คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ยักยอกทรัพย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 543 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2278/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชดใช้ค่าเสียหายจากยักยอกทรัพย์: โจทก์ฟ้องทั้งจำเลยและผู้ค้ำประกัน ศาลฎีกาเห็นควรให้ปรับและคุมความประพฤติ
ศาลล่างทั้งสองใช้ดุลพินิจให้จำเลยต้องคืนหรือใช้ราคาทรัพย์สินที่ได้ยักยอกไปแก่โจทก์ร่วมตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 แต่เมื่อได้ความว่าการที่จำเลยต้องคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยักยอกไปให้แก่โจทก์ร่วมคดีนี้ เป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายที่ผู้ค้ำประกันจำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความชำระให้แก่โจทก์ร่วมในคดีแพ่งดังกล่าวแล้ว โจทก์ร่วมก็ไม่มีสิทธิที่จะขอบังคับเอาได้ทั้งสองทาง ความรับผิดของจำเลยในส่วนนี้เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาใน ชั้นบังคับคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1446/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การห้ามออกนอกราชอาณาจักรผู้ต้องหายักยอกทรัพย์-ส่งผู้ร้ายข้ามแดน: อำนาจตามกฎหมายและเหตุสมควร
ผู้ต้องหาถูกธนาคารแห่งประเทศไทยร้องทุกข์กล่าวโทษว่าร่วมกับพวกยักยอกทรัพย์ของธนาคาร ก. เฉพาะที่ผู้ต้องหาถูกฟ้องเป็นจำเลยอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล จำนวน 2 คดี มูลค่าความเสียหายประมาณ 2,000ล้านบาท และมีการขยายผลเพื่อดำเนินคดีแก่ผู้ต้องหาอีกหลายคดี รวมความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นเงินหลายหมื่นล้านบาท เป็นเหตุให้ธนาคาร ก.ต้องปิดกิจการลงในที่สุดกรณีดังกล่าวเป็นจุดเริ่มต้นแห่งความล่มสลายของสถาบันการเงินอื่นและระบบเศรษฐกิจของประเทศ หลังเกิดเหตุแล้วธนาคารแห่งประเทศไทยได้ติดตามอายัดทรัพย์สินของผู้ต้องหาเพื่อนำมาชดเชยความเสียหาย ปรากฏว่าทรัพย์สินของผู้ต้องหาที่ติดตามอายัดได้เป็นจำนวนเล็กน้อย ไม่อาจทดแทนความเสียหายที่ผู้ต้องหากับพวกก่อให้เกิดขึ้นได้ผู้ต้องหาเป็นน้องภริยาของ ร.ผู้ต้องหาคนสำคัญในคดีทุจริตยักยอกทรัพย์ของธนาคาร ก.และ ร.ได้หลบหนีคดีไปอยู่ที่ประเทศแคนาดา การอนุญาตให้ผู้ต้องหาออกนอกราชอาณาจักรอาจเป็นช่องทางให้ผู้ต้องหาหลบหนีคดีเช่นเดียวกับ ร.ญาติของผู้ต้องหาได้ผู้ต้องหาอ้างเหตุในคำร้องที่ขออนุญาตออกนอกราชอาณาจักรเพื่อไปเป็นพยานให้ ร.ต่อศาลสูงแห่งมลรัฐบริติช โคลัมเบีย ประเทศแคนาดา ในคดีที่ ร.ถูกฟ้องในข้อหาส่งผู้ร้ายข้ามแดน ซึ่งทางการไทยได้ขอตัว ร.มาดำเนินคดีในประเทศไทย ตามพฤติการณ์ดังกล่าวไม่มีเหตุอันสมควรที่จะอนุญาตให้ผู้ต้องหาออกนอกราชอาณาจักรตามคำร้องของผู้ต้องหาได้
ผู้ต้องหาถูกกล่าวหาว่าร่วมกับพวกยักยอกทรัพย์ของธนาคาร ก.การห้ามมิให้ผู้ต้องหาออกนอกราชอาณาจักร เป็นขั้นตอนและวิธีการที่จะได้ตัวผู้กระทำความผิดมาดำเนินคดีตามที่กฎหมายบัญญัติ การดำเนินการดังกล่าวจึงไม่เป็นการริดรอนสิทธิเสรีภาพของผู้ต้องหา และคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นการสั่งโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 มาตรา 46 ทศ วรรคสี่ จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1446/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การห้ามเดินทางออกนอกราชอาณาจักรของผู้ต้องหาคดีทุจริตยักยอกทรัพย์ ไม่เป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพ
ผู้ต้องหาที่ 5 ถูกธนาคารแห่งประเทศไทยร้องทุกข์กล่าวโทษว่าร่วมกับพวกยักยอกทรัพย์ของธนาคารก. การห้ามมิให้ผู้ต้องหาที่ 5 ออกนอกราชอาณาจักรเป็นขั้นตอนและวิธีการที่จะได้ตัวผู้กระทำความผิดมาดำเนินคดีตามที่กฎหมายบัญญัติ การดำเนินการดังกล่าวจึงไม่เป็นการริดรอนสิทธิเสรีภาพของผู้ต้องหาที่ 5 และคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นการสั่งโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 มาตรา 46 ทศ วรรคสี่ คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1446/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การห้ามเดินทางออกนอกราชอาณาจักรของผู้ต้องหาคดีทุจริตยักยอกทรัพย์ เพื่อป้องกันการหลบหนีและดำเนินคดีตามกฎหมาย
ผู้ต้องหาถูกธนาคารแห่งประเทศไทยร้องทุกข์กล่าวโทษว่าร่วมกับพวกยักยอกทรัพย์ของธนาคาร ก. เฉพาะที่ผู้ต้องหาถูกฟ้องเป็นจำเลยอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล จำนวน 2 คดี มูลค่าความเสียหายประมาณ 2,000 ล้านบาทและมีการขยายผลเพื่อดำเนินคดีแก่ผู้ต้องหาอีกหลายคดี รวมความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นเงินหลายหมื่นล้านบาท เป็นเหตุให้ธนาคาร ก. ต้องปิดกิจการลงในที่สุดกรณีดังกล่าวเป็นจุดเริ่มต้นแห่งความล่มสลายของสถาบันการเงินอื่นและระบบเศรษฐกิจของประเทศ หลังเกิดเหตุแล้วธนาคารแห่งประเทศไทยได้ติดตามอายัดทรัพย์สินของผู้ต้องหาเพื่อนำมาชดเชยความเสียหาย ปรากฏว่าทรัพย์สินของผู้ต้องหาที่ติดตามอายัดได้เป็นจำนวนเล็กน้อย ไม่อาจทดแทนความเสียหายที่ผู้ต้องหากับพวกก่อให้เกิดขึ้นได้ผู้ต้องหาเป็นน้องภริยาของ ร. ผู้ต้องหาคนสำคัญในคดีทุจริตยักยอกทรัพย์ของธนาคาร ก. และ ร. ได้หลบหนีคดีไปอยู่ที่ประเทศ แคนาดา การอนุญาตให้ผู้ต้องหาออกนอกราชอาณาจักรอาจเป็นช่องทางให้ผู้ต้องหาหลบหนีคดีเช่นเดียวกับ ร. ญาติของผู้ต้องหาได้ผู้ต้องหาอ้างเหตุในคำร้องที่ขออนุญาตออกนอกราชอาณาจักรเพื่อไปเป็นพยานให้ ร. ต่อศาลสูงแห่งมลรัฐ บริติชโคลัมเบีย ประเทศ แคนาดา ในคดีที่ ร. ถูกฟ้องในข้อหาส่งผู้ร้ายข้ามแดน ซึ่งทางการไทยได้ขอตัว ร. มาดำเนินคดีในประเทศไทย ตามพฤติการณ์ดังกล่าวไม่มีเหตุอันสมควรที่จะอนุญาตให้ผู้ต้องหาออกนอกราชอาณาจักรตามคำร้องของผู้ต้องหาได้
ผู้ต้องหาถูกกล่าวหาว่าร่วมกับพวกยักยอกทรัพย์ของธนาคาร ก. การห้ามมิให้ผู้ต้องหาออกนอกราชอาณาจักร เป็นขั้นตอนและวิธีการที่จะได้ตัวผู้กระทำความผิดมาดำเนินคดีตามกฎหมายบัญญัติ การดำเนินการดังกล่าวจึงไม่เป็นการริดรอนสิทธิเสรีภาพของผู้ต้องหา และคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นการสั่งโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505มาตรา 46 ทศ วรรคสี่ จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8176/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานยักยอกทรัพย์ของเจ้าหน้าที่การเงิน: โจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจร้องทุกข์
จำเลยเป็นเจ้าหน้าที่การเงินการบัญชีผู้รับผิดชอบเก็บรักษาเงินต่าง ๆ ของโจทก์ร่วม เมื่อคณะกรรมการของโจทก์ร่วมอนุมัติให้สมาชิกกู้เงินแล้วแต่ยังไม่ได้ส่งมอบเงินให้แก่สมาชิก หรือเงินกู้ตามสัญญากู้ใหม่ซึ่งจะต้องหักเงินบางส่วนชำระหนี้เก่าที่ยังค้างชำระอยู่ รวมทั้งเงินของสมาชิกผู้ขอลาออกจากสมาชิกโจทก์ร่วม ซึ่งโจทก์ร่วมจะต้องหักเงินของสมาชิกใช้หนี้ให้เสร็จสิ้นก่อนจะอนุมัติให้ลาออก เงินเหล่านี้ล้วนยังเป็นกรรมสิทธิ์และอยู่ในความครอบครองของโจทก์ร่วม กรรมสิทธิ์ในเงินดังกล่าวยังมิได้โอนไปยังสมาชิกของโจทก์ร่วมเพราะยังมิได้มีการส่งมอบเงินดังกล่าวให้แก่กันโดยชอบ เมื่อจำเลยยักยอกเงินดังกล่าวไป โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8176/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานยักยอกทรัพย์ของเจ้าหน้าที่สหกรณ์ การเป็นผู้เสียหายและอำนาจร้องทุกข์
จำเลยเป็นเจ้าหน้าที่การเงินการบัญชีผู้รับผิดชอบเก็บรักษาเงินต่าง ๆของสหกรณ์ออมทรัพย์โจทก์ร่วม เมื่อคณะกรรมการของโจทก์ร่วมอนุมัติให้สมาชิกกู้เงินแล้ว แต่ยังไม่ได้ส่งมอบเงินให้แก่สมาชิก หรือเงินกู้ ตามสัญญากู้ใหม่ซึ่งจะต้องหักเงินบางส่วนชำระหนี้เก่าที่ยังค้างชำระอยู่รวมทั้งเงินของสมาชิกผู้ขอลาออกจากสมาชิกโจทก์ร่วมซึ่งโจทก์ร่วมจะต้องหักเงินของสมาชิกใช้หนี้ให้เสร็จสิ้นก่อนจะอนุมัติให้ลาออกเงินเหล่านี้ล้วนยังเป็นกรรมสิทธิ์และอยู่ในความครอบครองของโจทก์ร่วมอยู่ กรรมสิทธิ์ในเงินดังกล่าวยังมิได้โอนไปยังสมาชิกของโจทก์ร่วมเพราะยังมิได้มีการส่งมอบเงินดังกล่าวให้แก่กันโดยชอบ เมื่อจำเลยยักยอกเงินดังกล่าวไป โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6632/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งอายัดทรัพย์เพื่อคุ้มครองประโยชน์ประชาชน กรณีการยักยอกทรัพย์ของธนาคาร
ธนาคารแห่งประเทศไทยผู้คัดค้านตรวจสอบพบว่า ร. ซึ่งขณะเกิดเหตุเป็นที่ปรึกษากรรมการผู้จัดการใหญ่ของธนาคาร ก. ได้ร่วมกับพวกยักยอกทรัพย์ของธนาคารดังกล่าวไป ซึ่งเป็นการต้องหาว่ากระทำความผิดอาญาตามที่ระบุไว้ ในมาตรา 46 นว (1) แห่ง พ.ร.บ. การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 ทั้งเมื่อพนักงานอัยการได้มีคำสั่งฟ้อง ร. กับพวกในข้อหาดังกล่าวแล้ว ร. ได้หลบหนีไปอยู่ต่างประเทศ ผู้คัดค้านเห็นว่าหากปล่อยเนิ่นช้าไปอาจเกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ของประชาชน ผู้คัดค้านจึงมีคำสั่งโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 46 ทศ แห่ง พ.ร.บ. การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 อายัดตั๋วสัญญาใช้เงินกับหุ้นพิพาทของ ร. อันเป็นมาตรการป้องกันมิให้ ร. ยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินของตนเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกบังคับอายัดทรัพย์หรือขายทอดตลาดนำมาชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ หรือโอนทรัพย์สินหรือสิทธิตามเอกสารสิทธิต่าง ๆ ของตนเปลี่ยนมือไปให้แก่บุคคลอื่นโดยมิชอบ อันอาจส่งผลให้เจ้าหนี้ทั้งปวงกับธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินอื่น ๆ ที่ ร. เป็นหนี้อยู่ได้รับความเสียหายและถูกกระทบกระเทือน เพราะเหตุการกระทำทุจริตของ ร. ดังกล่าว คำสั่งของผู้คัดค้านดังกล่าวย่อมเป็นคำสั่งที่สั่งโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อผู้ร้องยังมิได้ฟ้อง ร. เกี่ยวกับหนี้สินตามคำร้อง กรณีจึงไม่อาจฟังเป็นยุติได้ว่า ร. เป็นหนี้ผู้ร้องและมีข้อตกลงต่าง ๆ ระหว่างผู้ร้องกับ ร. ดังที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของผู้คัดค้านที่อายัดทรัพยสินของ ร. ดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 496/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารสิทธิ, ยักยอกทรัพย์, และทำลายเอกสารของธนาคารโดยพนักงาน
จำเลยเป็นพนักงานของธนาคารผู้เสียหาย ตำแหน่งเจ้าหน้าที่อำนวยการบริการมีหน้าที่รับฝาก-ถอนเงินให้แก่ลูกค้าของผู้เสียหาย ตามวันเกิดเหตุโจทก์ร่วมได้นำเงินมอบให้จำเลยเพื่อฝากเข้าบัญชีกระแสรายวันของโจทก์ร่วมที่ธนาคารผู้เสียหาย รวม 9 ครั้ง เป็นเงิน 487,810 บาท ในการฝากเงินของโจทก์ร่วม เมื่อโจทก์ร่วมมอบเงินฝากให้จำเลย จำเลยจะเป็นผู้เขียนกรอกข้อความลงในต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็ค โดยใช้กระดาษคาร์บอนอัดสำเนาแล้วฉีกต้นฉบับไว้และมอบสำเนาให้โจทก์ร่วมเป็นหลักฐาน ต่อมาจำเลยได้แก้ไขจำนวนเงินที่เป็นตัวเลขและตัวอักษรในต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็ครวม 5 ฉบับ ให้น้อยลงกว่าจำนวนเงินที่โจทก์ร่วมนำมาฝากจริงแล้วจำเลยนำเอกสารที่จำเลยแก้ไขดังกล่าวพร้อมจำนวนเงินตามเอกสารที่แก้ไขใหม่ให้หัวหน้าหน่วยการเงินตรวจสอบความถูกต้องก่อนส่งเงินเก็บรักษา การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการแก้ไขต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็คที่แท้จริงเพื่อแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น และก่อให้เกิดความเสียหายแก่ธนาคารผู้เสียหายแล้ว จึงเป็นการปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอมทั้ง 5 ฉบับและการที่จำเลยเขียนต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็คขึ้นใหม่รวม 3 ฉบับ ระบุจำนวนเงินที่เป็นตัวเลขและตัวอักษรให้น้อยลงกว่าจำนวนเงินที่โจทก์ร่วมนำมาฝากแล้วนำเอกสารที่จำเลยแก้ไขดังกล่าวพร้อมจำนวนเงินตามเอกสารที่ทำขึ้นใหม่ให้หัวหน้าหน่วยการเงินตรวจสอบความถูกต้องก่อนส่งเงินเก็บรักษาต่อไป เป็นการทำเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับเพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง และก่อให้เกิดความเสียหายแก่ธนาคารผู้เสียหายแล้ว จึงเป็นการปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอมทั้ง 3 ฉบับเช่นเดียวกัน ไม่ใช่เป็นเพียงการปลอมเอกสารธรรมดาเพราะต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็คมีข้อความแสดงว่าได้รับเงินเพื่อฝากเข้าบัญชีกระแสรายวันของโจทก์ร่วม ย่อมเป็นหลักฐานแห่งการก่อตั้งสิทธิแก่โจทก์ร่วมที่จะเรียกถอนเงินฝากคืนได้ เอกสารดังกล่าวจึงเป็นเอกสารสิทธิตาม ป.อ.มาตรา 1 (9)การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิตาม ป.อ.มาตรา 265 และฐานใช้เอกสารสิทธิปลอม ตามมาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 265 จำเลยทำลายต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็ค 4 ฉบับ อันเป็นหลักฐานของธนาคารผู้เสียหายซึ่งจำเลยจะต้องนำไปลงบัญชีในเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อแสดงยอดเงินฝากของโจทก์ร่วม โดยจำเลยไม่มีสิทธิจะทำลายต้นฉบับดังกล่าว การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานทำลายเอกสารของผู้อื่นตาม ป.อ.มาตรา 188
จำเลยได้ยักยอกเงินฝากของโจทก์ร่วมรวม 9 ครั้ง เป็นจำนวนเงิน 140,000 บาท โดยจำเลยได้แก้ไขจำนวนเงินในต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็ครวม 5 ฉบับ ให้จำนวนเงินน้อยลงกว่าความเป็นจริง และจำเลยได้เขียนต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็คขึ้นมาใหม่รวม 3 ฉบับ ระบุจำนวนเงินฝากน้อยกว่าจำนวนเงินที่โจทก์ร่วมนำมาฝาก แล้วจำเลยนำเงินลงบัญชีกระแสรายวันของโจทก์ร่วมตามจำนวนเงินในต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็คที่จำเลยแก้ไขและทำขึ้นใหม่ และการฝากเงินในวันที่เกิดเหตุมีแต่สำเนาชุดฝากเงินสด-เช็คระบุจำนวนเงินฝาก 20,000บาท แต่จำเลยไม่นำเงินฝากเข้าบัญชีกระแสรายวันของโจทก์ร่วม การที่จำเลยได้เบียดบังเงินจำนวนดังกล่าวไป 9 ครั้ง เป็นจำนวนเงิน 140,000 บาท โดยทุจริตจึงเป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ การที่จำเลยเป็นพนักงานธนาคารมีหน้าที่รับฝาก-ถอนเงินให้แก่ลูกค้าของธนาคารผู้เสียหาย ซึ่งเป็นผู้มีอาชีพอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน จึงต้องรับโทษหนักขึ้นตาม ป.อ.มาตรา 354
ฎีกาจำเลยที่ว่า โจทก์ร่วมไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์นั้น ไม่ว่าโจทก์ร่วมจะเป็นผู้เสียหายตามที่จำเลยฎีกาหรือไม่เมื่อไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป ศาลฎีกาจึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 496/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารสิทธิ, ทำลายเอกสาร, ยักยอกทรัพย์โดยพนักงานธนาคาร
จำเลยเป็นพนักงานของธนาคารผู้เสียหาย ตำแหน่งเจ้าหน้าที่อำนวยการบริการมีหน้าที่รับฝาก-ถอนเงินให้แก่ลูกค้าของผู้เสียหายตามวันเกิดเหตุโจทก์ร่วมได้นำเงินมอบให้จำเลยเพื่อฝากเข้าบัญชีกระแสรายวันของโจทก์ร่วมที่ธนาคารผู้เสียหาย รวม 9 ครั้งเป็นเงิน 487,810 บาท ในการฝากเงินของโจทก์ร่วม เมื่อโจทก์ร่วมมอบเงินฝากให้จำเลย จำเลยจะเป็นผู้เขียนกรอกข้อความลงในต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็ค โดยใช้กระดาษคาร์บอนอัดสำเนาแล้วฉีกต้นฉบับไว้และมอบสำเนาให้โจทก์ร่วมเป็นหลักฐานต่อมาจำเลยได้แก้ไขจำนวนเงินที่เป็นตัวเลขและตัวอักษรในต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็ครวม 5 ฉบับ ให้น้อยลงกว่าจำนวนเงินที่โจทก์ร่วมนำมาฝากจริงแล้วจำเลยนำเอกสารที่จำเลยแก้ไขดังกล่าวพร้อมจำนวนเงินตามเอกสารที่แก้ไขใหม่ให้หัวหน้าหน่วยการเงินตรวจสอบความถูกต้องก่อนส่งเงินเก็บรักษา การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการแก้ไขต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็คที่แท้จริงเพื่อแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น และก่อให้เกิดความเสียหายแก่ธนาคารผู้เสียหายแล้ว จึงเป็นการปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอมทั้ง 5 ฉบับและการที่จำเลยเขียนต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็คขึ้นใหม่รวม 3 ฉบับ ระบุจำนวนเงินที่เป็นตัวเลขและตัวอักษรให้น้อยลงกว่าจำนวนเงินที่โจทก์ร่วมนำมาฝากแล้วนำเอกสารที่จำเลยแก้ไขดังกล่าวพร้อมจำนวนเงินตามเอกสารที่ทำขึ้นใหม่ให้หัวหน้าหน่วยการเงินตรวจสอบความถูกต้องก่อนส่งเงินเก็บรักษาต่อไป เป็นการทำเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับเพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงและก่อให้เกิดความเสียหายแก่ธนาคารผู้เสียหายแล้ว จึงเป็นการปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอมทั้ง 3 ฉบับเช่นเดียวกัน ไม่ใช่เป็นเพียงการปลอมเอกสารธรรมดาเพราะต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็คมีข้อความแสดงว่าได้รับเงินเพื่อฝากเข้าบัญชีกระแสรายวันของโจทก์ร่วม ย่อมเป็นหลักฐานแห่งการก่อตั้งสิทธิแก่โจทก์ร่วมที่จะเรียกถอนเงินฝากคืนได้เอกสารดังกล่าวจึงเป็นเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(9) การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 และฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมตามมาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 265 จำเลยทำลายต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็ค 4 ฉบับ อันเป็นหลักฐานของธนาคารผู้เสียหายซึ่งจำเลยจะต้องนำไปลงบัญชีในเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อแสดงยอดเงินฝากของโจทก์ร่วม โดยจำเลยไม่มีสิทธิจะทำลายต้นฉบับดังกล่าว การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานทำลายเอกสารของผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 188 จำเลยได้ยักยอกเงินฝากของโจทก์ร่วมรวม 9 ครั้ง เป็นจำนวนเงิน 140,000 บาท โดยจำเลยได้แก้ไขจำนวนเงินในต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็ครวม 5 ฉบับ ให้จำนวนเงินน้อยลงกว่าความเป็นจริง และจำเลยได้เขียนต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็คขึ้นมาใหม่รวม 3 ฉบับ ระบุจำนวนเงินฝากน้อยกว่าจำนวนเงินที่โจทก์ร่วมนำมาฝาก แล้วจำเลยนำเงินลงบัญชีกระแสรายวันของโจทก์ร่วมตามจำนวนเงินในต้นฉบับชุดฝากเงินสด-เช็คที่จำเลยแก้ไขและทำขึ้นใหม่ และการฝากเงินในวันที่เกิดเหตุมีแต่สำเนาชุดฝากเงินสด-เช็คระบุจำนวนเงินฝาก 20,000 บาท แต่จำเลยไม่นำเงินฝากเข้าบัญชีกระแสรายวันของโจทก์ร่วมการที่จำเลยได้เบียดบังเงินจำนวนดังกล่าวไป 9 ครั้งเป็นจำนวนเงิน 140,000 บาท โดยทุจริตจึงเป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ การที่จำเลยเป็นพนักงานธนาคารมีหน้าที่รับฝาก-ถอนเงินให้แก่ลูกค้าของธนาคารผู้เสียหาย ซึ่งเป็นผู้มีอาชีพอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน จึงต้องรับโทษหนักขึ้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 354 ฎีกาจำเลยที่ว่า โจทก์ร่วมไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์นั้น ไม่ว่าโจทก์ร่วมจะเป็นผู้เสียหายตามที่จำเลยฎีกาหรือไม่เมื่อไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไปศาลฎีกาจึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4181/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยักยอกทรัพย์: การเบียดบังทรัพย์สินของผู้อื่นที่อยู่ในความครอบครองโดยทุจริต
จำเลยเป็นลูกจ้างผู้เสียหายมีหน้าที่จำหน่ายสินค้าให้แก่ลูกค้าแล้วนำเงินมามอบให้ผู้เสียหาย จำเลยรับสินค้าไปจากผู้เสียหายแล้ว มิได้นำไปจำหน่ายแก่ลูกค้า แต่นำไปจำนำและขายฝาก เป็นการเบียดบังทรัพย์สินของผู้อื่นที่อยู่ในความครอบครองของจำเลยโดยทุจริต ดังนั้น ไม่ว่าจำเลยจะเป็นลูกจ้างผู้เสียหายหรือไม่ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยครอบครองทรัพย์ของผู้เสียหายแล้วเบียดบังเอาทรัพย์นั้นไปโดยทุจริต จำเลยย่อมมีความผิดฐานยักยอกตาม ป.อ.มาตรา 352 วรรคแรก ฎีกาของจำเลยที่ว่า พนักงานของผู้เสียหายไม่มีเงินเดือนแต่จะได้รับรายได้จากค่าคอมมิชชั่นของการขายและเปอร์เซ็นต์จากการขายเป็นรายเดือน จำเลยจึงไม่ใช่ลูกจ้างผู้เสียหายตาม ป.พ.พ.นั้น จึงไม่เป็นสาระสำคัญแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคแรก ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
of 55