คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
มรณะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 41 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 973/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องร้องเกี่ยวกับที่ดินที่ตกเป็นของทายาท โดยอ้างสัญญาต่างตอบแทน มิใช่การบังคับตามสัญญาหลังมรณะ
โจทก์ฟ้องว่า ช.บิดาโจทก์จำเลยได้เอาที่ดินเนื้อที่ 19 ไร่เศษมาตีเป็นทองคำหมั้นให้แก่ ข. 6 ไร่ในเวลาที่โจทก์กับ ข.สมรสกัน และกองทุนให้โจทก์กับ ข. อีก 4 ไร่ รวมเป็น 10 ไร่ โจทก์กับ ข.มีบุตรคนหนึ่ง ข.ตาย ที่ 10 ไร่จึงตกได้แก่โจทก์และบุตร จึงขอให้ศาลแสดงว่าโจทก์มีกรรมสิทธิในที่นา 10 ไร่ ห้ามมิให้จำเลยเกี่ยวข้อง ดังนี้ ต้องแปลฟ้องโจทก์ว่า โจทก์มิได้ฟ้องขอให้บังคับจำเลยในฐานะผู้รับมฤดก ช. ให้โอนที่ให้แก่โจทก์ตามสัญญาที่ ช.ทำไว้กับโจทก์และ ข. แต่ฟ้องโดยถือว่าที่ตกเป็นของ ข. และโจทก์แล้ว 10 ไร่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 934/2484

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือยกทรัพย์ที่มีเจตนาให้หลังมรณะ ถือเป็นพินัยกรรม ไม่ใช่การยกทรัพย์ให้เด็ดขาด
ทำหนังสือสัญญายกทรัพย์ให้โดยมีข้อความตัดญาติมิให้ฟ้องร้องเรียกทรัพย์ และผู้ยกทรัพย์ให้ก็ยังปกครองทรัพย์ตลอดมานั้น ต้องถือว่าต้องการยกให้ต่อเมื่อตนตายแล้ว หนังสือนั้นย่อมเป็นพินัยกรรม์ ไม่ใช่หนังสือยกทรัพย์ให้ในขณะมีชีวิต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 172/2481

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ มรณะของจำเลยทำให้สิทธิในการเรียกร้องค่าปรับและแร่ของกลางระงับ
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ปรับจำเลยและริบแร่ของกลางจำเลยได้ชำระค่าปรับแล้วในระหว่างอุทธรณ์จำเลยตายดังนี้ ผู้จัดการมฤดกของจำเลยหมดความชอบธรรมที่จะร้องขอเงินค่าปรับและแร่ของกลางคืน
(หมายเหตุ เรื่องนี้มารดาจำเลยเคยร้องขอรับมฤดกความครั้งหนึ่งแล้วตามฎีกาที่ 1685/2479)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 36/2480

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการทรัพย์สินมรณะ (ปืน) โดยทายาท/ผู้จัดการมรณะ และข้อยกเว้นการริบตามกฎหมายอาวุธปืน
ผู้จัดการมฤดกยึดถือปืนของผู้ตายไว้เป็นเวลานายโดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานและขอรับโอนนั้น มีความผิดแต่ศาลจะริบปืนนั้นตาม ม.45 ไม่ได้ ประมวลวิธีพิจารณาอาญา ม.195-225 ฎีกาข้อกฎหมายซึ่งคู่ความมิได้ยกขึ้นอ้างในชั้นศาลต้นและศาลอุทธรณ์จะยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1040/2475

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินค่าปรับเป็นพินัยหลวงระงับด้วยมรณะ ส่วนสินบนนำจับเป็นหนี้สินทางแพ่ง
เงินค่าปรับเป็นเงินพินัยหลวงย่อมระงับไปด้วยความมรณะเงินสินบนนำจับเป็นหนี้สินทางแพ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 450/2472

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทน-หุ้นส่วนสิ้นสุดเมื่อตัวการ/ผู้เป็นหุ้นส่วนถึงแก่กรรม ตั๋วสัญญาใช้เงินไม่ผูกพันกองมรดก
สัญญาตัวแทนย่อมระงับสิ้นไปด้วยตัวการตาย เมื่อตัวแทนทำตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่บุคคลที่ 3 ๆ ก็ทราบ ตั๋วสัญญาใช้เงินไม่มัดกองมฤดกห้างหุ้นส่วนสามัญย่อมเลิกกันเมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนส่วนคนใดคนหนึ่งตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1664/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำหน่ายหุ้นมรณะ-ฉ้อโกง: การกระทำของภริยาผู้จัดการมรดกไม่ถึงขั้นฉ้อโกง-ศาลมีอำนาจยกฟ้องได้
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งหกขอให้ลงโทษในความผิดฐานยักยอก ชั้นไต่ส่วนมูลฟ้องศาลชั้นต้นให้ประทับรับฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 3 ในความผิดฐานฉ้อโกง และยกฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 6 โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาแก้เป็นว่าให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์และยกคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ประทับฟ้องจำเลยที่ 3 สำหรับอุทธรณ์ของโจทก์ที่โต้แย้งว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 6 เป็นการหลอกหลวงโจทก์อันเป็นความผิดฐานฉ้อโกงนั้น เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยข้อกฎหมายว่าการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดฐานฉ้อโกง เมื่อข้อหายักยอกตามฟ้องและข้อหาฉ้อโกงที่โจทก์อุทธรณ์ทั้งสองข้อหามีอัตราโทษอย่างสูงจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ววินิจฉัยว่าคดีโจทก์ไม่มีมูล พิพากษายกฟ้อง จึงต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของ ป.วิ.อ. มาตรา 170 วรรคหนึ่ง, 193 วรรคหนึ่ง และมาตรา 193 ทวิ ซึ่งนำมาปรับใช้กับคดีในชั้นไต่สวนมูลฟ้องได้เช่นเดียวกับในชั้นพิจารณา คดีโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 6 จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ยกอุทธรณ์ของโจทก์ จึงชอบแล้ว
ส่วนคดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 3 โจทก์ฎีกาข้อกฎหมายว่า แม้ข้อเท็จจริงตามทางไต่สวนมูลฟ้องแตกต่างจากฟ้องก็มิใช่ข้อแตกต่างในสาระสำคัญและจำเลยมิได้หลงต่อสู้ ชั้นไต่สวนมูลฟ้องศาลมีอำนาจใช้ ป.วิ.อ. 192 ได้นั้น เมื่อข้อเท็จจริงตามทางไต่สวนมูลฟ้องฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 กระทำความผิดฐานฉ้อโกง คดีจึงไม่มีข้อเท็จจริงที่จะนำไปสู่การวินิจฉัยข้อกฎหมายตามที่โจทก์ฎีกา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ แม้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 170 บัญญัติว่าคำสั่งของศาลที่ให้คดีมีมูลย่อมเด็ดขาด ซึ่งหมายถึงคู่ความไม่อาจอุทธรณ์ฎีกาโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้คดีมีมูลได้ แต่หากคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลฎีกา และศาลฎีกาเห็นว่าการกระทำของจำเลยที่ 3 ตามทางไต่สวนมูลฟ้องไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง ศาลต้องพิพากษายกฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6306/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอรับรองสิทธิเฉพาะตัวของผู้ร้องหลังมรณะ: ทายาทไม่อาจเป็นคู่ความแทนได้
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่า ผู้ร้องเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ส. ผู้ตาย จึงเป็นกรณีที่ผู้ร้องซึ่งมิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายขอให้ศาลพิพากษาว่าผู้ตายเป็นบุตร เป็นการยื่นคำร้องขอให้ศาลรับรองสิทธิเฉพาะตัวของผู้ร้องโดยแท้ เมื่อสิทธิตามคำร้องของผู้ร้องมิใช่สิทธิอันเป็นมรดกที่จะตกทอดแก่ทายาทได้ แม้ต่อมาผู้ร้องถึงแก่ความตายระหว่างไต่สวนคำร้อง และ ภ. ซึ่งเป็นทนายความของ ป. และ ส. ทายาทโดยธรรมของผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ ก็ไม่อาจเข้าเป็นคู่ความแทนผู้ร้องที่มรณะได้ ศาลชอบที่จะยกคำร้องของ ภ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11578/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมรณะของคู่ความระหว่างพิจารณาคดี ศาลต้องดำเนินการตามกฎหมายก่อนมีคำพิพากษา
ผู้คัดค้านถึงแก่ความตายก่อนอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 ถือว่าผู้คัดค้านถึงแก่ความตายระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 6 จึงเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ภาค 6 ที่จะมีคำสั่งเกี่ยวกับการมรณะของคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาคดีไปโดยที่ยังมิได้ดำเนินการดังกล่าวนั้น เป็นการมิได้ปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. ว่าด้วยการพิจารณาตามมาตรา 243 (2) ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 เป็นการไม่ชอบ ศาลชั้นต้นต้องเลื่อนการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 แล้วส่งสำนวนพร้อมคำพิพากษาคืนไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 6 เพื่อสั่งเกี่ยวกับการมรณะของผู้คัดค้านแล้วมีคำพิพากษาใหม่ต่อไป การที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 และมีคำสั่งรับฎีกาของผู้คัดค้านล้วนเป็นคำสั่งและการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6303/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมรณะของคู่ความระหว่างพิจารณาคดี: ศาลต้องดำเนินการตามกฎหมายก่อนมีคำพิพากษา
จำเลยที่ 1 ได้ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2550 ซึ่งเป็นการถึงแก่กรรมระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 3 และเจ้าหน้าที่ศาลได้รายงานผลการส่งหมายแจ้งวันนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2551 ว่า ส่งไม่ได้เพราะจำเลยที่ 1 ถึงแก่กรรมแล้ว พร้อมทั้งได้เสนอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งแสดงว่าศาลชั้นต้นทราบแล้วว่าจำเลยที่ 1 ถึงแก่กรรมตั้งแต่ก่อนอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 จึงเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ที่จะต้องมีคำสั่งเกี่ยวกับการมรณะของคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42 ดังนั้น ศาลชั้นต้นต้องเลื่อนการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 และดำเนินการเพื่อให้มีคู่ความเข้าแทนที่คู่ความที่ถึงแก่กรรมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42 แล้วส่งสำนวนพร้อมคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 คืนศาลอุทธรณ์ภาค 3 เพื่อสั่งเกี่ยวกับกรณีที่จำเลยที่ 1 ถึงแก่กรรมและมีคำพิพากษาใหม่ต่อไป การที่ศาลชั้นต้นไม่มีคำสั่งประการใดตามที่เจ้าหน้าที่ศาลเสนอรายงานผลการส่งหมายแจ้งนัดดังกล่าวและอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไป แม้ในวันที่อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 จะมีผู้ที่จำเลยทั้งสองเคยแต่งตั้งให้เป็นผู้รับมอบฉันทะของจำเลยทั้งสองได้มาฟังคำพิพากษาแทน แต่ศาลชั้นต้นทราบแล้วว่าจำเลยที่ 1 ถึงแก่กรรมแล้วและยังไม่มีผู้เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยที่ 1 การที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 โดยมิได้ดำเนินการตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42 จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 การอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ของศาลชั้นต้น จึงไม่ชอบ ต่อมาเมื่อพ้นระยะเวลาที่จำเลยที่ 1 จะยื่นฎีกาได้ ศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้จำเลยที่ 2 เข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยที่ 1 จะยื่นฎีกาได้ ศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้จำเลยที่ 2 เข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยที่ 1 รวมทั้งมีคำสั่งให้ขยายระยะเวลาฎีกาแก่จำเลยที่ 2 และมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 2 ล้วนเป็นคำสั่งและการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ
of 5