คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
มูลนิธิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 42 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1681/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้มูลนิธิ: การแสดงเจตนาและผลทางกฎหมายเมื่อมีผู้ถือกรรมสิทธิ์ไว้ก่อน
ที่พิพาทเป็นที่ดินซึ่งผู้มีจิตศรัทธาหลายรายได้บริจาคเงินซื้อเพื่อจะยกให้แก่มูลนิธิที่จะตั้งขึ้นในที่พิพาท จึงได้ใส่ชื่อจำเลยซึ่งเป็นผู้ปกครองศาลเจ้าให้เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ไว้ก่อน เมื่อจำเลยเอาที่พิพาทไปจำนองและขายให้แก่บุคคลอื่นก็มีผู้ช่วยกันออกเงินไถ่จำนองและซื้อกลับคืนมา แล้วใส่ชื่อจำเลยและบุคคลอื่นๆ เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมไว้ในโฉนด เพื่อป้องกันมิให้จำเลยนำไปจำนองหรือขายให้แก่ผู้อื่นอีก และได้ทำหนังสือกันไว้ว่ายินยอมโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่มูลนิธิดังกล่าวแล้วฉะนั้น การที่จำเลยและบุคคลอื่นๆ เป็นเจ้าของที่พิพาทก็เป็นการถือกรรมสิทธิ์ไว้เพื่อมูลนิธิโจทก์นั่นเอง เมื่อโจทก์ได้รับอำนาจเป็นมูลนิธิแล้ว ที่พิพาทดังกล่าวก็ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ตั้งแต่ได้รับอำนาจเป็นมูลนิธิเป็นต้นไป กรณีจึงหาได้เป็นการให้ที่ตกอยู่ในบังคับจะต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 ไม่ เมื่อปรากฏว่ามูลนิธิโจทก์ได้แสดงเจตนาที่จะถือเอาประโยชน์จากสัญญาดังกล่าวแล้วจำเลยจึงมีหน้าที่จะต้องไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3111/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ้างงานในโรงพยาบาลของมูลนิธิ: พิจารณาวัตถุประสงค์การจ้างเพื่อบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองแรงงาน และความรับผิดของประธานกรรมการ
โจทก์เป็นลูกจ้างทำงานในโรงพยาบาลที่มูลนิธิจำเลยที่ 1เป็นเจ้าของและเป็นผู้บริหารงานหาผลประโยชน์จากโรงพยาบาลมาบำรุงมูลนิธิจำเลยที่ 1 โรงพยาบาลดังกล่าวไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคลเมื่อมีข้อพิพาทแรงงานเกิดขึ้นโจทก์ฟ้องมูลนิธิจำเลยที่ 1ได้แต่เมื่อมีปัญหาต้องพิจารณาสภาพการจ้างว่าเป็นการจ้างที่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงกำไรในทางเศรษฐกิจหรือไม่ต้องพิจารณาถึงวัตถุประสงค์ของโรงพยาบาลหาใช่พิจารณาวัตถุประสงค์ของมูลนิธิไม่
จำเลยที่ 2 เป็นประธานกรรมการมูลนิธิจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลจึงเป็นผู้แทนของนิติบุคคลมีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1ต้องถือว่าเป็นนายจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 2 จำเลยที่ 2 ในฐานะประธานกรรมการมูลนิธิจึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1405/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินโดยสำคัญผิดในตัววัตถุ และอำนาจทนายความของมูลนิธิ
จำเลยรับโอนโฉนดที่ดินที่ 5399 โดยต่างสำคัญผิดว่าเป็นที่ดินโฉนดที่ 5415 ที่ครอบครองอยู่ จำเลยอ้างเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดที่ 5399 ไม่ได้
มูลนิธิเป็นโจทก์ โดยผู้จัดการมูลนิธิลงลายมือชื่อตั้งทนายความผู้จัดการตาย ทนายความว่าความต่อไปได้เพราะเป็นทนายความของมูลนิธิ ไม่ใช่ของผู้จัดการมูลนิธิที่ตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 986/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมยกทรัพย์ให้มูลนิธิยังไม่จดทะเบียน: พินัยกรรมไม่ไร้ผล ผู้จัดการมรดกต้องดำเนินการให้มูลนิธิจดทะเบียน
ในขณะที่ ค. เจ้ามรดกยังมีชีวิตอยู่ได้บริจาคเงินเพื่อสมทบทุนมูลนิธิ จ. และต่อมาได้ทำพินัยกรรมยกที่ดินพิพาทถวายเป็นมูลนิธิ จ. ปรากฏว่าขณะที่ ค. ถึงแก่กรรม มูลนิธิ จ. ยังมิได้ก่อตั้งขึ้นเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย แต่กำลังดำเนินการอยู่ ดังนี้ ถือได้ว่า ค. ทำพินัยกรรมสั่งจัดสรรที่ดินพิพาทเพื่อจัดตั้งมูลนิธิ จ. ไว้แล้ว เพียงแต่มูลนิธิยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายจึงได้รับโอนที่ดินตามพินัยกรรมทางทะเบียนไม่ได้เท่านั้น แม้เวลาจะล่วงเลยมาหลายปี ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ค. จะต้องดำเนินการให้มีผลทางกฎหมายในการรับโอนที่ดินไปตามเจตนาของ ค. เหตุที่มูลนิธิ จ. ยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลจนถึงขณะที่โจทก์ฟ้องนั้น ยังถือไม่ได้ว่าพินัยกรรมของ ค. ไร้ผล เพราะเหตุไม่มีผู้รับทรัพย์ ผู้จัดการมรดกหรือทายาทไม่มีสิทธิและอำนาจที่จะตกลงกันเอาที่ดินพิพาทไปโอนให้มูลนิธิอื่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 986/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมยกทรัพย์สินให้มูลนิธิที่ยังมิได้จดทะเบียน: ศาลยืนตามเจตนาเดิมของผู้บริจาค
ในขณะที่ ค. เจ้ามรดกยังมีชีวิตอยู่ได้บริจาคเงินเพื่อสมทบทุนมูลนิธิ จ. และต่อมาได้ทำพินัยกรรมยกที่ดินพิพาทถวายเป็นมูลนิธิ จ. ปรากฏว่าขณะที่ ค. ถึงแก่กรรมมูลนิธิ จ. ยังมิได้ก่อตั้งขึ้นเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายแต่กำลังดำเนินการอยู่ ดังนี้ ถือได้ว่า ค. ทำพินัยกรรมสั่งจัดสรรที่ดินพิพาทเพื่อจัดตั้งมูลนิธิ จ. ไว้แล้ว เพียงแต่มูลนิธิยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายจึงรับโอนที่ดินตามพินัยกรรมทางทะเบียนไม่ได้เท่านั้น แม้เวลาจะล่วงเลยมาหลายปี ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ค. จะต้องดำเนินการให้มีผลทางกฎหมายในการรับโอนที่ดินไปตามเจตนาของ ค.เหตุที่มูลนิธิ จ. ยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลจนถึงขณะที่โจทก์ฟ้องนั้นยังถือไม่ได้ว่าพินัยกรรมของ ค. ไร้ผลเพราะเหตุไม่มีผู้รับทรัพย์ ผู้จัดการมรดกหรือทายาทไม่มีสิทธิและอำนาจที่จะตกลงกันเอาที่ดินพิพาทไปโอนให้มูลนิธิอื่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1007/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดตั้งมูลนิธิ ต้องระบุวัตถุประสงค์และทรัพย์สินให้ชัดเจน หากไม่ครบถ้วน สิทธิในทรัพย์สินตกแก่ทายาท
วัตถุประสงค์ของมูลนิธิและข้อกำหนดว่าด้วยทรัพย์สินของมูลนิธิตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 82 (3) และ (4) นั้น ตามมาตรา 84 หาได้ยอมให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดขอร้องให้ศาลกำหนดขึ้นได้ไม่ อันแสดงว่าเจตนารมย์ของกฎหมายประสงค์จะให้ผู้ก่อตั้งมูลนิธิแต่ผู้เดียวเป็นผู้กำหนดในตราสารจัดตั้งและจะขาดเสียมิได้ เพราะรายการทั้งสองดังกล่าวเป็นสารสำคัญอันถือได้ว่าเป็นองค์ประกอบของการที่จะเป็นมูลนิธิตามมาตรา 81
ข้อกำหนดในพินัยกรรมเกี่ยวกับการก่อตั้งมูลนิธิมีว่า "โฉนดที่ดินหมายเลขที่ 6483 ตำบลตลิ่งชัน อำเภอตลิ่งชัน จังหวัดธนบุรี เนื้อที่ประมาณ 1 ไร่ 35 วา ขอมอบให้เป็นมูลนิธิมงคล รักสำรวจ" เช่นนี้ พินัยกรรมดังกล่าวมิได้ระบุข้อความเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของมูลนิธิมงคล รักสำรวจ ไว้ ย่อมทำให้มูลนิธิมงคล รักสำรวจ ไม่สามารถจัดตั้งขึ้นได้ ข้อกำหนดพินัยกรรมดังกล่าวจึงหาใช่เป็นข้อกำหนดพินัยกรรมที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1676 ไม่ เพราะมิได้ระบุให้บุคคลใดตกอยู่ในภาระติดพันที่จะก่อตั้งมูลนิธิเพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งมิได้มีการสั่งให้จัดสรรทรัพย์สินไว้โดยตรงเพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งตามบทบัญญัติมาตรา 81 ข้อกำหนดพินัยกรรมของนายมงคลที่ว่าขอมอบที่ดินให้เป็นมูลนิธิมงคล รักสำรวจ จึงไม่มีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย ที่ดินโฉนดที่ 6483 จึงตกทอดแก่โจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นทายาทลำดับ 3 ของเจ้ามรดกแต่เพียงคนเดียวตามมาตรา 1699 เพราะโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมลำดับสูงกว่าซึ่งเหลืออยู่เพียงผู้เดียวได้สละมรดกแล้ว กรมที่ดินและเจ้าพนักงานที่ดินจำเลยจึงต้องรับจดทะเบียนโอนแก้ทะเบียนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้เป็นของโจทก์ที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1007/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดตั้งมูลนิธิ ต้องระบุวัตถุประสงค์และทรัพย์สินในตราสาร หากไม่ครบถ้วน ถือเป็นมรดก
วัตถุที่ประสงค์ของมูลนิธิและข้อกำหนดว่าด้วยทรัพย์สินของมูลนิธิตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 82(3) และ (4) นั้น ตามมาตรา 84 หาได้ยอมให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดขอร้องให้ศาลกำหนดขึ้นได้ไม่อันแสดงว่าเจตนารมย์ของกฎหมายประสงค์จะให้ผู้ก่อตั้งมูลนิธิแต่ผู้เดียวเป็นผู้กำหนดในตราสารจัดตั้งและจะขาดเสียมิได้ เพราะรายการทั้งสองดังกล่าวเป็นสารสำคัญอันถือได้ว่าเป็นองค์ประกอบของการที่จะเป็นมูลนิธิตามมาตรา 81
ข้อกำหนดในพินัยกรรมเกี่ยวกับการก่อตั้งมูลนิธิมีว่า'โฉนดที่ดินหมายเลขที่ 6483 ตำบลตลิ่งชัน อำเภอตลิ่งชันจังหวัดธนบุรี เนื้อที่ประมาณ 1 ไร่ 35 วา ขอมอบให้เป็นมูลนิธิมงคลรักสำรวจ' เช่นนี้ พินัยกรรมดังกล่าวมิได้ระบุข้อความเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของมูลนิธิมงคลรักสำรวจ ไว้ ย่อมทำให้มูลนิธิมงคล รักสำรวจ ไม่สามารถจัดตั้งขึ้นได้ ข้อกำหนดพินัยกรรมดังกล่าวจึงหาใช่เป็นข้อกำหนดพินัยกรรมที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1676 ไม่เพราะมิได้ระบุให้บุคคลใดตกอยู่ในภาระติดพันที่จะก่อตั้งมูลนิธิเพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งมิได้มีการสั่งให้จัดสรรทรัพย์สินไว้โดยตรงเพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งตามบทบัญญัติมาตรา 81 ข้อกำหนดพินัยกรรมของนายมงคลที่ว่าขอมอบที่ดินให้เป็นมูลนิธิมงคล รักสำรวจจึงไม่มีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย ที่ดินโฉนดที่ 6483 จึงตกทอดแก่โจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นทายาทลำดับ 3 ของเจ้ามรดกแต่เพียงคนเดียวตามมาตรา 1699เพราะโจทก์ที่1 ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมลำดับสูงกว่าซึ่งเหลืออยู่เพียงผู้เดียวได้สละมรดกแล้ว กรมที่ดินและเจ้าพนักงานที่ดินจำเลยจึงต้องรับจดทะเบียนโอนแก้ทะเบียนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้เป็นของโจทก์ที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 862/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาของผู้อุทิศทรัพย์สินให้มูลนิธิ กรณีถูกยักยอกและทำให้มูลนิธิเลิกกิจการ
ราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องหาว่า จำเลยซึ่งเป็นกรรมการมูลนิธิยักยอกทรัพย์ ร้องเรียนเท็จและเบิกความเท็จ โดยกล่าวในฟ้องว่า โจทก์ได้อุทิศที่ดินที่ได้รับมรดกมาให้เป็นทรัพย์กองกลางพร้อมด้วยสิ่งปลูกสร้างและดอกผลสำหรับบำรุงสุสานในตระกูลโจทก์ ต่อมาได้ก่อตั้งเป็นมูลนิธิจนได้รับอำนาจจากรัฐบาลแล้ว ที่ดินสิ่งปลูกสร้างและดอกผลที่โจทก์อุทิศจึงตกเป็นของมูลนิธิตั้งแต่นั้นมา หลังจากนั้น จำเลยซึ่งเป็นกรรมการมูลนิธิได้ยักยอกเอาที่ดินแปลงนั้นเป็นประโยชน์ส่วนตัวเสีย และจำเลยได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้สั่งเลิกมูลนิธิดังกล่าว โดยเอาความเท็จมาร้องเรียนว่ามูลนิธิไม่มีทรัพย์สินใดจะใช้เป็นทุนดำเนินการตามวัตถุประสงค์ได้ ความจริงทรัพย์ของมูลนิธิยังมีอยู่ และจำเลยได้เบิกความเท็จว่า มูลนิธิไม่มีทรัพย์สินใดจะใช้เป็นทุนดำเนินการตามวัตถุประสงค์ได้ ขอให้ลงโทษ เช่นนี้ ในชั้นพิจารณาอำนาจฟ้องของโจทก์ ถือได้ว่า โจทก์เป็นผู้เสียหายตามความใน มาตรา 2(4) และมีอำนาจฟ้องคดีได้ตามมาตรา 28 (2) แห่ง ป.วิ.อ. แล้ว เพราะตามที่โจทก์กล่าวในฟ้องว่า ทรัพย์สินย่อมตกเป็นของมูลนิธิแล้วนั้น โจทก์ได้วงเล็บ ป.พ.พ. มาตรา 87 มาในฟ้องด้วย แสดงให้เห็นว่า เป็นความเข้าใจของโจทก์ในข้อกฎหมาย เกี่ยวกับมาตรา 87 แพ่ง ป.พ.พ. ไม่ใช่ข้อยืนยันของโจทก์ จะถือเป็นยุติตามที่โจทก์เข้าใจในข้อกฎหมายดังที่กล่าวมาในฟ้องเสียทีเดียวหาชอบไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมื่อโจทก์โอนโฉนด ให้เป็นในนามของนายประสพกับพวกถือกรรมสิทธิ์ตามหน้าโฉนด ก็ยังหาได้มีการโอนโฉนด ใส่ชื่อมูลนิธิไม่
ประชุมใหญ่ครั้งที่ 13/2502

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 862/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาของผู้อุทิศทรัพย์สินให้มูลนิธิ กรณีถูกยักยอกและทำให้มูลนิธิเลิก
ราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องหาว่า จำเลยซึ่งเป็นกรรมการมูลนิธิยักยอกทรัพย์ ร้องเรียนเท็จและเบิกความเท็จ โดยกล่าวในฟ้องว่า โจทก์ได้อุทิศที่ดินที่ได้รับมรดกมาให้เป็นทรัพย์กองกลางพร้อมด้วยสิ่งปลูกสร้างและดอกผลสำหรับบำรุงสุสานในตระกูลโจทก์ ต่อมาได้ก่อตั้งเป็นมูลนิธิจนได้รับอำนาจจากรัฐบาลแล้ว ที่ดินสิ่งปลูกสร้างและดอกผลที่โจทก์อุทิศจึงตกเป็นของมูลนิธิตั้งแต่นั้นมา หลังจากนั้น จำเลยซึ่งเป็นกรรมการมูลนิธิได้ยักยอกเอาที่ดินแปลงนั้นเป็นประโยชน์ส่วนตัวเสีย และจำเลยได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้สั่งเลิกมูลนิธิดังกล่าว โดยเอาความเท็จมาร้องเรียนว่ามูลนิธิไม่มีทรัพย์สินใดจะใช้เป็นทุนดำเนินการตามวัตถุประสงค์ได้ ความจริงทรัพย์ของมูลนิธิยังมีอยู่ และจำเลยได้เบิกความเท็จว่า มูลนิธิไม่มีทรัพย์สินใดจะใช้เป็นทุนดำเนินการตามวัตถุประสงค์ได้ ขอให้ลงโทษ เช่นนี้ในชั้นพิจารณาอำนาจฟ้องของโจทก์ ถือได้ว่า โจทก์เป็นผู้เสียหายตามความใน มาตรา 2(4) และมีอำนาจฟ้องคดีได้ตาม มาตรา 28(2) แห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา แล้ว เพราะตามที่โจทก์กล่าวในฟ้องว่า ทรัพย์สินย่อมตกเป็นของมูลนิธิแล้วนั้น โจทก์ได้วงเล็บ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 87 มาในฟ้องด้วย แสดงให้เห็นว่า เป็นความเข้าใจของโจทก์ในข้อกฎหมายเกี่ยวกับมาตรา87 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงไม่ใช่ข้อยืนยันของโจทก์ จะถือเป็นยุติตามที่โจทก์เข้าใจในข้อกฎหมายดังที่กล่าวมาในฟ้องเสียทีเดียวหาชอบไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมื่อโจทก์โอนโฉนดให้เป็นในนามของนายประสพกับพวกถือกรรมสิทธิ์ตามหน้าโฉนดก็ยังหาได้มีการโอนโฉนดใส่ชื่อมูลนิธิไม่(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 13/2502)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14166/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องมูลนิธิ, อายุความสิทธิเรียกร้อง, การซื้อขายเพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน
วัตถุประสงค์ของโจทก์ตามสำเนาข้อบังคับอุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิซึ่งในหมวดที่ 2 เรื่องวัตถุประสงค์ ข้อ 4 ระบุว่า วัตถุประสงค์ของมูลนิธิคือ 4.1 เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการดำเนินงานของสถาบันหรือหน่วยงานอิสระที่กระทรวงอุตสาหกรรมจัดตั้งขึ้น... 4.4 ประกอบกิจการให้คำปรึกษา แนะนำ ฝึกอบรม วิจัยและพัฒนา วิเคราะห์และทดสอบ และประกอบกิจการอื่นที่เกี่ยวกับและต่อเนื่องกับภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ... และสถาบันอาหารเป็นสถาบันที่กระทรวงอุตสาหกรรมจัดตั้งขึ้นมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินงานส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารของประเทศไทยโดยให้โจทก์เป็นมูลนิธิรองรับการดำเนินงานของสถาบันอาหาร เมื่อสถาบันอาหารได้ดำเนินโครงการพัฒนาปลาเผาะมีเป้าหมายเป็นการเลี้ยงเชิงพาณิชย์และแปรรูปเชิงอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารของประเทศไทยให้ยังคงเจริญเติบโตต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถแข่งขันได้ในระดับโลก การที่โจทก์ซึ่งเป็นมูลนิธิที่มีหน้าที่รองรับการดำเนินงานของสถาบันอาหารขายเนื้อปลาเผาะแก่จำเลยจึงเป็นการสนับสนุนส่งเสริมการดำเนินงานของสถาบันอาหารเพื่อสาธารณประโยชน์ มิใช่กระทำเพื่อมุ่งหาผลประโยชน์มาแบ่งปันกันแต่อย่างใด จึงเป็นการกระทำภายในขอบวัตถุประสงค์ของโจทก์ แม้วัตถุประสงค์ของโจทก์มิได้ระบุวัตถุประสงค์ในการซื้อขายก็ตาม โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้
จำเลยฎีกาว่าคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ขัดกับ ป.วิ.พ. มาตรา 84 นั้น จำเลยมิได้กล่าวโดยชัดแจ้งซึ่งข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายว่าคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ขัดกับกฎหมายดังกล่าวอย่างไรเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง (เดิม) ที่ใช้บังคับในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้อง
การที่โจทก์ขายเนื้อปลาเผาะแก่จำเลยเป็นการสนับสนุนส่งเสริมการดำเนินงานของสถาบันอาหารเพื่อสาธารณประโยชน์ มิใช่กระทำเพื่อมุ่งหาผลประโยชน์มาแบ่งปันกันแต่อย่างใด จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการประกอบ การค้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) และเป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
จำเลยฎีกาว่าจำเลยมิได้ซื้อปลาจากโจทก์ แต่โจทก์นำปลามาให้จำเลยช่วยขาย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์นั้น ประเด็นนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยซื้อปลาจากโจทก์ จำเลยมิได้อุทธรณ์โต้แย้งว่าคำพิพากษาของศาลชั้นต้นดังกล่าวไม่ถูกต้องอย่างไร ฎีกาข้อนี้ของจำเลยจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง (เดิม) ที่ใช้บังคับในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้อง
of 5