พบผลลัพธ์ทั้งหมด 584 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 60/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นการรุกล้ำที่ดิน, สัญญาจะซื้อขาย, และการฟ้องขับไล่ที่มิชอบเมื่อจำเลยมิได้ผิดสัญญา
จำเลยมิได้ให้การต่อสู้คดีเรื่องปลูกสร้างโรงเรือนบนที่ดินพิพาทรุกล้ำโดยสุจริต และศาลชั้นต้นก็มิได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยปลูกสร้างโรงเรือนรุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยสุจริตหรือไม่ นอกจากนี้ที่ดินพิพาทที่จำเลยปลูกสร้างโรงเรือนทั้งหมดนั้นก็ยังเป็นที่ดินของโจทก์ เพียงแต่จำเลยมีสิทธิเข้าไปปลูกสร้างโรงเรือนได้ตามสัญญาจะซื้อจะขาย ไม่มีที่ดินส่วนใดที่เป็นของจำเลย กรณีจึงไม่อาจปรับด้วย ป.พ.พ.มาตรา 4 และมาตรา 1312 วรรคหนึ่ง ได้ ดังนี้ เมื่อคดีไม่มีประเด็นดังกล่าวให้ต้องวินิจฉัย การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกประเด็นในเรื่องความสุจริตตามบทมาตราดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น และไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาเพราะมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
จำเลยเข้าไปถมที่ดินและปลูกบ้านในที่พิพาทโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาจะซื้อขาย โดยโจทก์ก็ทราบและไม่ได้คัดค้าน การที่จำเลยเข้าไปปลูกบ้านในที่ดินของโจทก์โดยอาศัยสิทธิตามสัญญาจะซื้อขาย และเมื่อถึงวันโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโจทก์ไม่สามารถโอนที่พิพาทให้แก่จำเลยได้เพราะการแบ่งแยกไม่เสร็จ จำเลยจึงไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา และกรณีไม่จำเป็นต้องต่ออายุสัญญาเพราะสัญญาไม่ได้กำหนดวันสิ้นสุดไว้ ดังนั้นโจทก์จึงบอกเลิกสัญญาและฟ้องขับไล่จำเลยโดยอ้างว่าจำเลยผิดสัญญาไม่ได้ โจทก์จำเลยยังคงมีความผูกพันตามสัญญาจะซื้อขายที่โจทก์ตกลงยินยอมให้จำเลยผู้จะซื้อเข้าครอบครองและใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทก่อนที่จะมีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ จึงเป็นกรณีที่โจทก์จะต้องไปบังคับแก่จำเลยตามสัญญาจะซื้อขาย
จำเลยเข้าไปถมที่ดินและปลูกบ้านในที่พิพาทโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาจะซื้อขาย โดยโจทก์ก็ทราบและไม่ได้คัดค้าน การที่จำเลยเข้าไปปลูกบ้านในที่ดินของโจทก์โดยอาศัยสิทธิตามสัญญาจะซื้อขาย และเมื่อถึงวันโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโจทก์ไม่สามารถโอนที่พิพาทให้แก่จำเลยได้เพราะการแบ่งแยกไม่เสร็จ จำเลยจึงไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา และกรณีไม่จำเป็นต้องต่ออายุสัญญาเพราะสัญญาไม่ได้กำหนดวันสิ้นสุดไว้ ดังนั้นโจทก์จึงบอกเลิกสัญญาและฟ้องขับไล่จำเลยโดยอ้างว่าจำเลยผิดสัญญาไม่ได้ โจทก์จำเลยยังคงมีความผูกพันตามสัญญาจะซื้อขายที่โจทก์ตกลงยินยอมให้จำเลยผู้จะซื้อเข้าครอบครองและใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทก่อนที่จะมีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ จึงเป็นกรณีที่โจทก์จะต้องไปบังคับแก่จำเลยตามสัญญาจะซื้อขาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6037/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าและการฟ้องขับไล่: การไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงเช่า
โจทก์ได้เช่าอาคารพิพาทจากวัด ก่อนทำสัญญาเช่า จำเลยอาศัยอยู่ในอาคารพิพาทมาก่อนและจำเลยตกลงจะขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากอาคารพิพาท เมื่อครบกำหนดแล้วจำเลยไม่ยอมขนย้ายออกทำให้โจทก์เสียหาย โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอาคารพิพาทตามข้อตกลงดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5833/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ต้องจดทะเบียนเพื่อใช้ยันสิทธิของผู้อื่น การฟ้องขับไล่เริ่มนับจากวันจดทะเบียน
จำเลยได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทจนได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382 แต่เมื่อจำเลยยังมิได้จดทะเบียนสิทธิการครอบครองปรปักษ์ดังกล่าว จึงไม่อาจใช้ยันโจทก์ซึ่งได้ซื้อที่ดินพิพาทมาจากการขายทอดตลาดของกรมสรรพากรโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิตั้งแต่ปี 2531 ได้ และโจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยนับแต่ปี 2531 แล้ว หาใช่นับแต่วันที่โจทก์ได้ชำระราคาที่ดินพิพาทครบถ้วนคือวันที่ 19 มิถุนายน 2524 ไม่ เมื่อโจทก์มาฟ้องคดีเมื่อปี 2536 เป็นเวลาไม่เกินกว่า 10 ปี โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกไปจากที่พิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3932/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คำพิพากษาศาลฎีกาเปลี่ยนแปลงสิทธิในที่ดิน ทำให้ฟ้องขับไล่เดิมเป็นฟ้องซ้ำ
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทเป็นคดีนี้โจทก์อ้างผลของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ซึ่งพิพากษาว่า ที่ดินพิพาทเป็นของบิดาโจทก์ซึ่งตกทอดได้แก่โจทก์ และโจทก์ได้ มอบให้จำเลยเข้าทำประโยชน์ เพราะโจทก์กู้เงินจำเลยไป 600 บาท เป็นคำฟ้องเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท ซึ่งเป็นมรดกของโจทก์ ดังนี้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ย่อมผูกพัน คู่ความนับตั้งแต่วันที่ได้พิพากษาจนถึงวันที่คำพิพากษา นั้นได้ถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 เมื่อปรากฏว่าขณะโจทก์ฟ้องคดีนี้ ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เสียแล้ว โดยพิพากษาว่า ไม่มีการกู้ยืมเงินกันระหว่างโจทก์กับจำเลยแล้ว ย่อมไม่มีการคิดดอกเบี้ยโดยมอบ ที่ดินพิพาทให้ทำกินต่างดอกเบี้ยได้ จึงเป็นคำพิพากษาว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยแล้ว ย่อมมีผลผูกพันคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ดังกล่าวข้างต้นการที่โจทก์มาฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทเป็นคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3930/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขับไล่และการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต กรณีจำเลยชำระค่าเช่าแต่โจทก์ไม่ยอมรับ
ตามคำฟ้องโจทก์กล่าวหาจำเลยว่าผิดสัญญาเช่า โจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยเช่าต่อไปจึงได้บอกเลิกสัญญาเช่า และให้จำเลยขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากทรัพย์ที่เช่าแต่จำเลยไม่ยอมออกจึงขอให้ศาลบังคับให้จำเลยขนย้ายออกไปคำฟ้องดังกล่าวโจทก์ได้บรรยายข้อเท็จจริงเกี่ยวกับที่จำเลยปฏิบัติผิดสัญญาเช่าว่า นับแต่โจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่าตลอดจนสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าแล้วจำเลยได้ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าให้แก่โจทก์ตั้งแต่เดือน กรกฎาคม 2533 เป็นต้นมา จนถึงวันฟ้อง ในระหว่างเวลาดังกล่าวแม้ทางพิจารณาจะได้ความว่าจำเลยมิได้นำเงินค่าเช่าไปวางที่ สำนักงานวางทรัพย์ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2534 เป็นต้นมา ก็ต้อง ถือว่ายังอยู่ในข้อกล่าวหาของโจทก์อยู่นั่นเอง ส่วนรายละเอียด เกี่ยวกับวันผิดนัดจริง หากยังอยู่ในระหว่างเวลาที่โจทก์ กล่าวในคำฟ้องแล้วย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นเรื่องนอกฟ้อง การที่จำเลยนำค่าเช่าไปชำระให้โจทก์แต่โจทก์ไม่ยอมรับ ถือว่าจำเลยได้ขอปฏิบัติการชำระหนี้โดยชอบแล้ว โจทก์จะปฏิเสธ ไม่ยอมรับชำระหนี้หาได้ไม่ กรณีนี้ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยตกเป็น ผู้ผิดนัด ดังนั้น การที่โจทก์ใช้สิทธิฟ้องขับไล่และเรียก ค่าเสียหายจากจำเลยเป็นคดีนี้ ถือได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 5 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องและปัญหาเรื่องการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้อง ซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาย่อมยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2827/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขับไล่และการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินของผู้อื่น: การพิจารณาประเด็นสิทธิการครอบครองและการไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยนี้กับพวกรวม2 คน รื้อถอนบ้านพิพาทออกจากที่ดินโจทก์และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยจนกว่าจะรื้อถอนบ้านพิพาทศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยฟังว่าจำเลยได้เข้าไปอยู่ในบ้านพิพาทที่เจ้าของบ้านพิพาทคนก่อนได้ปลูกสร้างขึ้นไว้โดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 และมาตรา 1310 กรณีไม่อาจถือได้ว่าจำเลยมีความประมาทเลินเล่อโจทก์ผู้เป็นเจ้าของบ้านพิพาทจะขอให้บังคับจำเลยกับพวกรื้อถอนบ้านพิพาทไม่ได้ จึงไม่จำต้องวินิจฉัยเรื่องค่าเสียหาย แม้คดีก่อนคำฟ้องของโจทก์เป็นการฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินเช่นเดียวกับคดีนี้แต่คดีก่อนศาลยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นที่ว่าจำเลยมีสิทธิอยู่ในที่ดินของโจทก์หรือไม่และโจทก์เสียหายเพียงใดประเด็นดังกล่าวนี้จึงไม่เป็นประเด็นที่ได้วินิจฉัยแล้วในคดีก่อน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2744/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินชายตลิ่งหลังหมดสัญญาเช่า สิทธิในการฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหาย
จำเลยได้ปลูกบ้านในที่ดินพิพาทที่เช่ามาจากโจทก์ด้านติดแม่น้ำเจ้าพระยาและคลองบางสีทองในเขตโฉนดที่ดินของโจทก์ซึ่งเดิมมีหลักเขตที่ดินแน่นอน แต่ต่อมาแนวเขตที่ดินด้าน ติดแม่น้ำเจ้าพระยาและคลองบางสีทองถูกน้ำเซาะตลิ่งอยู่เสมอและเป็นเวลานาน ทำให้ตลิ่ง ใต้อาคารที่จำเลยปลูกบ้านบนที่ดินพิพาทพังลงและหลักเขตที่ดินหายไปทำให้ที่ดินพิพาทใต้อาคารกลายสภาพเป็นที่ชายตลิ่งโดยจำเลยยังคงครอบครองอาคารนั้นอยู่และจำเลยยังเช่าที่ดินพิพาทของโจทก์ตลอดมา จึงถือได้ว่าโจทก์ยังคงใช้สิทธิแห่งความเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทนั้นอยู่ โดยมิได้ทิ้งปล่อยให้เป็นที่ชายตลิ่งสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ที่ดินพิพาทจึงยังมิได้เป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(2) เมื่อสัญญาเช่าที่ดินพิพาทสิ้นสุดลง โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองได้ เมื่อสัญญาเช่าที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยระงับไป แล้ว จำเลยผู้เช่ายังคงอยู่ในที่ดินพิพาทตลอดมาโจทก์ย่อมไม่อาจเรียกค่าเช่าจากจำเลยหลังจากนั้นได้คงเรียกได้แต่ค่าเสียหายการที่จำเลยได้ทำบันทึกข้อตกลงยินยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์เป็นรายเดือนหากจำเลยไม่ยอมออกไปจากที่ดินพิพาทตามที่กำหนดการกำหนดค่าเสียหายดังกล่าวเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 ซึ่งหากกำหนดไว้สูงเกินส่วน ศาลย่อมลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8118/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน – สัญญาเช่าจากผู้ไม่มีสิทธิ – การละเมิดสิทธิ – การฟ้องขับไล่
โจทก์ครอบครองที่พิพาทโดยมีเจตนายึดถือเพื่อตนโจทก์จึงมีสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1367 จำเลยอยู่ในที่พิพาทของโจทก์โดยจำเลยไปเช่า ที่พิพาทจากบุคคลที่ไม่มีสิทธิให้เช่า จำเลยย่อมไม่อาจ อ้างสัญญาเช่ามาใช้ยันโจทก์ได้ การอยู่ในที่ดินของจำเลย จึงเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ โจทก์มีสิทธิฟ้องขับไล่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7808/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขับไล่สระว่ายน้ำที่โอนกัน และฟ้องแย้งค่าคลอรีน ศาลไม่รับฟ้องแย้งเพราะไม่เกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิม
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าสระว่ายน้ำจากผู้ให้เช่าเดิมและบริวารออกไปจากสระว่ายน้ำเพราะโจทก์ได้รับโอนสระว่ายน้ำจากผู้ให้เช่าเดิมแล้ว และเมื่อสัญญาเช่าครบกำหนดจำเลยไม่ยอมส่งมอบสระว่ายน้ำคืนโจทก์ จำเลยให้การว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะรับโอนทรัพย์ที่เช่าซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมาโดยไม่ชอบโจทก์จึงไม่ได้รับสิทธิและหน้าที่ของผู้ให้เช่าเดิมและฟ้องแย้งอ้างว่าโจทก์ค้างชำระค่าสารคลอรีนขอให้บังคับโจทก์ชำระให้จำเลย เท่ากับจำเลยอ้างว่าหากโจทก์รับโอนทรัพย์ได้หรือโจทก์มีอำนาจฟ้องโจทก์ก็ต้องรับผิดค่าคลอรีน ตามสัญญา หรือโจทก์มีหน้าที่ตามสัญญาซึ่งตอนแรกอ้างว่าไม่มีนั่นเอง ฟ้องแย้งของจำเลยจึงเป็นฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไขไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมอันพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสาม ไม่เป็นฟ้องแย้งที่จะรับไว้พิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7333/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของคำพิพากษาศาลฎีกาที่ขัดแย้งกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์: ฟ้องขับไล่ไม่ซ้ำคดีเดิม
โจทก์เคยฟ้องให้จำเลยและบริวารรื้อถอนบ้านเลขที่ 50/4 ออกไปจากที่ดินโฉนดเลขที่พิพาท คดีถึงที่สุดแล้วตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกฟ้อง โดยศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของทรัพย์มรดกของ ช. และจำเลยมีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทในฐานะทายาทของ ช. ส่วนจำเลยคดีนี้กับพวกรวม 5 คน ก็เคยฟ้องโจทก์ขอแบ่งที่ดินพิพาทแปลงเดียวกันนี้และคดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ให้ยกฟ้อง โดยศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่าที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของทรัพย์มรดกของ ช. ซึ่งได้มีการแบ่งปันทรัพย์มรดกแก่ทายาททุกคนและทายาททุกคนเข้าครอบครองที่ดินมรดกที่ได้รับส่วนแบ่งมาเป็นของตนแล้ว จำเลยคดีนี้กับพวกจึงไม่มีสิทธิขอแบ่งอีก ดังนี้ กรณีถือได้ว่าคำพิพากษาอันเป็นที่สุดของสองศาลซึ่งต่างชั้นกันขัดกัน ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 146 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ถือตามคำพิพากษาของศาลที่สูงกว่า ซึ่งคดีนี้ก็คือคำพิพากษาศาลฎีกา ดังนั้น เมื่อคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ถูกงดเสียโดยคำพิพากษาศาลฎีกา โจทก์ย่อมอาศัยผลของคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีแพ่งดังกล่าวซึ่งผูกพันโจทก์จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 มาฟ้องบังคับตามสิทธิของตนได้ ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่ซ้ำกับคดีแพ่งเรื่องก่อนที่โจทก์เคยฟ้องจำเลย