พบผลลัพธ์ทั้งหมด 50 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1417/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจคณะกรรมการส่วนจังหวัดออกประกาศห้ามค้ากำไรเกินควรโดยอาศัย พ.ร.บ. ป้องกันการค้ากำไรเกินควร พ.ศ. 2490
ประกาศที่คณะกรรมการส่วนจังหวัดไม่มีอำนาจออกตาม พ.ร.บ.ป้องกันการค้ากำไรเกินควร พ.ศ. 2490 มาตรา 8(8) นั้น แม้จะมีการฝ่าฝืนก็ยังไม่เป็นผิดตาม พ.ร.บ.ป้องกันการค้ากำไรเกินควร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1255/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจควบคุมทรัพย์สินศัตรู: พ.ร.บ.ต้องให้อำนาจชัดเจน การงดชำระหนี้เกินขอบเขตเป็นโมฆะ
อำนาจออกพระราชกฤษฎีกาจนเป็นการขัดหรือฝ่าฝืนต่อกฎหมายทั่วๆ ไปของบ้านเมืองนั้น จักต้องมีการระบุมอบอำนาจไว้โดยชัดแจ้งในตัว พ.ร.บ.มิฉะนั้นพระราชกฤษฎีกาที่ออกมาเป็นการขัดหรือฝ่าฝืนกฎหมายทั่วไปของบ้านเมืองนั้น ก็จะบังคับใช้ไม่ได้
ข้อความในพระราชกฤษฎีกาควบคุมจัดกิจการหรือทรัพย์สินของบุคคลที่เป็นศัตรูต่อสหประชาชาติ พ.ศ. 2492 (ฉะบับที่ 2) มาตรา 3 ซึ่งให้ยกเลิกมาตรา 6 ในพระราชกฤษฎีกาฉะบับที่ 1 และใช้ความต่อไปนี้แทนว่า "มาตรา 6 ในการควบคุมจัดกิจการหรือทรัพย์สินตามความในพระราชกฤษฎีกานี้ให้คณะกรรมการรักษาเงินที่ได้จากการนั้น ไว้และในระหว่างที่ยังมิได้มีความตกลงของสหประชาชาติในเรื่องนี้ห้ามมิให้จ่ายเงินดังกล่าวแล้ว เว้นแต่ค่าใช้จ่ายดังบัญญัติไว้ในมาตรา 5" นั้น ถ้าจะแปลจนถึงว่าให้คณะกรรมการมีอำนาจงดการชำระหนี้อันถึงกำหนด แก่เจ้าหนี้ตลอดถึงไม่ต้องชำระหนี้ตามคำพิพากษาและทรัพย์สินของลูกหนี้ ไม่ต้องอยู่ในการบังคับชำระหนี้ของเจ้าหนี้แล้ว ก็จะเป็นอำนาจที่มิใช่อำนาจในหลักเกณฑ์และวิธีการควบคุมและจัดทรัพย์สิน เพราะเป็นอำนาจที่คณะกรรมการจะต้องกระทำการฝ่าฝืนขืนขัดต่อกฎหมายทั่วไปของบ้านเมือง โดยมิได้มี พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทำการเช่นนั้น หรือให้อำนาจที่จะให้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเช่นนั้นได้ ฉะนั้นศาลจึงมีอำนาจดำเนินการบังคับคดีแก่คณะกรรมการฯ ผู้เป็นจำเลยให้ชำระหนี้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาของศาลได้
ข้อความในพระราชกฤษฎีกาควบคุมจัดกิจการหรือทรัพย์สินของบุคคลที่เป็นศัตรูต่อสหประชาชาติ พ.ศ. 2492 (ฉะบับที่ 2) มาตรา 3 ซึ่งให้ยกเลิกมาตรา 6 ในพระราชกฤษฎีกาฉะบับที่ 1 และใช้ความต่อไปนี้แทนว่า "มาตรา 6 ในการควบคุมจัดกิจการหรือทรัพย์สินตามความในพระราชกฤษฎีกานี้ให้คณะกรรมการรักษาเงินที่ได้จากการนั้น ไว้และในระหว่างที่ยังมิได้มีความตกลงของสหประชาชาติในเรื่องนี้ห้ามมิให้จ่ายเงินดังกล่าวแล้ว เว้นแต่ค่าใช้จ่ายดังบัญญัติไว้ในมาตรา 5" นั้น ถ้าจะแปลจนถึงว่าให้คณะกรรมการมีอำนาจงดการชำระหนี้อันถึงกำหนด แก่เจ้าหนี้ตลอดถึงไม่ต้องชำระหนี้ตามคำพิพากษาและทรัพย์สินของลูกหนี้ ไม่ต้องอยู่ในการบังคับชำระหนี้ของเจ้าหนี้แล้ว ก็จะเป็นอำนาจที่มิใช่อำนาจในหลักเกณฑ์และวิธีการควบคุมและจัดทรัพย์สิน เพราะเป็นอำนาจที่คณะกรรมการจะต้องกระทำการฝ่าฝืนขืนขัดต่อกฎหมายทั่วไปของบ้านเมือง โดยมิได้มี พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทำการเช่นนั้น หรือให้อำนาจที่จะให้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเช่นนั้นได้ ฉะนั้นศาลจึงมีอำนาจดำเนินการบังคับคดีแก่คณะกรรมการฯ ผู้เป็นจำเลยให้ชำระหนี้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาของศาลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 485/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพยายามตามลักษณะอาญาใช้ได้กับ พรบ.สำรวจข้าว การพิพากษาไม่ได้วินิจฉัยนอกสำนวน
ความผิดฐานพยายามที่ได้บัญญัติไว้ในภาค 1 แห่ง ก.ม.ลักษณะอาญา ย่อมนำมาใช้ใน พ.ร.บ.สำรวจและห้ามกักกันข้าวได้
ปรากฎตามคำพะยานโจทก์ว่า จำเลยซื้อข้าวในอำเภอบางเลนเพียงเกวียนเดียว อีก 25 เกวียนจำเลยแสดงไม่ได้ว่าซื้อมาจากที่ใด แต่ปรากฎว่าเจ้าพนักงานจับข้าวทั้ง 26 เกวียนได้ในอำเภอบางเลน กำลังจะเอาออกนอกเขตต์อำเภอบางเลน การที่ศาลพิพากษาว่า จำเลยนำข้าว 26 เกวียนออกนอกเขตต์ จึงไม่ใช่การวินิจฉัยคำพะยานหลักฐานนอกสำนวน
จำเลยนำข้าวออกนอกเขตต์อีก 8 เส้นจะพ้นเขตต์อำเภอบางเลน ถ้าหากเจ้าพนักงานไม่จับจำเลยได้เสียก่อน จำเลยก็นำข้าวออกไปได้สำเร็จการกระทำของจำเลยผ่านคั่นตระเตรียมการเข้าคั่นพยายามแล้ว.
ปรากฎตามคำพะยานโจทก์ว่า จำเลยซื้อข้าวในอำเภอบางเลนเพียงเกวียนเดียว อีก 25 เกวียนจำเลยแสดงไม่ได้ว่าซื้อมาจากที่ใด แต่ปรากฎว่าเจ้าพนักงานจับข้าวทั้ง 26 เกวียนได้ในอำเภอบางเลน กำลังจะเอาออกนอกเขตต์อำเภอบางเลน การที่ศาลพิพากษาว่า จำเลยนำข้าว 26 เกวียนออกนอกเขตต์ จึงไม่ใช่การวินิจฉัยคำพะยานหลักฐานนอกสำนวน
จำเลยนำข้าวออกนอกเขตต์อีก 8 เส้นจะพ้นเขตต์อำเภอบางเลน ถ้าหากเจ้าพนักงานไม่จับจำเลยได้เสียก่อน จำเลยก็นำข้าวออกไปได้สำเร็จการกระทำของจำเลยผ่านคั่นตระเตรียมการเข้าคั่นพยายามแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1626/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณา 'เคหะ' ตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า ต้องดูเจตนาคู่สัญญาและเหตุแวดล้อมอื่นประกอบ ผู้เช่ามีหน้าที่นำสืบ
การพิจารณาว่าสิ่งปลูกสร้างใดเป็นเคหะตามความหมายแห่ง พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า ฯหรือไม่นั้นจะดูแต่เพียงผู้เช่าอาศัยอยู่ในสิ่งปลูกสร้างนั้นหรือไม่แต่อย่างเดียวยังหาเพียงพอกับความประสงค์ของกฎหมายไม่ แต่จะต้องพิจารณาถึงเจตนาของคู่กรณีในเวลาทำสัญญากัน ประกอบกับเหตุผลแวดล้อมอื่น ๆ เช่นสภาพของสิ่งปลูกสร้าง อัตราค่าเช่า ทำเลที่ตั้งสิ่งปลูกสร้างและการปฏิบัติของคู่สัญญาแต่ละฝ่ายประกอบกันว่า การเช่าสิ่งปลูกสร้างนั้น เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยหรือไม่
(อ้างฎีกาที่ 1099-1147/2491)
การเช่าจะอยู่ในความคุ้มครองตามพ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าหรือไม่นั้น เป็นหน้าที่ของผู้เช่าจะต้องนำสืบแสดงเมื่อตามฟ้องคำให้การและคำแถลงรับรองของคู่ความไม่เพียงพอที่จะชี้ว่าทรัพย์รายนี้เป็นเคหะตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าเมื่อผู้เช่าไม่ติดใจสืบพะยาน ผู้เช่าก็ต้องแพ้คดี
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายในคดีฟ้องขับไล่จำเลยออกจากห้องเช่า โดยเรียกค่าเสียหายเป็นรายเดือน ๆ ละ 100 บาท คดีได้ความว่าจำเลยเช่าตึกรายนี้มีค่าเช่าเดือนละ 80 บาท ฉะนั้นเมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าต่อจำเลยโดยชอบแล้วจำเลยไม่ยอมออกไป โจทก์ย่อมต้องเสียหาย ศาลก็เห็นสมควรกำหนดค่าเสียหายให้เดือนละ 80 บาทได้
(อ้างฎีกาที่ 1099-1147/2491)
การเช่าจะอยู่ในความคุ้มครองตามพ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าหรือไม่นั้น เป็นหน้าที่ของผู้เช่าจะต้องนำสืบแสดงเมื่อตามฟ้องคำให้การและคำแถลงรับรองของคู่ความไม่เพียงพอที่จะชี้ว่าทรัพย์รายนี้เป็นเคหะตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าเมื่อผู้เช่าไม่ติดใจสืบพะยาน ผู้เช่าก็ต้องแพ้คดี
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายในคดีฟ้องขับไล่จำเลยออกจากห้องเช่า โดยเรียกค่าเสียหายเป็นรายเดือน ๆ ละ 100 บาท คดีได้ความว่าจำเลยเช่าตึกรายนี้มีค่าเช่าเดือนละ 80 บาท ฉะนั้นเมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าต่อจำเลยโดยชอบแล้วจำเลยไม่ยอมออกไป โจทก์ย่อมต้องเสียหาย ศาลก็เห็นสมควรกำหนดค่าเสียหายให้เดือนละ 80 บาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1424/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขต พ.ร.บ.การค้าข้าว ครอบคลุมถึงกสิกรผู้ผลิตและแจ้งปริมาณข้าวเท็จ
พ.ร.บ.การค้าข้าวหาได้บัญญัติควบคุมเฉพาะผู้ค้าข้าวเท่านั้นไม่ แต่เป็นการควบคุมตลอดถึงกิจการต่างๆอันเกี่ยวเนื่องกับการค้าข้าวนั้นด้วย
จำเลยเป็นกสิกร มีข้าวเปลือก ซึ่งจำเลยทำจากนาของจำเลยเอง แต่จำเลยไปให้ถ้อยคำเท็จในการแจ้งปริมาณจำเลยย่อมมีผิดตาม พระราชบัญญัติการค้าข้าว
มีข้าวเปลือกไว้ในความครอบครอง 4 เกวียนหลวง แต่แจ้งปริมาณเพียง 1 เกวียนหลวงกับ 50 ถัง ดังนี้ ข้าว 4 เกวียนหลวงของกลางอันเกี่ยวเนื่องกับความผิด ต้องริบ
จำเลยเป็นกสิกร มีข้าวเปลือก ซึ่งจำเลยทำจากนาของจำเลยเอง แต่จำเลยไปให้ถ้อยคำเท็จในการแจ้งปริมาณจำเลยย่อมมีผิดตาม พระราชบัญญัติการค้าข้าว
มีข้าวเปลือกไว้ในความครอบครอง 4 เกวียนหลวง แต่แจ้งปริมาณเพียง 1 เกวียนหลวงกับ 50 ถัง ดังนี้ ข้าว 4 เกวียนหลวงของกลางอันเกี่ยวเนื่องกับความผิด ต้องริบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 113/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการห้ามขนย้ายข้าว: การขนผ่านเขตต์ไม่ใช่ความผิดตาม พ.ร.บ.สำรวจและห้ามกักกันข้าว 2489
พ.ร.บ.สำรวจและห้ามกักกันข้าว 2489 มาตรา 10 ห้ามมิให้ขนย้ายข้าวออกจากเขตต์ ซึ่งคณะกรรมการประกาศกำหนด มิได้ห้ามการขนผ่านเขตต์./
(อ้างฎีกาที่ 1220/2491)
(อ้างฎีกาที่ 1220/2491)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 608/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าเคหะเพื่อค้าและการบังคับใช้ พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า: การพิจารณาว่าการเช่าตกอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายหรือไม่
ในสัญญาเช่าเคหะ จำเลยจะต้องชำระเงินค่ากินเปล่างวดที่ 3 ในวันที่ 1 สิงหาคม 2488 ซึ่งเป็นเวลาที่พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขัน (ฉะบับที่ 2) 2488 ใช้บังคับอยู่ ต้องพิจารณาว่า จำเลยได้ใช้เคหะเป็นที่อยู่อาศัยเป็นส่วนใหญ่หรือไม่ ถ้าจำเลยมิไ้ใช้เป็นที่อยู่อาศัยเป็นส่วนใหญ่ พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขัน (ฉบับที่ 2) 2488 ก็มิควบคุมถึง
ถ้าหากในเวลาถึงกำหนดชำระเงินกินเปล่างวดที่ 3 การเช่ามิได้ตกอยู่ในควบคุมแห่ง พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขัน (ฉบับที่ 2) 2488 และจำเลยกระทำผิดสัญญาจนโจทก์บอกเลิกสัญญากับจำเลยแล้ว จำเลยก็ไม่อยู่ในฐานะผู้เช่าต่อไป ดังนี้ พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขัน พ.ศ. 2489 ซึ่งออกมาภายหลังย่อมไม่มีผลย้อนหลังไปใช้บังคับแก่กรณีระหว่างโจทก์จำเลย ซึ่งไม่มีการเช่ากันนั้น
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทำสัญญาเช่าเคหะ เพื่อการค้า และผิดสัญญาไม่ชำระเงินกินเปล่า จำเลยให้การรับว่า ได้ทำสัญญากับโจท์จริง แต่ต่อสู้ว่ามิได้ผิดสัญญาในเรื่องชำระเงินกินเปล่า ดังนี้ จำเลยไม่มีประเด็นที่จะนำสืบว่าได้ใช้เคหะเป็นที่อยู่อาศัยเป็นส่วนใหญ่
ถ้าหากในเวลาถึงกำหนดชำระเงินกินเปล่างวดที่ 3 การเช่ามิได้ตกอยู่ในควบคุมแห่ง พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขัน (ฉบับที่ 2) 2488 และจำเลยกระทำผิดสัญญาจนโจทก์บอกเลิกสัญญากับจำเลยแล้ว จำเลยก็ไม่อยู่ในฐานะผู้เช่าต่อไป ดังนี้ พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขัน พ.ศ. 2489 ซึ่งออกมาภายหลังย่อมไม่มีผลย้อนหลังไปใช้บังคับแก่กรณีระหว่างโจทก์จำเลย ซึ่งไม่มีการเช่ากันนั้น
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทำสัญญาเช่าเคหะ เพื่อการค้า และผิดสัญญาไม่ชำระเงินกินเปล่า จำเลยให้การรับว่า ได้ทำสัญญากับโจท์จริง แต่ต่อสู้ว่ามิได้ผิดสัญญาในเรื่องชำระเงินกินเปล่า ดังนี้ จำเลยไม่มีประเด็นที่จะนำสืบว่าได้ใช้เคหะเป็นที่อยู่อาศัยเป็นส่วนใหญ่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 506-507/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขนข้าวผ่านเขตห้ามกักกัน ไม่ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.สำรวจและห้ามกักกันข้าว
พ.ร.บ.สำรวจและห้ามกักกันข้าว พ.ศ. 2489 บัญญัติห้ามฉะเพาะการขนย้ายข้าวออก ซึ่งต้องเป็นที่เข้าใจว่า ขนข้าวที่อยู่ในเขตต์กักกันออกไป หาได้บัญญัติห้ามถึงการขนผ่านไม่
จำเลยขนย้ายข้าวจากจังหวัดนอกเขตต์กักกันข้าว พาผ่านจังหวัดซึ่งเป็นเขตต์กักกันข้าว เพื่อจะนำไปอีกจังหวัดหนึ่ง ดังนี้ ยังไม่เป็นผิดตาม พ.ร.บ.สำรวจและห้ามกักกันข้าว 2489
จำเลยขนย้ายข้าวจากจังหวัดนอกเขตต์กักกันข้าว พาผ่านจังหวัดซึ่งเป็นเขตต์กักกันข้าว เพื่อจะนำไปอีกจังหวัดหนึ่ง ดังนี้ ยังไม่เป็นผิดตาม พ.ร.บ.สำรวจและห้ามกักกันข้าว 2489
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1220/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขนข้าวผ่านเขตห้าม การตีความ พ.ร.บ.สำรวจและห้ามกักกันข้าว 2489
พ.ร.บ.สำรวจและห้ามกักกันข้าว 2489 มาตรา 10 ห้ามมิให้ขนข้าวออกจากเขตต์ ซึ่งคณะกรรมการประกาศกำหนดมิได้ห้ามการขนผ่านเขตต์
(อ้างฎีกาที่ 506 - 507/2491)
(อ้างฎีกาที่ 506 - 507/2491)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1185-1187/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะ 'อยู่อาศัย' ตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า: การใช้พื้นที่เพื่อการค้าควบคู่กับการอยู่อาศัย
แม้จำเลยจะรับว่าอยู่อาศัยในที่เช่าก็ตาม ยังฟังไม่ชัดลงไปว่า เป็นการอยู่ในฐานะ "อยู่อาศัย" ตามพระราชบัญญัติ หรือเพียงอยู่ในฐานะที่เข้าไปประกอบกิจ
(อ้างฎีกาที่ 1099 - 1147/2491)
(อ้างฎีกาที่ 1099 - 1147/2491)