พบผลลัพธ์ทั้งหมด 83 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1502/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมีอาวุธปืนและการยกเว้นโทษตามกฎหมายเฉพาะ
จำเลยมีอาวุธปืนเป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ พ.ศ.2490 มาตรา 7,72 ระหว่างฎีกามี พระราชบัญญัติ ฉบับที่ 6พ.ศ.2518 มาตรา 3 ให้นำอาวุธปืนมาขอรับอนุญาตใน 90 วันโดยไม่ต้องรับโทษถือเป็นกฎหมายยกเว้นโทษ ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้อง ของกลางไม่ริบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 286/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเว้นโทษอาวุธปืนตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2510 แม้ไม่นำปืนขึ้นทะเบียนหลังหมดกำหนด
ศาลอุทธรณ์ฟังว่าจำเลยมีอาวุธปืนซึ่งไม่มีเครื่องหมายของเจ้าพนักงานไว้ในความครอบครองโดยมิได้รับอนุญาต แต่เห็นว่าในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ได้มีพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2510 มาตรา 6 บัญญัติว่าถ้าผู้มีอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาตและไม่อาจขออนุญาตได้ตามกฎหมาย นำปืนมามอบให้แก่นายทะเบียนท้องที่ภายใน 90 วัน ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ จำเลยจึงไม่ต้องรับโทษ ต่อมาโจทก์จะฎีกาว่าในขณะที่ศาลฎีกากำลังพิจารณาคดีนี้อยู่ ได้เลยกำหนดให้นำอาวุธปืนไปขึ้นทะเบียนเพื่อขออนุญาตแล้ว และจำเลยก็มิได้นำไปขึ้นทะเบียนภายในกำหนด จึงต้องมีความผิดฐานนี้อยู่ดังนี้ ฟังไม่ขึ้นเพราะเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาถูกต้องตามบทกฎหมายที่มีอยู่ในเวลาพิพากษาคดีแล้ว แม้จำเลยจะมิได้นำปืนไปขอรับใบอนุญาตภายใน 90 วัน ก็ไม่ทำให้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์เสียไปศาลฎีกาไม่มีเหตุที่จะต้องแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 286/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเว้นโทษอาวุธปืนตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2510 แม้ไม่นำปืนขึ้นทะเบียนภายใน 90 วัน ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ฟังว่าจำเลยมีอาวุธปืนซึ่งไม่มีเครื่องหมายของเจ้าพนักงานไว้ในความครอบครองโดยมิได้รับอนุญาต แต่เห็นว่าในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ได้มีพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2510 มาตรา 6 บัญญัติว่า ถ้าผู้มีอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต และไม่อาจขออนุญาตได้ตามกฎหมาย นำปืนมามอบให้แก่นายทะเบียนท้องที่ภายใน 90 วัน ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ จำเลยจึงไม่ต้องรับโทษ ต่อมาโจทก์จะฎีกาว่าในขณะที่ศาลฎีกากำลังพิจารณาคดีนี้อยู่ได้เลยกำหนดให้นำอาวุธปืนไปขึ้นทะเบียนเพื่อขออนุญาตแล้วและจำเลยก็มิได้นำไปขึ้นทะเบียนภายในกำหนด จึงต้องมีความผิดฐานนี้อยู่ ดังนี้ ฟังไม่ขึ้นเพราะเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาถูกต้องตามบทกฎหมายที่มีอยู่ในเวลาพิพากษาคดีแล้ว แม้จำเลยจะมิได้นำปืนไปขอรับใบอนุญาตภายใน 90 วัน ก็ไม่ทำให้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์เสียไปศาลฎีกาไม่มีเหตุที่จะต้องแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 961/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการยกเว้นโทษ พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2510: ครอบคลุมเฉพาะอาวุธปืนที่ยังไม่ได้รับอนุญาตเท่านั้น
พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2510 มาตรา 5, 6ซึ่งบัญญัติให้ผู้มีอาวุธปืนบางชนิดซึ่งยังมิได้รับอนุญาตโดยชอบด้วยกฎหมายหรือยังมิได้รับอนุญาตโดยชอบด้วยกฎหมาย และไม่อาจอนุญาตได้ตามกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืนฯ มาขอรับอนุญาตเพื่อปฏิบัติการให้ถูกต้องตามกฎหมายภายในกำหนดเวลา โดยไม่ต้องรับโทษนั้น หมายความถึงอาวุธปืนที่ยังไม่ได้รับอนุญาตโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้นมิได้หมายความรวมถึงอาวุธปืนที่ได้รับอนุญาตโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่ แล้ว ฉะนั้น เมื่อได้ความว่าจำเลยมีอาวุธปืนที่มีทะเบียนของผู้อื่นไว้ในความครอบครองโดยไม่รับอนุญาตก็ไม่มีเหตุจะอ้างว่า จำเลยไม่ต้องรับโทษตามพระราชบัญญัติดังกล่าวได้
(เทียบฎีกาประชุมใหญ่ที่ 295/2513)
(เทียบฎีกาประชุมใหญ่ที่ 295/2513)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 961/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการยกเว้นโทษ พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ เฉพาะปืนที่ยังไม่ได้รับอนุญาต ไม่รวมปืนที่มีทะเบียนแล้ว
พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2510 มาตรา 5, 6 ซึ่งบัญญัติให้ผู้มีอาวุธปืนบางชนิดซึ่งยังมิได้รับอนุญาตโดยชอบด้วยกฎหมายหรือยังมิได้รับอนุญาตโดยชอบด้วยกฎหมาย และไม่อาจอนุญาตได้ตามกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืนฯ มาขอรับอนุญาตเพื่อปฏิบัติการให้ถูกต้องตามกฎหมายภายในกำหนดเวลาโดยไม่ต้องรับโทษนั้นหมายความถึงอาวุธปืนที่ยังไม่ได้รับอนุญาตโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น มิได้หมายความรวมถึงอาวุธปืนที่ได้รับอนุญาตโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่แล้ว ฉะนั้น เมื่อได้ความว่าจำเลยมีอาวุธปืนที่มีทะเบียนของผู้อื่นไว้ในความครอบครองโดยไม่รับอนุญาตก็ไม่มีเหตุจะอ้างว่า จำเลยไม่ต้องรับโทษตามพระราชบัญญัติดังกล่าวได้
(เทียบฎีกาประชุมใหญ่ที่ 295/2513)
(เทียบฎีกาประชุมใหญ่ที่ 295/2513)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 372/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการยกเว้นโทษ พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ กรณีมีอาวุธปืนของผู้อื่นและไม่ขออนุญาต
พระราชบัญญัติอาวุธปืน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2510 มาตรา 5 ซึ่งบัญญัติให้ผู้มีอาวุธปืนบางชนิด ซึ่งยังมิได้รับอนุญาตโดยชอบด้วยกฎหมายมาขอรับอนุญาตเพื่อปฏิบัติการให้ถูกต้องตามกฎหมายภายในกำหนดเวลาโดยไม่ต้องรับโทษนั้น หมายความถึงอาวุธปืนที่ยังไม่ได้รับอนุญาตโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น มิได้หมายความรวมถึงอาวุธปืนที่ได้รับอนุญาตโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่แล้ว เมื่อจำเลยมีอาวุธปืนมีทะเบียนของบุคคลอื่นและกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตจึงไม่มีเหตุที่จะอ้างว่าจำเลยไม่ต้องรับโทษตามพระราชบัญญัติดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 372/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการยกเว้นโทษ พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 5: อาวุธปืนที่มีทะเบียนแล้วไม่ได้รับการยกเว้น
พระราชบัญญัติอาวุธปืน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2510 มาตรา 5 ซึ่งบัญญัติให้ผู้มีอาวุธปืนบางชนิด ซึ่งยังมิได้รับอนุญาตโดยชอบด้วยกฎหมายมาขอรับอนุญาตเพื่อปฏิบัติการให้ถูกต้องตามกฎหมายภายในกำหนดเวลาโดยไม่ต้องรับโทษนั้น หมายความถึงอาวุธปืนที่ยังไม่ได้รับอนุญาตโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น มิได้หมายความรวมถึงอาวุธปืนที่ได้รับอนุญาตโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่แล้ว เมื่อจำเลยมีอาวุธปืนมีทะเบียนของบุคคลอื่นและกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตจึงไม่มีเหตุที่จะอ้างว่า จำเลยไม่ต้องรับโทษตามพระราชบัญญัติดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1040/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้กฎหมายใหม่ยกเว้นโทษในคดีอาวุธปืน แม้คดีอยู่ระหว่างพิจารณา ศาลมีอำนาจวินิจฉัยได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น และฐานมีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนไว้ในความครอบครองโดยไม่รับอนุญาต ให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 80 อันเป็นกระทงหนักตามมาตรา 91 จำเลยอุทธรณ์แต่เฉพาะในข้อหาพยายามฆ่าผู้อื่น เมื่อคดียังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ได้มีพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2510 ประกาศใช้บังคับ โดยมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัตินี้ยกเว้นโทษให้จำเลยในความผิดฐานครอบครองอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต เช่นนี้ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจหยิบยกพระราชบัญญัตินี้ขึ้นวินิจฉัยยกเว้นโทษให้จำเลยในความผิดฐานนี้ได้ ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรค 2 และตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 17/2513)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 17/2513)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1040/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอุทธรณ์วินิจฉัยยกเว้นโทษจากกฎหมายใหม่ แม้คดีอยู่ระหว่างพิจารณา และหลักการใช้กฎหมายที่เอื้อประโยชน์แก่จำเลย
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นและฐานมีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนไว้ในความครอบครองโดยไม่รับอนุญาต ให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 80 อันเป็นกระทงหนักตามมาตรา 91 จำเลยอุทธรณ์แต่เฉพาะในข้อหาพยายามฆ่าผู้อื่น เมื่อคดียังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ได้มีพระราชบัญญัติอาวุธปืนเครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2510 ประกาศใช้บังคับโดยมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัตินี้ยกเว้นโทษให้จำเลยในความผิดฐานครอบครองอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต เช่นนี้ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจหยิบยกพระราชบัญญัตินี้ขึ้นวินิจฉัยยกเว้นโทษให้จำเลยในความผิดฐานนี้ได้ ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง และตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 17/2513)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1413/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อาวุธปืนผิดกฎหมาย, ยกเว้นโทษ, นำไปจดทะเบียน, ทำสูญหาย, ไม่ได้รับการยกเว้นโทษ
จำเลยมีอาวุธปืนและกระสุนปืนไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษไปแล้ว ต่อมาเมื่อคดีอยู่ในการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ได้มีพระราชบัญญัติอาวุธปืนเครื่องกระสุนปืน ฯ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2510) ออกมาให้ผู้มีอาวุธปืน กระสุนปืนโดยผิดกฎหมาย นำไปจดทะเบียนต่อนายทะเบียนภายใน 90 วัน จึงจะได้รับการยกเว้นโทษ เมื่อจำเลยได้ทำอาวุธปืน กระสุนปืนสูญหายเสียในวันเกิดเหตุ จึงไม่มีอาวุธปืน กระสุนปืนผิดกฎหมายไปจดทะเบียนขออนุญาต ฉะนั้นจำเลยย่อมไม่ได้รับการยกเว้นโทษตามกฎหมายดังกล่าว