คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ยื่นคำให้การ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 36 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1088/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกโดยปิดหมายตามคำสั่งศาล และสิทธิในการยื่นคำให้การของผู้ถูกฟ้อง
เจ้าพนักงานส่งหมายเรียกและสำเนาฟ้องโดยวิธีปิดหมายและสำเนาฟ้อง ซึ่งศาลได้สั่งไว้แล้วตอนรับฟ้อง เป็นการส่งตามคำสั่งศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 76
ส่วนการส่งหมายเรียกและสำเนาฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79 นั้น เป็นเรื่องศาลมิได้มีคำสั่งกำหนดวิธีการส่งไว้ล่วงหน้า ต่อมาไม่สามารถส่งตามวิธีปกติได้ ศาลจึงมีคำสั่งกำหนดวิธีการส่งโดยวิธีการอื่นอีกครั้งหนึ่ง
เมื่อศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยที่ขอให้ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องของจำเลยที่ขอให้จำเลยยื่นคำให้การต่อสู้คดี ศาลฎีกาจะวินิจฉัยเสียเองโดยไม่ย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 409/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลาขยายการยื่นคำให้การ ต้องนับวันถัดจากวันสั่งขยายเป็นวันแรก
การนับระยะเวลาภายใน 8 วัน ตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177-178 บัญญัติไว้นั้น ต้องนับตามวิธีที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 158-190 บัญญัติไว้ คือ ไม่นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมคำนวณเข้าด้วย ถ้าระยะเวลานั้นผ่อนออกไป ให้นับเอาวันซึ่งต่อจากวันสุดท้ายแห่งระยะเวลาเดิมนั้นเป็นวันต้นแห่งระยะเวลาซึ่งผ่อนออกไป
ศาลชั้นต้นสั่งในวันที่ 22 ส.ค. 2503 ว่าให้ยืดเวลายื่นคำให้การไป 3 วัน จำเลยมีสิทธิยื่นคำให้การได้ในวันที่ 25 ส.ค. 2503

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1534/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยืดเวลายื่นคำให้การ จำเลยไม่ทราบคำสั่ง และสิทธิในการยื่นคำให้การตามมาตรา 204
กรณีที่จำเลยบางคนได้ยื่นแต่บางคนมิได้ยื่นคำให้การภายกำหนด ศาลจะต้องสั่งยืดเวลายื่นคำให้การไปแล้ว แจ้งให้จำเลยที่มิได้ยื่นคำให้การทราบ โดยวิธีส่งหมายธรรมดาหรือโดยวิธีอื่นแทน การที่ศาลออกหมายนัดพิจารณาคิดีเสีทีเดียว ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่มิได้ยื่นคำให้การทราบคำสั่งยืดเวลาคำให้การตามมาตรา 204
จำเลยที่ทราบฟ้องโดยประกาศหนังสือพิมพ์ แต่มิได้ยื่นคำให้การภายในกำหนด ก็ได้รับประโยชน์ตามมาตรา 204 เช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1798/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดยื่นคำให้การและผลกระทบจากประกาศที่ขัดแย้งกับหมายเรียก ศาลพิจารณาความสุจริตของผู้ถูกฟ้อง
โจทก์ฟ้องจำเลยแต่ส่งหมายเรียกสำเนาฟ้องให้จำเลยไม่ได้ ศาลจึงประกาศเรียกจำเลยทางหนังสือพิมพ์ในประกาศมีกำหนดไว้ว่าให้จำเลยยื่นคำให้การในวันที่ 9 พฤษภาคม 2492 แต่จำเลยกลับมาขอรับสำเนาฟ้อง และหมายเรียกไปจากศาลเองในวันที่ 23 เมษายน 2492 แล้วเพิ่งมายื่นคำให้การเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2492 ดังนี้แม้จะเกินกำหนด 8 วัน แต่เมื่อจำเลยยืนยันว่าเข้าใจโดยสุจริตว่ายื่นคำให้การได้ถึงวันที่ 9 พฤษภาคม 2492 ตามกำหนดในประกาศแลศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่าจำเลยอาจเข้าใจดังนั้นได้จริง ศาลก็มีอำนาจสั่งว่าจำเลยมิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การ ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 688/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่โต้แย้งคำสั่งศาลที่อนุญาตให้ยื่นคำให้การภายหลังขาดนัด ไม่อาจอุทธรณ์ฎีกาได้
การที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ แต่ศาลได้ไต่สวนตามคำขอของจำเลยและสั่งอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การได้โดยเห็นว่ามีเหตุอันสมควรนั้น หากโจทก์มิได้โต้แย้งคำสั่งที่อนุญาตนั้นไว้แล้ว โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิยกความข้อนี้ขึ้นอุทธรณ์ฎีกาตาม มาตรา 226(2) ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
เพียงแต่โจทก์ยื่นคำขอเพื่อให้ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดนั้นหาถือว่าเป็นการโต้แย้งคำสั่งศาลที่สั่งในภายหลังตามนัยดังกล่าวไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3433/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีไม่มีข้อยุ่งยาก: การยื่นคำให้การเกินกำหนด ศาลชอบที่จะไม่รับคำให้การได้
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำฟ้องและออกหมายเรียกเป็นคดีไม่มีข้อยุ่งยากซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 196 วรรคสอง ที่ใช้บังคับในขณะนั้น บัญญัติว่า "ถ้าศาลเห็นว่าคดีนั้นปรากฏในเบื้องต้นว่าเป็นคดีไม่มีข้อยุ่งยาก ไม่ว่าโจทก์จะได้ยื่นคำขอตามวรรคหนึ่งหรือไม่ ก็ให้ศาลมีคำสั่งให้นำบทบัญญัติในหมวดนี้ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่เว้นแต่มาตรา 190 จัตวา มาใช้บังคับแก่คดีเช่นว่านั้นได้ภายในบังคับต่อไปนี้ (1) ให้ศาลออกหมายเรียกไปยังจำเลยแสดงจำนวนเงินที่เรียกร้องและเหตุแห่งการเรียกร้องและให้จำเลยมาศาลและให้การในวันใดวันหนึ่งตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดโดยมิให้เป็นการเสียหายแก่การต่อสู้คดี" จากบทบัญญัติดังกล่าวจะเห็นได้ว่า ในคดีไม่มีข้อยุ่งยาก กฎหมายกำหนดให้ศาลออกหมายเรียกให้จำเลยมาศาลและให้การในวันใดวันหนึ่งตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนด หมายเรียกคดีนี้กำหนดให้จำเลยทั้งสองมาศาลและให้การแก้ข้อหาแห่งคดีในวันที่ 5 กรกฎาคม 2549 เวลา 9 นาฬิกา ถูกต้องตามบทบัญญัติดังกล่าว แต่ก่อนถึงวันนัด 2 วัน จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องลงวันที่ 3 กรกฎาคม 2549 ขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การแก้ข้อหาแห่งคดีและนัดพิจารณาคดีออกไป 60 วัน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยทั้งสองยื่นคำให้การภายในวันที่ 3 สิงหาคม 2549 ส่วนวันนัดพิจารณาคดีศาลชั้นต้นไม่ได้สั่งให้เลื่อน จึงถือได้ว่าศาลชั้นต้นได้ใช้ดุลพินิจกำหนดระยะเวลาให้จำเลยทั้งสองยื่นคำให้การใหม่ได้จนถึงวันที่ 3 สิงหาคม 2549 โดยมิให้เป็นการเสียหายแก่การต่อสู้คดีของจำเลยทั้งสองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 196 วรรคสอง (1) แล้ว เมื่อถึงวันนัดคู่ความมาศาล ศาลชั้นต้นสอบถามคู่ความแล้วแถลงว่าประสงค์จะเจรจาตกลงกัน ขอให้นำคดีเข้าสู่ระบบไกล่เกลี่ย ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งให้นำคดีเข้าสู่ระบบการไกล่เกลี่ยของศาล โดยนัดไกล่เกลี่ยวันที่ 18 สิงหาคม 2549 จำเลยทั้งสองจึงมีหน้าที่ต้องยื่นคำให้การภายในระยะเวลาที่กำหนด แม้คดีจะอยู่ในระหว่างการไกล่เกลี่ยก็ไม่ทำให้ระยะเวลาในการยื่นคำให้การต้องขยายออกไป นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาความในวรรคสอง (2) และ (3) แล้ว เจตนารมณ์ของกฎหมายมุ่งประสงค์ให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาคดีไม่มีข้อยุ่งยากโดยเร็วเท่าที่พึงกระทำได้ โดยห้ามมิให้ศาลอนุญาตตามคำขอของจำเลยเพื่อเลื่อนเวลายื่นคำให้การหรือเพื่อเลื่อนคดี เว้นแต่จำเลยจะแสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลว่า คำขอของตนมีเหตุผลดีและสันนิษฐานได้เบื้องต้นว่า จำเลยมีข้อต่อสู้คดีอันสมควร การที่จำเลยทั้งสองยื่นคำให้การและฟ้องแย้งในวันที่ 11 สิงหาคม 2549 เป็นการยื่นคำให้การเกินกำหนด ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองชอบแล้วและโดยเหตุที่คดีไม่มีข้อยุ่งยากกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะนั้นมิได้กำหนดให้ศาลต้องสอบถามคำให้การของจำเลยเหมือนดั่งคดีมโนสาเร่ ทั้งจำเลยทั้งสองก็ขาดนัดยื่นคำให้การไปก่อนแล้ว ศาลชั้นต้นจึงไม่มีหน้าที่ต้องสอบถามคำให้การจำเลยทั้งสองในวันที่ 10 สิงหาคม 2550 ที่มีการสืบพยานโจทก์ การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายแล้ว
of 4