พบผลลัพธ์ทั้งหมด 89 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2027/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งขายทอดตลาดที่มิชอบ เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องแจ้งตามภูมิลำเนาเฉพาะการที่จำเลยแจ้งไว้
บริษัทจำเลยที่ 1 จดทะเบียนว่ามีภูมิลำเนาอยู่บ้านเลขที่ 8/3เจ้าพนักงานบังคับคดีได้แจ้งการขายทอดตลาดให้แก่จำเลยที่ 1 โดยวิธีปิดประกาศ ณ ภูมิลำเนาดังกล่าว จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีมีใจความสำคัญว่าเนื่องจาก จำเลยที่ 1 ได้หยุดกิจการชั่วคราวไม่มีคนอยู่ หากมีเรื่องต้องแจ้งแก่จำเลยที่ 1 ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งไปยังเลขที่ 18 ดังนี้ การที่จำเลยที่ 1ยื่นคำร้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีดังกล่าว เพราะจำเลยที่ 1มีความประสงค์ถือเอาสถานที่ตามคำร้องเป็นภูมิลำเนาเฉพาะการของจำเลยที่ 1 ในการดำเนินคดีนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 49 เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงต้องแจ้งการขายทอดตลาดไปยังภูมิลำเนาเฉพาะการของจำเลยที่ 1 การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งการขายทอดตลาดให้แก่จำเลยที่ 1 โดยวิธีปิดประกาศ ณ ภูมิลำเนาตามที่ปรากฏในทะเบียนหนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร ทั้งที่ได้รับคำร้องแจ้งภูมิลำเนาเฉพาะการก่อนหน้านั้นแล้ว จึงเป็นการแจ้งที่ไม่ชอบ ถือไม่ได้ว่ามีการแจ้งการขายทอดตลาดแก่จำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 306 การขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1749/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการขายทอดตลาดที่มิชอบเนื่องจากสมคบกันกดราคาและเจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติมิชอบ
เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงจากการขายทอดตลาดว่า ผู้เข้าสู้ราคาสมคบกันกดราคาให้ต่ำจากราคาปกติไปมาก และผู้เข้าสู้ราคาทั้งหมดทำงานเกี่ยวข้องกับศาล ทำให้มีเหตุน่าเชื่อว่าการประมูลซื้อทรัพย์ของผู้ประกันในการขายทอดตลาดจะไม่ได้กระทำอย่างตรงไปตรงมาเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 513ประกอบกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 308 เมื่อความปรากฏต่อศาลโดยชัดแจ้ง ศาลย่อมมีอำนาจสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดที่กระทำโดยไม่ชอบนั้นเสียเองได้ เพื่อให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมตามที่เห็นสมควรตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 27 และ 296 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5828/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีขัดแย้งกับสัญญาประนีประนอมยอมความ การยึดทรัพย์โดยมิชอบ
ผู้ร้องขัดทรัพย์อ้างว่าที่ดินที่เจ้าพนักงานบังคับคดี ยึดมาใน คดี นี้เป็นของผู้ร้อง ต่อมาโจทก์และผู้ร้องทำสัญญา ประนีประนอม ยอมความและศาลพิพากษาตามยอมให้ผู้ร้องชำระเงิน แก่ โจทก์ หาก ผิดนัดยอมให้โจทก์บังคับคดียึดที่ดินดังกล่าว และทรัพย์อื่น ๆ ของผู้ร้องโจทก์และผู้ร้องได้ลงชื่อในสัญญา ประนีประนอมยอมความต่อหน้าศาลจึงเป็นสัญญาที่ใช้บังคับได้ เมื่อ ผู้ร้องผิดสัญญาโจทก์ก็ชอบที่จะขอให้ศาลออกหมายบังคับคดี ยึดทรัพย์ดังที่ตกลงไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความมาบังคับคดีได้ แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ขอและศาลได้ออกหมายบังคับคดีแต่อย่างใด การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ตามคำสั่งศาล ที่ยึดไว้ซึ่งเป็นทรัพย์ส่วนหนึ่งที่ตกลงกันไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น ถือไม่ได้ว่าเป็นการบังคับคดีตาม สัญญาประนีประนอมยอมความ แต่ถือได้ว่าเป็นการยึดและขายทอดตลาด ทรัพย์โดยมิได้ออกหมายบังคับคดีจึงเป็นการมิชอบ ปัญหาดังกล่าว เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยได้เอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3802-3803/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีที่มิชอบ การขออนุมัติกำหนดเงินได้สุทธิ และการเพิกถอนการประเมินภาษี
++ คดีแดงที่ 3802-3803/2534 ++
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ ++
++
บทบัญญัติของมาตรา 21 และ 25 แห่งประมวลรัษฎากรอันเป็นบทบัญญัติห้ามมิให้อุทธรณ์การประเมินนั้น กฎหมายมิได้กำหนดเป็นเด็ดขาดว่า ถ้าไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกจะต้องห้ามอุทธรณ์ในทุกกรณี แต่จะต้องห้ามอุทธรณ์ก็ต่อเมื่อไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกโดยไม่มีเหตุอันสมควรเท่านั้นเมื่อปรากฏว่าโจทก์ทั้งสองจำต้องอยู่ต่างประเทศตามความจำเป็นของสถานการณ์บ้านเมืองในขณะนั้นซึ่งเป็นที่เห็นได้ว่า โจทก์ทั้งสองไม่อาจกลับเข้ามาดำเนินการอย่างใด ๆ ในประเทศไทยได้ เพราะหากเข้ามาจะก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยของบ้านเมือง จึงถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองมีเหตุอันสมควรที่ไม่อาจจะปฏิบัติตามหมายเรียกได้ และโจทก์ทั้งสองได้ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนด อีกทั้งได้ฟ้องคดีต่อศาลภายในกำหนดนับแต่วันรับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ด้วย โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ได้
การที่เจ้าพนักงานประเมินหมายเรียกเฉพาะโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นสามีเท่านั้นจะถือเอาว่าเป็นการออกหมายเรียกโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นภริยาด้วยไม่ได้ เพราะตามประมวลรัษฎากรมาตรา 19 และ 23 กำหนดไว้ชัดเจนว่า ให้ออกหมายเรียกตัวผู้นั้นมาไต่สวน ทั้งนี้แม้มาตรา57 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร จะบัญญัติให้กรณีสามีและภริยาที่อยู่ร่วมกันตลอดปีภาษีที่ล่วงมาแล้วให้ถือเอาเงินได้พึงประเมินของภริยาเป็นเงินได้ของสามี และให้สามีมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการยื่นรายการและเสียภาษีก็ตาม ก็เป็นบทบัญญัติในเรื่องการกำหนดตัวผู้มีหน้าที่รับผิดชอบเสียภาษี แต่ตามมาตรา 19 และ 23 เป็นเรื่องการออกหมายเรียกตรวจสอบการเสียภาษีอันเป็นขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้ให้เจ้าพนักงานประเมินปฏิบัติ เพื่อที่จะให้ผู้ถูกประเมินได้รู้ถึงผลของการที่ตนจะต้องถูกบังคับให้รับผิดเพิ่มขึ้น เมื่อเจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินโดยไม่ออกหมายเรียกโจทก์ที่ 2 มาไต่สวนก่อนตามขั้นตอนของประมวลรัษฎากร มาตรา 19และ 23 การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเกี่ยวกับโจทก์ที่ 2 จึงเป็นการไม่ชอบ และย่อมส่งผลให้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์พลอยไม่ชอบด้วยกฎหมายไปด้วย
กำหนดเวลาห้าปีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19 มิใช่บทบัญญัติเรื่องอายุความในการเรียกร้องให้ชำระภาษี แต่เป็นบทบัญญัติกำหนดระยะเวลาให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกมาตรวจสอบไต่สวน เมื่อเจ้าพนักงานประเมินมิได้ใช้อำนาจในกำหนดเวลาดังกล่าว อำนาจออกหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินตามมาตรา 19จึงหมดไป อำนาจที่จะประเมินตามมาตรา 20 ก็ดี และอำนาจที่จะกำหนดเงินได้สุทธิตามมาตรา 49 ก็ดี จึงไม่อาจมีขึ้นได้ และปัญหาข้อนี้แม้โจทก์ที่ 1 จะมิได้ยกขึ้นอ้างในฎีกาแต่เมื่อการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาเห็นสมควรที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
บทบัญญัติมาตรา 49 แห่งประมวลรัษฎากรที่กำหนดให้ต้องขอนุมัติอธิบดีกรมสรรพากรก่อนนั้น หมายถึงเฉพาะกรณีที่จะกำหนดเงินได้สุทธิเท่านั้น ส่วนกรณีการออกหมายเรียกเพื่อไต่สวนเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานประเมินที่จะทำได้ตามมาตรา 19 และ23 ซึ่งทั้งสองมาตรานี้กฎหมายมิได้กำหนดไว้ให้ต้องขออนุมัติอธิบดีกรมสรรพากรก่อนแต่อย่างใด
การประเมินโดยวิธีการกำหนดเงินได้สุทธิของโจทก์นั้น เจ้าพนักงานประเมินได้รวบรวมรายได้ของโจทก์ทั้งสองจากทรัพย์สินต่าง ๆ คือ เงินฝากในธนาคารที่ดิน บ้าน รถยนต์ และรายจ่าย แล้วนำเงินได้นั้นมาหักเงินทีได้รับยกเว้นภาษี หักค่าใช้จ่ายให้ตามกฎหมาย และหักค่าลดหย่อนแล้ว จึงกำหนดส่วนที่เหลือเป็นเงินได้สุทธิ เช่นนี้ ถือได้ว่าเป็นวิธีการคำนวณกำหนดเงินได้สุทธิที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ ++
++
บทบัญญัติของมาตรา 21 และ 25 แห่งประมวลรัษฎากรอันเป็นบทบัญญัติห้ามมิให้อุทธรณ์การประเมินนั้น กฎหมายมิได้กำหนดเป็นเด็ดขาดว่า ถ้าไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกจะต้องห้ามอุทธรณ์ในทุกกรณี แต่จะต้องห้ามอุทธรณ์ก็ต่อเมื่อไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกโดยไม่มีเหตุอันสมควรเท่านั้นเมื่อปรากฏว่าโจทก์ทั้งสองจำต้องอยู่ต่างประเทศตามความจำเป็นของสถานการณ์บ้านเมืองในขณะนั้นซึ่งเป็นที่เห็นได้ว่า โจทก์ทั้งสองไม่อาจกลับเข้ามาดำเนินการอย่างใด ๆ ในประเทศไทยได้ เพราะหากเข้ามาจะก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยของบ้านเมือง จึงถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองมีเหตุอันสมควรที่ไม่อาจจะปฏิบัติตามหมายเรียกได้ และโจทก์ทั้งสองได้ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนด อีกทั้งได้ฟ้องคดีต่อศาลภายในกำหนดนับแต่วันรับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ด้วย โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ได้
การที่เจ้าพนักงานประเมินหมายเรียกเฉพาะโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นสามีเท่านั้นจะถือเอาว่าเป็นการออกหมายเรียกโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นภริยาด้วยไม่ได้ เพราะตามประมวลรัษฎากรมาตรา 19 และ 23 กำหนดไว้ชัดเจนว่า ให้ออกหมายเรียกตัวผู้นั้นมาไต่สวน ทั้งนี้แม้มาตรา57 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร จะบัญญัติให้กรณีสามีและภริยาที่อยู่ร่วมกันตลอดปีภาษีที่ล่วงมาแล้วให้ถือเอาเงินได้พึงประเมินของภริยาเป็นเงินได้ของสามี และให้สามีมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการยื่นรายการและเสียภาษีก็ตาม ก็เป็นบทบัญญัติในเรื่องการกำหนดตัวผู้มีหน้าที่รับผิดชอบเสียภาษี แต่ตามมาตรา 19 และ 23 เป็นเรื่องการออกหมายเรียกตรวจสอบการเสียภาษีอันเป็นขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้ให้เจ้าพนักงานประเมินปฏิบัติ เพื่อที่จะให้ผู้ถูกประเมินได้รู้ถึงผลของการที่ตนจะต้องถูกบังคับให้รับผิดเพิ่มขึ้น เมื่อเจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินโดยไม่ออกหมายเรียกโจทก์ที่ 2 มาไต่สวนก่อนตามขั้นตอนของประมวลรัษฎากร มาตรา 19และ 23 การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเกี่ยวกับโจทก์ที่ 2 จึงเป็นการไม่ชอบ และย่อมส่งผลให้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์พลอยไม่ชอบด้วยกฎหมายไปด้วย
กำหนดเวลาห้าปีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19 มิใช่บทบัญญัติเรื่องอายุความในการเรียกร้องให้ชำระภาษี แต่เป็นบทบัญญัติกำหนดระยะเวลาให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกมาตรวจสอบไต่สวน เมื่อเจ้าพนักงานประเมินมิได้ใช้อำนาจในกำหนดเวลาดังกล่าว อำนาจออกหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินตามมาตรา 19จึงหมดไป อำนาจที่จะประเมินตามมาตรา 20 ก็ดี และอำนาจที่จะกำหนดเงินได้สุทธิตามมาตรา 49 ก็ดี จึงไม่อาจมีขึ้นได้ และปัญหาข้อนี้แม้โจทก์ที่ 1 จะมิได้ยกขึ้นอ้างในฎีกาแต่เมื่อการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาเห็นสมควรที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
บทบัญญัติมาตรา 49 แห่งประมวลรัษฎากรที่กำหนดให้ต้องขอนุมัติอธิบดีกรมสรรพากรก่อนนั้น หมายถึงเฉพาะกรณีที่จะกำหนดเงินได้สุทธิเท่านั้น ส่วนกรณีการออกหมายเรียกเพื่อไต่สวนเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานประเมินที่จะทำได้ตามมาตรา 19 และ23 ซึ่งทั้งสองมาตรานี้กฎหมายมิได้กำหนดไว้ให้ต้องขออนุมัติอธิบดีกรมสรรพากรก่อนแต่อย่างใด
การประเมินโดยวิธีการกำหนดเงินได้สุทธิของโจทก์นั้น เจ้าพนักงานประเมินได้รวบรวมรายได้ของโจทก์ทั้งสองจากทรัพย์สินต่าง ๆ คือ เงินฝากในธนาคารที่ดิน บ้าน รถยนต์ และรายจ่าย แล้วนำเงินได้นั้นมาหักเงินทีได้รับยกเว้นภาษี หักค่าใช้จ่ายให้ตามกฎหมาย และหักค่าลดหย่อนแล้ว จึงกำหนดส่วนที่เหลือเป็นเงินได้สุทธิ เช่นนี้ ถือได้ว่าเป็นวิธีการคำนวณกำหนดเงินได้สุทธิที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1960/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ให้เงินเพื่อช่วยเหลือบุตรเข้าทำงานโดยมิชอบ ไม่เป็นผู้เสียหายในคดีฉ้อโกง
การที่ บ. และ ส. ตกลงให้เงินแก่จำเลยเพื่อนำไปมอบให้แก่คณะกรรมการสอบ หรือผู้สั่งบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ ในตำแหน่งเสมียนได้ เพื่อให้ช่วยเหลือบุตรของตนเข้าทำงาน ในกรมชลประทานโดยไม่ต้องสอบนั้น เป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย และระเบียบแบบแผนของทางราชการ ถือได้ว่า บ. และ ส. ใช้ให้จำเลยกระทำผิดนั่นเอง บ. และ ส. จึงมิใช่ผู้เสียหายในความผิดฐานฉ้อโกง แม้จะได้ร้องทุกข์และพนักงาน สอบสวนทำการสอบสวนมาแล้วก็ไม่ทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5898/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกโดยมิชอบเมื่อโจทก์ทราบที่อยู่ปัจจุบันของจำเลย มีเหตุสมควรให้พิจารณาคดีใหม่
แม้ที่อยู่ของจำเลยทั้งสองตามที่โจทก์ระบุในคำฟ้องจะเป็นภูมิลำเนาของจำเลยทั้งสองตามหลักฐานทางทะเบียน แต่เมื่อโจทก์ทราบดีแล้วว่าจำเลยที่ 1 ขายกิจการให้ตน และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ได้ไปพักอยู่ที่อื่นซึ่งถือได้ว่าเป็นสำนักทำการงานของจำเลยทั้งสองแล้ว การที่โจทก์แถลงขอให้ศาลส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยทั้งสองโดยวิธีการปิดหมายตามภูมิลำเนาที่ปรากฏทางทะเบียน ทั้ง ๆ ที่ทราบดีว่าจำเลยทั้งสองมิได้อยู่ที่บ้านดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบ จำเลยทั้งสองมิได้จงใจขาดนัดและมีเหตุสมควรให้พิจารณาคดีใหม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4703/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการโดยมิชอบและราคาต่ำเกินควร
ในการขายทอดตลาดทรัพย์พิพาท ผู้คัดค้านประมูลให้ราคาสูงสุดเป็นเงินจำนวน550,000 บาท เจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ทำการขายทอดตลาดได้นับสองและยุติการขายชั่วคราวเนื่องจากผู้แทนผู้ร้องคัดค้านว่าราคาต่ำไปและได้ทำบันทึกเสนอผู้อำนวยการกอง ผู้อำนวยการกองได้เรียกผู้แทนผู้ร้องและผู้คัดค้านเข้าไปพบในห้องทำงานให้ผู้คัดค้านเพิ่มราคา ผู้คัดค้านเพิ่มราคาอีก 100,000 บาทเป็น 650,000 บาท เกินกว่าที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาไว้ ผู้อำนวยการกองจึงอนุมัติให้ขายทรัพย์แก่ผู้คัดค้าน หลังจากนั้นเจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ทำการขายทอดตลาดออกจากห้องมาที่บริเวณขายทอดตลาดแสดงการตกลงด้วยการนับสามและเคาะไม้ขายทรัพย์พิพาทแก่ผู้คัดค้าน โดยมิได้เปิดโอกาสให้ผู้สู้ราคาอื่นประมูลราคาด้วยความยุติธรรมทุกฝ่าย ราคาสูงสุดที่ผู้คัดค้านประมูลได้โดยวิธีปกปิดบุคคลอื่นนั้นเป็นราคาที่ต่ำมาก เป็นการกระทำโดยรวบรัด และไม่มีบทกฎหมายหรือระเบียบปฏิบัติให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติเช่นนั้นได้ การขายทอดตลาดไม่บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรามาตรา 509 ถือไม่ได้ว่าเป็นการขายทอดตลาดโดยชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2510/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโดยมิชอบ และสิทธิในการยื่นคำขอเสียภาษีตาม พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529
ในการจ่ายเงินได้ให้แก่พนักงานของโจทก์ โจทก์ไม่ได้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายและนำส่งให้ถูกต้องครบถ้วนตามกฎหมาย จำเลยที่ 2 จึงได้ประเมินให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย พร้อมเงินเพิ่มและส่งหนังสือแจ้งการประเมินโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังโจทก์ที่บริษัท ว. ซึ่งเป็นสถานที่ที่โจทก์แจ้งให้จำเลยติดต่อด้วย แต่ไม่มีผู้รับ พนักงานไปรษณีย์ได้ส่งหนังสือดังกล่าวคืนจำเลยโดยแจ้งว่า "คืน ไม่มีผู้รับตามจ่าหน้า" เช่นนี้ แม้พนักงานไปรษณีย์ผู้ไปส่งหนังสือแจ้งการประเมินจะเบิกความอ้างว่าได้ส่งให้แก่ประชาสัมพันธ์ของบริษัท ว. แต่ประชาสัมพันธ์นั้นไม่ยอมรับ และนำหนังสือเข้าไปภายในบริษัทแล้วกลับออกมาบอกว่าไม่มีชื่อผู้รับที่บริษัทนี้ ก็หาเป็นการส่งที่สมบูรณ์ตาม ป. รัษฎากรมาตรา 8 ไม่ เพราะจำเลยที่ 1 ได้เลือกเอาวิธีการส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตามบทบัญญัติมาตรา 5 วรรคหนึ่ง อันเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะพิพาท และเป็นกรณีไม่มีผู้รับตามจ่าหน้า ซึ่งตามไปรษณียนิเทศ พ.ศ. 2529 ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 22 แห่ง พ.ร.บ. ไปรษณีย์ พ.ศ. 2477 และมาตรา 4แห่ง พ.ร.บ. การสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519 ข้อ 359 ให้ถือเป็นไปรษณียภัณฑ์และพัสดุไปรษณีย์ที่นำจ่ายผู้รับไม่ได้และจำเลยที่ 1 ก็ไม่ได้เลือกส่งโดยวิธีอื่น ๆ ตามที่กำหนดไว้ใน ป. รัษฎากร มาตรา 8 ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1นำเอาวิธีประกาศหนังสือพิมพ์มาใช้ในการส่งหนังสือแจ้งการประเมินดังกล่าวให้แก่โจทก์ในระหว่างที่ พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 ให้สิทธิโจทก์ที่จะใช้สิทธิในการเสียภาษีโดยยื่นแบบ จ. 1 ได้จึงไม่มีผลเป็นการตัดสิทธิโจทก์ตามบทกฎหมายดังกล่าว.
สิทธิที่จะยื่นคำขอเสียภาษีตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด (แบบ อ.1) โดยได้รับยกเว้นจากการเรียกตรวจสอบไต่สวน ประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากรและความรับผิดทางอาญา ตาม พ.ร.ก. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 มาตรา 30 มีความหมายรวมถึงบุคคลที่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายด้วย หาได้จำกัดเฉพาะบุคคลที่มีหน้าที่เสียภาษีโดยตรงเท่านั้นไม่ ดังนั้นโจทก์ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินได้ของพนักงาน แต่ไม่ได้หักไว้ ซึ่งจะต้องรับผิดร่วมกับพนักงานโจทก์ผู้มีเงินได้ในการเสียภาษีที่ต้องชำระตามจำนวนเงินภาษีที่มิได้หักตาม ป. รัษฎากร มาตรา 54 ย่อมเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ดังกล่าวโดยตรง โจทก์จึงได้รับสิทธิตามบทกฎหมายดังกล่าวทุกประการ.
เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินภาษีอากรโจทก์โดยไม่มีอำนาจเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.ก. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 มาตรา 30 โจทก์จึงมีสิทธินำคดีมาฟ้องศาลได้โดยไม่ต้องอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณา อุทธรณ์ก่อน.
สิทธิที่จะยื่นคำขอเสียภาษีตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด (แบบ อ.1) โดยได้รับยกเว้นจากการเรียกตรวจสอบไต่สวน ประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากรและความรับผิดทางอาญา ตาม พ.ร.ก. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 มาตรา 30 มีความหมายรวมถึงบุคคลที่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายด้วย หาได้จำกัดเฉพาะบุคคลที่มีหน้าที่เสียภาษีโดยตรงเท่านั้นไม่ ดังนั้นโจทก์ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินได้ของพนักงาน แต่ไม่ได้หักไว้ ซึ่งจะต้องรับผิดร่วมกับพนักงานโจทก์ผู้มีเงินได้ในการเสียภาษีที่ต้องชำระตามจำนวนเงินภาษีที่มิได้หักตาม ป. รัษฎากร มาตรา 54 ย่อมเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ดังกล่าวโดยตรง โจทก์จึงได้รับสิทธิตามบทกฎหมายดังกล่าวทุกประการ.
เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินภาษีอากรโจทก์โดยไม่มีอำนาจเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.ก. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 มาตรา 30 โจทก์จึงมีสิทธินำคดีมาฟ้องศาลได้โดยไม่ต้องอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณา อุทธรณ์ก่อน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4586/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานจูงใจเจ้าพนักงานเพื่อให้กระทำการในหน้าที่โดยมิชอบ แม้ไม่ใช่เจ้าของสำนวน
การที่จำเลยเรียกและรับเงินจาก ท.กับพวก โดยอ้างว่าจะเอาไปให้ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์เพื่อให้พิพากษายกฟ้องในคดีที่ ท.กับพวกเป็นจำเลย ดังนี้ ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ที่จำเลยอ้างดังกล่าวย่อมหมายถึงผู้พิพากษาผู้มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีในศาลอุทธรณ์ได้ตามกฎหมายแม้จะมิได้เป็นเจ้าของสำนวนหรือองค์คณะที่พิจารณาพิพากษาคดีนั้นก็ตาม ก็ถือว่าเป็นเจ้าพนักงานที่จำเลยจะจูงใจให้กระทำการในหน้าที่อันเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ ท. กับพวกแล้วการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 143
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 364/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำร้ายร่างกายโดยเจ้าพนักงานตำรวจนอกเหนือหน้าที่ ไม่เข้าข่ายปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
ปกติการทำร้ายร่างกายไม่เกี่ยวกับตำแหน่งหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจจับโจทก์ข้อหาวิ่งราวทรัพย์ แล้วทำร้ายร่างกายโจทก์โดยเจตนาทำร้ายธรรมดา มิใช่เพื่อประสงค์จะให้เกิดผลอันใดในการปฏิบัติการตามหน้าที่ เพราะจำเลยจับโจทก์ได้แล้ว ทั้งจำเลยมิใช่พนักงานสอบสวนที่ทำร้ายโจทก์เพื่อประสงค์จะให้โจทก์รับสารภาพ กรณีจึงมิใช่เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 เมื่อโจทก์ได้รับอันตรายแก่กายจากการกระทำของจำเลยจำเลยมีความผิดตามมาตรา 295