คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พ้นกำหนด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 37 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 516/2486

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฎีกาหลังพ้นกำหนดแก้ฎีกา: อนุญาตได้โดยไม่ต้องส่งสำเนา
คดีที่จำเลยฎีกาแล้วขอถอนฎีกานั้น ถ้าโจทก์มิได้ยื่นคำแก้ฎีกาจนพ้นกำหนดแล้วศาลสั่งอนุญาตให้ถอนได้ โดยไม่ต้องส่งสำเนาคำขอถอนให้อีกฝ่ายหนึ่ง หมายเหตุคดีนี้ไม่ได้ส่งสำเนาขอถอนให้อีกฝ่ายหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 289/2473

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไถ่จำนองหลังพ้นกำหนดตามคำพิพากษา: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการร้องขอไถ่หลังศาลบังคับคดีเด็ดขาดแล้ว ไม่รับฟัง
สัญญาจำนอง วิธีพิจารณาความแพ่งจำเลยจะร้องขอไถ่การจำนองเมื่อพ้นกำหนดตามคำตัดสินแล้วร้องไม่ขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 453/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำแก้ฎีกาต้องยื่นภายในระยะเวลาที่กำหนด หากพ้นกำหนดแล้ว ศาลไม่รับพิจารณา
ป.วิ.พ. มาตรา 180 เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการแก้ไขคำฟ้องหรือคำให้การ อันเป็นกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้น ซึ่งมีกำหนดเวลาไว้ว่าการขอแก้ไขต้องยื่นคำร้องก่อนวันชี้สองสถานหรือก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวันแต่ในชั้นอุทธรณ์และฎีกาไม่มีวันกำหนดดังกล่าว จึงไม่อาจนำ ป.วิ.พ. มาตรา 180 มาใช้บังคับในชั้นอุทธรณ์และฎีกาโดยอนุโลมได้ การที่จำเลยที่ 2 จะยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำแก้ฎีกา ไม่ว่าจะแก้ไขเพิ่มเติมในปัญหาข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมาย ก็ถือว่าเป็นการยื่นคำแก้ฎีกา ซึ่งจำเลยที่ 2 ต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมในระยะเวลาแก้ฎีกา คดีนี้จำเลยที่ 2 ได้รับหมายส่งสำเนาฎีกาเพื่อให้แก้ฎีกาภายในสิบห้าวัน โดยวิธีปิดหมายเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2553 ครบกำหนดจำเลยที่ 2 แก้ฎีกาวันที่ 29 มิถุนายน 2553 และจำเลยที่ 2 ได้ยื่นคำแก้ฎีกาฉบับลงวันที่ 28 มิถุนายน 2553 ไว้แล้ว เมื่อจำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำแก้ฎีกาในวันที่ 22 สิงหาคม 2557 พ้นกำหนดแก้ฎีกาแล้ว จึงรับเป็นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำแก้ฎีกาของจำเลยที่ 2 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5510/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดระยะเวลาฟ้องคดีเยาวชนหลังฟื้นฟูสมรรถภาพยาเสพติด และผลของการฟ้องพ้นกำหนด
พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 78 บัญญัติว่า เมื่อมีการจับกุมเด็กหรือเยาวชนซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดตามมาตรา 69 วรรคหนึ่ง หรือกรณีเด็กหรือเยาวชนปรากฏตัวอยู่ต่อหน้าพนักงานสอบสวนตามมาตรา 70 วรรคหนึ่ง ให้พนักงานสอบสวนรีบดำเนินการสอบสวนและส่งสำนวนการสอบสวนพร้อมทั้งความเห็น ไปยังพนักงานอัยการ เพื่อให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวให้ทันภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่เด็กหรือเยาวชนนั้นถูกจับกุม หรือปรากฏตัวอยู่ต่อหน้าพนักงานสอบสวนแล้วแต่กรณี แต่หากเกิดความจำเป็นไม่สามารถฟ้องเด็กหรือเยาวชนนั้นต่อศาลให้ทันภายในระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการแล้วแต่กรณีต้องยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอผัดฟ้องต่อไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในวรรคสองและวรรคสาม บทบัญญัตินี้มีเจตนารมณ์ที่ต้องการเร่งรัดให้มีการสอบสวนและฟ้องเด็กหรือเยาวชน เพื่อคุ้มครองสิทธิเด็กหรือเยาวชนให้ได้รับการพิจารณาคดีโดยเร็ว นอกจากนั้น พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 มาตรา 19 วรรคสี่ บัญญัติว่า ในระหว่างการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ต้องหายาเสพติดให้พนักงานสอบสวนดำเนินกระบวนการสอบสวนคดีต่อไป เมื่อสอบสวนเสร็จให้ส่งสำนวนพร้อมความเห็นไปยังพนักงานอัยการ โดยไม่ต้องส่งตัวผู้ต้องหาไปด้วย แม้ตามมาตรา 19 วรรคท้าย บัญญัติว่า ในระหว่างที่ผู้ต้องหาถูกควบคุมตัว ตามพระราชบัญญัตินี้พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการไม่ต้องตามดำเนินการฝากขังหรือขอผัดฟ้องตามกฎหมายก็ตาม แต่การที่ไม่ต้องดำเนินการฝากขังหรือผัดฟ้องดังกล่าวย่อมหมายถึงว่าพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการไม่ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยระยะเวลาในการยื่นคำร้องขอฝากขังหรือผัดฟ้อง เฉพาะช่วงระยะเวลาที่อยู่ระหว่างการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดโดยไม่ต้องนำระยะเวลาระหว่างการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดมารวมเข้ากับระยะเวลาที่ต้องดำเนินการยื่นคำร้องขอผัดฟ้องหรือฝากขังเท่านั้น
คดีนี้ เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2555 คณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด มีคำวินิจฉัยและมีคำสั่งให้ส่งคดีคืนพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีต่อไป และได้แจ้งคำวินิจฉัยมายังสำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2555 ซึ่งพนักงานอัยการผู้รับผิดชอบสำนวน มีคำสั่งให้พนักงานสอบสวนติดตามตัวจำเลยมาส่งพนักงานอัยการเพื่อยื่นฟ้องต่อศาล แต่พนักงานสอบสวนนำตัวจำเลยมาส่งพนักงานอัยการผู้รับผิดชอบเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2556 และพนักงานอัยการยื่นฟ้องจำเลยในวันดังกล่าว เมื่อผู้ต้องหาไม่ถูกควบคุมตัวตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 เนื่องจากการฟื้นฟูไม่เป็นที่น่าพอใจและให้ส่งคืนพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีต่อไปพนักงานอัยการจึงต้องยื่นฟ้องผู้ต้องหาดังกล่าวต่อศาลให้ทันภายในกำหนด 30 วัน นับแต่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ซึ่งหากเกิดความจำเป็นที่ไม่สามารถฟ้องคดีนี้ต่อศาลได้ทันภายในระยะเวลาดังกล่าวก็ต้องขอผัดฟ้องตามกฎหมาย ตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวฯ พ.ศ.2553 มาตรา 78 เมื่อพนักงานอัยการยื่นฟ้องจำเลยเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวโดยไม่ได้รับอนุญาตจากอัยการสูงสุด จึงต้องห้ามมิให้พนักงานอัยการฟ้องคดี ตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวฯ พ.ศ.2553 มาตรา 80

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10984/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดคดีอาญาเนื่องจากพ้นกำหนดฎีกาและการถอนอุทธรณ์คำสั่ง ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าคดีถึงที่สุด
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน จำคุกกระทงละ 4 ปี รวมจำคุก 8 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน โดยลงโทษจำคุกกระทงละไม่เกินห้าปี คดีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยยื่นฎีกาพ้นกำหนดระยะเวลาฎีกาแล้ว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลย แม้ต่อมาจำเลยจะยื่นคำร้องและอุทธรณ์คำสั่งเกี่ยวเนื่องกับคำสั่งไม่รับฎีกา และศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำสั่งรับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยไว้พิจารณาก็ตาม แต่ในที่สุดศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยถอนอุทธรณ์คำสั่งได้ จึงไม่มีการรับฎีกาของจำเลย ต้องถือว่าคดีถึงที่สุดเมื่อระยะเวลายื่นฎีกาได้สิ้นสุดลงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 คดีนี้ศาลจังหวัดสีคิ้วอ่านคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ให้จำเลยฟังเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2548 ครบกำหนดยื่นฎีกาวันที่ 3 กรกฎาคม 2548 ซึ่งตรงกับวันอาทิตย์ระยะเวลายื่นฎีกาจึงสิ้นสุดลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2548 อันเป็นวันที่เริ่มทำการใหม่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/8 คดีจึงถึงที่สุดวันที่ 4 กรกฎาคม 2548

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5850/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาฎีกาและการโต้แย้งเรื่องการยื่นฎีกาพ้นกำหนด ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยได้
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาอุทธรณ์ให้คู่ความฟังวันที่ 26 เมษายน 2549 คู่ความมีสิทธิฎีกาได้ภายใน 1 เดือน นับแต่วันอ่านคำพิพากษาซึ่งจะครบกำหนดฎีกาภายในวันที่ 26 พฤษภาคม 2549 โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาออกไปอีก 30 วัน นับแต่วันที่ 24 พฤษภาคม 2549 ศาลอนุญาตตามคำร้อง ระยะเวลาที่ขอขยายเริ่มนับในวันรุ่งขึ้นจึงครบกำหนด 30 วัน ในวันที่ 23 มิถุนายน 2549
เมื่อจำเลยเห็นว่าโจทก์ยื่นฎีกาพ้นกำหนดเวลาตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว จำเลยชอบที่จะโต้แย้งเป็นประเด็นมาในคำแก้ฎีกา ซึ่งศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกประเด็นว่าโจทก์ยื่นฎีกาพ้นกำหนดเวลาหรือไม่มาวินิจฉัยได้ หาจำต้องยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกามีคำสั่งยกคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้รับฎีกาแยกต่างหากมาด้วยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 141/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากยื่นขยายระยะเวลาหลังพ้นกำหนด และการยื่นคำร้องซ้ำหลังศาลวินิจฉัยแล้ว
คำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาครั้งแรกของจำเลยไม่ปรากฏพฤติการณ์พิเศษและเหตุสุดวิสัยที่ไม่สามารถยื่นคำร้องก่อนสิ้นระยะเวลาได้ ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องของจำเลย ถือว่าศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกาของจำเลยไปแล้ว การที่จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกาครั้งต่อมา จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำร้องขอขยายระยะเวลาครั้งหลัง อนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นฎีกาแก่จำเลยจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 23 มาตรา 144 วรรคหนึ่ง และถือว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
of 4