พบผลลัพธ์ทั้งหมด 831 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1658/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีซ้ำเกี่ยวกับสัญญาเช่าเดิม แม้ฟ้องก่อนมีคำพิพากษาในคดีก่อน ก็ต้องห้ามตามมาตรา 144
คดีก่อนจำเลยฟ้องขับไล่โจทก์ว่าสัญญาเช่าที่ทำกันไว้ 7 ปี ใช้บังคับได้เพียง 3 ปีและโจทก์ผิดสัญญาเช่าเพราะไม่ชำระค่าเช่าสัญญาเช่าจึงเป็นอันเลิกกัน โจทก์ให้การว่ามิได้ผิดสัญญาเช่า ขอให้ยกฟ้อง การที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ว่าสัญญาเช่ามีกำหนด3 ปี ขึ้นไป แต่ไม่ได้จดทะเบียนจึงตกเป็นโมฆะ ขอให้จำเลยคืนเงินมัดจำตามสัญญาเช่าให้แก่โจทก์ ย่อมเป็นการขัดกับคำให้การของโจทก์ในคดีก่อนเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตทั้งคำฟ้องคดีนี้ก็เป็นเรื่องที่ให้ศาลวินิจฉัยเกี่ยวกับสัญญาเช่าในทรัพย์สินเดียวกับคดีก่อนที่สืบเนื่องมาจากประเด็นเดียวกับที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยในคดีก่อน จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144แม้ว่าโจทก์จะได้ฟ้องคดีนี้ไว้ก่อนที่ศาลในคดีก่อนจะได้วินิจฉัยชี้ขาดก็ตาม แต่เมื่อศาลในคดีก่อนได้พิจารณาชี้ขาดแล้ว ก็ตกอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 144 เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 764/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องคดีจำหน่ายยาเสพติด และสิทธิผู้ต้องหาในการมีทนายความในชั้นสอบสวน
การที่โจทก์ฟ้องว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 5 เม็ด น้ำหนักรวม 0.43 กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนดังกล่าว จำนวน 2 เม็ด ให้แก่สายลับผู้ล่อซื้อในราคา 200 บาท อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายนั้น เป็นการบรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดต่าง ๆ ตามมาตรา 158(5) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ส่วนการที่เมทแอมเฟตามีนของกลางที่เป็นสารบริสุทธิ์จะมีน้ำหนักเท่าใดนั้น เป็นเรื่องที่จะนำสืบในชั้นพิจารณาเพื่อประกอบดุลพินิจในการกำหนดโทษของศาลเท่านั้น
แม้ในชั้นสอบสวนจำเลยจะมีสิทธิตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 241 ที่ให้ผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำตนได้ก็ตาม แต่ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงเลยว่าในชั้นสอบสวนจำเลยได้แสดงความประสงค์ ต่อพนักงานสอบสวนว่าต้องการทนายความหรือผู้ใดเข้าฟังการสอบปากคำแล้วพนักงานสอบสวนไม่ดำเนินการให้ ทั้งไม่มีกฎหมายใดบังคับให้พนักงานสอบสวนต้องแจ้งสิทธิดังกล่าวให้ผู้ต้องหาทราบก่อนทำการสอบสวน ดังนั้น การที่พนักงานสอบสวนไม่ระบุแจ้งสิทธินั้นให้จำเลยทราบในบันทึกคำให้การของผู้ต้องหาเสียก่อนทำการสอบปากคำ ก็ไม่ทำให้การสอบสวนไม่ชอบแต่อย่างใด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
แม้ในชั้นสอบสวนจำเลยจะมีสิทธิตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 241 ที่ให้ผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำตนได้ก็ตาม แต่ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงเลยว่าในชั้นสอบสวนจำเลยได้แสดงความประสงค์ ต่อพนักงานสอบสวนว่าต้องการทนายความหรือผู้ใดเข้าฟังการสอบปากคำแล้วพนักงานสอบสวนไม่ดำเนินการให้ ทั้งไม่มีกฎหมายใดบังคับให้พนักงานสอบสวนต้องแจ้งสิทธิดังกล่าวให้ผู้ต้องหาทราบก่อนทำการสอบสวน ดังนั้น การที่พนักงานสอบสวนไม่ระบุแจ้งสิทธินั้นให้จำเลยทราบในบันทึกคำให้การของผู้ต้องหาเสียก่อนทำการสอบปากคำ ก็ไม่ทำให้การสอบสวนไม่ชอบแต่อย่างใด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5849/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีภาษีอากรเกินกำหนด และเหตุสุดวิสัยที่ไม่ได้รับการยอมรับ
โจทก์ได้รับคำวินิจฉัยอุทธรณ์เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2543 ต่อมาวันที่ 20 พฤศจิกายน 2543 โจทก์ฟ้องขอเพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ทั้งได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาในการวางเงินค่าธรรมเนียมศาลโดยอ้างเหตุว่าเกิดอุทกภัยขึ้นในภูมิลำเนาของโจทก์อย่างรุนแรง โจทก์ปิดกิจการที่ทำอยู่ชั่วคราว แก่โจทก์ไม่สามารถนำเงินค่าธรรมเนียมศาลมาชำระได้ภายในเวลาที่ศาลกำหนด ต่อมาวันที่ 10 ตุลาคม 2544 โจทก์จึงนำคดีเดียวกันมาฟ้องใหม่พ้นคดีนี้ พร้อมกับยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาในการยื่นฟ้องโดยอ้างเหตุสุดวิสัยข้างต้น ตามคำร้องดังกล่าวของอุทกภัยได้ผ่านพ้นไปนานแล้ว ถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัยตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ที่โจทก์จะนำมาอ้างเพื่อขอขยายระยะเวลาในการยื่นฟ้องจำเลยในเรื่องเดียวกันพ้นคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5719/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดี เมื่อมีข้อตกลงอนุญาโตตุลาการยังไม่สิ้นสุด
การตั้งอนุญาโตตุลาการเป็นวิธีการระงับข้อพิพาทโดยคู่สัญญาไม่จำต้องนำคดีมาสู่ศาลก่อน ซึ่งตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 มาตรา 23 และ 30 บัญญัติให้คู่ความนำคดีมาร้องขอต่อศาลในกรณีที่คู่กรณีฝ่ายใดไม่ยอมปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ เมื่อมีข้อตกลงให้ระงับข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 3 โดยอนุญาโตตุลาการ หลังจากมีข้อพิพาทแล้วจำเลยที่ 3 เสนอข้อพิพาทให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นอนุญาโตตุลาการ และจำเลยที่ 1 ตั้งจำเลยที่ 4 เป็นอนุญาโตตุลาการ แม้โจทก์จะมีข้อโต้แย้งว่าสัญญาอนุญาโตตุลาการสมบูรณ์หรือไม่ หรืออนุญาโตตุลาการมีอำนาจวินิจฉัยหรือไม่ก็เป็นเรื่องที่โจทก์จะไปว่ากล่าวเป็นข้อต่อสู้ในชั้นพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ เมื่อไม่ปรากฎว่าได้มีการดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นอนุญาโตตุลาการและอนุญาโตตุลาการได้มีคำวินิจฉัยแล้ว กรณีจึงยังไม่มีข้อโต้แย้งสิทธิต่อโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3542/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องคดีเพิกถอนคำวินิจฉัยเครื่องหมายการค้า ไม่จำกัดระยะเวลา และการยื่นคำฟ้องเกินเวลาทำการ
แม้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่ปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ยืนตามคำสั่งของนายทะเบียนจะเป็นที่สุดตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 18 วรรคหนึ่ง แต่โจทก์ก็มีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยนั้นได้ หากเป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการใช้สิทธิทางศาลในกรณีเช่นนี้ ไม่มีบทบัญญัติใดในพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ หรือในกฎหมายอื่นใดบัญญัติให้โจทก์ต้องใช้สิทธิทางศาลหรือฟ้องคดีภายใน 90 วันนับแต่วันทราบคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า โจทก์ย่อมมีสิทธิยื่นฟ้องคดีนี้โดยไม่จำต้อง ขอให้ศาลขยายกำหนดระยะเวลาในการยื่นคำฟ้องแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3201/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีมรดกเกินอายุความและการแบ่งทรัพย์มรดกเสร็จสิ้นแล้ว
โจทก์ฟ้องเรียกที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกของนาง ผ. เจ้ามรดก ภายหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่ความตายเป็นเวลาถึง 37 ปีเศษ จึงพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เจ้ามรดกตาย หรือนับแต่เมื่อทายาทโดยธรรมได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก ซึ่งต้องห้ามมิให้ฟ้องคดีมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 แต่หากโจทก์ซึ่งเป็นทายาทได้ครอบครองทรัพย์มรดกที่ยังมิได้แบ่งกัน ก็ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกนั้นได้แม้ว่าจะล่วงพ้นกำหนดอายุความตามมาตรา 1748 แห่งประมวลกฎหมายดังกล่าว ดังนั้นโจทก์จึงต้องนำสืบให้ได้ความโดยแน่ชัดว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกที่ยังมิได้แบ่งกันและทายาทอื่นได้ครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์
ทรัพย์มรดกที่ดินของนาง ผ. เจ้ามรดกได้แบ่งปันให้แก่นาย ร. นาง บ. และนาย ส. ทายาทของนาง ผ. เจ้ามรดก และบุคคลทั้งสามดังกล่าวเข้าครอบครองที่ดินพิพาทเป็นส่วนสัด อันเป็นการแบ่งปันทรัพย์มรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1750 วรรคแรก จึงถือว่าการแบ่งปันมรดกเสร็จสิ้นแล้ว และนับแต่นั้นมาย่อมถือว่านาย ร. นาย ส. และนาง บ. ครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อตน มิใช่ครอบครองแทนโจทก์ ดังนั้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเอาส่วนแบ่งมรดกอีก
ทรัพย์มรดกที่ดินของนาง ผ. เจ้ามรดกได้แบ่งปันให้แก่นาย ร. นาง บ. และนาย ส. ทายาทของนาง ผ. เจ้ามรดก และบุคคลทั้งสามดังกล่าวเข้าครอบครองที่ดินพิพาทเป็นส่วนสัด อันเป็นการแบ่งปันทรัพย์มรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1750 วรรคแรก จึงถือว่าการแบ่งปันมรดกเสร็จสิ้นแล้ว และนับแต่นั้นมาย่อมถือว่านาย ร. นาย ส. และนาง บ. ครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อตน มิใช่ครอบครองแทนโจทก์ ดังนั้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเอาส่วนแบ่งมรดกอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 299/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีและการย้อนสำนวนเพื่อพิจารณาปัญหาที่ศาลล่างยังไม่ได้วินิจฉัย
ปัญหาข้อเท็จจริงตามฎีกาของโจทก์ที่ว่า โจทก์ได้ทราบถึงการตายของจำเลยที่ 1 เมื่อใดนั้น ศาลชั้นต้นวินิจฉัยฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ได้ทราบถึงการตายของจำเลยที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม 2536 โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์โต้แย้งคัดค้าน ว่าคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นดังกล่าวไม่ถูกต้อง จึงเป็นอันยุติ
อายุความไม่ใช่สภาพแห่งข้อหา โจทก์จึงไม่จำต้องกล่าวมาในคำฟ้องว่าคดีของโจทก์ไม่ขาดอายุความ เพราะเหตุใด
ศาลล่างทั้งสองยังมิได้วินิจฉัยในปัญหาตามฎีกาของโจทก์และคดีต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริง ศาลฎีกาย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) ประกอบมาตรา 247
อายุความไม่ใช่สภาพแห่งข้อหา โจทก์จึงไม่จำต้องกล่าวมาในคำฟ้องว่าคดีของโจทก์ไม่ขาดอายุความ เพราะเหตุใด
ศาลล่างทั้งสองยังมิได้วินิจฉัยในปัญหาตามฎีกาของโจทก์และคดีต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริง ศาลฎีกาย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2540/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีของสภาอุตสาหกรรมจังหวัด: ไม่เป็นนิติบุคคลแยกต่างหาก
แม้โจทก์จะได้รับการสถาปนาจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยขึ้นเป็นสภาอุตสาหกรรมจังหวัดลำดับที่ 2 โจทก์ก็ยังคงเป็นเพียงส่วนหนึ่งของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเท่านั้น เพราะตามพระราชบัญญัติสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยพ.ศ. 2530 มิได้กำหนดให้กลุ่ม "อุตสาหกรรม" หรือ "กลุ่มท้องที่" ที่สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยจัดตั้งขึ้นเป็นนิติบุคคลแยกเป็นต่างหากแต่ประการใด จึงถือได้ว่าโจทก์เป็นเพียงสำนักงานสาขาในจังหวัดอื่นของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1892/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องค่าบริการโทรศัพท์: การฟ้องคดีเกิน 2 ปี นับจากวันที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องทำให้คดีขาดอายุความ
การที่โจทก์จัดให้มีบริการโทรศัพท์และเรียกเก็บเงินประกอบธุรกิจใช้บริการโทรศัพท์ถือว่าโจทก์เป็นบุคคลผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่าง ๆ เรียกเอาสินจ้างอันพึงจะได้รับในการนั้น สิทธิเรียกร้องค่าใช้บริการโทรศัพท์ของโจทก์จึงมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(7) เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องเกินกว่า2 ปี นับแต่วันที่โจทก์สามารถใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระเงินค่าใช้บริการคดีโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1455/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่พนักงานอัยการควบคุมตัวเยาวชนมาศาลเมื่อฟ้องคดีอาญา แม้สถานพินิจปล่อยตัวชั่วคราว
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาฯไม่ได้บัญญัติเกี่ยวกับเรื่องที่พนักงานอัยการโจทก์มีหน้าที่ต้องควบคุมตัวจำเลยซึ่งเป็นเยาวชนมาศาลขณะยื่นฟ้องหรือไม่ แต่มาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาบังคับใช้แก่คดี ซึ่งตามมาตรา 165 ที่กำหนดให้พนักงานอัยการโจทก์คุมตัวจำเลยมาศาลในวันฟ้องนั้นสามารถนำมาใช้บังคับแก่คดีเด็กหรือเยาวชนได้ และไม่เป็นการขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวแต่อย่างใด ดังนั้น พนักงานอัยการโจทก์จึงมีหน้าที่ต้องควบคุมตัวจำเลยซึ่งเป็นเยาวชนมาศาลขณะยื่นฟ้อง เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยถูกควบคุมตัวที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครราชสีมาแล้วมีการประกันตัวไป แต่ภายหลังสถานพินิจดังกล่าวไม่อาจส่งตัวจำเลยต่อศาลในวันฟ้องได้เนื่องจากจำเลยถูกจับกุมในอีกคดีหนึ่งที่จังหวัดลพบุรี กรณีจึงเป็นเรื่องระหว่างการควบคุมตัวจำเลยในชั้นสอบสวนโดยอยู่ในอำนาจของผู้อำนวยการสถานพินิจ ไม่เกี่ยวกับศาลประกอบกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2543 ที่แก้ไขใหม่ก็มิได้บัญญัติให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลางเป็นผู้รับผิดชอบงานของสถานพินิจทั่วราชอาณาจักรดังที่บัญญัติไว้เดิมทั้งในปัจจุบันสถานพินิจทั่วราชอาณาจักรก็เป็นหน่วยงานที่แยกออกไปจากศาลแล้ว ดังนั้น ในชั้นควบคุมตัวจำเลยในสถานพินิจจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยอยู่ในความควบคุมของศาล ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่ประทับฟ้องโจทก์ไว้พิจารณาจึงชอบแล้ว