พบผลลัพธ์ทั้งหมด 65 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4337/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความพิกัดอัตราศุลกากร: เครื่องบันทึกเทปโทรทัศน์จัดอยู่ในประเภทเดียวกับอุปกรณ์ส่งโทรทัศน์
ในกรณีสินค้าที่พิพาทไม่อาจจัดเข้าในประเภทพิกัดอัตราศุลกากรใดโดยชัดแจ้ง จึงต้องตีความโดยอาศัยหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากรในภาค 1 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503 คือต้องตีความโดยจัดเข้าในประเภทเดียวกับของซึ่งใกล้เคียงกับของชนิดนั้นมากที่สุด
สินค้าพิพาทเป็นเครื่องบันทึกเทปโทรทัศน์ที่บันทึกได้ทั้งภาพและเสียงซึ่งมุ่งหมายที่จะใช้ในกิจการโทรทัศน์แต่เพียงอย่างเดียวโดยทำหน้าที่อย่างเดียวกับกล้องโทรทัศน์ และเป็นอุปกรณ์ของเครื่องส่งโทรทัศน์ทั้งยังมุ่งหมายใช้ในกิจการสื่อสารและโทรคมนาคมเช่นเดียวกับสินค้าตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 85.15 ก. จึงมีลักษณะแตกต่างกับสินค้าตามพิกัดประเภทที่ 92.11 ซึ่งเป็นสินค้าเกี่ยวกับเสียงแต่เพียงอย่างเดียวนำไปใช้กับภาพไม่ได้เลยและมิใช่สินค้าที่นำไปใช้ในกิจการโทรทัศน์โดยตรง สินค้ารายพิพาทจึงไม่อาจจัดเข้าในพิกัดประเภทที่ 92.11 แต่สมควรจัดอยู่ในพิกัดประเภทที่ 95.15 ก.
สินค้าพิพาทเป็นเครื่องบันทึกเทปโทรทัศน์ที่บันทึกได้ทั้งภาพและเสียงซึ่งมุ่งหมายที่จะใช้ในกิจการโทรทัศน์แต่เพียงอย่างเดียวโดยทำหน้าที่อย่างเดียวกับกล้องโทรทัศน์ และเป็นอุปกรณ์ของเครื่องส่งโทรทัศน์ทั้งยังมุ่งหมายใช้ในกิจการสื่อสารและโทรคมนาคมเช่นเดียวกับสินค้าตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 85.15 ก. จึงมีลักษณะแตกต่างกับสินค้าตามพิกัดประเภทที่ 92.11 ซึ่งเป็นสินค้าเกี่ยวกับเสียงแต่เพียงอย่างเดียวนำไปใช้กับภาพไม่ได้เลยและมิใช่สินค้าที่นำไปใช้ในกิจการโทรทัศน์โดยตรง สินค้ารายพิพาทจึงไม่อาจจัดเข้าในพิกัดประเภทที่ 92.11 แต่สมควรจัดอยู่ในพิกัดประเภทที่ 95.15 ก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4337/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความพิกัดอัตราศุลกากร: เครื่องบันทึกเทปโทรทัศน์จัดอยู่ในพิกัดเครื่องส่งโทรทัศน์ (85.15 ก.) มิใช่เครื่องบันทึกเสียง (92.11)
ในกรณีสินค้าที่พิพาทไม่อาจจัดเข้าในประเภทพิกัดอัตราศุลกากรใดโดยชัดแจ้ง จึงต้องตีความโดยอาศัยหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากรในภาค 1 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503คือต้องตีความโดยจัดเข้าในประเภทเดียวกับของซึ่งใกล้เคียงกับของชนิดนั้นมากที่สุด สินค้ารายพิพาทเป็นเครื่องบันทึกเทปโทรทัศน์ที่บันทึกได้ทั้งภาพและเสียงซึ่งมุ่งหมายที่จะใช้ในกิจการโทรทัศน์แต่เพียงอย่างเดียวโดยทำหน้าที่อย่างเดียวกับกล้องโทรทัศน์ และเป็นอุปกรณ์ของเครื่องส่งโทรทัศน์ทั้งยังมุ่งหมายใช้ในกิจการสื่อสารและโทรคมนาคมเช่นเดียวกับสินค้าตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่85.15 ก. จึงมีลักษณะแตกต่างกับสินค้าตามพิกัดประเภทที่ 92.11 ซึ่งเป็นสินค้าเกี่ยวกับเสียงแต่เพียงอย่างเดียวนำไปใช้กับภาพไม่ได้เลยและมิใช่สินค้าที่นำไปใช้ในกิจการโทรทัศน์โดยตรง สินค้ารายพิพาทจึงไม่อาจจัดเข้าในพิกัดประเภทที่ 92.11 แต่สมควรจัดอยู่ในพิกัดประเภทที่ 85.15 ก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3664/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดประเภทพิกัดอัตราศุลกากรหินอ่อน: หินอ่อนตกแต่งแล้วหรือยังไม่ตกแต่ง
หินอ่อนพิพาทมีผิวเรียบและหนาประมาณ 1.5 ถึง 3 เซนติเมตร เป็นรอยเว้าแหว่งเฉพาะที่ขอบเท่านั้น เห็นได้ว่ามิใช่เป็นการเลื่อยจากหินก้อนใหญ่ที่ระเบิดจากภูเขา หรือเลื่อยให้เป็นชิ้นใหญ่ ๆ หรือแผ่นหยาบ ๆ โดยมีจุดประสงค์เพื่อสะดวกแก่การยกเคลื่อนย้ายไปยังโรงงาน แต่เป็นการเลื่อยที่ประณีตมีลักษณะเรียบตรง และไม่ปรากฏรอยคล่องเลื่อย ถือได้ว่าเป็นหินอ่อนที่ตกแต่งแล้วจัดอยู่ในพิพกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 68.02 หาใช่หินอ่อนที่ยังไม่ผ่านการตกแต่ง ตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 25.15 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1851/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความพิกัดอัตราศุลกากร: สาระสำคัญของสินค้าเป็นเกณฑ์จัดประเภท
หลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากรตามพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503 ภาค 1 มีสาระสำคัญว่า ของชนิดใด ประกอบด้วยวัตถุหรือสารตั้งแต่หนึ่งชนิดขึ้นไปและเห็นได้ว่าอาจจัดเข้าได้ 2 ประเภท กรณีไม่อาจจัดเข้าในประเภทที่ระบุไว้โดยชัดแจ้ง ให้จัดเข้าในประเภทของวัตถุหรือส่วนควบที่มีลักษณะอันเป็นสาระสำคัญสำหรับของชนิดนั้น เมื่อสายคาดลดไขมันหน้าท้องโดยใช้ไฟฟ้ามีขดลวดไฟฟ้าซึ่งเป็นวัตถุอันเป็นสาระสำคัญของสินค้าจึงต้องจัดประเภทสินค้านี้ตามขดลวดไฟฟ้า ทั้งไม่มีข้อยกเว้นตามหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากรให้จัดสินค้าดังกล่าวเข้าในประเภทของวัตถุที่ไม่ใช่สาระสำคัญ ดังนั้น ที่โจทก์จัดสายคาดลดไขมันหน้าท้องโดยใช้ไฟฟ้าเข้าในประเภทที่ 39.07 ตามประเภทวัตถุที่ใช้ทำด้านนอกซึ่งไม่ปรากฏว่าเป็นวัตถุส่วนที่เป็นสาระสำคัญ จึงไม่ชอบด้วยหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1851/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความพิกัดอัตราศุลกากร: สาระสำคัญของสินค้าต้องใช้เป็นเกณฑ์จัดประเภท แม้มีลักษณะหลายด้าน
หลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากรตามพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503 ภาค 1 มีสาระสำคัญว่า ของชนิดใดประกอบด้วยวัตถุหรือสารตั้งแต่หนึ่งชนิดขึ้นไป และเห็นได้ว่าอาจจัดเข้าได้ 2 ประเภทกรณีไม่อาจจัดเข้าในประเภทที่ระบุไว้โดยชัดแจ้ง ให้จัดเข้าในประเภทของวัตถุหรือส่วนควบที่มีลักษณะอันเป็นสาระสำคัญสำหรับของชนิดนั้น เมื่อสายคาดลดไขมันหน้าท้องโดยใช้ไฟฟ้ามีขดลวดไฟฟ้าซึ่งเป็นวัตถุอัน เป็นสาระสำคัญของสินค้าจึงต้องจัดประเภทสินค้านี้ตามขดลวดไฟฟ้า ทั้งไม่มีข้อยกเว้นตามหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากรให้ จัดสินค้าดังกล่าวเข้าในประเภทของวัตถุที่ไม่ใช่สาระสำคัญ ดังนั้น ที่โจทก์จัดสายคาดลดไขมันหน้าท้องโดยใช้ไฟฟ้าเข้าใน ประเภทที่ 39.07 ตามประเภทวัตถุที่ใช้ทำด้านนอกซึ่งไม่ปรากฏ ว่าเป็นวัตถุส่วนที่เป็นสาระสำคัญ จึงไม่ชอบด้วยหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1851/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความพิกัดอัตราศุลกากร: พิจารณาส่วนประกอบหลักของสินค้าเพื่อจัดประเภทอากรที่ถูกต้อง
หลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากรตามพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503 ภาค 1 มีสาระสำคัญว่า ของชนิดใดประกอบด้วยวัตถุหรือสารตั้งแต่หนึ่งชนิดขึ้นไปและเห็นได้ว่าอาจจัดเข้าได้ 2 ประเภท กรณีไม่อาจจัดเข้าในประเภทที่ระบุไว้โดยชัดแจ้ง ให้จัดเข้าในประเภทของวัตถุหรือส่วนควบที่มีลักษณะอันเป็นสาระสำคัญสำหรับของชนิดนั้น เมื่อสายคาดลดไขมันหน้าท้องโดยใช้ไฟฟ้ามีขดลวดไฟฟ้าซึ่งเป็นวัตถุอันเป็นสาระสำคัญของสินค้าจึงต้องจัดประเภทสินค้านี้ตามขดลวดไฟฟ้า ทั้งไม่มีข้อยกเว้นตามหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากรให้จัดสินค้าดังกล่าวเข้าในประเภทของวัตถุที่ไม่ใช่สาระสำคัญ ดังนั้น ที่โจทก์จัดสายคาดลดไขมันหน้าท้องโดยใช้ไฟฟ้าเข้าในประเภทที่ 39.07 ตามประเภทวัตถุที่ใช้ทำด้านนอกซึ่งไม่ปรากฏว่าเป็นวัตถุส่วนที่เป็นสาระสำคัญ จึงไม่ชอบด้วยหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากร.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 176/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความพิกัดอัตราศุลกากร เศษเหล็ก vs. แผ่นเหล็ก พิจารณาจากสภาพและกรรมวิธีการผลิต
เหล็กแผ่นสินค้าที่โจทก์นำเข้าเป็นเหล็กแผ่นที่ผลิตไม่ได้มาตรฐานถูกตัดออก บริษัทผู้ขายขายเหล็กพิพาทอย่างเป็นเศษเหล็ก โจทก์นำเหล็กดังกล่าวไปตัดซอยเป็นแผ่นเล็ก ๆ และเผาให้ร้อนรีดเป็นเหล็กเส้นตามขนาดและมาตรฐานที่ตลาดต้องการ และนำออกจำหน่ายทั้งหมดโดยมิได้นำไปขายเป็นเหล็กแผ่น เหล็กพิพาทจึงจัดอยู่ในประเภทพิกัดที่ 73.03 มิใช่ประเภทพิกัดที่ 73.13
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1417/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความพิกัดอัตราศุลกากรต้องตามความหมายในประเภทสินค้านั้น หรือหมายเหตุที่เกี่ยวข้อง การจำแนกประเภทกระจกตามกรรมวิธีผลิต
การตีความพิกัดอัตราศุลกากรในการจำแนกประเภทสินค้าตามพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503 ต้องเป็นไปตามความหมายในประเภทของสินค้านั้น หรือตามความหมายของหมายเหตุหรือตอนที่เกี่ยวกับสินค้านั้น ๆ จะตีความนอกเหนือไปจากความหมายที่ระบุไว้ในพิกัดหรือหมายเหตุในหมวดหรือตอนที่เกี่ยวกับสินค้านั้น ๆ ไม่ได้
พิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 70.05 มีความหมายว่า แผ่นกระจกหรือแผ่นแก้วที่ทำเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าโดยกรรมวิธียืดหรือเป่าเพียง 2 วิธี และยังมิได้มีการตกแต่ง
พิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 70.06 มีความหมายว่า แผ่นกระจกหรือแผ่นแก้วที่ทำเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าโดยกรรมวิธี หล่อ รีด ยืดหรือเป่าและขัดผิวให้เรียบแล้วไม่ว่าจะขัดผิวโดยกรรมวิธีอย่างไร และกระจกนั้นจะมีสภาพใสเป็นมันเงาหรือไม่อย่างหนึ่ง และแผ่นกระจกหรือแผ่นแก้วที่ทำเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้าโดยกรรมวิธี หล่อ รีด ยืดหรือเป่า และทำให้ใส่แล้วไม่ว่าจะทำโดยกรรมวิธีอย่างไรและกระทำในขั้นตอนใดของการผลิตอีกอย่างหนึ่ง เพราะตามพิกัดดังกล่าวระหว่างข้อความว่าขัดผิวกับทำให้ใสแล้วใช้คำว่า "หรือ"
กระจกชีทที่โจทก์นำเข้ามามีกรรมวิธีในการผลิตโดยดึงน้ำแก้วที่หลอมเหลวในเบ้าหลอมขึ้นเป็นแผ่นกระจกในแนวตั้ง แผ่นกระจกที่ผ่านออกมามีลักษณะเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้า สภาพของผิวกระจกเรียบและใสทั้งสองด้าน เนื่องจากน้ำแก้วที่หลอมเหลวไหลผ่านไปบนผิวโลหะหลอมเหลวในอ่างโลหะหลอมเหลวที่มีการควบคุมอุณหภูมิจนแผ่นกระจกเย็นลง สินค้าดังกล่าวจึงจัดอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 70.06
พิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 70.05 มีความหมายว่า แผ่นกระจกหรือแผ่นแก้วที่ทำเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าโดยกรรมวิธียืดหรือเป่าเพียง 2 วิธี และยังมิได้มีการตกแต่ง
พิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 70.06 มีความหมายว่า แผ่นกระจกหรือแผ่นแก้วที่ทำเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าโดยกรรมวิธี หล่อ รีด ยืดหรือเป่าและขัดผิวให้เรียบแล้วไม่ว่าจะขัดผิวโดยกรรมวิธีอย่างไร และกระจกนั้นจะมีสภาพใสเป็นมันเงาหรือไม่อย่างหนึ่ง และแผ่นกระจกหรือแผ่นแก้วที่ทำเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้าโดยกรรมวิธี หล่อ รีด ยืดหรือเป่า และทำให้ใส่แล้วไม่ว่าจะทำโดยกรรมวิธีอย่างไรและกระทำในขั้นตอนใดของการผลิตอีกอย่างหนึ่ง เพราะตามพิกัดดังกล่าวระหว่างข้อความว่าขัดผิวกับทำให้ใสแล้วใช้คำว่า "หรือ"
กระจกชีทที่โจทก์นำเข้ามามีกรรมวิธีในการผลิตโดยดึงน้ำแก้วที่หลอมเหลวในเบ้าหลอมขึ้นเป็นแผ่นกระจกในแนวตั้ง แผ่นกระจกที่ผ่านออกมามีลักษณะเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้า สภาพของผิวกระจกเรียบและใสทั้งสองด้าน เนื่องจากน้ำแก้วที่หลอมเหลวไหลผ่านไปบนผิวโลหะหลอมเหลวในอ่างโลหะหลอมเหลวที่มีการควบคุมอุณหภูมิจนแผ่นกระจกเย็นลง สินค้าดังกล่าวจึงจัดอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 70.06
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1417/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความพิกัดอัตราศุลกากรต้องตามความหมายของประเภทสินค้าและหมายเหตุ หากไม่มีข้อความกำหนดอื่น การตีความตามตัวอักษร
การตีความพิกัดอัตราศุลกากรในการจำแนกประเภทสินค้าตามพระราชกำหนด พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503 ต้องเป็นไปตามความหมายในประเภทของสินค้านั้น หรือตามความหมายของหมายเหตุหรือตอนที่เกี่ยวกับสินค้านั้น ๆ จะตีความนอกเหนือไปจากความหมายที่ระบุไว้ในพิกัดหรือหมายเหตุในหมวดหรือตอนที่เกี่ยวกับสินค้านั้น ๆไม่ได้ พิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 70.05 มีความหมายว่า แผ่นกระจกหรือแผ่นแก้วที่ทำเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าโดยกรรมวิธียืดหรือเป่าเพียง 2 วิธีและยังมิได้มีการตกแต่ง พิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 70.06 มีความหมายว่า แผ่นกระจกหรือแผ่นแก้วที่ทำเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าโดยกรรมวิธี หล่อ รีด ยืดหรือเป่าและขัดผิวให้เรียบร้อยแล้วไม่ว่าจะขัดผิวโดยกรรมวิธีอย่างไร และกระจกนั้นจะมีสภาพใสเป็นมันเงาหรือไม่อย่างหนึ่งและแผ่นกระจกหรือแผ่นแก้วที่ทำเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้าโดยกรรมวิธีหล่อ รีด ยืดหรือเป่า และทำให้ใสแล้วไม่ว่าจะทำโดยกรรมวิธีอย่างไรและกระทำในขั้นตอนใดของการผลิตอีกอย่างหนึ่งเพราะตามพิกัดดังกล่าวระหว่างข้อความว่าขัดผิวกับทำให้ใสแล้วใช้คำว่า "หรือ" กระจกชีท ที่โจทก์นำเข้ามีกรรมวิธีในการผลิตโดยดึงน้ำแก้วที่หลอมเหลวในเบ้าหลอมขึ้นเป็นแผ่นกระจกในแนวตั้ง แผ่นกระจกที่ผ่านออกมามีลักษณะเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้า สภาพของผิวกระจกเรียบและใสทั้งสองด้าน เนื่องจากน้ำแก้วที่หลอมเหลวไหลผ่านไปบนผิวโลหะ หลอมเหลวในอ่างโลหะหลอมเหลวที่มีการควบคุมอุณหภูมิจนแผ่นกระจก เย็นลง สินค้าดังกล่าวจึงจัดอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่70.06
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4186/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยินยอมชำระค่าปรับทางภาษีอากร ถือเป็นการยอมรับความเท็จในการสำแดงพิกัดอัตราศุลกากร ฟ้องร้องเรียกคืนไม่ได้
โจทก์นำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรโดยสำแดงว่า เป็นสินค้าอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 34.02 ข. และได้ชำระอากรขาเข้าตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทดังกล่าว ต่อมา กรม ศุลกากรจำเลยที่ 1มีหนังสือแจ้งไปยังโจทก์ว่าโจทก์สำแดงพิกัดอัตราศุลกากรสินค้าที่โจทก์นำเข้าไม่ถูกต้องเป็นเหตุให้โจทก์เสียค่าอากรขาดไปและแจ้งด้วยว่าการกระทำของโจทก์ดังกล่าวเป็นความผิดอาญาฐานสำแดงเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงอากรตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พุทธศักราช 2469 มาตรา 99และมาตรา 27 ซึ่งอธิบดีกรมศุลกากร จำเลยที่ 2 หรือคณะกรรมการมีอำนาจเปรียบเทียบปรับและงดการฟ้องร้องได้แล้วแต่กรณี ตาม พ.ร.บ. ศุลกากร มาตรา 102 หรือ 102 ทวิ ดังนี้ถ้า โจทก์เห็นว่าการที่โจทก์สำแดงพิกัดอัตราศุลกากรไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าดังกล่าวยังไม่เป็นความผิดฐานสำแดงเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงอากรตามข้อกล่าวหาของจำเลยที่ 1 โจทก์ก็ต้องไม่ยินยอมให้จำเลยที่ 2หรือคณะกรรมการทำการเปรียบเทียบและไม่ชำระค่าปรับให้แก่จำเลยที่ 1โดยให้จำเลยที่ 1 ดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ต่อไป เมื่อโจทก์ได้ยินยอมให้จำเลยที่ 2 หรือคณะกรรมการทำการเปรียบเทียบปรับและได้ชำระค่าปรับตามที่จำเลยที่ 2 หรือคณะกรรมการทำการเปรียบเทียบกับชำระค่าอากรขาเข้า ภาษีการค้าที่ขาดเรียบร้อยแล้ว ย่อมเป็นการเปรียบเทียบปรับที่ชอบด้วยกฎหมาย ถือว่าโจทก์ได้ยอมรับแล้วว่าพิกัดอัตราศุลกากรที่โจทก์สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้านั้นเป็นเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงอากร ถึงแม้ว่าสินค้าที่โจทก์นำเข้ามาจะจัดอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทอื่นก็ตามโจทก์จะนำมาเป็นมูลฟ้องเป็นคดีแพ่งไม่ได้ และการที่โจทก์ขอสงวนสิทธิ์โต้แย้งไว้ ก็ไม่เพียงพอให้ถือว่าโจทก์ไม่ยินยอมให้จำเลยที่ 2 หรือคณะกรรมการเปรียบเทียบปรับ.