พบผลลัพธ์ทั้งหมด 48 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1914/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิยกเว้นการประเมินภาษีหลังยื่นคำขอเสียภาษีเพิ่มเติม แม้ข้อมูลในแบบแสดงรายการไม่ถูกต้อง
พระราชกำหนด กำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14)พ.ศ. 2529 เปิดโอกาสให้ผู้ที่ยังไม่ได้เสียภาษีหรือเสียไว้ไม่ถูกต้อง ยื่นคำขอเสียภาษีภายในระยะเวลาและตามแบบที่อธิบดีกำหนดเมื่อผู้ยื่นคำขอเสียภาษีได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว ก็เป็นอันให้ผู้นั้นได้รับยกเว้นจากการเรียกตรวจสอบไต่สวนประเมิน ผู้ยื่นคำขอจะหมดสิทธิที่จะได้รับยกเว้นตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 30 วรรคแรก คงมีเฉพาะเพียงกรณีตามมาตรา30 วรรคห้าเท่านั้น ดังนี้ เมื่อ อ. ยื่นคำขอเสียภาษีอากรตามแบบ อ.1 และได้ชำระภาษีอากรแล้ว แม้ภายหลังจะปรากฏว่าอ.ได้แสดงรายการทรัพย์สินหนี้สินรายได้ไม่ถูกต้องในแบบอ.1ก็เป็นเพียงคำขอเสียภาษีมีข้อบกพร่องเท่านั้น หาทำให้ อ.ไม่ได้รับสิทธิยกเว้นจากการเรียกตรวจสอบ ไต่สวน ประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากรไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1041/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียภาษีตาม พ.ร.ฎ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) การประเมินภาษีหลังยื่นคำขอไม่ชอบด้วยกฎหมาย
พระราชกำหนด กำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14)พ.ศ. 2529 มุ่งประสงค์จะให้ประโยชน์แก่ผู้เสียภาษีอากร โดย มุ่งหวังให้ผู้ที่ไม่เคยเสียภาษีอากรหรือเสียไว้ไม่ถูกต้องมาทำการ เสียภาษีอากรกับทางราชการเสียโดยจะไม่นำระบบการเรียกตรวจสอบไต่สวน ประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากรมาใช้กับผู้ต้องการเสียภาษีอากรตามวิธีการพิเศษนี้ ในขณะเดียวกันทางราชการก็กำหนดวิธีการคำนวณภาษีอากรไว้เป็นพิเศษต่างหากจากวิธีการปกติธรรมดาวิธีการคำนวณภาษีอากรดังกล่าวเป็นเพียงวิธีการเพื่อให้ได้จำนวนภาษีอากรที่ผู้ยื่นคำขอจะต้องเสียเท่านั้นหาใช่เป็นเงื่อนไขของผู้ยื่นคำขอว่าถ้ายื่นคำขอแจ้งมูลค่าทรัพย์สินทั้งหมดที่มีอยู่ หรืยอดรายได้ไม่ตรงตามความจริงแล้ว ผู้ยื่นคำขอจะหมดสิทธิที่จะได้รับยกเว้นตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 30 วรรคแรก เหตุที่ผู้ยื่นคำขอจะหมดสิทธิและไม่ได้รับผลจากการยกเว้นดังกล่าว คงมีเพียงกรณีตามที่บัญญัติไว้ มาตรา 30 วรรคห้า โจทก์ได้ยื่นคำขอเสียภาษีอากรตามแบบ อ.1 ถึง 2 ครั้งและตามแบบ อ.11 อีก 1 ครั้งและได้ชำระภาษีอากรให้จำเลยที่ 1 จนจำเลย ที่ 1 ได้ออกใบเสร็จรับเงินของจำเลยที่ 1 ให้โจทก์เป็นหลักฐาน และเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ได้ทำการวิเคราะห์คำขอเสียภาษีอากร ของโจทก์จนเป็นที่เรียบร้อยแล้วทั้งได้แจ้งผลการวิเคราะห์ให้ โจทก์ทราบว่าโจทก์ได้เสียภาษีอากรครบถ้วนถูกต้องและได้ สั่งยุติเรื่องแล้ว โจทก์จึงได้รับการยกเว้นจากการเรียกตรวจสอบ ไต่สวน ประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากร แม้ภายหลังจากที่โจทก์ ยื่นฟ้องคดีแล้ว เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 จะตรวจพบว่าโจทก์ยังมีทรัพย์สินอื่นและรายได้ที่ไม่ได้นำมาลงในคำขอเสียภาษีอากรตามแบบ อ.1และคำขอเสียภาษีอากรตามแบบอ.11 ก็เป็นเพียงคำขอเสียภาษีอากรของโจทก์มีข้อบกพร่อง ไม่ทำให้โจทก์กลายเป็นผู้ไม่ได้รับสิทธิยกเว้นจากการเรียกตรวจสอบ ไต่สวน ประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากรจำเลยที่ 1 จึงไม่มีอำนาจประเมินภาษีอากรเอากับโจทก์ภายหลังที่โจทก์ได้ยื่นคำขอเสียภาษีอากรตามแบบ อ.1ครั้งแรกและเป็นเวลาอยู่ระหว่างพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 ใช้บังคับ การประเมินภาษีของจำเลยที่ 1 ไม่มีผล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1041/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิยกเว้นการประเมินภาษีจากการยื่นคำขอเสียภาษีตามพระราชกำหนด (แก้ไขเพิ่มเติม) ประมวลรัษฎากร แม้ตรวจพบทรัพย์สินเพิ่มเติม
พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529มุ่งประสงค์จะให้ประโยชน์แก่ผู้เสียภาษีอากร โดยมุ่งหวังให้ผู้ที่ไม่เคยเสียภาษีอากรหรือเสียไว้ไม่ถูกต้องมาทำการเสียภาษีอากรกับทางราชการเสียโดยจะไม่นำระบบการเรียกตรวจสอบไต่สวน ประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากรมาใช้กับผู้ต้องการเสียภาษีอากรตามวิธีการพิเศษนี้ ในขณะเดียวกันทางราชการก็กำหนดวิธีการคำนวณภาษีอากรไว้เป็นพิเศษต่างหากจากวิธีการปกติธรรมดา วิธีการคำนวณภาษีอากรดังกล่าวเป็นเพียงวิธีการเพื่อให้ได้จำนวนภาษีอากรที่ผู้ยื่นคำขอจะต้องเสียเท่านั้นหาใช่เป็นเงื่อนไขของผู้ยื่นคำขอว่าถ้ายื่นคำขอแจ้งมูลค่าทรัพย์สินทั้งหมดที่มีอยู่หรือยอดรายได้ไม่ตรงตามความจริงแล้ว ผู้ยื่นคำขอจะหมดสิทธิที่จะได้รับยกเว้นตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 30 วรรคแรก เหตุที่ผู้ยื่นคำขอจะหมดสิทธิและไม่ได้รับผลจากการยกเว้นดังกล่าวคงมีเพียงกรณีตามที่บัญญัติไว้ มาตรา 30 วรรคห้า
โจทก์ได้ยื่นคำขอเสียภาษีอากรตามแบบ อ.1 ถึง 2 ครั้งและตามแบบ อ.11 อีก 1 ครั้งและได้ชำระภาษีอากรให้จำเลยที่ 1จนจำเลยที่ 1 ได้ออกใบเสร็จรับเงินของจำเลยที่ 1 ให้โจทก์เป็นหลักฐาน และเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ได้ทำการวิเคราะห์คำขอเสียภาษีอากรของโจทก์จนเป็นที่เรียบร้อยแล้วทั้งได้แจ้งผลการวิเคราะห์ให้โจทก์ทราบว่าโจทก์ได้เสียภาษีอากรครบถ้วนถูกต้องและได้สั่งยุติเรื่องแล้ว โจทก์จึงได้รับการยกเว้นจากการเรียกตรวจสอบ ไต่สวน ประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากร แม้ภายหลังจากที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีแล้วเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 จะตรวจพบว่าโจทก์ยังมีทรัพย์สินอื่นและรายได้ที่ไม่ได้นำมาลงในคำขอเสียภาษีอากรตามแบบอ.1และคำขอเสียภาษีอากรตามแบบอ.11 ก็เป็นเพียงคำขอเสียภาษีอากรของโจทก์มีข้อบกพร่อง ไม่ทำให้โจทก์กลายเป็นผู้ไม่ได้รับสิทธิยกเว้นจากการเรียกตรวจสอบ ไต่สวน ประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากร จำเลยที่ 1 จึงไม่มีอำนาจประเมินภาษีอากรเอากับโจทก์ภายหลังที่โจทก์ได้ยื่นคำขอเสียภาษีอากรตามแบบ อ.1 ครั้งแรกและเป็นเวลาอยู่ระหว่างพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529ใช้บังคับ การประเมินภาษีของจำเลยที่ 1 ไม่มีผล (วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2531).
โจทก์ได้ยื่นคำขอเสียภาษีอากรตามแบบ อ.1 ถึง 2 ครั้งและตามแบบ อ.11 อีก 1 ครั้งและได้ชำระภาษีอากรให้จำเลยที่ 1จนจำเลยที่ 1 ได้ออกใบเสร็จรับเงินของจำเลยที่ 1 ให้โจทก์เป็นหลักฐาน และเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ได้ทำการวิเคราะห์คำขอเสียภาษีอากรของโจทก์จนเป็นที่เรียบร้อยแล้วทั้งได้แจ้งผลการวิเคราะห์ให้โจทก์ทราบว่าโจทก์ได้เสียภาษีอากรครบถ้วนถูกต้องและได้สั่งยุติเรื่องแล้ว โจทก์จึงได้รับการยกเว้นจากการเรียกตรวจสอบ ไต่สวน ประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากร แม้ภายหลังจากที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีแล้วเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 จะตรวจพบว่าโจทก์ยังมีทรัพย์สินอื่นและรายได้ที่ไม่ได้นำมาลงในคำขอเสียภาษีอากรตามแบบอ.1และคำขอเสียภาษีอากรตามแบบอ.11 ก็เป็นเพียงคำขอเสียภาษีอากรของโจทก์มีข้อบกพร่อง ไม่ทำให้โจทก์กลายเป็นผู้ไม่ได้รับสิทธิยกเว้นจากการเรียกตรวจสอบ ไต่สวน ประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากร จำเลยที่ 1 จึงไม่มีอำนาจประเมินภาษีอากรเอากับโจทก์ภายหลังที่โจทก์ได้ยื่นคำขอเสียภาษีอากรตามแบบ อ.1 ครั้งแรกและเป็นเวลาอยู่ระหว่างพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529ใช้บังคับ การประเมินภาษีของจำเลยที่ 1 ไม่มีผล (วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2531).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1971/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความบังคับคดี: การยื่นคำขอภายใน 10 ปีนับจากวันพิพากษา เพียงพอ แม้การยึดทรัพย์เกิน 10 ปี
ป.วิ.พ. มาตรา 271 บังคับให้ฝ่ายชนะคดียื่นคำร้องขอบังคับคดีภายใน 10 ปี หาใช่บังคับคดีให้เสร็จภายใน 10 ปีไม่ เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอหมายบังคับคดีภายใน 10 ปีนับแต่วันที่ศาลพิพากษาแล้ว แม้จะมีการยึดทรัพย์หลังจากล่วงพ้นระยะเวลา 10 ปีเนื่องจากหาที่ดินที่จำเลยจำนองไว้ไม่พบ ก็ยังคงอยู่ในระหว่างดำเนินการบังคับคดี สิทธิของโจทก์ในการที่จะให้มีการบังคับคดียังคงมีอยู่จนกว่าจะมีการบังคับคดีเสร็จสิ้น จำเลยจึงไม่มีอำนาจขอให้เพิกถอนการบังคับคดีได้.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 472/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์สัญชาติไทยต้องยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่และเสียค่าธรรมเนียมก่อน จึงมีสิทธิขอให้ศาลพิจารณา
พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 มาตรา 57 ได้บัญญัติถึงขั้นตอนของการร้องขอพิสูจน์การมีสัญชาติไทยไว้ว่า ผู้ที่จะขอพิสูจน์ว่าตนมีสัญชาติไทย จะต้องยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และเสียค่าธรรมเนียมเสียก่อนต่อเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่สั่งประการใดแล้ว ผู้นั้นไม่พอใจคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่จะร้องขอให้ศาลพิจารณาก็ได้ ผู้ร้องซึ่งประสงค์จะขอพิสูจน์สัญชาติไทย จึงต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมายดังกล่าวเสียก่อน เมื่อผู้ร้องไม่เคยยื่นคำขอพิสูจน์สัญชาติไทยต่อพนักงานเจ้าหน้าที่และเสียค่าธรรมเนียม ผู้ร้องจึงยังไม่มีสิทธิร้องขอให้ศาลไต่สวนและมีคำสั่งว่าผู้ร้องเป็นคนมีสัญชาติไทย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 472/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์สัญชาติไทยต้องยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อน จึงจะสามารถขอให้ศาลพิจารณาได้
พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 มาตรา 57 ได้บัญญัติถึงขั้นตอนของการร้องขอพิสูจน์การมีสัญชาติไทยไว้ว่า ผู้ที่จะขอพิสูจน์ว่าตนมีสัญชาติไทย จะต้องยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่และเสียค่าธรรมเนียมเสียก่อนต่อเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่สั่งประการใดแล้วผู้นั้นไม่พอใจคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่จะร้องขอให้ศาลพิจารณาก็ได้ผู้ร้องซึ่งประสงค์จะขอพิสูจน์สัญชาติไทย จึงต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมายดังกล่าวเสียก่อนเมื่อผู้ร้องไม่เคยยื่นคำขอพิสูจน์สัญชาติไทยต่อพนักงานเจ้าหน้าที่และเสียค่าธรรมเนียมผู้ร้องจึงยังไม่มีสิทธิร้องขอให้ศาลไต่สวนและมีคำสั่งว่าผู้ร้องเป็นคนมีสัญชาติไทย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 471/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า พิจารณาจากผู้ใช้เครื่องหมายการค้าก่อนและยื่นคำขอจดทะเบียนก่อน
โจทก์จำเลยต่างไม่มีสินค้าผงวุ้นเป็นของตนเอง ต่างยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะเกือบเหมือนกันเพื่อให้ห้างที่ตนถือหุ้นซึ่งประกอบการค้าผงวุ้นได้ใช้เป็นเครื่องหมายการค้าเมื่อปรากฏว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. ซึ่งจำเลยเป็นหุ้นส่วนค้าผงวุ้นและใช้เครื่องหมายการค้ามาตั้งแต่ พ.ศ. 2511 จนถึง พ.ศ. 2517 จำเลยได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าส่วนโจทก์ยื่นคำขอภายหลังจำเลยถึง 1 ปีเศษและห้างซึ่งโจทก์เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการเพิ่งตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2515 ดังนี้จำเลยผู้ยื่นคำขอก่อนเพื่อประโยชน์ของห้าง พ. ซึ่งได้ใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทอยู่ก่อนย่อมมีสิทธิที่จะได้รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าโจทก์
ถึงแม้สืบพยานไปแล้วจะได้ความว่า โจทก์เป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องหมายการค้ารายพิพาท แต่ขณะนั้นโจทก์ทำในฐานะเป็นหุ้นส่วนของห้าง พ. เพื่อให้ห้าง พ. ใช้เป็นเครื่องหมายการค้าก็ไม่มีผลทำให้คำพิพากษาเปลี่ยนแปลงไปที่ศาลชั้นต้นงดสืบพยานโจทก์จำเลยจึงชอบแล้ว
ถึงแม้สืบพยานไปแล้วจะได้ความว่า โจทก์เป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องหมายการค้ารายพิพาท แต่ขณะนั้นโจทก์ทำในฐานะเป็นหุ้นส่วนของห้าง พ. เพื่อให้ห้าง พ. ใช้เป็นเครื่องหมายการค้าก็ไม่มีผลทำให้คำพิพากษาเปลี่ยนแปลงไปที่ศาลชั้นต้นงดสืบพยานโจทก์จำเลยจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 793/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสมควรพิจารณาคดีใหม่: จำเลยลี้ภัยอยู่ต่างประเทศและยื่นคำขอภายในกำหนดหลังกลับไทย
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ขณะที่จำเลยที่ 1 ลี้ภัยไปอยู่ต่างประเทศเพิ่งกลับเข้ามาเมื่อศาลพิจารณาพิพากษาเสร็จไปแล้ว และได้ยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่กลับเข้ามา ดังนี้ การที่จำเลยที่ 1 ขาดนัดไม่สามารถมาศาลได้ หาใช่จงใจขาดนัดไม่ มีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้มีการพิจารณาคดีใหม่ และการที่จำเลยที่ 1ไม่อาจยื่นคำขอก่อนกลับเข้ามาประเทศไทยก็เป็นกรณีที่ไม่สามารถ ยื่นคำขอโดยพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอ น.ส.3 ต้องยื่นคำขอตามกฎหมาย หากไม่ยื่น ถือไม่ได้เป็นการโต้แย้งสิทธิ
การออกน.ส.3 ผู้ขอต้องยื่นคำขอตาม ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา56 โจทก์ไม่ได้ยื่นคำขอดังนั้นนายอำเภอไม่ออก น.ส.3ให้ ไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 105/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: สิทธิของเจ้าหนี้ผู้ค้ำประกันและผลของการไม่ยื่นภายในกำหนด
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาด ธนาคารค้ำประกันหนี้ค่าภาษีศุลกากรขาเข้าและภาษีการค้าของลูกหนี้ไว้ก่อน ถือว่ามูลหนี้เกิดขึ้นก่อนแล้ว แม้ลูกหนี้ยังไม่ถูกกรมศุลกากรเรียกให้ชำระหนี้ก็ตามธนาคารไม่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายใน 2 เดือน จึงหมดสิทธิขอรับชำระหนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์นั้น ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้พิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดตามคำสั่งศาลชั้นต้นธนาคารขอรับชำระหนี้ภายในสองเดือนนับแต่โฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ครั้งที่สองนี้ไม่ได้ การโฆษณาคำสั่งครั้งที่สองนี้สำหรับหนี้ที่เกิดขึ้นหลังจากที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องแล้วเท่านั้น