คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พรากเด็ก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 141 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2773/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำอนาจารเด็กและการพรากเด็ก: การพิจารณาความผิดฐานพรากเด็กเมื่อเด็กอยู่ในบริเวณวัด
ผู้เสียหายเป็นเด็กมีอายุ 8 ปี 6 เดือน ได้ไปที่วัดที่จำเลยจำพรรษาอยู่ ขณะที่ผู้เสียหายกำลังจะกลับบ้าน จำเลยได้จูงมือผู้เสียหายและเด็กหญิง ก. ชวนไปรับประทานขนมที่กุฏิของจำเลยการที่จำเลยจูงมือผู้เสียหายซึ่งไปที่วัดช่วยพระทำงานอยู่ในบริเวณวัดไปที่กุฏิของจำเลยซึ่งอยู่ในวัดนั่นเอง ยังไม่ถือว่าเป็นการพรากผู้เสียหายไปจากความปกครองดูแลของบิดามารดา การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานพรากเด็กตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 317 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1717/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สำคัญผิดในอายุผู้เสียหาย: การกระทำชำเราเด็กหญิงและพรากเด็กจากบิดามารดา
จำเลยมีอาชีพรับราชการในตำแหน่งเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ 5ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการในโครงการต่าง ๆ ของทางราชการหลายแห่งที่เกี่ยวข้องกับประชาชน ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมอาชีพแก่ชาวบ้าน เด็กและเยาวชน ตลอดจนเป็นวิทยากรอบรมลูกเสือชาวบ้าน จำเลยจึงได้พบปะผู้คนมากมีประสบการณ์ในชีวิตพอสมควร พอจะประมาณการได้ว่าเด็กหรือเยาวชนนั้นมีอายุประมาณเท่าใด จำเลยรู้จักกับผู้เสียหายมาก่อนเกิดเหตุเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 สัปดาห์ เพราะรับสอนผู้เสียหายขับรถยนต์โดยผู้เสียหายไปกับมารดาทุกครั้ง แต่วันเกิดเหตุจำเลยเบิกความยอมรับว่าก่อนเกิดเหตุ 1 วัน จำเลยบอกมารดาของผู้เสียหายว่า ผู้เสียหายสามารถขับรถทางไกลได้ พรุ่งนี้เมื่อมารดาขับรถเสร็จแล้วไม่ต้องรอรับผู้เสียหายกลับบ้านเพราะจะนำผู้เสียหายฝึกหัดขับรถทางไกลเป็นเวลา2 ชั่วโมงนับว่าเป็นเรื่องผิดปกติ วันเกิดเหตุจำเลยก็ให้ผู้เสียหายขับรถไกลถึงประมาณ 60 กิโลเมตร ก็เป็นพิรุธเพราะกว่าจะไปและกลับคงต้องใช้เวลานานกว่าที่ฝึกขับรถปกติวันละ 2 ชั่วโมง จำเลยเป็นครูฝึกหัดขับรถแต่ไปสอบถามเรื่องส่วนตัวของผู้เสียหายซึ่งเป็นคนละเรื่องกับหน้าที่ของตนเอง หากจำเลยพูดคุยกับผู้เสียหายก็น่าจะพอคาดคิดได้ว่าผู้เสียหายมีระดับสติปัญญาเป็นเด็กเพียงใด พฤติการณ์ที่จำเลยขับรถพาผู้เสียหายเข้าโรงแรมก็ไม่ปรากฏว่าได้รักใคร่ชอบพอผู้เสียหายหรือเคยพูดจาแสดงความรักกันมาก่อน เพียงแต่จำเลยเบิกความทำนองคิดว่าผู้เสียหายมีใจแก่จำเลยเท่านั้น นับว่าเป็นการฉวยโอกาสจากความไร้เดียงสาของผู้เสียหายเพื่อสนองตัณหาของตนเท่านั้น ชั้นจับกุมและสอบสวนจำเลยก็มิได้แสดงว่าจำเลยสำคัญผิดในเรื่องอายุของผู้เสียหายอย่างใด กรณีจะเป็นเรื่องสำคัญผิดในข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 62 วรรคแรก จะต้องมีพฤติการณ์หรือเหตุชักจูงใจให้สำคัญผิดโดยสุจริต มิใช่คาดคะเนเอาเองดังที่จำเลยเบิกความพฤติการณ์ของจำเลยเช่นนี้จึงไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะยกขึ้นกล่าวอ้างเพื่อเป็นข้อแก้ตัวว่าจำเลยสำคัญผิดโดยสุจริต ดังนั้น เมื่อจำเลยกระทำชำเราเด็กหญิงอายุไม่เกิน 15 ปี ซึ่งมิใช่ภริยาของตนโดยเด็กหญิงนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม จำเลยจึงต้องมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 277 วรรคแรก และการที่จำเลยพาผู้เสียหายไปกระทำชำเราที่ห้องของโรงแรมที่เกิดเหตุ เป็นการล่วงอำนาจปกครองของมารดาผู้เสียหายโดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจาร เป็นความผิดฐานพรากเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากบิดามารดาตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 317 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7953/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สำคัญผิดในอายุผู้เสียหาย: ความผิดพรากเด็กเพื่ออนาจารและกระทำชำเรา
ตาม ป.อ.มาตรา 277 วรรคแรก และมาตรา 317 ผู้กระทำผิดจะต้องกระทำแก่เด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี เรื่องอายุของผู้เสียหายเป็นองค์ประกอบของความผิดด้วย จึงเป็นข้อเท็จจริงที่ว่า ผู้กระทำผิดได้รู้หรือไม่ ตาม ป.อ.มาตรา 62วรรคแรก ซึ่งข้อเท็จจริงใดถ้ามีอยู่จริงจะทำให้การกระทำไม่เป็นความผิด แม้ข้อเท็จจริงนั้นจะไม่มีอยู่จริง แต่ผู้กระทำสำคัญผิดว่ามีอยู่จริง ผู้กระทำย่อมไม่มีความผิดดังนี้ถ้าจำเลยสำคัญผิดในเรื่องอายุของผู้เสียหาย แม้ความจริงไม่ใช่อย่างที่จำเลยสำคัญผิด จำเลยย่อมไม่มีความผิด
ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยโดยไม่ชอบ แต่เพื่อไม่ให้คดีล่าช้า ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์ของจำเลยโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาก่อน
ความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดาเพื่อการอนาจารตาม ป.อ.มาตรา 317 เมื่อจำเลยมีเจตนาและได้พรากผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กไปเพื่อการอนาจาร ถือได้ว่า ความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดาไปเพื่อการอนาจารสำเร็จนับแต่จำเลยเริ่มพรากผู้เสียหายไปโดยมีเจตนาดังกล่าวแล้ว แม้จำเลยจะยังไม่ได้กระทำการกระทำชำเราผู้เสียหายก็ตามส่วนการที่จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายหลังจากนั้นก็เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา277 อีกกรรมหนึ่ง การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันเป็น 2กระทง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7953/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สำคัญผิดในอายุผู้เสียหาย และความผิดฐานพรากเด็ก-กระทำชำเรา เป็นกรรมต่างกัน
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคแรก และมาตรา 317 ผู้กระทำผิดจะต้องกระทำแก่เด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี เรื่องอายุของผู้เสียหายเป็นองค์ประกอบของความผิดด้วย จึงเป็นข้อเท็จจริงที่ว่า ผู้กระทำผิดได้รู้หรือไม่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 62 วรรคแรก ซึ่งข้อเท็จจริงใดถ้ามีอยู่จริงจะทำให้การกระทำไม่เป็นความผิด แม้ข้อเท็จจริงนั้นจะไม่มีอยู่จริง แต่ผู้กระทำสำคัญผิดว่ามีอยู่จริง ผู้กระทำย่อมไม่มีความผิดดังนี้ถ้าจำเลยสำคัญผิดในเรื่องอายุของผู้เสียหาย แม้ความจริงไม่ใช่อย่างที่จำเลยสำคัญผิด จำเลยย่อมไม่มีความผิด
ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยโดยไม่ชอบ แต่เพื่อไม่ให้คดีล่าช้าศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์ของจำเลยโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาก่อน
ความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดาเพื่อการอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 เมื่อจำเลยมีเจตนาและได้พรากผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กไปเพื่อการอนาจาร ถือได้ว่า ความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดาไปเพื่อการอนาจารสำเร็จนับแต่จำเลยเริ่มพรากผู้เสียหายไปโดยมีเจตนาดังกล่าวแล้ว แม้จำเลยจะยังไม่ได้กระทำการกระทำชำเราผู้เสียหายก็ตาม ส่วนการที่จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายหลังจากนั้นก็เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 อีกกรรมหนึ่ง การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันเป็น 2 กระทง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 564/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิง และพรากเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปีเพื่อการอนาจาร
จำเลยรู้จักผู้เสียหายมาก่อนเกิดเหตุประมาณ 1 เดือนและได้พบพูดคุยกันทุกวันแสดงว่าจำเลยย่อมมีความสนิทสนมกับผู้เสียหายเป็นพิเศษ ดังนั้น เมื่อพี่ชายผู้เสียหาย มาพบเห็นเข้า ผู้เสียหายกลัวบิดาและยาย จะตี จำเลยจึง ถือโอกาสนั้นพาผู้เสียหายหลบหนีโดยปราศจากเหตุอันสมควรและหลังจากพาผู้เสียหายหลบหนีแล้ว จำเลยได้กระทำชำเราผู้เสียหายด้วย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการพรากผู้เสียหายไปเสียจากบิดาเพื่อการอนาจาร จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3382/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พรากเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี และประมาททำให้ถึงแก่ความตาย ศาลฎีกายกฟ้องฐานประมาท แต่ยืนโทษฐานพรากเด็ก
แม้เด็กหญิง จ. ออกจากบ้านโดยบอกผู้เสียหายที่ 1ซึ่งเป็นผู้ปกครองและผู้ดูแลว่าไปหานางสาว ร. เมื่อพบก็ขอตามไปทำงานที่จังหวัดสระบุรีด้วย นางสาว ร.กับเด็กหญิง จ. ไปหานาย ส.เพื่อขอให้ไปส่งที่บ้านดงบัง และนาย ส. วานจำเลยที่ 1 กับพวกไปส่งแทนก็ตาม แต่การที่จำเลยที่ 1 กับพวกไม่พานางสาว ร.กับเด็กหญิง จ. ไปส่งที่บ้านดงบัง จำเลยที่ 1 กลับพาเด็กหญิง จ. ไปเที่ยวและค้างคืนที่กระท่อมญาติของจำเลยที่ 1 โดยหาได้รับความยินยอมจากผู้เสียหายที่ 1 ไม่ทั้งที่ทราบดีว่า นางสาว ร. กับเด็กหญิง จ. จะไปบ้านดงบัง พฤติการณ์ถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยปราศจากเหตุอันสมควร เป็นความผิดฐานพรากเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี การที่จะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 ต้องมีการกระทำโดยประมาทและการกระทำโดยประมาทนี้เป็นผล โดยตรงให้เกิดความตาย คำของจำเลยที่ 1 ที่ร้องบอก ให้เด็กหญิง จ. ว่ายน้ำข้ามไป โดยบอกว่าจะลงมาช่วยนั้นคงเป็นแต่เพียงคำชี้แนะ หาได้บังคับให้เด็กหญิง จ. ว่ายน้ำข้ามไปไม่ เมื่อเด็กหญิง จ. ตัดสินใจว่ายน้ำ ข้ามไปและจมน้ำเพราะกระแสน้ำไหลเชี่ยว จนถึงแก่ความตายโดยจำเลยที่ 1 กับพวกไม่สามารถช่วยได้จึงนับได้ว่าเป็นการสมัครใจเข้าเสี่ยงภัยของเด็กหญิง จ. เองเหตุความตายหาได้เกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 1 กับพวกไม่ ทั้งมิใช่เป็นผลโดยตรงอันเนื่องมาจากการชี้แนะของ จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 กับพวกจึงมิได้กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้เด็กหญิง จ. ถึงแก่ความตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1258/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพรากเด็กและการกระทำโดยปราศจากเหตุอันสมควร ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 317
ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 277วรรคแรก ต่อมาระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยและผู้เสียหายสมรสกันโดยบิดามารดาผู้เสียหายอนุญาต ดังนั้น จำเลยจึงไม่ต้องรับโทษตาม ป.อ.มาตรา 277 วรรคท้าย โดยศาลยกขึ้นเองได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา185, 215, 225
ป.อ.มาตรา 317 มิได้จำกัดว่าการพรากเด็กจะต้องกระทำโดยวิธีการอย่างใด แม้เด็กจะมีรูปร่างใหญ่โตแต่อายุไม่เกิน 15 ปี และเด็กเต็มใจไปด้วยก็ตามก็เป็นความผิด และต้องเป็นการกระทำโดยปราศจากเหตุอันสมควรการที่เด็กอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาของบิดามารดา โดยบิดามารดามีอำนาจปกครองและมีสิทธิกำหนดที่อยู่ของบุตรนั้น เมื่อจำเลยพาเด็กไปถือเป็นการกระทำโดยปราศจากเหตุอันสมควรเป็นความผิดตามมาตรา 317 วรรคแรก แล้วส่วนการที่จำเลยกับผู้เสียหายรักกันด้วยความสุจริตใจต่างมีเจตนาอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา การกระทำของจำเลยขาดเจตนาเพื่อการอนาจาร จึงไม่เป็นความผิดตามป.อ.มาตรา 317 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1258/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พรากเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี ความผิดตามมาตรา 317 วรรคแรก เหตุอันสมควร และข้อยกเว้นความผิด
ความมุ่งหมายของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317เพื่อเอาโทษแก่ผู้ที่พรากเด็ก แม้เด็กเต็มใจไปด้วยการพรากเด็กตามมาตรานี้มิได้จำกัดว่าพรากไปโดยวิธีการอย่างใด ถ้าเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีแล้วย่อมเป็นความผิดแม้เด็กจะมีรูปร่างใหญ่โต มีความรู้สึกผิดชอบเกินกว่า ปกติก็ตาม และการพรากก็มิได้จำกัดว่าพรากไปเพื่อประสงค์ใด หรือประโยชน์อย่างใดเพียงแต่มีเจตนาพรากเด็กไปเสียจาก บิดามารดาก็เป็นความผิดแล้ว แต่ถ้าจำเลยพรากเด็กไปโดยมีเหตุอันสมควรก็ไม่มีความผิดตามมาตรานี้ ปรากฏว่าผู้เสียหายกำลังศึกษาเล่าเรียนยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดา การที่จำเลยพราก ผู้เสียหายไปเสียจากบิดามารดาขณะที่บิดามารดาจำต้อง อุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่าง ที่เป็นผู้เยาว์และมีสิทธิกำหนดที่อยู่ของบุตรอันเป็นสิทธิ และหน้าที่ของบิดามารดาและบุตรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การกระทำของจำเลยจึงปราศจากเหตุอันสมควร จึงเป็น ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคแรก แต่เมื่อจำเลยกับผู้เสียหายรักกันด้วยความสุจริตใจ ต่างมีเจตนาอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาและศาลมีคำสั่ง อนุญาตให้สมรสและมีบุตรด้วยกัน การกระทำของจำเลย ขาดเจตนากระทำเพื่อการอนาจาร จึงไม่มีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1258/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานพรากเด็กและการสมรสหลังเกิดเหตุการณ์ ทำให้จำเลยไม่ต้องรับโทษในความผิดฐานชำเรา
ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคแรก แต่ต่อมาระหว่าง การพิจารณาของศาลฎีกาศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยและ ผู้เสียหายสมรสกันโดยบิดามารดาผู้เสียหายอนุญาต จำเลยจึง ไม่ต้องรับโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคท้าย โดยศาลยกขึ้นเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185,215,225 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 มิได้จำกัดว่าการพรากเด็ก จะต้องกระทำโดยวิธีการอย่างใด แม้เด็กจะมีรูปร่างใหญ่โต แต่อายุไม่เกิน 15 ปี และเด็กเต็มใจไปด้วยก็ตามก็เป็น ความผิด และต้องเป็นการกระทำโดยปราศจากเหตุอันสมควร การที่ เด็กอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาของบิดามารดา โดยบิดามารดามีอำนาจปกครองและมีสิทธิกำหนดที่อยู่ของ บุตรนั้น เมื่อจำเลยพาเด็กไปถือเป็นการกระทำโดยปราศจากเหตุ อันสมควรเป็นความผิดตามมาตรา 317 วรรคแรก แล้ว ส่วนการที่ จำเลยกับผู้เสียหายรักกันด้วยความสุจริตใจต่างมีเจตนาอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาการกระทำของจำเลยขาดเจตนาเพื่อการอนาจาร จึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 317 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1258/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพรากเด็กและการสมรสภายหลัง – ผลต่อการดำเนินคดีอาญา
ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคแรก ต่อมาระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลย และผู้เสียหายสมรสกันโดยบิดามารดาผู้เสียหายอนุญาต ดังนั้น จำเลยจึงไม่ต้องรับโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคท้าย โดยศาลยกขึ้นเอง ได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 185,215,225 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 มิได้จำกัดว่าการพรากเด็ก จะต้องกระทำโดยวิธีการอย่างใด แม้เด็กจะมีรูปร่างใหญ่โต แต่อายุไม่เกิน 15 ปี และเด็กเต็มใจไปด้วยก็ตามก็เป็นความผิดและต้องเป็นการกระทำโดยปราศจากเหตุอันสมควรการที่เด็กอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาและ บิดามารดา โดยบิดามารดามีอำนาจปกครองและมีสิทธิกำหนดที่อยู่ของบุตรนั้น เมื่อจำเลยพาเด็กไปถือเป็นการกระทำ โดยปราศจากเหตุอันสมควรเป็นความผิดตามมาตรา 317 วรรคแรก แล้วส่วนการที่จำเลยกับผู้เสียหายรักกันด้วยความสุจริตใจต่างมี เจตนาอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา การกระทำของจำเลย ขาดเจตนาเพื่อการอนาจาร จึงไม่เป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคสาม
of 15