พบผลลัพธ์ทั้งหมด 181 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3323/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจของผู้จัดการบริษัทในการเป็นนายจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
จำเลยที่ 1 เป็นบริษัทจำกัดมีจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 เป็นกรรมการและจำเลยที่ 5 เป็นผู้จัดการ มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานได้และทำการแทนจำเลยที่ 1 ได้ จำเลยที่ 5 จึงเป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ทำงานแทนกรรมการของจำเลยที่ 1 ต้องถือว่าจำเลยที่ 5เป็นนายจ้างของโจทก์ทั้งยี่สิบสองตามคำนิยามคำว่า นายจ้างในข้อ 2 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2210/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ใบอนุญาตสถานบริการเป็นสิทธิเฉพาะตัว โอนไม่ได้ แม้มอบหมายให้ผู้อื่นถือแทน
ใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการ ตาม พ.ร.บ.สถานบริการ พ.ศ. 2509เป็นใบอนุญาตเฉพาะตัวของผู้รับอนุญาตโดยเฉพาะ จะขออนุญาตแทนกันไม่ได้ และ พ.ร.บ.ฉบับนี้มิได้มีบทบัญญัติว่าด้วยการโอนใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการไว้ แสดงว่าใบอนุญาตตั้งสถานบริการเป็นใบอนุญาตที่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่ระบุไว้จะต้องพิจารณาออกให้เฉพาะตัวผู้ขออนุญาต และผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กำหนดในกฎหมายนี้เท่านั้น กรณีจึงไม่อาจฟ้อง ขอให้บังคับโอนใบอนุญาตให้แก่กันได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2210/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ใบอนุญาตสถานบริการเป็นสิทธิเฉพาะตัว โอนให้ผู้อื่นไม่ได้ แม้ได้รับมอบหมาย
พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. 2509 ตราออกมาเพื่อรักษาไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อย ศีลธรรม วัฒนธรรม และประเพณีอันดีของชาติใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการจึงเป็นใบอนุญาตเฉพาะตัวของผู้รับอนุญาตจะขออนุญาตแทนกันไม่ได้ โจทก์จึงไม่อาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยซึ่งเป็นผู้รับใบอนุญาตให้โอนใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการให้โจทก์โดย อ้างว่าเป็นผู้ถือใบอนุญาตแทนโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1989/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างต้องมีอำนาจจากนายจ้าง การมอบหมายอำนาจให้ผู้อื่นเลิกจ้างต้องชัดเจน
การเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 46 วรรคสอง หมายความถึงการเลิกจ้างโดยนายจ้างหรือผู้มีอำนาจกระทำการแทนนายจ้าง ร. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลย เมื่อไม่ปรากฏว่าภรรยาของ ร. ได้รับมอบหมายจากร.ให้มีอำนาจเลิกจ้างโจทก์การที่ภรรยาของร.ให้ส.ไปบอกโจทก์ว่าไม่ให้มาทำงานกับจำเลย ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1989/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเลิกจ้างลูกจ้างต้องมาจากกรรมการผู้จัดการ หรือผู้ได้รับมอบหมายจากผู้มีอำนาจ
ร.เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยภรรยาของร.ไม่ใช่กรรมการผู้จัดการของจำเลยที่จะมีอำนาจเลิกจ้างพนักงานหรือลูกจ้างของจำเลยได้ และภรรยาของ ร. ไม่ได้รับมอบหมายจากร. ผู้มีอำนาจกระทำแทนจำเลยให้มีอำนาจเลิกจ้างพนักงานหรือลูกจ้างของจำเลย ภรรยาของ ร.จึงไม่มีอำนาจเลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยได้ การที่ภรรยาของ ร.ให้ส. บอกโจทก์ไม่ให้มาทำงานกับจำเลยอีกต่อไป ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1989/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเลิกจ้างพนักงานต้องมาจากกรรมการผู้จัดการ หรือผู้ได้รับมอบหมายจากกรรมการฯ การกระทำของภรรยาผู้บริหารจึงไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง
ภรรยาของกรรมการผู้จัดการของจำเลยมิใช่กรรมการผู้จัดการของจำเลยที่จะมีอำนาจเลิกจ้างพนักงานหรือลูกจ้างของจำเลยได้และภรรยาของกรรมการผู้จัดการของจำเลยมิได้รับมอบหมายจากกรรมการผู้จัดการของจำเลยให้มีอำนาจเลิกจ้างพนักงานหรือลูกจ้างของจำเลย ภรรยาของกรรมการผู้จัดการของจำเลยจึงไม่มีอำนาจเลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นพนักงาน การที่ภรรยากรรมการผู้จัดการของจำเลยบอกโจทก์ไม่ให้มาทำงานต่อไป ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 260/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบหมายหน้าที่ควบคุมทรัพย์สินไม่ถือเป็นการจัดการทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองเป็นลูกจ้างประจำของผู้เสียหายได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่ควบคุมครอบครองรถยนต์บรรทุกของผู้เสียหายกลับนำรถยนต์บรรทุกที่ได้รับมอบหมายไปรับจ้างขนดินโดยทุจริต แต่คำว่าได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่ควบคุมครอบครองทรัพย์สินตามที่โจทก์บรรยายฟ้องมีความหมายต่างกับคำว่าได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 353 ที่โจทก์ขอให้ลงโทษ ถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของผู้เสียหายตามนัยแห่งมาตรา 353ฟ้องโจทก์จึงไม่ครบองค์ประกอบความผิด จะลงโทษจำเลยทั้งสองตามฟ้องไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 260/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบหมายหน้าที่ควบคุมทรัพย์สินไม่ถือเป็นการมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353โดยบรรยายฟ้องว่า "จำเลยเป็นลูกจ้างประจำของผู้เสียหาย ได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่ควบคุมครอบครองรถยนต์บรรทุกของผู้เสียหายกลับนำรถยนต์บรรทุกที่ได้รับมอบหมายไปรับจ้างขนดินโดยทุจริต"เช่นนี้ ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของผู้เสียหายตามนัยบทมาตราดังกล่าว ฟ้องจึงไม่ครบองค์ประกอบความผิดจะลงโทษจำเลยตามฟ้องไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4769/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดี: การโต้แย้งการประเมินราคาและการมอบหมายให้รองจ่าศาลดำเนินการ
เมื่อจำเลยอ้างว่า การกระทำของเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย ในการดำเนินการบังคับคดี กรณีก็ตก อยู่ ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง ซึ่งจำเลยจะต้องเสนอเรื่องต่อศาลภายใน 8 วัน นับแต่วันทราบการฝ่าฝืนคือวันที่ยึดทรัพย์ เมื่อจ่าศาลได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าพนักงานบังคับคดีจากศาลแล้วย่อมมีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการตามกฎหมายและมีอำนาจที่จะมอบหมายให้รองจ่าศาลไปปฏิบัติหน้าที่แทนได้ในเมื่อตนเองไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวได้ การมอบหมายดังกล่าวเป็นเรื่องภายในและอยู่ในความรับผิดชอบของจ่าศาลโดยตรง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2991/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมของนายจ้าง/ตัวการต่อละเมิดของลูกจ้าง/ตัวแทนที่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 เป็นนายจ้างหรือตัวการของจำเลยที่ 1 ทั้งเป็นผู้ใช้ จ้าง วาน หรือมอบหมายให้จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันเกิดเหตุเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในทางการที่จ้างหรือที่ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 2 คำบรรยายฟ้องโจทก์ไม่ได้ขัดแย้งกันและเป็นการยืนยันว่าเหตุเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ ไม่ว่าจำเลยที่ 2 จะเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 หรือเป็นตัวการก็ตามฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม