คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ยักยอกเงิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 147 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2620/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สามีร่วมรู้เห็นการยักยอกเงิน-ซื้อทรัพย์สิน ย่อมไม่มีสิทธิขอรับส่วนเงินจากการขายทอดตลาด
ผู้ร้องซึ่งเป็นสามีของจำเลยได้ร่วมรู้เห็นในการที่จำเลยยักยอกเงินของโจทก์แล้วนำไปซื้อที่ดิน (พร้อมสิ่งปลูกสร้าง) และเครื่องอิเล็กโทนที่โจทก์นำยึดไว้มาโดยตลอด จึงไม่อาจอ้างได้ว่าทรัพย์ดังกล่าวเป็นทรัพย์สินอันชอบด้วยกฎหมายของผู้ร้องตามส่วนที่พึงได้รับตามกฎหมาย และได้รับความคุ้มครองในฐานะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วม เมื่อโจทก์นำยึดทรัพย์ดังกล่าว แล้วผู้ร้องมาขอกันส่วนเงินอันได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์นั้น จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ผู้ร้องไม่มีสิทธิขอกันส่วน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2218/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของพนักงานรับชำระหนี้ที่ยักยอกเงินของธนาคาร: ธนาคารเป็นผู้เสียหาย
จำเลยเป็นพนักงานพิธีการสินเชื่อของธนาคาร ก. มีหน้าที่รับชำระหนี้แทนธนาคาร ก. เงินที่จำเลยรับไว้เป็นของธนาคาร ก. จำเลยเบียดบังเอาเงินนั้นไปเป็นของตนโดยทุจริตเป็นความผิดฐานยักยอกธนาคาร ก. เป็นผู้เสียหาย
การไปรับฝากเงินนอกสถานที่เป็นกิจการของธนาคารที่มอบหมายให้จำเลยกระทำ จำเลยจึงเป็นตัวแทนของธนาคาร ก..

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1436/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของข้าราชการต่อการยักยอกเงินของทางราชการจากความประมาทเลินเล่อและการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่
โจทก์เป็นกรมในรัฐบาล อธิบดีซึ่งเป็นผู้แทนของกรมโจทก์มอบอำนาจให้ผู้หนึ่งผู้ใดฟ้องคดีแทน ดังนี้อากรสำหรับการมอบอำนาจซึ่งกรมโจทก์เป็นฝ่ายที่ต้องเสียจึงเป็นอันไม่ต้องเสียตามประมวลรัษฎากร มาตรา 121 โจทก์มีอำนาจฟ้อง จำเลยที่ 3 ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 4 ให้มีหน้าที่และรับผิดชอบโดยตรงในด้านการเงินและทะเบียนยานพาหนะ แต่จำเลยที่ 3 ไม่เคยตรวจตราอย่างใกล้ชิดในการเก็บรักษาเงิน และไม่ดูแลในการนำเงินส่งคลังให้เป็นไปตามระเบียบเป็นการประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ฉวยโอกาสยักยอกเงินของทางราชการไป จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 4 มีตำแหน่งเป็นผู้กำกับการตำรวจภูธร ย่อมต้องมีหน้าที่รับผิดชอบงานในหน่วยราชการที่ตนมีหน้าที่ควบคุมอยู่ แม้จะมอบหมายหน้าที่การเงินให้จำเลยที่ 3 ดูแลแทน จำเลยที่ 4 ก็ยังต้องมีหน้าที่ดูแลมิให้เกิดการเสียหาย เมื่อจำเลยที่ 4 ปล่อยปละละเลยไม่ปฏิบัติตามระเบียบในการรักษาเงินโดยไม่เก็บรักษา กุญแจไว้กับตนกลับมอบให้จำเลยที่ 3 ซึ่งถือกุญแจอยู่อีก 1 ดอก เป็น การเปิดช่องให้มีการยักยอกเงินสะดวกขึ้นเมื่อมอบหมายให้จำเลยที่ 3ปฏิบัติหน้าที่แทนตนก็มิได้ตรวจตราควบคุมดูแลการนำเงินเข้าและออกจากที่เก็บตลอดจนมิได้ตรวจสอบทะเบียนเงินยืมและเร่งรัดให้มีการส่งใบสำคัญหักล้างเงินยืมตามระเบียบจนเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 และที่ 2ร่วมกันปลอมใบยืมและเบิกเงินไปโดยผิดระเบียบถึง 29 ครั้ง ถือว่า เป็นความประมาทเลินเล่อ เมื่อเกิดความเสียหายอันเป็นผล ของความประมาทเลินเล่อดังกล่าวจำเลยที่ 4 จึงต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 293/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ยักยอกเงินโดยผู้จัดการธนาคารร่วมกับผู้อื่น โดยทุจริตและฝ่าฝืนคำสั่งของธนาคาร
การที่จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้จัดการธนาคารสาขาของโจทก์ร่วมได้อนุมัติให้จ่ายเงิน 5,870,000 บาท แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ในขณะที่ยังไม่ทราบผลการเรียกเก็บเงินตามเช็ค 2 ฉบับ รวมเงินจำนวน 7,000,000 บาท ที่จำเลยที่ 2นำเข้าบัญชีเพื่อให้ธนาคารเรียกเก็บเงิน อันเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของโจทก์ร่วมที่สั่งให้งดจ่ายเงินในกรณีที่ลูกค้าเอาเช็คเข้าบัญชีโดยยังไม่ทราบผลของการเรียกเก็บเงินตามเช็คนั้น เชื่อ ได้ว่าจำเลยที่ 3 ได้อนุมัติจ่ายเงินจำนวนดังกล่าวไปโดยทุจริตโดยคบคิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 เพื่อเอาเงินของโจทก์ร่วม จึงมีความผิดฐานยักยอกตาม ป.อ. มาตรา 353.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 162/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาซ้ำหลังถอนฟ้องคดีเดิม: การกระทำต่างกรรมต่างวาระไม่ขัดมาตรา 36
โจทก์เคยฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดฐานยักยอกเงินของโจทก์มาครั้งหนึ่งแต่ถอนฟ้องไป แล้วโจทก์จึงมาฟ้องคดีนี้กล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิใช้เอกสารสิทธิปลอมและยักยอกเงินของโจทก์ ซึ่งเป็นการยักยอกเงินคนละคราวและคนละรายกับที่ฟ้องในคดีก่อน แม้จะเป็นการกระทำในขณะปฏิบัติหน้าที่ประธานสวัสดิการอันเป็นมูลกรณีเดียวกับคดีก่อนแต่เป็นการกระทำที่ต่างกรรมต่างวาระกับที่จำเลยถูกฟ้องในคดีก่อนโจทก์จึงฟ้องได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 36

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1507/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานยักยอกเงินรายได้ของราชการ มีเจตนาทุจริตเบียดบังเพื่อประโยชน์ส่วนตัว
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่รับเงินรายได้ของหน่วยราชการที่ตน สังกัด แต่มิได้นำเงินนั้นส่งคลังตามระเบียบซึ่งตามปกติจะต้องนำเงินส่งคลังในวันเดียวกันกับวันที่ได้รับเงินไว้ เว้นแต่มีเหตุจำเป็นก็ให้นำส่งคลังในวันรุ่งขึ้นถัด ไปที่เป็นวันทำการทั้งจำเลยมิได้ลงบัญชีรับเงินไว้เป็นหลักฐาน จนกระทั่งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในของกรมเจ้าสังกัดตรวจพบการกระทำของจำเลยเป็นเวลาถึง5 เดือนเศษ จำเลยจึงได้นำเงินส่งครบถ้วนนั้น นับว่าคดีมีเหตุผลเชื่อ ได้ว่า จำเลยมีเจตนาทุจริตเบียดบังไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 148/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดยักยอกเงินของพนักงานรัฐ: การพิจารณาความผิดตามกฎหมายอาญาและกฎหมายพิเศษ
พระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 มาตรา 18 บัญญัติให้พนักงานของการรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าพนักงานตามความหมายแห่งกฎหมายลักษณะอาญา เมื่อจำเลยซึ่งเป็นพนักงานของการรถไฟแห่งประเทศไทยมีหน้าที่จำหน่ายตั๋วเดินทางยักยอกเงินค่าตั๋วเดินทางที่จำเลยได้รับไว้ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 และโดยที่พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 3 บัญญัติไว้ว่า ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานอยู่แล้วตามกฎหมายไม่เป็น 'พนักงาน' ตามกฎหมายฉบับดังกล่าว จำเลยจึงไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 4 ด้วย
ปัญหาเรื่องการปรับบทลงโทษจำเลยเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย และแก้เสียให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 148/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพนักงานยักยอกเงิน: การพิจารณาความผิดตามกฎหมายอาญาและกฎหมายเฉพาะ
พระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 มาตรา 18 บัญญัติให้พนักงานของการรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าพนักงานตามความหมายแห่งกฎหมายลักษณะอาญา เมื่อจำเลยซึ่งเป็นพนักงานของการรถไฟแห่งประเทศไทยมีหน้าที่จำหน่ายตั๋วเดินทางยักยอกเงินค่าตั๋วเดินทางที่จำเลยได้รับไว้ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 และโดยที่พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐพ.ศ. 2502 มาตรา 3 บัญญัติไว้ว่า ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานอยู่แล้วตามกฎหมายไม่เป็น 'พนักงาน' ตามกฎหมายฉบับดังกล่าว จำเลยจึงไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา4 ด้วย
ปัญหาเรื่องการปรับบทลงโทษจำเลยเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย และแก้เสียให้ถูกต้องได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2544/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยักยอกเงินที่ธนาคารจ่ายเกินเนื่องจากความสำคัญผิดของผู้ปฏิบัติงานธนาคาร
ตามหนังสือมอบอำนาจปรากฏว่า ธนาคารมอบอำนาจให้ผู้จัดการธนาคารสาขามีอำนาจฟ้องและดำเนินคดีที่สาขามีส่วนได้เสียหรือเกี่ยวข้อง ดังนี้ผู้จัดการธนาคารสาขาย่อมมีอำนาจร้องทุกข์กล่าวหาจำเลยว่ายักยอกเงินที่พนักงานของธนาคารสาขาส่งมอบให้จำเลยโดยสำคัญผิด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้ครอบครองเงินจำนวน 90,000 บาท ของธนาคารโจทก์ร่วม ซึ่งอยู่ในความดูแลรักษาของผู้จัดการธนาคารโจทก์ร่วมสาขานครศรีธรรมราช โดยผู้มีชื่อได้ส่งมอบเงินดังกล่าวให้แก่จำเลยโดยสำคัญผิดแล้วจำเลยเบียดบังเงินจำนวนดังกล่าวเป็นของตนโดยทุจริต เป็นการกล่าวถึงการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดตลอดจนข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5) แล้ว ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องที่สมบูรณ์หาเคลือบคลุมไม่
จำเลยเขียนเช็คสั่งจ่ายเงิน 10,000 บาท โดยเขียนจำนวนเงินด้วยอักษรว่า 'หนึ่งหมื่นบาท' แต่จำนวนเงินที่เขียนด้วยตัวเลข ได้ใส่เครื่องหมายจุลภาคผิดตำแหน่ง โดยใส่ไว้หลังเลขศูนย์ตัวที่สองนับจากเลข 1 แล้วนำมาขอเบิกเงินจากธนาคารพนักงานธนาคารสำคัญผิดว่าจำเลยขอเบิกเงิน 100,000 บาท จึงจ่ายเงินให้จำเลย 100,000 บาท ถือได้ว่าเงินจำนวน 90,000 บาท เป็นเงินที่ส่งมอบให้อยู่ในความครอบครองของจำเลยโดยสำคัญผิดไป แม้จะด้วยการใดก็ตาม เมื่อจำเลยเบียดบังเอาเป็นของตน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4000/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้าราชการตำรวจยักยอกเงินค่าภาษีรถยนต์ แม้มีคำสั่งมอบหมายงานเพิ่มเติม ไม่กระทบหน้าที่เดิม
ผู้บังคับการตำรวจภูธร. เขต 3 มีคำสั่งให้จำเลยเป็นสิบตำรวจตรีประจำกองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัดชัยภูมิทำหน้าที่ผู้ช่วยเสมียนทะเบียนยานพาหนะกองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัดชัยภูมิจำเลยจึงมีหน้าที่รับเงินค่าภาษีรถยนต์และค่าภาษียานพาหนะอื่น ได้ทั้งหมดแล้วนำส่งให้แก่สารวัตรการเงินและบัญชี การที่ผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดชัยภูมิมีคำสั่งให้จำเลยเป็นหัวหน้า สำหรับประเภทล้อเลื่อน ไม่มีผลเป็นการลบล้างหรือยกเลิกคำสั่ง ของกองบังคับการตำรวจภูธร เขต 3 ซึ่งเป็นหน่วยราชการ ที่เหนือกว่าได้ จำเลยยังคงมีอำนาจและหน้าที่ปฏิบัติงานในตำแหน่ง ผู้ช่วยเสมียนทะเบียนยานพาหนะกองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัดชัยภูมิ อยู่เช่นเดิมเมื่อจำเลยรับเงินค่าภาษีรถยนต์แล้วเบียดบังเป็นของจำเลย ย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 จำเลยอ้างว่าคำสั่งของผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดชัยภูมิเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายเพราะออกโดยอาศัยอำนาจตามระเบียบกรมตำรวจว่าด้วยการมอบหมายอำนาจการสั่งแต่งตั้งข้าราชการตำรวจแต่โจทก์จำเลยมิได้อ้างและนำสืบถึงระเบียบดังกล่าว จำเลยได้นำเข้าสู่สำนวนความโดยมีคำแถลงส่งต่อศาลอุทธรณ์เมื่อจำเลยได้ยื่นอุทธรณ์แล้ว จึงเป็นข้อที่จำเลย มิได้อ้างไว้ในศาลชั้นต้นศาลฎีการับวินิจฉัยให้ ไม่ได้
of 15