คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ย้อนสำนวน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 113 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1362/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรู้ตัวผู้รับผิดชอบและอายุความในคดีละเมิด: การย้อนสำนวนเพื่อพิจารณาความรับผิดของจำเลยที่ 2
คณะกรรมการสอบสวนซึ่งโจทก์ที่ 2 แต่งตั้งให้สอบสวนหาตัวผู้รับผิดชอบ ได้ทำการสอบสวนและรายงานผลการสอบสวนต่อผู้แทนของโจทก์ที่ 2สรุปว่า จำเลยที่ 1 เท่านั้นเป็นผู้รับผิดชอบในการละเมิด จึงจะถือว่าโจทก์ที่ 2รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวจำเลยที่ 2 ผู้จะพึงต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่วันดังกล่าวหาได้ไม่ แต่ถือว่าโจทก์ทั้งสองรู้ตัวจำเลยที่ 2 ผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน เมื่อกรมอัยการมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทั้งสองทราบว่า สมควรจะฟ้องเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดชอบร่วมกับจำเลยที่ 1 ด้วย เมื่อโจทก์ทั้งสองฟ้องคดีภายใน 1 ปี นับแต่ทราบหนังสือของกรมอัยการดังกล่าว คดีสำหรับจำเลยที่ 2จึงไม่ขาดอายุความ
ปัญหาว่า จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดฐานละเมิดหรือไม่ เพียงใดนั้น ศาลล่างทั้งสองยังมิได้วินิจฉัย เพื่อให้คดีเป็นไปตามลำดับชั้นศาล ทั้งผลการวินิจฉัยของศาลล่างอาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิในการฎีกาของคู่ความ ศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาปัญหาดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1362/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิด: เริ่มนับเมื่อใด? ศาลฎีกาย้อนสำนวนให้พิจารณาความรับผิดของจำเลยที่ 2
คณะกรรมการสอบสวนซึ่งโจทก์ที่2แต่งตั้งให้สอบสวนหาตัวผู้รับผิดชอบได้ทำการสอบสวนและรายงานผลการสอบสวนต่อผู้แทนของโจทก์ที่2สรุปว่าจำเลยที่1เท่านั้นเป็นผู้รับผิดชอบในการละเมิดจึงจะถือว่าโจทก์ที่2รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวจำเลยที่2ผู้จะพึงต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่วันดังกล่าวหาได้ไม่แต่ถือว่าโจทก์ทั้งสองรู้ตัวจำเลยที่2ผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเมื่อกรมอัยการมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทั้งสองทราบว่าสมควรจะฟ้องเรียกร้องให้จำเลยที่2รับผิดชอบร่วมกับจำเลยที่1ด้วยเมื่อโจทก์ทั้งสองฟ้องคดีภายใน1ปีนับแต่ทราบหนังสือของกรมอัยการดังกล่าวคดีสำหรับจำเลยที่2จึงไม่ขาดอายุความ ปัญหาว่าจำเลยที่2ต้องรับผิดฐานละเมิดหรือไม่เพียงใดนั้นศาลล่างทั้งสองยังมิได้วินิจฉัยเพื่อให้คดีเป็นไปตามลำดับชั้นศาลทั้งผลการวินิจฉัยของศาลล่างอาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิในการฎีกาของคู่ความศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาปัญหาดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7250/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นการฟ้องแย้งสิทธิในที่ดินพิพาทและการพิพากษานอกประเด็นที่โจทก์ฟ้อง ย้อนสำนวนเพื่อวินิจฉัยสิทธิในที่ดิน
โจทก์ฟ้องว่าบิดาโจทก์ขายที่ดินพิพาทให้ ค. ต่อมา ค.ขายที่ดินนั้นให้จำเลย โดยที่ดินพิพาทโจทก์คงมีส่วนอยู่กึ่งหนึ่ง ขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทส่วนนี้ จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าจำเลยซื้อที่ดินพิพาทมาทั้งแปลงและครอบครองตลอดมา ขอให้พิพากษาว่าจำเลยมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทส่วนที่โจทก์ฟ้อง ดังนี้ จำเลยมิได้ให้การยอมรับว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ และมิได้โต้แย้งการครอบครองโดยอ้างว่ามีการเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือ จึงไม่มีประเด็นเรื่องแย่งการครอบครองและการบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่าโจทก์มิได้ฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน 1 ปีนับแต่ถูกแย่งการครอบครองแล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์ จึงเป็นการไม่ชอบเพราะเป็นการพิพากษานอกประเด็นที่พิพาทกัน และเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์จะมิได้ฎีกาปัญหานี้ขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจที่จะยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) แต่คดีนี้ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง จึงเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาใหม่ในประเด็นว่าโจทก์หรือจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5128/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทแรงงาน: คำวินิจฉัยศาลแรงงานขัดแย้งกัน ศาลฎีกาย้อนสำนวน
ศาลแรงงานได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ 2 ข้อ คือ ข้อ 1.โจทก์ฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยและจำเลยได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้วหรือไม่ ข้อ 2. โจทก์มีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยหรือไม่โดยประเด็นข้อพิพาทที่ 1. ศาลแรงงานวินิจฉัยตอนต้นว่า โจทก์ไม่ได้ฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยซึ่งจำเลยได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว แต่คำวินิจฉัยในตอนต่อมาที่ว่า การขัดคำสั่งของโจทก์ยังฟังไม่ได้ว่าเป็นการกระทำโดยจงใจหรือละเลยไม่นำพาต่อคำสั่งของจำเลยเป็นอาจิณนั้น เป็นการฟังว่าโจทก์ฝ่าฝืนหรือขัดคำสั่งของจำเลยคำวินิจฉัยของศาลแรงงานในประเด็นข้อพิพาทข้อ 1 ดังกล่าวเป็นการฟังข้อเท็จจริงเป็นสองอย่างขัดแย้งกัน ศาลฎีกาจึงไม่มีข้อเท็จจริงอันเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลแรงงานที่จะนำมาวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อกฎหมายของจำเลย เป็นกรณีที่ข้อเท็จจริงซึ่งศาลแรงงานฟังมาไม่พอแก่การวินิจฉัยข้อกฎหมาย ศาลฎีกาไม่อาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อเท็จจริงเสียเองได้จึงต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวเสียใหม่ให้ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31, 56

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2891/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซ้ำและอำนาจฟ้อง: การย้อนสำนวนเพื่อวินิจฉัยประเด็นที่ยังไม่ได้ตัดสิน
ระหว่างนัดสืบพยานโจทก์ในคดีก่อน โจทก์ยื่นคำร้องว่าโจทก์ไม่มีความประสงค์จะดำเนินคดีนี้กับจำเลยอีกต่อไป ขอถอนฟ้อง จำเลยแถลงไม่คัดค้าน ศาลอนุญาตให้ถอนฟ้อง มีความหมายเพียงว่า โจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีกับจำเลยสำหรับคดีนั้นเท่านั้น หาอาจแปลไปว่าโจทก์จะไม่ฟ้องคดีใหม่กับจำเลยอีก ทั้งมิใช่เป็นการถอนฟ้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังนั้น การถอนฟ้องในคดีก่อนไม่ทำให้อำนาจฟ้องของโจทก์หมดไป โจทก์จึงฟ้องคดีนี้ใหม่ได้ภายในอายุความ
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ โดยวินิจฉัยอ้างเหตุต่างกัน กล่าวคือ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า คดีโจทก์ขาดอายุความ ส่วนศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ แต่ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้ำ ดังนี้เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าฟ้องโจทก์ไม่เป็นฟ้องซ้ำ แต่สำหรับปัญหาข้ออื่นซึ่งศาลชั้นต้นกำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ ได้แก่เรื่องอำนาจฟ้อง ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่จำเลยค้างค่ากระแสไฟฟ้า และโจทก์มีสิทธิเรียกค่ากระแสไฟฟ้าจากจำเลยตามฟ้องหรือไม่ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัย เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัย ย่อมมีอำนาจยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นที่ยังเหลืออยู่ แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2017/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบส่งผลต่อการพิพากษาคดีร่วมกัน การย้อนสำนวนเพื่อรับฟังพยานหลักฐานจำเลย
เมื่อปรากฏว่า จำเลยที่ 5 ยื่นคำให้การในกำหนด คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งให้จำเลยที่ 5 ขาดนัดยื่นคำให้การจึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นตั้งแต่สั่งให้จำเลยที่ 5 ขาดนัดยื่นคำให้การจนถึงชั้นพิพากษาย่อมเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ชอบที่จะสั่งให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาเฉพาะที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 5 แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งห้าร่วมกันรับผิดในมูลหนี้ละเมิด จึงเป็นหนี้ร่วมที่มิอาจจะแบ่งแยกได้ การที่ศาลจะพิพากษาให้จำเลยคนใดคนหนึ่งรับผิดในมูลหนี้ร่วมดังกล่าวจำต้องรับฟังพยานหลักฐานโจทก์และจำเลยทุกคน เมื่อศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยที่ 5 ขาดนัดยื่นคำให้การโดยมิใช่ความผิดของจำเลยที่ 5 พยานหลักฐานของจำเลยที่ 5 ที่จะนำสืบก็ยังไม่ปรากฏในสำนวน ไม่ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ไปโดยไม่รอฟังพยานหลักฐานของจำเลยที่ 5 ก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4612/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยมีทนายช่วยเหลือคดีอาญาอัตราโทษสูง แม้ศาลมิได้สอบถามก่อน แต่มีคำสั่งให้ทนายช่วยเหลือและจำเลยให้การรับสารภาพตลอดมา ไม่ต้องย้อนสำนวน
เจตนารมณ์ของ ป.วิ.อ.มาตรา 173 วรรคแรก นั้น เพื่อให้จำเลยมีทนายช่วยเหลือในการต่อสู้คดีที่เป็นความผิดอุกฉกรรจ์ซึ่งมีอัตราโทษประหารชีวิตดังนั้น แม้ก่อนเริ่มพิจารณาศาลชี้นต้นจะมิได้สอบถามจำเลยว่ามีทนายหรือไม่ แต่ในวันสอบถามคำให้การจำเลย ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งขอแรงทนายให้จำเลย กับได้มีคำสั่งตั้งทนายที่ขอแรงไว้ก่อนเริ่มสืบพยานโจทก์ และทนายจำเลยก็ได้ทำหน้าที่ตลอดมาจนถึงที่สุดโดยไม่ปรากฎว่าจำเลยเสียเปรียบในเชิงคดี ทั้งจำเลยก็มิได้เปลี่ยนแปลงคำให้การของจำเลยแต่ประการใด ถือได้ว่าจำเลยยังคงให้การรับสารภาพ จึงไม่มีเหตุจำเป็นต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นสอบถามคำให้การจำเลยอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 346/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คดีล้มละลาย: การพิจารณาข้อห้ามอุทธรณ์ตามกฎหมายที่ใช้บังคับ ณ วันยื่นอุทธรณ์ และการย้อนสำนวนเพื่อวินิจฉัยสิทธิในการรับชำระหนี้
แม้โจทก์จะอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นขอรับชำระหนี้ในส่วนที่ขาดอันมีทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์จำนวน 11,798.96 บาทก็ตาม แต่การพิจารณาว่าคดีใดต้องห้ามอุทธรณ์หรือไม่นั้นต้องพิจารณาตามกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะยื่นอุทธรณ์ เมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์ก่อนที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 ที่แก้ไขใหม่ใช้บังคับจึงต้องพิจารณาตามกฎหมายเดิมก่อนแก้ไข ฉะนั้น เมื่อคดีของโจทก์มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในศาลชั้นต้นเกินสองหมื่นบาท จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3382/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดสืบพยานก่อนยุติข้อเท็จจริงเรื่องราคาสินค้าเป็นวิธีพิจารณาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกามีอำนาจย้อนสำนวน
ศาลภาษีอากรกลางสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยแล้ววินิจฉัยว่าราคาสินค้าที่โจทก์สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดง-รายการการค้าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดและพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี ทั้ง ๆที่ข้อเท็จจริงยังไม่เป็นที่ยุติว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าที่โจทก์นำเข้าคือราคาเท่าใด คำสั่งงดสืบพยานและคำพิพากษาของศาลภาษีอากรกลางดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา แม้จำเลยจะมิได้อุทธรณ์ให้ย้อนสำนวนก็ตาม แต่เมื่อศาลฎีกาเห็นว่า กรณีไม่อาจพิพากษาให้จำเลยชนะคดีตามคำขอในอุทธรณ์ของจำเลยได้โดยไม่ต้องสืบพยาน ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษายกคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลาง แล้วย้อนสำนวนไปให้ศาลภาษีอากรกลางดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2746/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์และผลกระทบต่อกรรมสิทธิ์ในที่ดิน: ศาลฎีกาย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยประเด็นกรรมสิทธิ์และการครอบครอง
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินของโจทก์ จำเลยให้การแต่เพียงว่า โจทก์รับโอนที่พิพาทมาโดยไม่สุจริตและไม่เสียค่าตอบแทนเพราะโจทก์ทราบดีอยู่แล้วในขณะรับโอนว่าจำเลยได้ครอบครองที่พิพาทมานานกว่า 20 ปีแล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง แต่จำเลยกลับนำสืบว่า เดิมที่พิพาทเป็นของ ด.ย่าของจำเลยด. มีที่ดินอยู่2 แปลง คือที่พิพาทและที่ดิน ส.ค.1 ซึ่งเป็นที่ป่า ที่ดิน ส.ค.1ซึ่งเป็นที่ป่านั้น เดิมจำเลยเข้าใจว่าเป็นที่ดินมีโฉนด ส่วนที่พิพาทเป็นที่ดินมีโฉนด จำเลยเข้าใจว่าเป็นที่ดิน ส.ค.1 ที่ดินส.ค.1 ซึ่งเป็นที่ป่า ย. บิดาจำเลยได้โอนให้แก่ น. ดังนี้การที่จำเลยนำสืบว่า ที่ดินที่ น.เจ้ามรดกซื้อมาจาก ย. บิดาจำเลย เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2480 เป็นที่ป่าคนละแปลงกับที่พิพาทและการที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงตามที่จำเลยนำสืบว่ากรณีเช่นนี้จึงน่าเชื่อว่าเป็นเรื่องสำคัญผิดกัน คือ ย. ตกลงขายที่ดินที่เป็นที่ป่าให้แก่ น. จึงเป็นเรื่องสำคัญผิดในหลักฐานของที่ดิน น.ย่อมได้สิทธิครอบครองในที่ดินป่าแปลงนั้น หาได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทไม่ กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทยังเป็นของ ย.อยู่เมื่อย. ตายที่พิพาทเป็นมรดกตกทอดแก่จำเลย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดประเด็นพิพาทในชั้นชี้สองสถานไว้เพียงข้อเดียวว่า ที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์หรือไม่ก็ตาม แต่ประเด็นข้อนี้ย่อมครอบคลุมไปถึงปัญหาว่าจำเลยครอบครองที่พิพาทจนได้กรรมสิทธิ์ตามกฎหมายหรือไม่ และโจทก์รับซื้อที่พิพาทมาโดยสุจริตหรือไม่ด้วย แม้ว่าปัญหาที่ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยมา คู่ความจะได้นำสืบข้อเท็จจริงกันมาเสร็จสิ้นเป็นการเพียงพอที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยไปเสียเองทีเดียวได้แล้วก็ตาม แต่ศาลฎีกาก็เห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์เป็นผู้วินิจฉัยได้ หากผลแห่งการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิการฎีกาของคู่ความ
of 12