พบผลลัพธ์ทั้งหมด 45 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1434/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับใช้กฎกระทรวงย้อนหลังไม่ได้ แม้กฎหมายมีการแก้ไขภายหลังการกระทำผิด
จำเลยขนน้ำสุรา 16 ขวดมีน้ำสุรา 10 ลิตรไปจากเขตต์ท้องที่จังหวัดพระนคร มายังตำบลบางปลาสร้อย อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ขณะกล่าวหามีกฎกระทรวงการคลังลงวันที่ 17 กรกฎาคม 2487 ห้ามขนสุราโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเขตต์ท้องที่ ๆ ระบุไว้ท้ายกฎ แต่ไม่มีระบุถึงจังหวัดพระนคร จำเลยจึงยังไม่มีผิดตามกฏนี้ ต่อมาเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2491 อันเป็นวันหลังจากที่กล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิด ได้มีกฎกระทรวงการคลังยกเลิกกฎกระทรวงการคลังซึ่งออกมาแล้วทุกฉะบับ และระบุห้ามขนสุราจากท้องที่ตามที่ระบุไว้ท้ายกฏอันมีจังหวัดพระนครอยู่ด้วย ต่อมาวันที่ 12 ตุลาคม 2491 จึงได้มีกฎกระทรวงการคลังให้ถือเขตต์จังหวัดแต่ละจังหวัดตาม พ.ร.บ.ปกครองท้องที่ เป็นเขตต์ซึ่งอยู่ในอำนาจและหน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้ทำการเก็บภาษีสุรา ซึ่งกฎกระทรวงการคลังที่ออกภายหลังวันที่กล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิดในคดีนี้ จะใช้บังคับแก่การกระทำของจำเลยในคดีนี้ไม่ได้ จำเลยจึงไม่มีผิด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 893/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าใช้บังคับกับสัญญาเช่าที่เกิดขึ้นภายหลังการบังคับใช้เท่านั้น
พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขัน พ.ศ. 2489 ไม่มีบทบัญญัติให้ใช้บังคับย้อนหลังไว้ จึงจะนำไปใช้บังคับคดีที่การเช่าระงับลงก่อนออก พ.ร.บ.ฉะบับนี้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 141/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเลิกประกาศทางปกครอง ไม่ถือเป็นการยกเลิกกฎหมายที่ใช้บังคับย้อนหลัง
เดิมมีประกาศสั่งออกตามอำนาจในกฎหมาย ต่อมามีประกาศให้ยกเลิกเรื่องตามประกาศฉะบับแรกนั้น ไม่ถือว่าเป็นเรื่องกฎหมายยกเลิกกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1053/2480
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องรับรองบุตรและการแก้ไขฟ้อง: สิทธิฟ้องย้อนหลังเมื่อฟ้องไม่สมบูรณ์แต่แก้ไขแล้ว
ชายหลอกลวงหญิงว่าจะเลี้ยงดูเป็นภรรยา หญิงหลงเชื่อยอมร่วมประเวณีกับชายจนเกิดบุตร์ หญิงฟ้องชายให้รับเด็นเป็นบุตร์และเรียกค่าเลี้ยงดูได้เมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสือซึ่งชายทำไว้การฟ้องขอให้รับรองบุร์นั้นจะฟ้องได้ต่อเมื่อเด็กนั้นคลอดจากครรภ์มารดาแล้วและมีชีวิตรอดอยู่เป็นสภาพบุคคลจะฟ้องในขณะที่ทารกยังอยู่ในครรภ์มารดาหาได้ไม่
ประมวลวิธีพิจารณาแพ่ง ม. 179, 183, 249 เมื่อฟ้องเดิมไม่มีมูลที่จะพึงฟ้องได้ตามกฎหมายแต่โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอแก้ไชเพิ่มเติมฟ้องให้มีมูลขึ้นในภายหลังโดยจำเลยมิได้คัดค้านและศาลอนุญาตดังนี้ต้องถือว่าคำร้องนั้นทำให้ฟ้องเดิมบริบูรณ์ขึ้น สิทธิฟ้องร้องย่อมย้อต้นแต่เมื่อแรกฟ้องข้อกฎหมายใดที่ไม่ได้ยกขั้นว่ากล่าวกันมาแต่ชั้นศาลล่างและมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแล้วศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ปัญหาที่ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องคดีแทนเด็กหรือไม่นั้นไม่ใช่เป็นปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ประมวลวิธีพิจารณาแพ่ง ม. 179, 183, 249 เมื่อฟ้องเดิมไม่มีมูลที่จะพึงฟ้องได้ตามกฎหมายแต่โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอแก้ไชเพิ่มเติมฟ้องให้มีมูลขึ้นในภายหลังโดยจำเลยมิได้คัดค้านและศาลอนุญาตดังนี้ต้องถือว่าคำร้องนั้นทำให้ฟ้องเดิมบริบูรณ์ขึ้น สิทธิฟ้องร้องย่อมย้อต้นแต่เมื่อแรกฟ้องข้อกฎหมายใดที่ไม่ได้ยกขั้นว่ากล่าวกันมาแต่ชั้นศาลล่างและมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแล้วศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ปัญหาที่ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องคดีแทนเด็กหรือไม่นั้นไม่ใช่เป็นปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1385/2479
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความภาระจำยอมก่อนใช้ประมวลแพ่งฯ: มิอาจใช้ ม.1399 ย้อนหลัง
ภาระจำยอมที่เกิดขึ้นก่อนวันใช้ประมวลแพ่งฯ บรรพ 4 จะนำอายุความตาม ม.1399 มาใช้บังคับมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17905/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีอาญา: การบังคับใช้กฎหมายใหม่ย้อนหลัง และการนับระยะเวลาหลบหนี
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2539 ซึ่งขณะนั้น พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554 ที่ให้เพิ่มความตามมาตรา 98 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 ซึ่งให้นำมาตรา 74/1 มาใช้บังคับโดยอนุโลมยังไม่มีผลใช้บังคับ เมื่อมาตรา 74/1 ประกอบมาตรา 98 เป็นบทบัญญัติที่มิให้นับระยะเวลาที่ผู้ถูกกล่าวหาหลบหนีรวมเป็นส่วนหนึ่งของอายุความด้วย ประกอบกับ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554 มิได้มีบทเฉพาะกาลให้นำมาตรา 74/1 ประกอบมาตรา 98 มาใช้บังคับแก่คดีที่เกิดขึ้นก่อนพระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลใช้บังคับ ดังนี้ การตีความกฎหมายจึงต้องตีความโดยเคร่งครัด จะขยายความไปถึงคดีที่เกิดขึ้นก่อนวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับโดยที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยชัดแจ้งอันจะเป็นผลร้ายแก่จำเลยหาได้ไม่ เพราะจะขัดต่อความรับผิดของบุคคลในการรับโทษทางอาญาตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคหนึ่ง กรณีจึงนำมาตรา 74/1 ประกอบมาตรา 98 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาใช้ย้อนหลังเป็นผลร้ายแก่จำเลยมิได้ อายุความการฟ้องคดีอาญาแก่จำเลยที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติไต่สวนแล้วมีมติว่าจำเลยมีความผิดอาญา จึงต้องพิจารณาตามความใน ป.อ. มาตรา 95 เมื่อความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี จึงมีอายุความสิบห้าปีนับแต่วันกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 95 (2) โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2554 เกินกว่าสิบห้าปีนับแต่วันกระทำความผิดแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10743/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกัน-ประกาศกระทรวงแรงงาน: ไม่อาจใช้กฎหมายใหม่ย้อนหลังบังคับสัญญาเดิมที่เกิดก่อนประกาศมีผลใช้บังคับ
การค้ำประกันเป็นสิทธิในทางแพ่ง ต้องใช้กฎหมายในขณะเกิดเหตุหรือเกิดความเสียหาย
การที่ประกาศฯ ข้อ 12 ที่ว่านายจ้างที่เรียกหรือรับหลักประกันการทำงานหรือหลักประกันความเสียหายจากลูกจ้างเป็นทรัพย์สินหรือให้บุคคลค้ำประกันไว้มีมูลค่าเกินว่า 60 เท่าของค่าจ้างรายวันโดยเฉลี่ยอยู่ก่อนวันที่ประกาศฯ มีผลใช้บังคับ ให้นายจ้างดำเนินการให้มีหลักประกันการทำงานหรือหลักประกันความเสียหายในการทำงานไม่เกินกว่าจำนวนมูลค่าของหลักประกันที่กำหนดไว้ในประกาศฯ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ประกาศฯ มีผลใช้บังคับ เป็นการกำหนดวิธีปฏิบัติให้นายจ้างดำเนินการหลังจากประกาศฯ มีผลใช้บังคับแล้ว ไม่ใช่กรณีที่ให้ประกาศฯ มีผลย้อนหลัง
ตาม ข้อ 2 ระบุให้ประกาศฯ มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งมีการลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาในวันที่ 4 กรกฎาคม 2551 ก. ลูกจ้างของโจทก์ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2551 ก่อนวันที่ประกาศฯ มีผลใช้บังคับ ต้องบังคับตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลย (ผู้ค้ำประกันการทำงานของ ก.) ได้ทำกับโจทก์ไว้
การที่ประกาศฯ ข้อ 12 ที่ว่านายจ้างที่เรียกหรือรับหลักประกันการทำงานหรือหลักประกันความเสียหายจากลูกจ้างเป็นทรัพย์สินหรือให้บุคคลค้ำประกันไว้มีมูลค่าเกินว่า 60 เท่าของค่าจ้างรายวันโดยเฉลี่ยอยู่ก่อนวันที่ประกาศฯ มีผลใช้บังคับ ให้นายจ้างดำเนินการให้มีหลักประกันการทำงานหรือหลักประกันความเสียหายในการทำงานไม่เกินกว่าจำนวนมูลค่าของหลักประกันที่กำหนดไว้ในประกาศฯ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ประกาศฯ มีผลใช้บังคับ เป็นการกำหนดวิธีปฏิบัติให้นายจ้างดำเนินการหลังจากประกาศฯ มีผลใช้บังคับแล้ว ไม่ใช่กรณีที่ให้ประกาศฯ มีผลย้อนหลัง
ตาม ข้อ 2 ระบุให้ประกาศฯ มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งมีการลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาในวันที่ 4 กรกฎาคม 2551 ก. ลูกจ้างของโจทก์ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2551 ก่อนวันที่ประกาศฯ มีผลใช้บังคับ ต้องบังคับตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลย (ผู้ค้ำประกันการทำงานของ ก.) ได้ทำกับโจทก์ไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7707/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบสวนคดีทุจริตก่อนมี พ.ร.บ.ป.ป.ช. การส่งเรื่องให้ ป.ป.ช. ไม่ใช่ข้อบังคับย้อนหลัง
ป. ป่าไม้จังหวัดอุดรธานีซึ่งรับมอบหมายจากผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี เข้าร้องทุกข์ต่อพันตำรวจโท ส. พนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยกับพวกก่อนใช้ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 66 (เดิม), มาตรา 84 (เดิม) และมาตรา 89 (เดิม) โดยไม่มีมาตราใดของบทกฎหมายดังกล่าวบัญญัติให้พนักงานสอบสวนซึ่งรับคำร้องทุกข์หรือกล่าวโทษไว้ก่อนดังกล่าวนั้นต้องส่งเรื่องไปให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ด้วย จึงต้องเป็นไปตามหลักทั่วไปว่ากฎหมายไม่มีผลย้อนหลัง แม้ต่อมาจะมีการแก้ไข มาตรา 66 และมาตรา 84 โดยก็มิได้บัญญัติให้พนักงานสอบสวนส่งสำนวนสอบสวนกรณีของจำเลยไปให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ดำเนินการ ดังนั้น การสอบสวนของพนักงานสอบสวนคดีนี้จึงชอบด้วยกฎหมาย และการที่พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการมิได้ส่งเรื่องไปยังคณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงไม่มีผลทำให้การสอบสวนและการฟ้องคดีนี้ของโจทก์เป็นไปโดยไม่ชอบแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11849/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษทางอาญาและการใช้กฎหมายล้างมลทินย้อนหลัง: ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม เนื่องจากกฎหมายมีผลบังคับใช้หลังคดีถึงที่สุด
คดีนี้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาให้ลงโทษและเพิ่มโทษจำเลยจนคดีถึงที่สุดไปแล้ว เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2549 ก่อนวันที่พระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ.2550 ใช้บังคับ จำเลยจึงไม่ได้รับประโยชน์จากพระราชบัญญัติดังกล่าว ทั้งกรณีไม่อาจนำประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 ซึ่งเป็นเรื่องที่กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดมาใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4175/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการใช้กฎหมายฟอกเงินย้อนหลัง: ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดมูลฐาน
พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 เป็นกฎหมายที่กำหนดความผิดเกี่ยวกับการฟอกเงิน มีทั้งโทษทางอาญาและมาตรการทางแพ่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน หากศาลเชื่อว่าทรัพย์สินตามคำร้องเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดมูลฐานโดยมิต้องคำนึงว่าทรัพย์สินนั้นผู้เป็นเจ้าของหรือผู้รับโอนทรัพย์สินจะได้มาก่อนพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินมีผลใช้บังคับหรือไม่ก็ตาม เพราะมาตรการดังกล่าวมิใช่โทษทางอาญาหรือเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา จึงมีผลใช้บังคับย้อนหลังได้และไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ดังที่ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยในคำวินิจฉัยที่ 40-41/2546