พบผลลัพธ์ทั้งหมด 44 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1214/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแซงรถที่จอดนิ่งไม่ผิดตาม พ.ร.บ.จราจรฯ มาตรา 11 หากไม่ใช่การแซงรถที่กำลังวิ่ง
พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2477 มาตรา 11 มีความมุ่งหมายที่จะห้ามขับรถแซงขึ้นหน้ารถคันอื่น ซึ่งกำลังแล่นอยู่ตรงที่ที่ไม่ปลอดภัยดังที่ระบุไว้คือ ตรงทางร่วม ทางแยกหัวเลี้ยว ฯลฯ คำว่า เดินรถขึ้นหน้ารถคันอื่น ในมาตรานี้หมายความว่า ขับรถแซงขึ้นหน้ารถที่กำลังแล่นอยู่ด้วย
การที่จำเลยขับรถหลีกผ่านรถบันทุกดินที่ จอดนิ่งอยู่ขึ้นไปนั้น ไม่เป็นการต้องห้าม ตาม มาตรา 11 นี้ (ฎีกาที่ 1988/2497 ก็วินิจฉัยว่า มาตรา 11 พระราชบัญญัติจราจรทางบก นั้น หมายความถึงการแซงขึ้นหน้ารถคันอื่นที่กำลังแล่นอยู่ มิใช่แล่นหลีกรถที่จอดอยู่ขึ้นไป)
การที่จำเลยขับรถหลีกผ่านรถบันทุกดินที่ จอดนิ่งอยู่ขึ้นไปนั้น ไม่เป็นการต้องห้าม ตาม มาตรา 11 นี้ (ฎีกาที่ 1988/2497 ก็วินิจฉัยว่า มาตรา 11 พระราชบัญญัติจราจรทางบก นั้น หมายความถึงการแซงขึ้นหน้ารถคันอื่นที่กำลังแล่นอยู่ มิใช่แล่นหลีกรถที่จอดอยู่ขึ้นไป)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1214/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแซงรถที่จอดนิ่งไม่ผิด พ.ร.บ.จราจร มาตรา 11 เน้นการแซงรถที่กำลังวิ่ง
พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2477 มาตรา 11 มีความมุ่งหมายที่จะห้ามขับรถแซงขึ้นหน้ารถคันอื่นซึ่งกำลังแล่นอยู่ตรงที่ที่ไม่ปลอดภัยดังที่ระบุไว้ คือ ตรงทางร่วม ทางแยกหัวเลี้ยวฯลฯ คำว่า "เดินรถขึ้นหน้ารถคันอื่น" ในมาตรานี้หมายความว่า ขับรถแซงขึ้นหน้ารถที่กำลังแล่นอยู่ด้วยกัน
การที่จำเลยขับรถหลีกผ่านรถบรรทุกดินที่จอดนิ่งอยู่ขึ้นไปนั้น ไม่เป็นการต้องห้ามตามมาตรา 11 นี้
(ฎีกาที่ 1988/2497 ก็วินิจฉัยว่ามาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบกนั้นหมายความถึงการแซงขึ้นหน้ารถคันอื่นที่กำลังแล่นอยู่ มิใช่แล่นหลีกรถที่จอดอยู่ขึ้นไป)
การที่จำเลยขับรถหลีกผ่านรถบรรทุกดินที่จอดนิ่งอยู่ขึ้นไปนั้น ไม่เป็นการต้องห้ามตามมาตรา 11 นี้
(ฎีกาที่ 1988/2497 ก็วินิจฉัยว่ามาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบกนั้นหมายความถึงการแซงขึ้นหน้ารถคันอื่นที่กำลังแล่นอยู่ มิใช่แล่นหลีกรถที่จอดอยู่ขึ้นไป)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 728/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขัดคำสั่งเจ้าพนักงานจราจร: พ.ร.บ.จราจรฯ กำหนดโทษเฉพาะ ไม่เข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ม.368
การที่จำเลยไม่ไปรายงานตนตามคำสั่งของเจ้าพนักงานจราจรนั้น ไม่เป็นความผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา ม . 368 อันเป็นบทกฎหมายทั่วไป เพราะ พ.ร.บ. จราจร ทางบกได้บัญญัติไว้เป็นพิเศษใน มาตรา 64 และ 67 ซึ่งอยู่ในส่วนที่ว่าด้วยบทกำหนดโทษ ว่า ถ้าจำเลยไม่ไปตามคำสั่งของเจ้าพนักงานจราจรดังกล่าว ห้ามมิให้เปรียบเทียบ ให้จัดการฟ้องจำเลยไปทีเดียว อันเป็นบทลงโทษจำเลยอยู่แล้ว
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 10/2502)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 10/2502)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 728/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขัดคำสั่งเจ้าพนักงานจราจร: บทลงโทษตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกเฉพาะเจาะจงกว่าบททั่วไปในประมวลกฎหมายอาญา
การที่จำเลยไม่ไปรายงานตนตามคำสั่งของเจ้าพนักงานจราจรนั้นไม่เป็นความผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 368 อันเป็นบทกฎหมายทั่วไป เพราะ พระราชบัญญัติจราจรทางบกได้บัญญัติไว้เป็นพิเศษใน มาตรา 64 และ 67 ซึ่งอยู่ในส่วนที่ว่าด้วยบทกำหนดโทษ ว่า ถ้าจำเลยไม่ไปตามคำสั่งของเจ้าพนักงานจราจรดังกล่าว ห้ามมิให้เปรียบเทียบ ให้จัดการฟ้องจำเลยไปทีเดียว อันเป็นบทลงโทษจำเลยอยู่แล้ว (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10/2502)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 545/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงบทกฎหมายโทษอาญาหลังการแก้ไข พ.ร.บ.จราจรทางบก: ศาลยังคงลงโทษได้ตามบทที่แก้ไข แม้ฟ้องอ้างบทเดิม
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานขับรถยนต์โดยประมาทและหยุดรถในที่คับขัน ตาม พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2477 มาตรา 4,29,66. แต่ปรากฏว่ามาตรา 66 นี้ถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2481 มาตรา 4 เสียแล้ว แม้โจทก์จะมิได้อ้างถึงกฎหมายปี พ.ศ.2481 ก็ไม่ทำให้จำเลยเสียหายเสียเปรียบในเชิงคดี และจะถือว่าโจทก์ฟ้องความมิได้อ้างบทก็ไม่ได้ เพราะโจทก์อ้างไว้แล้วแต่ไม่ถูกบท โดยบทที่อ้างได้มีการเปลี่ยนแปลงให้อำนาจเจ้าพนักงานมากขึ้นเท่านั้น ส่วนโทษปรับมิได้เปลี่ยนแปลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 947-948/2498
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีความผิดพ.ร.บ.จราจรทางบก: เอกชนไม่มีอำนาจฟ้องหากเป็นความผิดต่อทางสาธารณชน
กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 336(15) เป็นความผิดเกี่ยวกับการประทุษร้ายต่อทางไปมาของสาธารณชนเนื่องจากกระทำให้ยานที่ขับขี่ไปมาในถนนหลวงโดนกันเพราะไม่ได้ประพฤติตามข้อบังคับสำหรับการขับขี่ยานซึ่งมีบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติจราจรทางบกเป็นต้น ความมุ่งหมายของ พระราชบัญญัตินี้มีข้อความชัดว่าเป็นการวางระเบียบจราจรทางบกเพื่อความสะดวกและปลอดภัยของประชาชน เพราะฉะนั้นเอกชนจึงไม่มีอำนาจฟ้องเกี่ยวกับความผิดในมาตรานี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 940/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทในการขับรถราง ชนท้ายรถโดยสาร การประพฤติผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก
จำเลยขับรถรางเร็ว ไม่ระมัดระวัง เป็นการประมาทเลินเล่อจึงชนรถยนต์ประจำทางตอนท้ายเสียหาย การประมาท ของจำเลยเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ. จราจรทางบก 2477 มาตรา 29 ข้อ 4 ฉะนั้นความผิดของจำเลยจึงต้องผิด ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 336 (15) อีกบทหนึ่งด้วย./
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1285/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิด พ.ร.บ.จราจรทางบก: การอ้างมาตราผิดพลาด ศาลลงโทษได้ตามข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2481 (ฉะบับที่ 3) มาตรา 8 แต่ พ.ร.บ.ฉะบับนี้มีเพียง 5 มาตรา และมาตรา 4 เท่านั้นเป็นบทลงโทษ ฉะนั้นจึงเป็นที่เห็นได้ว่า โจทก์คงจะขอให้ลงโทษตามมาตรา 4 แต่โจทก์อ้างผิดไป ตามมาตรา 192 วรรค 4 ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8862/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการบังคับใช้ พ.ร.บ.จราจรฯ มาตรา 43 ทวิ: การเสพยาเสพติดให้โทษและความครอบคลุมของข้อกำหนดอธิบดี
พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง ที่ใช้บังคับในขณะเกิดเหตุบัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้ขับขี่เสพยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ หรือเสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ทั้งนี้ ตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา" ซึ่งคำว่า "ทั้งนี้" ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายไว้ว่า ตามที่กล่าวมานี้ ดังนี้ คำว่า ตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา จึงครอบคลุมถึงเสพยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ ซึ่งเป็นข้อความที่กล่าวไว้ก่อนคำว่า ตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาด้วย มิใช่ครอบคลุมเฉพาะกรณีวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทดังที่โจทก์ฎีกาเท่านั้น เมื่ออธิบดีกรมตำรวจออกข้อกำหนดห้ามมิให้ผู้ขับขี่เสพแอมเฟตามีนและเมทแอมเฟตามีน ตามข้อกำหนดกรมตำรวจ เรื่อง กำหนดชื่อและประเภทของวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทและประเภทของรถที่ให้เจ้าพนักงานมีอำนาจตรวจสอบผู้ขับขี่ ลงวันที่ 13 กรกฎาคม 2537 โดยยังไม่ได้ออกข้อกำหนดห้ามมิให้ผู้ขับขี่เสพโคเคอีนและมอร์ฟีนซึ่งเป็นยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง, 157/1 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15049/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการบังคับใช้ พ.ร.บ.จราจรทางบก มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง กรณีอธิบดียังมิได้กำหนดประเภทยาเสพติด
พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้ขับขี่เสพยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ หรือเสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ทั้งนี้ ตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา" ซึ่งคำว่า "ทั้งนี้" ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายไว้ว่า ตามที่กล่าวมานี้ ดังนี้ คำว่า ตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาจึงครอบคลุมถึงเสพยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ ซึ่งเป็นข้อความที่กล่าวไว้ก่อนคำว่าตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาด้วย เมื่ออธิบดีกรมตำรวจยังไม่ได้ออกข้อกำหนดห้ามมิให้ผู้ขับขี่เสพฝิ่นซึ่งเป็นยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง, 157/1 วรรคสอง