิจารณามาใช้ลงโทษจำเลยโจทก์ต้องมีพยานประกอบว่าจำเลยกระทำผิดจริงโดยพยานประกอบนั้นต้องมิใช่คำของเจ้าพนักงานตำรวจผู้สอบสวนคำรับนั้น ส่วนบันทึกการจับกุม คำให้การชั้นสอบสวนของจำเลย บันทึกการนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพและภาพถ่ายประกอบการนำชี้ที่เกิดเหตุแม้จะมีภาพจำเลยและมีข้อความระบุว่าจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายแต่ก็เป็นส่วนหนึ่งของคำรับสารภาพของจำเลยในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนไม่ใช่พยานหลักฐานที่จะนำมารับฟังประกอบคำรับสารภาพของจำเลยในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนเพื่อให้เห็นว่าจำเลยกระทำความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 703/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันตัวผู้ต้องหา: อำนาจฟ้องของพนักงานสอบสวน และผลของการถอนฟ้องคดีอาญาต่อความรับผิดตามสัญญา
จำเลยทำสัญญาประกันตัวผู้ต้องหากับพนักงานสอบสวน โดยมีว. พนักงานสอบสวนเป็นผู้รับสัญญาเป็นตัวแทนคู่สัญญากับจำเลยเมื่อจำเลยผิดสัญญาประกัน ช. สารวัตรใหญ่ในฐานะหัวหน้าพนักงานสอบสวน จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยตามสัญญาประกันได้ จำเลยได้ทำสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาไปจากการควบคุมของโจทก์และสัญญาว่าจะส่งตัวผู้ต้องหาให้โจทก์ตามกำหนดนั้น แม้ต่อมาผู้เสียหายจะถอนคำร้องทุกข์ในคดีนั้นซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวก็หาเป็นเหตุให้จำเลยซึ่งเป็นนายประกันพ้นความรับผิดตามสัญญาประกันไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 772/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลบหนีการควบคุมตัวจากพนักงานสอบสวน และความผิดฐานพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต
หลังจากจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายถึงแก่ความตายแล้ว จำเลยได้เข้ามอบตัวต่อพันตำรวจโท บ. พันตำรวจโท บ. สอบปากคำจำเลยจำเลยขออนุญาตกลับไปเปลี่ยนเสื้อผ้าที่บ้าน เพราะเสื้อผ้าเปื้อนเลือด พันตำรวจโท บ. ขับรถยนต์ไปส่งจำเลยที่บ้าน เมื่อไปถึงบ้านของจำเลย จำเลยเดินเข้าไปในบ้าน พันตำรวจโท บ. นั่งคอยจำเลยอยู่ที่ห้องรับแขก กับมีเจ้าพนักงานตำรวจอีก 2 คน คอยอยู่นอกบ้านแม้ไม่ปรากฏว่าพันตำรวจโท บ. ทำบันทึกการมอบตัวหรือแจ้งข้อหาแก่จำเลย แต่ก็ถือได้ว่าพันตำรวจโท บ. ได้คุมขังจำเลยไว้เพื่อทำการสืบสวนสอบสวนต่อไปตามอำนาจหน้าที่แล้ว การที่จำเลยไม่กลับมาพบพันตำรวจโท บ. แล้วหลบหนีออกทางประตูหลังบ้านไป ถือได้ว่าจำเลยได้หลบหนีไปจากความควบคุมของพันตำรวจโท บ. เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 190 แล้ว แม้ก่อนเกิดเหตุจำเลยเคยไปเก็บเงินค่าสินค้าที่ต่างอำเภอและถูกคนร้ายชิงทรัพย์ก็ตาม การที่จำเลยพาอาวุธปืนไปเก็บเงินที่อำเภอดังกล่าวในวันเกิดเหตุก็ถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีมีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์ เพราะไม่แน่ว่าจะมีเหตุร้ายเกิดขึ้น จำเลยจึงมีความผิดฐานพาอาวุธปืนติดตัวโดยไม่ได้รับอนุญาตแต่พฤติการณ์ดังกล่าวเป็นกรณีที่สมควรลงโทษจำเลยสถานเบา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4117/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เอกสารปลอมเป็นหลักฐานต่อพนักงานสอบสวนเป็นความผิดที่ไม่สามารถยอมความได้ ศาลฎีกามีอำนาจปรับบทลงโทษได้
ความผิดฐานใช้เอกสารปลอมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 เป็นความผิดที่ไม่อาจยอมความกันได้ โจทก์ไม่อาจขอถอนฟ้อง หลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้อง ระหว่างฎีกา จึงไม่อนุญาติให้ถอนฟ้อง การที่จำเลยที่ 1 นำใบรับเงินปลอมไปอ้างต่อพนักงานสอบสวนว่า โจทก์ได้รับตามใบรับเงินดังกล่าว เป็นการกระทำอันเป็นเหตุ ที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์แล้วไม่ว่าพนักงานสอบสวน จะเชื่อว่าเอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารที่แท้จริงหรือไม่ก็ตาม ใบรับเงินเป็นเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ลงโทษจำเลยที่ 1 ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 ประกอบด้วยมาตรา 264 เป็นการปรับบทลงโทษไม่ถูกต้อง เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความ จะมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 225 แต่โจทก์ มิได้ฎีกาขอให้เพิ่มเติมโทษจำเลย ศาลฎีกาคงมีอำนาจปรับบทลงโทษให้ถูกต้องเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3946/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดุลพินิจพนักงานสอบสวน-การฟ้องคดีอาญา-การถอนคำร้องทุกข์-ไม่เป็นละเมิด
การสอบสวนคดีเป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนที่จะสืบหาพยานหลักฐานมาประกอบในการดำเนินคดีตามที่ได้รับแจ้ง และเป็นดุลพินิจของพนักงานสอบสวนที่จะเรียกบุคคลใดมาเป็นพยานหรือหมายเรียกเอกสารที่เกี่ยวข้องมาเป็นพยาน การที่จำเลยซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนเชื่อคำให้การของผู้เสียหายและไม่สืบสวนสอบสวนพยานหลักฐานอื่นอีก เป็นดุลพินิจของจำเลย เมื่อพนักงานอัยการฟ้องโจทก์ต่อศาลแล้ว แม้ผู้เสียหายจะถอนคำร้องทุกข์ ก็มิได้หมายความว่าคดีที่โจทก์ถูกฟ้องไม่มีมูลความผิด การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์