คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
มัดจำ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 88 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6797/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขาย: การชำระราคาเต็มจำนวนเป็นเงื่อนไขสำคัญ แม้จำเลยริบมัดจำแล้ว โจทก์ต้องชำระส่วนที่เหลือทั้งหมดจึงจะบังคับให้โอนได้
จำเลยทำสัญญาจะขายที่ดินให้โจทก์ โดยโจทก์ได้วางมัดจำไว้บางส่วน ส่วนที่เหลือจะชำระในวันจดทะเบียนโอน เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาจำเลยจึงมีสิทธิริบมัดจำ แต่จำเลยมิได้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาสัญญาจะซื้อจะขายจึงยังมีผลบังคับ เมื่อโจทก์จะให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายต่อไป โจทก์ต้องชำระราคาที่ดินทั้งหมดตามสัญญา จะเพียงแต่ชำระส่วนที่ขาดโดยนำเงินมัดจำที่จำเลยใช้สิทธิริบไปแล้วมาคิดหักไม่ได้ เมื่อโจทก์ไม่ได้เสนอที่จะชำระเงินเต็มตามสัญญา การที่จำเลยไม่โอนที่ดินให้โจทก์จึงไม่ถือว่าจำเลยผิดสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6102/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายเกิดมีผลผูกพัน แม้ยังมิได้ทำเป็นหนังสือ เมื่อมีการวางมัดจำและตกลงกันแล้ว
โจทก์ตกลงซื้อตึกแถวจากจำเลยและได้วางมัดจำไว้แล้วและข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าโจทก์จำเลยมีการตกลงกันว่าจะทำสัญญาจะซื้อจะขายเป็นหนังสือ ดังนั้นแม้จะยังไม่ได้ทำสัญญากันเป็นหนังสือ ก็ถือว่าสัญญาจะซื้อจะขายเกิดมีขึ้นแล้ว โจทก์ก็มีสิทธิฟ้องคดีได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5053/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความเอกสารการรับเงินมัดจำ และความรับผิดของจำเลยในการส่งคืนเงินเมื่อไม่สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ได้
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ตกลงซื้อที่ดินพร้อมตึกแถวจากจำเลย โดยโจทก์วางมัดจำให้จำเลยและจำเลยได้ออกใบเสร็จรับเงินไว้ให้ส่วนราคาที่เหลือโจทก์จะชำระให้จำเลยในวันที่จำเลยจัดการให้เจ้าของกรรมสิทธิ์จัดการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ได้ต่อมาจำเลยไม่สามารถนำเจ้าของที่ดินและตึกแถวมาทำการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ได้ โจทก์จึงให้จำเลยคืนเงินมัดจำ แต่จำเลยเพิกเฉย จึงขอให้จำเลยชำระเงินดังกล่าว จำเลยให้การว่า จำเลยไม่เคยทำหรือให้สัญญาแก่โจทก์ว่าจะจัดการให้เจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทไปทำการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ตึกแถวและที่ดินแก่โจทก์ส่วนใบเสร็จรับเงินที่โจทก์กล่าวอ้างนั้นเป็นใบเสร็จรับเงินที่จำเลยออกเพื่อรับเงินไว้แทน ว.ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยว. รับเงินจำนวนดังกล่าวทั้งหมดไปแล้ว โจทก์ชอบที่จะไล่เบี้ยเอาจาก ว.ขอให้ยกฟ้อง ดังนี้ ในการตีความตามเอกสารใบเสร็จรับเงินที่จำเลยทำขึ้นแล้วมอบไว้ต่อโจทก์นั้น เมื่อไม่มีข้อความว่ารับเงินไว้แทนใครการที่จำเลยให้การว่ารับเงินไว้แทน ว. ลูกจ้างของจำเลย แต่โจทก์ไม่ได้สั่งให้จำเลยรับเงินไว้เพื่อให้จำเลยมอบต่อไปให้ผู้ใด โจทก์จึงเป็นฝ่ายผู้ต้องเสียหายในมูลหนี้ในเงินมัดจำที่มอบไว้ตามหลักฐานเป็นหนังสือ ในกรณีที่มีข้อสงสัยจึงต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่โจทก์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 11

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3458/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน: การละทิ้งการปฏิบัติตามสัญญาและการเลิกสัญญโดยปริยาย
โจทก์ทำสัญญาวางมัดจำจะซื้อที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์จากจำเลยที่ 2สัญญาระบุว่า คู่สัญญาจะทำหนังสือสัญญาซื้อขายต่อกัน แต่มิได้กำหนดเวลาไว้ว่าจะต้องทำสัญญาซื้อขายกันเมื่อใด คู่สัญญาจึงต้องมาตกลงกันอีกครั้งในเวลาอันสมควรว่าจะทำการซื้อขายกันเมื่อใดให้แน่ชัดลงไป แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์และจำเลยที่ 2 ได้ตกลงกำหนดเวลาทำการซื้อขายกัน กลับทิ้งช่วงเวลานานถึง5 ปีเศษ แสดงให้เห็นว่า ต่างไม่นำพาที่จะปฏิบัติตามสัญญาในเวลาอันสมควรฝ่ายใดจะอ้างว่าอีกฝ่ายหนึ่งผิดสัญญาหาได้ไม่ และเป็นที่เห็นได้ว่าต่างฝ่ายต่างสมัครใจเลิกสัญญากันโดยปริยายแล้ว โจทก์และจำเลยที่ 2 ต้องกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นหุ้นส่วนกันจึงต้องคืนเงินมัดจำแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2690/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้สู้ราคาที่ไม่วางมัดจำและการไม่มีอำนาจของเจ้าพนักงานบังคับคดีในการยึดอายัด
การที่ ส.ผู้สู้ราคาสูงสุดในการขายทอดตลาดชั้นเดิมละเลยไม่วางเงินมัดจำค่าซื้อทรัพย์ตามสัญญาจนเจ้าพนักงานบังคับคดีต้องขายทอดตลาดอีกซ้ำหนึ่งและได้เงินเป็นจำนวนสุทธิไม่คุ้มราคาและค่าขายทอดตลาดชั้นเดิมนั้น ส.ผู้สู้ราคาเดิมจะต้องรับผิดในส่วนที่ขาดตาม ป.พ.พ.มาตรา 516 และการกระทำของ ส.ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามกฎหมายแพ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 หาใช่เป็นการโต้แย้งสิทธิหรืออำนาจของเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีทำหนังสือยื่นต่อศาลชั้นต้นขอให้ออกหมายบังคับคดียึดอายัดทรัพย์สินของ ส. ถือได้ว่าเป็นการร้องขอให้บังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ซึ่งผู้ร้องขอจะต้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและจะต้องมีคำพิพากษาของศาลให้ ส. ตกเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาเสียก่อน ประกอบกับเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นแต่เพียงเจ้าพนักงานของศาลในการที่จะบังคับคดีเท่านั้น ไม่มีอำนาจหน้าที่ที่จะเข้าเป็นผู้มีส่วนได้เสียหรือเป็นคู่ความได้ด้วยประการใด เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงไม่มีอำนาจขอให้ออกหมายบังคับคดียึดอายัด•ทรัพย์สินของ ส.โดยไม่ต้องฟ้อง ส.เป็นคดีใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1389/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาทมัดจำซื้อขายที่ดิน: จำเลยยังไม่ผูกพันหนี้หากสัญญาไม่สมบูรณ์หรือชำระหนี้ไม่ได้
เช็คพิพาทเป็นเช็คค่ามัดจำการซื้อขายที่ดินซึ่งจำเลยเป็นผู้ซื้อและสั่งจ่ายให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ขาย และโจทก์นำเช็คพิพาทไปเรียกเก็บเงินแล้วถูกธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่าย แต่เมื่อไม่ได้ความว่า หลังจากทำสัญญาซื้อขายที่ดินแล้วสัญญาซื้อขายยังคงมีอยู่ หรือการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัย หรือฝ่ายใดปฏิบัติผิดสัญญาไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าโจทก์มีสิทธิจัดเอาเช็คพิพาทเป็นการชำระหนี้บางส่วน หรือเป็นการริบมัดจำเพราะโจทก์อาจต้องคืนเช็คพิพาท ตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและ-พาณิชย์ มาตรา 378 จำเลยจึงไม่มีความผูกพันหรือมีหนี้ที่มีอยู่จริงที่จะต้องใช้เงินตามเช็ค คดีของโจทก์จึงไม่มีมูล
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 มาตรา 3
ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่าคดีโจทก์ไม่มีมูล พิพากษา-ยกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
โจทก์ฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกาได้
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ปัญหาว่าคดีของโจทก์มีมูลหรือไม่นั้น เห็นว่าแม้โจทก์จะมีเช็คพิพาทซึ่งมีชื่อจำเลยเป็นผู้สั่งจ่ายไว้ในครอบครอง ทางไต่สวนมูลฟ้องของโจทก์ก็ต้องได้ความด้วยว่าจำเลยมีความผูกพันที่จะต้องใช้เงินตามเช็ค แต่ทางไต่สวนได้ความเพียงว่าเช็คพิพาทเป็นเช็คค่ามัดจำการซื้อขายที่ดินที่จำเลยเป็นผู้ซื้อและสั่งจ่ายให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ขายโดยไม่ได้ความว่าหลังจากการทำสัญญาซื้อขายที่ดินดังกล่าว สัญญาซื้อขายที่ดินยังคงมีอยู่หรือการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัยหรือฝ่ายใดปฏิบัติผิดสัญญาอันจะมีผลให้ส่งคืนหรือจัดเอาเป็นการชำระหนี้บางส่วน หรือให้ริบตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 378 การที่โจทก์นำเช็คพิพาทซึ่งเป็นค่ามัดจำไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารและธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินยังไม่อาจจะคาดหมายได้ว่าโจทก์มีสิทธิจัดเอาเช็คพิพาทเป็นการชำระหนี้บางส่วนหรือเป็นการริบมัดจำ เพราะอาจฟังได้ว่าโจทก์จะต้องส่งคืนก็เป็นได้ ข้อเท็จจริงตามทางไต่สวน-มูลฟ้องของโจทก์ไม่ได้ความว่าจำเลยมีความผูกพันหรือมีหนี้ที่มีอยู่จริงที่จะต้องใช้เงินตามเช็ค คดีของโจทก์ไม่มีมูลความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง
พิพากษายืน.
(สมาน เวทวินิจ - จิระ บุญพจนสุนทร - สมิทธิ์ วราอุบล)ศาลอาญา นายสมศักดิ์ เนตรมัยศาลอุทธรณ์ นายวิชา มหาคุณ
นายสุทัศน์ ศิริมหาพฤกษ์ - ย่อ
สันทนา พ/ท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 116/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันไม่ใช่ “มัดจำ” โจทก์ไม่มีสิทธิริบเงินหรือเรียกร้องตามสัญญาค้ำประกัน
หนังสือสัญญาค้ำประกันเป็นเพียงสัญญาซึ่งจำเลยที่ 2ผู้ค้ำประกันผูกพันต่อโจทก์เพื่อชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 เท่านั้นไม่ใช่สิ่งที่คู่สัญญามอบให้ไว้แก่กันเมื่อทำสัญญา จึงมิใช่มัดจำตามความหมายของ ป.พ.พ. มาตรา 377 โจทก์จะริบเงินจำนวนนี้ในฐานเป็นมัดจำไม่ได้ และจะเรียกให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญาค้ำประกันก็ไม่ได้ เพราะตามสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 2 ตกลงยอมชำระเงินแทนจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์มีสิทธิริบเงินที่วางไว้เป็นประกันเมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกเงินตามสัญญาค้ำประกัน จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องรับผิดชำระเงินให้โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 116/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบเงินประกันซองประกวดราคาที่ไม่ใช่ 'มัดจำ' และผลต่อสัญญาค้ำประกัน
การที่ไม่มีสิ่งใดให้ไว้เป็นมัดจำ เมื่อไม่มีการปฏิบัติตามสัญญาก็ย่อมจะไม่มีมัดจำให้ริบ หนังสือสัญญาค้ำประกันเป็นเพียงสัญญาซึ่งจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันผูกพันต่อโจทก์เพื่อชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 เท่านั้น จึงมิใช่มัดจำตามความหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 377 โจทก์จะริบเงินจำนวนนี้ในฐานะเป็นมัดจำไม่ได้ และจะเรียกให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญาค้ำประกันก็ไม่ได้ เพราะตามสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 2 ตกลงยอมชำระเงินแทนจำเลยที่ 1 ต่อเมื่อโจทก์มีสิทธิริบเงินที่วางไว้เป็นประกัน แต่คดีนี้ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกเงินตามสัญญาค้ำประกันเพราะมิใช่มัดจำเสียแล้ว ดังนั้น จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องชำระเงินให้โจทก์ตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2986/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: คดีเดิมตัดสินสัญญาโมฆะแล้ว โจทก์ฟ้องเรียกมัดจำจากสัญญานั้นอีก จึงเป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
คดีก่อนโจทก์ฟ้องว่า จำเลยผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินซึ่งเป็นที่ดินต้องห้ามขายภายใน 10 ปี โจทก์บอกเลิกสัญญาขอให้บังคับจำเลยคืนมัดจำและเรียกเบี้ยปรับ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเป็นโมฆะ โจทก์ไม่อาจอาศัยสิทธิตามสัญญามาฟ้องจำเลยได้พิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุด คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยคืนมัดจำเนื่องจากสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเป็นโมฆะ มูลคดีทั้งสองเรื่องและคำขอบังคับอย่างเดียวกัน จึงเป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อนซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3784/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยเปลี่ยนใจไม่ขายข้าวโพดหลังรับเงินมัดจำ ไม่เข้าข่ายฉ้อโกง แต่เป็นการผิดสัญญา
จำเลยตกลงจะขายข้าวโพดให้แก่ผู้เสียหาย และผู้เสียหายได้จ่ายเงินค่าข้าวโพดให้จำเลยไปแล้ว ครั้นผู้เสียหายจะไปรับมอบข้าวโพด จำเลยบอกว่าไม่ขายข้าวโพดให้ผู้เสียหายและไม่ยอมให้นำข้าวโพดไป ผู้เสียหายทวงเงินคืน จำเลยบอกว่าไม่มีเงินคืนให้เช่นนี้ เป็นเรื่องจำเลยตกลงจะขายข้าวโพดให้ผู้เสียหายแล้วเปลี่ยนใจไม่ยอมขาย ข้าวโพดที่จะขายมีอยู่จริง ในขณะที่เจรจาตกลงซื้อขายกัน จึงเป็นกรณีที่จำเลยประพฤติผิดสัญญาทางแพ่งเท่านั้นจำเลยไม่มีความผิดฐานฉ้อโกง
of 9