พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,589 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5490/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามเนื่องจากเป็นคดีข้อเท็จจริง เกินอำนาจศาลฎีกาในปัญหาการรับฟังพยานหลักฐานเรื่องสิทธิครอบครองที่ดิน
โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินมีอาณาเขตติดต่อกับที่ดินของจำเลย เมื่อโจทก์ขอรังวัดที่ดินปรากฏว่าสิ่งปลูกสร้างของจำเลยรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ ขอให้บังคับจำเลยและบริวารรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปและให้จำเลยชำระค่าเสียหายเดือนละ 15,000 บาท แก่โจทก์ จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยไม่ได้รุกล้ำที่ดินของโจทก์ จึงเป็นกรณีที่โจทก์ทั้งสองและจำเลยต่างอ้างว่าตนเองเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท จึงเป็นคดีขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ แม้โจทก์จะมีคำขอให้บังคับจำเลยและบริวารรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำออกไปและให้จำเลยชำระคืนค่าเสียหายเดือนละ 15,000 บาท มาด้วย แต่จะบังคับให้ได้หรือไม่เพียงใดนั้น เป็นผลต่อเนื่องมาจากข้อวินิจฉัยในเรื่องสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทอันเป็นประเด็นสำคัญในคดีนี้ จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ที่ดินพิพาทตีราคาเป็นเงิน 67,875 บาท ทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยรับฟังข้อเท็จจริงว่าพยานหลักฐานโจทก์ทั้งสองรับฟังไม่ได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองฎีกาว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ จึงเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 5 ฎีกาโจทก์ทั้งสองเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5385/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นข้อพิพาทจำกัดตามคำให้การ การนำสืบพยานนอกเหนือข้อต่อสู้ต้องห้าม
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การว่าไม่เคยกู้เงินและทำสัญญาค้ำประกันไว้แก่โจทก์ โดยมิได้ให้การต่อสู่ว่าได้ชำระหนี้เงินกู้ให้แก่โจทก์แล้ว ดังนี้คดีไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยทั้งสองได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์แล้ว แม้จำเลยทั้งสองจะนำพยานหลักฐานเข้าสืบก็เป็นการนำสืบนอกข้อต่อสู้ในคำให้การต้องห้ามมิให้รับฟังตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5385/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้การปฏิเสธหนี้และการนำสืบพยานหลักฐานนอกประเด็นข้อต่อสู้
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การว่าไม่เคยกู้เงินและทำสัญญาค้ำประกันไว้แก่โจทก์ โดยมิได้ให้การต่อสู้ว่าได้ชำระหนี้เงินกู้ให้แก่โจทก์แล้ว ดังนี้คดีไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยทั้งสองได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์แล้ว แม้จำเลยทั้งสองจะนำพยานหลักฐานเข้าสืบก็เป็นการนำสืบนอกข้อต่อสู้ในคำให้การต้องห้ามมิให้รับฟังตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5355/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาโทษอาญาตามกฎหมายใหม่และการใช้คำรับสารภาพประกอบพยานหลักฐาน
คดีนี้ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์ประกอบคำรับสารภาพของจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง และเมื่อฟังพยานโจทก์จนพอใจว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้องจริงก็พิพากษาลงโทษจำเลย เมื่อจำเลยใช้สิทธิอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ก็ต้องวินิจฉัยตามข้ออ้างข้อเถียงในอุทธรณ์ของจำเลยว่ามีเหตุผลให้รับฟังหรือไม่ และเมื่อรับฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานใดแล้ว หากปรากฏว่าในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีกฎหมายที่แก้ไขใหม่ซึ่งเป็นคุณแก่จำเลย ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ก็ต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่บังคับแก่จำเลย ตาม ป.อ. มาตรา 3 หามีกรณีต้องสืบพยานโจทก์ประกอบคำรับสารภาพของจำเลยในชั้นอุทธรณ์ ซึ่งหากอัตราโทษอย่างต่ำจำคุกไม่เกิน 5 ปี จะต้องพิพากษาลงโทษจำเลยตามคำรับสารภาพของจำเลยโดยไม่ต้องพิจารณาพยานโจทก์ดังที่โจทก์กล่าวอ้างในฎีกาไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4818/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องดำเนินคดีอนาถาเป็นที่สุดเมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งแล้ว การนำพยานหลักฐานเพิ่มเติมจึงไม่อาจทำได้
จำเลยเคยได้ยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์มาแล้วครั้งหนึ่ง ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งให้ยกคำร้องเพราะเห็นว่าคดีของจำเลยไม่มีเหตุผลอันสมควรที่จะอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้น คำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคท้าย และปัญหาที่ว่าคดีของจำเลยมีเหตุอันสมควรที่จะอุทธรณ์หรือไม่ ย่อมยุติแล้วตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์ ดังนั้นถึงหากจะฟังว่าจำเลยเป็นคนยากจนก็ไม่เป็นประโยชน์แก่รูปคดีของจำเลย จึงไม่มีเหตุที่จะยื่นคำร้องขอต่อศาลให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่เพื่ออนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจนได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4260/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและการรับฟังพยานหลักฐาน
การที่พนักงานอัยการโจทก์จะนำพยานหลักฐานใด ๆ มาสืบได้จะต้องยื่นบัญชีระบุพยานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 เสียก่อน การที่พนักงานอัยการประจำศาลที่มีการส่งประเด็นมาสืบซึ่งเป็นผู้แทนโจทก์นำสรรพเอกสารที่อ้างไว้ในคดีอื่นมาสืบในคดีนี้โดยผิดหลง จึงมีผลเท่ากับนำพยานหลักฐานที่มิได้ยื่นบัญชีระบุพยานไว้มาสืบ เป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติดังกล่าวอันถือได้ว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาผิดระเบียบ ซึ่งศาลมีอำนาจที่จะสั่งแก้ไขข้อผิดพลาดดังกล่าวนั้นได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
การสืบ อ. พยานโจทก์เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2541 เป็นกระบวนพิจารณาที่ดำเนินไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และถูกศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนแล้ว ย่อมมีผลเป็นการลบล้างการสืบ อ. และทำให้โจทก์กลับคืนเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการสืบ อ. ในวันนั้นเลย โจทก์จึงมีสิทธินำ อ. ตามที่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานไว้เข้าสืบในวันที่ 20 ธันวาคม 2542 ได้โดยชอบ ไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ เพราะการสืบ อ. ถูกเพิกถอนไปแล้ว
การสืบ อ. พยานโจทก์เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2541 เป็นกระบวนพิจารณาที่ดำเนินไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และถูกศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนแล้ว ย่อมมีผลเป็นการลบล้างการสืบ อ. และทำให้โจทก์กลับคืนเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการสืบ อ. ในวันนั้นเลย โจทก์จึงมีสิทธินำ อ. ตามที่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานไว้เข้าสืบในวันที่ 20 ธันวาคม 2542 ได้โดยชอบ ไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ เพราะการสืบ อ. ถูกเพิกถอนไปแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4260/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบพยานหลักฐานต้องยื่นบัญชีระบุพยานตามกฎหมาย หากไม่ยื่นถือเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาผิดระเบียบ ศาลมีอำนาจแก้ไขได้
การที่โจทก์จะนำพยานหลักฐานใด ๆ มาสืบได้จะต้องยื่นบัญชีระบุพยานตาม ป.วิ.พ. มาตรา 88 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 เสียก่อนจึงจะมีสิทธินำพยานหลักฐานเข้าสืบได้ ดังนั้น การที่ผู้แทนโจทก์นำสรรพเอกสารที่อ้างไว้ในคดีอื่นมาสืบในคดีนี้จึงมีผลเท่ากับนำพยานหลักฐานที่มิได้ยื่นบัญชีระบุพยานไว้มาสืบ เป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น อันถือได้ว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาผิดระเบียบ เมื่อโจทก์ยังมิได้ดำเนินการอันใดขึ้นใหม่และไม่ได้ให้สัตยาบันแก่การผิดระเบียบนั้น ทั้งได้แถลงขอให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบในวันที่ศาลชั้นต้นได้แจ้งประเด็นกลับ ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจที่จะสั่งแก้ไขข้อผิดพลาดดังกล่าวนั้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4162/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความเท็จและเบิกความเท็จต้องมีเจตนาทุจริตและข้อเท็จจริงที่พิสูจน์ได้ หากไม่มีพยานหลักฐานสนับสนุนการกล่าวหา ก็ถือว่าไม่มีความผิด
จำเลยทั้งสองเคยให้การและเบิกความว่าโจทก์ทั้งสองกระทำผิดฐานปล้นทรัพย์ แต่ศาลพิพากษายกฟ้อง โจทก์ทั้งสองจึงฟ้องว่าจำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญา และเบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีอาญา แต่ข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบไม่มีเหตุผลที่จะชี้ให้เห็นเจตนาอันไม่สุจริตของจำเลยทั้งสองว่านำเอาความเท็จซึ่งควรรู้อยู่แล้วมาแกล้งกล่าวหาโจทก์ทั้งสอง ข้อเท็จจริงว่าจำเลยทั้งสองเห็นว่าโจทก์เป็นคนร้ายหรือไม่ เป็นข้อเท็จจริงที่ยุติระหว่างคู่ความในคดีปล้นทรัพย์เท่านั้น จะนำมาฟังในคดีนี้ว่าการให้การชั้นสอบสวนและเบิกความในชั้นศาลเป็นการแจ้งความเท็จและเบิกความเท็จ โดยโจทก์ไม่มีพยานมาสืบว่าความจริงเป็นดังฟ้องอย่างใดหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3066-3189/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง: การลดชั่วโมงทำงาน และการรับฟังพยานหลักฐานเพิ่มเติมในคดีแรงงาน
ระเบียบว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของจำเลยฉบับที่ถูกยกเลิกและฉบับใหม่ต่างก็กำหนดให้พนักงานอื่นนอกจากที่ได้ระบุไว้อันหมายถึงพนักงานฝ่ายบริการภาคพื้นซึ่งรวมโจทก์กลุ่มที่ 2 และกลุ่มที่ 3 ทำงานไม่เกินสัปดาห์ละ 48 ชั่วโมง ตลอดมาตั้งแต่ปี 2521 ไม่มีการเปลี่ยนแปลง แม้จำเลยจะให้โจทก์กลุ่มที่ 2 และกลุ่มที่ 3 ทำงานไม่เกินสัปดาห์ละ 40 ชั่วโมง แต่จำเลยก็ไม่ได้ประกาศหรือออกระเบียบใหม่ให้ทำงานไม่เกินสัปดาห์ละ 40 ชั่วโมง นับเป็นเรื่องที่จำเลยให้ประโยชน์แก่โจทก์กลุ่มที่ 2 และกลุ่มที่ 3 โดยให้ทำงานต่ำกว่าชั่วโมงทำงานที่กำหนดไว้ในสภาพการจ้าง จำเลยย่อมมีสิทธิไม่ให้ประโยชน์นั้นต่อไปโดยให้โจทก์กลุ่มที่ 2 และกลุ่มที่ 3 ทำงานไม่เกินสัปดาห์ละ 48 ชั่วโมง เต็มตามสภาพการจ้างที่ได้กำหนดไว้ได้ ไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง
แม้จำเลยอ้างส่งเอกสารหมาย ล. 10 โดยไม่ส่งสำเนาให้โจทก์ก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน แต่การที่ศาลแรงงานกลางรับเอกสารหมาย ล. 10 ไว้และได้วินิจฉัยถึงเอกสารดังกล่าวในคำพิพากษาแสดงว่าศาลแรงงานกลางเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมในอันที่จะให้ได้ความแจ้งชัดในข้อเท็จจริงแห่งคดีจึงรับฟังเอกสารหมาย ล. 10 โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 45 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นบทบัญญัติให้ใช้ในการพิจารณาคดีแรงงานโดยเฉพาะจึงไม่ขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 90 วรรคหนึ่ง
แม้จำเลยอ้างส่งเอกสารหมาย ล. 10 โดยไม่ส่งสำเนาให้โจทก์ก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน แต่การที่ศาลแรงงานกลางรับเอกสารหมาย ล. 10 ไว้และได้วินิจฉัยถึงเอกสารดังกล่าวในคำพิพากษาแสดงว่าศาลแรงงานกลางเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมในอันที่จะให้ได้ความแจ้งชัดในข้อเท็จจริงแห่งคดีจึงรับฟังเอกสารหมาย ล. 10 โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 45 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นบทบัญญัติให้ใช้ในการพิจารณาคดีแรงงานโดยเฉพาะจึงไม่ขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 90 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2976/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพราง: สัญญาซื้อขายที่ดินบังหน้าสัญญาเงินกู้ การนำสืบพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์เจตนาที่แท้จริง
แม้จำเลยจะได้ทำสัญญาซื้อขายที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์กับโจทก์และได้ยื่นคำขอจดทะเบียนไว้ต่อเจ้าพนักงานที่ดินก็ตาม เมื่อโจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญาฉบับดังกล่าว จำเลยก็สามารถนำพยานบุคคลมาสืบได้ว่า ความจริงเป็นการทำสัญญากู้เงินกัน ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคสอง เพราะเป็นการนำสืบว่า สัญญาซื้อขายนั้นเป็นนิติกรรมอำพราง ต้องบังคับตามสัญญาที่แท้จริงคือสัญญากู้เงิน
การที่จำเลยไปยื่นคำขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมต่อเจ้าพนักงานที่ดินและให้ปากคำว่าต้องการซื้อขายกันจริงโดยยินยอมเสียค่าธรรมเนียมต่อเจ้าพนักงานที่ดินตามระเบียบ เป็นการยืนยันเจตนาแท้จริงของจำเลยที่ต้องการขายที่ดินพิพาทแก่โจทก์ หากจำเลยไม่ต้องการขายที่ดินพิพาทให้โจทก์จริงดังจำเลยอ้าง ก็น่าจะทำสัญญาจะซื้อขายกันไว้เป็นหลักฐานก็พอ ดังนั้น จึงฟังไม่ได้ว่าสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญากู้เงิน
การที่จำเลยไปยื่นคำขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมต่อเจ้าพนักงานที่ดินและให้ปากคำว่าต้องการซื้อขายกันจริงโดยยินยอมเสียค่าธรรมเนียมต่อเจ้าพนักงานที่ดินตามระเบียบ เป็นการยืนยันเจตนาแท้จริงของจำเลยที่ต้องการขายที่ดินพิพาทแก่โจทก์ หากจำเลยไม่ต้องการขายที่ดินพิพาทให้โจทก์จริงดังจำเลยอ้าง ก็น่าจะทำสัญญาจะซื้อขายกันไว้เป็นหลักฐานก็พอ ดังนั้น จึงฟังไม่ได้ว่าสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญากู้เงิน