พบผลลัพธ์ทั้งหมด 35 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3360/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่ออายุสัญญาเช่านาหลังพ.ร.บ.ควบคุมการเช่านาถูกยกเลิก โดยใช้มาตรา 66 แห่ง พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
ผู้ร้องบอกเลิกการเช่านาพิพาทซึ่งผู้เช่าได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ.2517 แต่คณะกรรมการควบคุมการเช่านาได้มีมติยับยั้งการบอกเลิกการเช่ามีกำหนดสองปี มีผลให้ผู้เช่ามีสิทธิทำนาต่อไปถึงปี พ.ศ.2525 ระหว่างนั้นพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ.2517 ถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 ซึ่งใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม 2524 และ มาตรา 66 แห่งพระราชบัญญัติฉบับใหม่ให้ถือว่าการเช่านาที่อยู่ในบังคับแห่งพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ.2517 เป็นการเช่าที่อยู่ในบังคับแห่งพระราชบัญญัติฉบับใหม่ต่อไป ดังนั้นสิทธิการเช่านาพิพาทอันเกิดจากการใช้สิทธิยับยั้งการบอกเลิกการเช่าจึงยังไม่สิ้นสุดและอยู่ในบังคับแห่งพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 ด้วย คำวินิจฉัยของคณะกรรมการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบลและประจำจังหวัดให้ยับยั้งการบอกเลิกการเช่านาพิพาทอีกเป็นครั้งที่สองตามพระราชบัญญัติฉบับใหม่ จึงชอบด้วยกฎหมาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 247/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าที่ดินเพื่อปลูกพืชเกษตรที่ไม่ใช่พืชไร่ ไม่อยู่ภายใต้การคุ้มครอง พ.ร.บ.เช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และต้องใช้หลักฐานเป็นหนังสือ
จำเลยให้การว่า เช่าที่ดินพิพาทจากโจทก์ โดยปลูกพืชเกษตรกรรมซึ่งส่วนใหญ่เป็นต้นมะพร้าว ต้นจาก และต้นพุทรา ซึ่งพืชเหล่านี้ไม่ใช่พืชไร่ ดังนั้น จากคำให้การดังกล่าวการทำเกษตรกรรมของจำเลยจึงไม่มีลักษณะเป็นการทำนาตามความหมายของ มาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 กรณีจึงเป็นเรื่องการเช่าที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมประเภทอื่นนอกจากการเช่านา ต้องนำมาตรา 63 มาใช้บังคับ เมื่อปรากฏว่าขณะพิพาทยังไม่มีพระราชกฤษฎีกาควบคุมการเช่าที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมประเภทอื่น จำเลยจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติดังกล่าวและเมื่อเป็นการเช่าที่ดินโดยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ จำเลยก็ไม่อาจยกเอาการเช่านี้ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 538
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7225/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเช่าที่ดินทำนา: สัญญาไม่เป็นไปตาม พ.ร.บ.เช่าที่ดินฯ, ไม่แจ้งเลิกสัญญา, และต้องผ่าน คชก.ก่อนฟ้อง
โจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องว่า โจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดิน จำเลยเช่าที่ดินจากโจทก์ที่ 2 เพื่อทำนาโดยชำระค่าเช่าเป็นข้าวเปลือก จำเลยไม่ชำระค่าเช่า โจทก์ทั้งสองบอกเลิกสัญญาเช่าพร้อมขับไล่จำเลยและเรียกค่าเช่าเป็นข้าวเปลือก ดังนี้ โจทก์ที่ 1 ไม่ใช่คู่สัญญาเช่าที่ดินกับจำเลย แม้โจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมก็ฟ้องขับไล่จำเลยตามสัญญาเช่าและเรียกค่าเช่าที่ดินไม่ได้
พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "การเช่านาให้มีการกำหนดคราวละไม่น้อยกว่าหกปี การเช่านารายใดที่ทำไว้โดยไม่มีกำหนดเวลาหรือมีต่ำกว่าหกปี ให้ถือว่าการเช่านารายนั้นมีกำหนดเวลาหกปี" และมาตรา 40 วรรคสอง บัญญัติว่า "ค่าเช่านาให้คิดเป็นรายปี ในอัตราไม่เกินอัตราขั้นสูงที่ คชก. ตำบลกำหนด..." ดังนั้น เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2552 โจทก์ที่ 2 ตกลงให้จำเลยเช่าที่ดินเพื่อปลูกข้าวทำนามีกำหนดเวลาเช่า 1 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 12 กรกฎาคม 2552 ครบกำหนดเวลาวันที่ 12 กรกฎาคม 2558 ข้อตกลงที่สถานีตำรวจภูธรท่าบ่อ ตามสำเนารายงานประจำวันรับแจ้งเป็นหลักฐานว่า ผู้ให้เช่าเรียกเก็บข้าวเปลือกจากผู้เช่าไร่ละ 9 กระสอบ หากผู้เช่ายังไม่ได้ทำสัญญาเช่า ห้ามผู้เช่าทำนาอีกต่อไปในที่นาของผู้ให้เช่า เป็นการแตกต่างกับบทบัญญัติของกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การนั้นเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 และมาตรา 151 โจทก์ที่ 2 ฟ้องคดีก่อนครบกำหนดในวันที่ 12 กรกฎาคม 2558 หาได้ไม่ ส่วนข้อพิพาทเกี่ยวกับการเก็บค่าเช่าและการชำระค่าเช่านั้น โจทก์ยังมิได้ขอให้ คชก. ตำบล พิจารณาวินิจฉัย ตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 13 (2) โจทก์ที่ 2 จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเช่าที่ดิน
พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "การเช่านาให้มีการกำหนดคราวละไม่น้อยกว่าหกปี การเช่านารายใดที่ทำไว้โดยไม่มีกำหนดเวลาหรือมีต่ำกว่าหกปี ให้ถือว่าการเช่านารายนั้นมีกำหนดเวลาหกปี" และมาตรา 40 วรรคสอง บัญญัติว่า "ค่าเช่านาให้คิดเป็นรายปี ในอัตราไม่เกินอัตราขั้นสูงที่ คชก. ตำบลกำหนด..." ดังนั้น เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2552 โจทก์ที่ 2 ตกลงให้จำเลยเช่าที่ดินเพื่อปลูกข้าวทำนามีกำหนดเวลาเช่า 1 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 12 กรกฎาคม 2552 ครบกำหนดเวลาวันที่ 12 กรกฎาคม 2558 ข้อตกลงที่สถานีตำรวจภูธรท่าบ่อ ตามสำเนารายงานประจำวันรับแจ้งเป็นหลักฐานว่า ผู้ให้เช่าเรียกเก็บข้าวเปลือกจากผู้เช่าไร่ละ 9 กระสอบ หากผู้เช่ายังไม่ได้ทำสัญญาเช่า ห้ามผู้เช่าทำนาอีกต่อไปในที่นาของผู้ให้เช่า เป็นการแตกต่างกับบทบัญญัติของกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การนั้นเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 และมาตรา 151 โจทก์ที่ 2 ฟ้องคดีก่อนครบกำหนดในวันที่ 12 กรกฎาคม 2558 หาได้ไม่ ส่วนข้อพิพาทเกี่ยวกับการเก็บค่าเช่าและการชำระค่าเช่านั้น โจทก์ยังมิได้ขอให้ คชก. ตำบล พิจารณาวินิจฉัย ตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 13 (2) โจทก์ที่ 2 จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเช่าที่ดิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 886/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าที่ดินปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์ไม่เข้าข่ายการเช่านาตามพ.ร.บ.เช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ สิทธิเช่าจึงไม่ได้รับการคุ้มครอง
หญ้าไม่ใช่พืชไร่ตามความหมายของคำนิยามศัพท์ของมาตรา 21 แห่ง พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ การเช่าที่ดินพิพาทเพื่อปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์ของโจทก์จึงมิใช่การเช่านาอันจะต้องมีการควบคุมตามมาตรา 22 ทั้งจะขยายความให้มีความหมายถึงการประกอบเกษตรกรรมประเภทอื่น นอกจากการเช่านาตามคำนิยามศัพท์ของคำว่าเกษตรกรรม มาตรา 5 หาได้ไม่ ดังนั้น เมื่อการเช่าที่ดินพิพาทของโจทก์เป็นการเช่าที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมประเภทอื่นนอกจากการเช่านา แต่ขณะนี้ยังไม่มีการตรา พ.ร.ฎ.ควบคุมการเช่าที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมประเภทอื่นการเช่าที่ดินของโจทก์จึงไม่อยู่ในความคุ้มครองตาม พ.ร.บ. นี้ โจทก์จะอ้างว่ามีสิทธิเช่าที่ดินพิพาทต่อไปจนครบ 6 ปี หาได้ไม่ เพราะกำหนดระยะเวลาการเช่า 6 ปี ซึ่งบัญญัติไว้ในมาตรา 26 ใช้เฉพาะการเช่านาอย่างเดียว จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 บอกเลิกการเช่าจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3742-3743/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิบัติตามขั้นตอนกฎหมายเพื่ออุทธรณ์มติ คชก. ถือเป็นเหตุอันสมควร ไม่ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
การจะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ มาตรา 62 การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมติ คชก.ตำบล หรือ คชก.จังหวัด ที่ห้ามมิให้ผู้นั้นขัดขวางการทำนาของผู้มีสิทธิในนาหรือที่ให้ผู้นั้นออกจากนาจะต้องไม่มีเหตุอันสมควร แต่ คชก.ตำบล มีหนังสือแจ้งมติให้จำเลยทราบ ซึ่งจำเลยก็ยังโต้แย้งอยู่ว่าไม่ได้รับหนังสือดังกล่าว แต่ภายหลัง ว. ผู้เสียหายกลับไปร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลย ทั้งที่วันดังกล่าวยังอยู่ในระหว่างที่จำเลยจะอุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบล ต่อ คชก.จังหวัดได้ และจำเลยก็ได้อุทธรณ์โดยทำเป็นหนังสือยื่นต่อประธาน คชก.ตำบล ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ทราบคำวินิจฉัย ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 56 วรรคแรก และหลังจาก คชก.จังหวัด มีคำวินิจฉัยยืนตามมติ คชก.ตำบลแล้ว จำเลยก็ยังได้ยื่นฟ้องต่อศาล แสดงให้เห็นว่าจำเลยได้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ การที่จำเลยยังไม่ออกจากที่นาพิพาทจึงเป็นกรณีมีเหตุอันสมควร การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิด