คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พิจารณา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 380 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5529/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความขัดแย้งในคำให้การและฟ้องแย้ง การพิจารณาฟ้องแย้งที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิม
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินและเรียกค่าเสียหาย โดยโจทก์มิได้ขอให้จำเลยส่งคืนโรงเรือนบนที่ดินแก่โจทก์ จำเลยให้การว่าโจทก์รับซื้อที่ดินพิพาทไว้แล้วผิดสัญญาไม่ยอมให้จำเลยไถ่การขายฝาก ขอให้ยกฟ้อง โดยจำเลยมิได้ฟ้องแย้งขอให้โจทก์รับไถ่การขายฝาก แต่กลับฟ้องแย้งขอให้โจทก์ชำระค่าที่ดินที่เพิ่มขึ้นโดยอ้างว่าจำเลยก่อสร้างโรงเรือนบนที่ดินพิพาทโดยสุจริตเพียงประการเดียว คำให้การที่ขอให้ยกฟ้องและฟ้องแย้งขอให้ใช้ราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้นจึงขัดกันเองอยู่ในตัว ไม่สามารถที่จะพิพากษาให้เป็นไปตามคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยได้ แต่ต้องพิพากษาไปในทางใดทางหนึ่ง คือหากฟังว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาก็ต้องพิพากษายกฟ้อง โดยไม่จำต้องวินิจฉัยฟ้องแย้งของจำเลย หรือหากฟังว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจึงอาจจะยกฟ้องแย้งของจำเลยขึ้นพิจารณาต่อไป ฟ้องแย้งของจำเลยจึงเป็นฟ้องแย้งที่อาศัยเหตุต่างกันกับฟ้องเดิม เป็นฟ้องแย้งที่ไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมเป็นฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไข ไม่อาจรวมพิจารณาชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4581/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่า vs. ทำร้ายร่างกาย: การพิจารณาจากพฤติการณ์และบาดแผล
จำเลยใช้มีดดาบฟันผู้เสียหาย 2 ครั้ง ขณะผู้เสียหายอยู่ในมุ้งแล้วไม่ได้ฟันซ้ำอีกทั้งที่มีโอกาสกระทำได้ ผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บที่แขนและใบหูไม่ถึงสาหัส การที่มีบาดแผลเพียงใบหูเกือบขาด แสดงว่าคมมีดถูกศีรษะผู้เสียหายไม่แรงส่วนที่มีมุ้งกีดขวาง ก็เป็นสภาพที่มีอยู่ก่อนจำเลยลงมือกระทำ หาใช่เหตุขัดขวางที่เกิดขึ้นภายหลังลงมือกระทำ พฤติการณ์แห่งคดียังฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยไม่มีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 296 โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยฐานพยายามฆ่าบุพการี แม้ไม่ได้ฎีกาโต้แย้งว่า หากรับฟังว่าเป็นเพียงกรณีทำร้ายร่างกายก็จะต้องลงโทษฐานทำร้ายร่างกายบุพการี ก็ย่อมแปลได้ว่า โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ.มาตรา 296 ด้วยแล้ว ศาลฎีกามีอำนาจลงโทษจำเลยตามบทมาตราดังกล่าวตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3879/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลทรัพย์สินทางปัญญา: การพิจารณาคำฟ้องในคดีที่เกี่ยวข้อง
กรณีมีปัญหาตามอุทธรณ์ของโจทก์ว่า คดีตามคำฟ้องของโจทก์อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศหรือไม่ และได้เสนอให้ประธานศาลฎีกาพิจารณาวินิจฉัยตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 9 ซึ่งประธานศาลฎีกาได้มีคำวินิจฉัยแล้วว่า คดีตามคำฟ้องของโจทก์อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ จึงชอบที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจะมีคำสั่งให้รับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาพิพากษาต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2743/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความผิดฐานมีอาวุธปืน พาอาวุธปืน และทำร้ายร่างกาย รวมถึงการกำหนดโทษจำคุกที่ถูกต้องตามกฎหมาย
โจทก์บรรยายฟ้องไว้ครบถ้วนแล้วว่าจำเลยกระทำความผิดฐานพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน และทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 8 ทวิ วรรคหนึ่ง แต่ในคำขอท้ายฟ้องกลับขอให้ลงโทษตาม พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 8,72 ทวิโดยมาตรา 72 ทวิ เป็นบทลงโทษผู้ฝ่าฝืนมาตรา 8 ทวิ ด้วย เห็นได้ว่าโจทก์อ้างบทมาตราผิด เมื่อข้อเท็จจริงตามฟ้องโจทก์สืบสม ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคห้าไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(6)และมาตรา 192 วรรคหนึ่ง
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาลงโทษจำเลยฐานมีอาวุธปืนจำคุก 6 เดือน ฐานพาอาวุธปืน จำคุก 6 เดือน แล้วรวมโทษ 2 กระทงเข้าเป็นจำคุก 1 ปี เมื่อรวมโทษฐานทำร้ายร่างกายเป็นจำคุก 2 ปีนั้นไม่ถูกต้อง เพราะการกำหนดโทษจำคุกเป็นเดือนให้นับสามสิบวันเป็นหนึ่งเดือน แต่ถ้ากำหนดเป็นปีให้คำนวณตามปีปฏิทินในราชการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 21 วรรคสอง ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2078/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงสภาพการจ้าง: อำนาจการพิจารณาขึ้นค่าจ้าง & การแก้ไขเปลี่ยนแปลง
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างจำเลยและลูกจ้างของจำเลยได้กำหนดระเบียบการขึ้นค่าจ้างไว้โดยระบุว่า การขึ้นค่าจ้างตามเวลาที่กำหนด พนักงานตั้งแต่ระดับหัวหน้าผู้ควบคุมงาน (CHIEF FOREMAN) ลงมาจะได้รับการพิจารณาขึ้นค่าจ้างปีละ 2 ครั้ง คือในวันที่ 21 มิถุนายน และวันที่ 21ธันวาคม ของทุกปี แต่ต้องเป็นผู้ที่ทำงานติดต่อกันมาแล้วครบ 6 เดือนขึ้นไปเป็นข้อตกลงที่จำเลยและสหภาพแรงงาน ได้ร่วมกันพิจารณาและตกลงร่วมกันจึงเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ทั้งสองฝ่ายคือ นายจ้างและลูกจ้างจะต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เมื่อข้อตกลงไม่มีข้อความระบุไว้โดยชัดแจ้งว่าการพิจารณาขึ้นค่าจ้างตามข้อตกลงในข้อนี้ ให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างใช้ดุลพินิจพิจารณาขึ้นค่าจ้างให้แก่พนักงานลูกจ้างของจำเลยตามสภาพความเป็นจริงได้จำเลยก็ไม่มีอำนาจที่จะกระทำได้ หากในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าวมีผลใช้บังคับอยู่นั้น จำเลยได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ กิจการขาดทุนและจำเลยต้องการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างดังกล่าว จำเลยก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมายโดยการแจ้งข้อเรียกร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเสียก่อน เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้แจ้งข้อเรียกร้องขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าว จำเลยจึงต้องปฏิบัติตาม
แม้ว่าข้อตกลงจะใช้ถ้อยคำว่า "...จะได้รับการพิจารณาขึ้นค่าจ้างปีละ 2 ครั้ง" ก็ตาม ถ้อยคำดังกล่าวก็มีความหมายว่าจำเลยจะต้องพิจารณาว่าลูกจ้างคนใดมีผลงานประเมินอย่างไร อยู่ในเกณฑ์ที่จะได้รับการขึ้นค่าจ้างหรือไม่ หากอยู่ในเกณฑ์ได้รับการขึ้นค่าจ้าง ค่าจ้างที่ปรับขึ้นเป็นจำนวนเท่าใดเท่านั้นมิใช่เป็นการให้อำนาจแก่จำเลยที่จะใช้ดุลพินิจพิจารณาขึ้นค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างหรือไม่ก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7473/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงฐานความผิดตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณา ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่พิจารณาได้ แม้ต่างจากฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 มาตรา 4, 7, 15, 66, 102 โดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 3และที่ 4 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 5 จำหน่ายเฮโรอีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ให้แก่ผู้มีชื่อ แม้โจทก์มิได้บรรยายว่า จำเลยที่ 3 และที่ 4ร่วมกันครอบครองเฮโรอีนของกลางก็ตาม แต่เมื่อทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 กับพวกร่วมกันมีเฮโรอีนของกลางไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ก็ต้องถือว่าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวในฟ้องเกี่ยวกับฐานความผิด อันเป็นข้อแตกต่างกันในรายละเอียดทั้งจำเลยที่ 3 และที่ 4 นำสืบต่อสู้ว่า จำเลยทั้งสองมิได้มีเฮโรอีนของกลางไว้ในครอบครอง การบรรยายฟ้องของโจทก์ดังกล่าว จึงไม่เป็นเหตุให้จำเลยที่ 3และที่ 4 หลงต่อสู้ ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 3 และที่ 4 ในความผิดฐานร่วมกันมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตตามที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคสอง กรณีมิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5080/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกและการดำเนินกระบวนการพิจารณาของผู้ร้องที่เหลือ
ผู้ร้องที่ 1 และที่ 2 ได้เริ่มคดีโดยร่วมกันยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ผู้คัดค้านยื่นคำร้องคัดค้าน แต่ภายหลังผู้คัดค้านได้ยื่นคำร้องขอถอนคำคัดค้านไปและยินยอมให้ผู้ร้องทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกัน การที่ผู้ร้องที่ 1 ได้ขอถอนคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกเฉพาะตัวผู้ร้องที่ 1 ในเวลาต่อมา และศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตแล้วย่อมไม่มีผลให้คำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกเดิมของผู้ร้องที่ 2 กลับเป็นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกขึ้นมาใหม่ การที่ศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาไต่สวนคำร้องขอของผู้ร้องที่ 2 ต่อไปเพื่อวินิจฉัยว่าสมควรตั้งให้ผู้ร้องที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่ศาลชั้นต้นจึงไม่จำต้องประกาศหนังสือพิมพ์หรือแจ้งให้ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียทราบอีกการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่กระทำมาจึงชอบแล้ว ไม่เป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบที่ผู้คัดค้านจะขอให้เพิกถอนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 27 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2311/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลเยาวชนฯ กรณีอายุจำเลยปรากฏหลังพิจารณาชั้นต้น: ไม่ต้องโอนคดี
ข้อเท็จจริงเรื่องอายุของจำเลยมิได้ปรากฏขึ้นในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นที่มีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดา แต่ปรากฏในระหว่างการพิจารณาในชั้นอุทธรณ์ เมื่อคดีนี้ได้ทำการพิจารณาโดยศาลอุทธรณ์แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวอันถือได้ว่าเป็นการโอนคดีไปยังศาลที่มีอำนาจเพื่อพิจารณาพิพากษาต่อไปตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534มาตรา 15 แล้วจึงไม่ต้องโอนคดีไปยังศาลเยาวชนและครอบครัวกลางอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2164/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับพยานเพิ่มเติมหลังศาลฎีกาแก้คำพิพากษา: พิจารณาความสำคัญของพยานหลักฐานใหม่เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
ศาลฎีกาพิพากษาให้รับบัญชีพยานเพิ่มเติมของจำเลย ซึ่งระบุพระสมุห์ค. เป็นพยาน ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานจำเลยปากนี้เสร็จแล้วให้มี คำพิพากษาใหม่ แม้คำพิพากษาของศาลฎีกาดังกล่าวให้ ศาลชั้นต้นสืบพยานปากนี้เสร็จแล้วให้พิพากษาคดีได้ทันทีก็ตาม แต่ตามคำร้องขอยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมในระหว่างศาลชั้นต้นนัดสืบพยานตามคำพิพากษาศาลฎีกาจำเลยได้ระบุว่าพระสมุห์ค. ได้เบิกความเป็นพยานในคดีอาญาอีกเรื่องหนึ่งที่จำเลยเป็นโจทก์ฟ้องโจทก์ในคดีนี้เป็นจำเลย ข้อหาปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมเกี่ยวกับสัญญากู้ยืมในคดีนี้ และในการคัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม จำเลยได้แนบสำเนาคำเบิกความของพระภิกษุค. มีใจความพอสรุปได้ว่าโจทก์ในคดีนี้ได้นำสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันในคดีนี้ไปให้ พระภิกษุค.กรอกข้อความ โดยจำเลยในคดีนี้มิได้รู้เห็นเหตุการณ์ ซึ่งหากพระสมุห์ค. ไม่มรณะภาพและมาเบิกความในคดีนี้ตรงกับคำเบิกความในคดีอาญาดังกล่าว ผลของคดีก็ อาจจะเปลี่ยนแปลงไป แต่เมื่อพระภิกษุค. ถึงแก่มรณะภาพไปแล้วการที่จำเลยขอระบุพยานเพิ่มเติมอ้างสำนวนคดีอาญาดังกล่าว และสรรพเอกสาร รวมทั้งคำเบิกความของพระภิกษุค. เป็นพยานในคดีนี้ พยานหลักฐานที่จำเลยอ้างเพิ่มเติม จึงเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญ ในคดีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นต้องสืบพยาน ดังกล่าว ศาลย่อมมีอำนาจอนุญาตได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2)จึงชอบที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับบัญชีพยานเพิ่มเติมจำเลยและ สืบพยานจำเลยดังกล่าวต่อไปตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2115/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาอุทธรณ์: เหตุสุดวิสัยต้องเกิดขึ้นก่อนหมดกำหนดเวลา และการพิจารณาที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
เมื่อปรากฏว่าโจทก์ทราบคำสั่งศาลแล้ว การที่โจทก์อ้างว่าโจทก์ไม่ทราบคำสั่งศาลด้วยตนเองเพราะสำนวนอยู่ในระหว่างเสนอผู้พิพากษาตรวจและลงลายมือชื่อนั้น มิใช่กรณีมีเหตุสุดวิสัย
การขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.ความแพ่ง มาตรา23 จะต้องกระทำเสียก่อนระยะเวลายื่นอุทธรณ์สิ้นสุดลงเว้นแต่กรณีที่มีเหตุสุดวิสัย แต่โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ครั้งสุดท้ายเมื่อเลยกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตในครั้งก่อนที่ให้ยื่นอุทธรณ์ โดยไม่ปรากฏว่ามีเหตุสุดวิสัย คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์แก่โจทก์ในครั้งสุดท้ายดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายอุทธรณ์ของโจทก์ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับมาจึงเป็นอุทธรณ์ที่ยื่นเกินกำหนดอายุอุทธรณ์เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเช่นกัน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์โดยไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 23 จึงเป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบตามมาตรา 27 และเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาคดีไปได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 246 ประกอบมาตรา 142 (5)
of 38