พบผลลัพธ์ทั้งหมด 36 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1000/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันจากการประนีประนอมยอมความในคดีรถชน: เจ้าของรถไม่ต้องรับผิด
ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 นั้น ถ้าไม่มีคำพิพากษาคดีส่วนอาญา คงมีแต่คำรับผิดในชั้นสอบสวนเท่านั้น ก็ไม่เข้าเกณฑ์มาตรานี้
คดีรถชนกัน การที่พนักงานสอบสวนได้เปรียบเทียบ และทำเอกสารไว้เป็นหลักฐานว่าเรื่องที่เกิดขึ้นโดยจำเลยที่ 1 ได้ยินยอมรับผิดและยอมชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ โดยจะไปทำความตกลงกันที่อู่ซ่อมรถ ถือได้ว่าเป็นการประนีประนอมยอมความกันตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 ซึ่งผูกมัดจำเลยที่ 1 ไม่ให้โต้แย้งว่าตนมิได้ขับรถโดยประมาทได้ แต่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของรถและนายจ้างของจำเลยที่ 1 ไม่ถูกผูกมัดด้วย ศาลจะต้องพิเคราะห์ข้อเท็จจริงต่อไปว่า ฝ่ายใดเป็นฝ่ายประมาท
คดีรถชนกัน การที่พนักงานสอบสวนได้เปรียบเทียบ และทำเอกสารไว้เป็นหลักฐานว่าเรื่องที่เกิดขึ้นโดยจำเลยที่ 1 ได้ยินยอมรับผิดและยอมชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ โดยจะไปทำความตกลงกันที่อู่ซ่อมรถ ถือได้ว่าเป็นการประนีประนอมยอมความกันตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 ซึ่งผูกมัดจำเลยที่ 1 ไม่ให้โต้แย้งว่าตนมิได้ขับรถโดยประมาทได้ แต่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของรถและนายจ้างของจำเลยที่ 1 ไม่ถูกผูกมัดด้วย ศาลจะต้องพิเคราะห์ข้อเท็จจริงต่อไปว่า ฝ่ายใดเป็นฝ่ายประมาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13439/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยความประมาทร่วมกันในคดีรถชน ศาลฎีกาไม่รับอุทธรณ์ เหตุไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย
ข้อเท็จจริงรับฟังได้ในเบื้องต้นว่า ในวันเกิดเหตุ ก. ขับรถกระบะหมายเลขทะเบียน กล 1080 ชลบุรี ซึ่งประกันภัยไว้กับผู้คัดค้านทั้งสองแล่นไปตามถนนที่เกิดเหตุ ขณะเดียวกัน อ. ขับรถยนต์หมายเลขทะเบียน สย 3272 กรุงเทพมหานคร โดยมี ห. นั่งโดยสารมาด้วย เมื่อถึงที่เกิดเหตุ รถกระบะที่ ก. ขับเฉี่ยวชนกับรถยนต์ที่ อ. ขับ รถยนต์ทั้งสองคันเสียหลัก รถกระบะที่ ก. ขับพลิกคว่ำลงร่องกลางถนน และรถยนต์ที่ อ. ขับ แล่นข้ามร่องกลางถนนและข้ามถนนด้านตรงข้ามสำหรับรถแล่นสวนทางมาไปชนแท่งปูนขนาดใหญ่ ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนอย่างแรง เป็นเหตุให้ อ. ถึงแก่ความตาย และ ห. ได้รับอันตรายสาหัส ต่อมาผู้ร้องในฐานะมารดาโดยชอบด้วยกฎหมายของ อ. เสนอข้อพิพาทในฐานะผู้เสนอข้อพิพาทที่ 2 ต่ออนุญาโตตุลาการของคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยขอให้อนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาดให้ผู้คัดค้านชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ร้อง ผู้คัดค้านทั้งสองยื่นคำร้องคัดค้านว่า เหตุไม่ได้เกิดจากความประมาทของ ก. ฝ่ายเดียว แต่เกิดจากความประมาทของ อ. ด้วย อนุญาโตตุลาการสืบพยานแล้วมีคำชี้ขาดเป็นข้อพิพาทหมายเลขแดงที่ 78/2556 ว่า เหตุเกิดจากความประมาทของ ก. และ อ. ทั้งสองฝ่าย ผู้คัดค้านจึงไม่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ผู้ร้อง ปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของผู้ร้องว่า คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน สมควรเพิกถอนหรือไม่ เห็นว่า ปรากฏข้อเท็จจริงจากคำพิพากษาศาลจังหวัดระยองที่พิพากษาลงโทษ ก. ข้อหาขับรถประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายว่า ศาลจังหวัดระยองพิเคราะห์รายงานการสืบเสาะและพินิจของ ก. และรายงานการสอบสวนของพนักงานสอบสวนแล้ว เห็นว่าเหตุเกิดจากความประมาทของ ก. และ อ. ร่วมกัน ดังนั้น คำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการที่ว่าเหตุเกิดจากความประมาทของ ก. และ อ. ทั้งสองฝ่าย จึงเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานในสำนวนที่ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน นอกจากนั้นคำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการที่ว่า เมื่อใคร่ครวญโดยอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณแล้วเห็นควรให้ค่าสินไหมทดแทนเป็นพับ ก็เป็นการใช้ดุลพินิจพิจารณาพยานหลักฐานในสำนวนกำหนดค่าสินไหมทดแทนที่ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนเช่นกัน กรณีไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลแพ่งต่อศาลฎีกาได้ตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 45 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาจึงไม่รับอุทธรณ์ของผู้ร้องไว้วินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13191/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ: การจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นกรณีผู้ประสบภัยไม่ได้อยู่ในรถคันที่เอาประกัน และการพิสูจน์ความรับผิด
พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 มาตรา 24 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ในกรณีที่รถตั้งแต่สองคันขึ้นไปก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ประสบภัยซึ่งอยู่ในรถ ให้บริษัทที่รับประกันภัยรถแต่ละคันจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยซึ่งอยู่ในรถคันที่เอาประกันภัยไว้กับบริษัท" เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า รถจักรยานยนต์ที่ผู้ตายขับชนกับรถที่เอาประกันภัยไว้กับจำเลยที่ 2 เป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย ผู้ตายมิได้เป็นผู้ประสบภัยซึ่งอยู่ในรถที่เอาประกันภัยไว้กับจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นแก่โจทก์ ทายาทของผู้ตายต้องไปเรียกค่าเสียหายเบื้องต้นจากบริษัทที่รับประกันภัยรถจักรยานยนต์ที่ผู้ตายขับตามบทบัญญัติดังกล่าว สำหรับจำนวนเงินค่าเสียหายเบื้องต้นให้เป็นไปตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง ตามมาตรา 20 วรรคสอง
รถจักรยานยนต์คันที่ผู้ตายขับไม่ได้จัดให้มีการประกันความเสียหายตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 และไม่ปรากฏว่าเจ้าของรถจักรยานยนต์คันที่ผู้ตายขับได้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัยไปแล้ว จึงเป็นกรณีที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 มาตรา 23 (1) ซึ่งกฎหมายบังคับให้สำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยเป็นผู้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัย เมื่อโจทก์ได้รับเงินค่าเสียหายเบื้องต้นจากสำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถเป็นเงิน 35,000 บาท ครบถ้วนแล้ว โจทก์จึงไม่อาจเรียกค่าเสียหายเบื้องต้นได้อีก
รถจักรยานยนต์คันที่ผู้ตายขับไม่ได้จัดให้มีการประกันความเสียหายตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 และไม่ปรากฏว่าเจ้าของรถจักรยานยนต์คันที่ผู้ตายขับได้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัยไปแล้ว จึงเป็นกรณีที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 มาตรา 23 (1) ซึ่งกฎหมายบังคับให้สำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยเป็นผู้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัย เมื่อโจทก์ได้รับเงินค่าเสียหายเบื้องต้นจากสำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถเป็นเงิน 35,000 บาท ครบถ้วนแล้ว โจทก์จึงไม่อาจเรียกค่าเสียหายเบื้องต้นได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9530/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกานี้ชี้ขาดเรื่องการรับผิดในคดีรถชน, การขยายเวลาฟ้อง, และการเคลือบคลุมของฟ้อง
จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ฉบับลงวันที่ 18 ธันวาคม 2549 ก่อนสิ้นระยะเวลาอุทธรณ์ แต่เอกสารดังกล่าวสูญหายไปจากสำนวนความ เป็นเหตุที่ทำให้ศาลชั้นต้นไม่สามารถมีคำสั่งให้ขยายระยะเวลาก่อนสิ้นระยะเวลาอุทธรณ์ เมื่อจำเลยทั้งสองขอตรวจสำนวนไม่พบคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ฉบับลงวันที่ 18 ธันวาคม 2549 อยู่ในสำนวนความ จึงขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ตามคำร้องฉบับลงวันที่ 12 มกราคม 2550 ศาลชั้นต้นได้ทำการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่แล้ว ปรากฏว่าในวันดังกล่าวจำเลยทั้งสองยังไม่ได้รับเอกสารที่ขอคัดถ่ายไว้ จึงมีเหตุที่จะขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้ตามคำร้องฉบับลงวันที่ 12 มกราคม 2550 ที่เสนอเมื่อพ้นกำหนดเวลาได้ การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ตามคำร้องของจำเลยทั้งสองจึงชอบแล้ว ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองด้วยเหตุว่า การไม่ได้รับสำเนาคำพิพากษาที่ขอคัดถ่ายไม่ใช่เหตุสุดวิสัยเป็นเพียงพฤติการณ์พิเศษ ต้องยื่นคำร้องก่อนสิ้นระยะเวลาอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย
ฟ้องโจทก์ทั้งสองมิได้กล่าวอ้างหรือแสดงว่าจำเลยที่ 2 รับประกันภัยค้ำจุนไว้จากผู้ใด และผู้เอาประกันภัยมีนิติสัมพันธ์กับจำเลยที่ 1 อย่างไร อันจะทำให้ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบในผลแห่งละเมิดของจำเลยที่ 1 ด้วย ฟ้องโจทก์ทั้งสองจึงขาดสาระสำคัญอันเป็นมูลที่จะให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิด เท่ากับคำฟ้องโจทก์ทั้งสองมิได้บรรยายข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาที่จะให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยต้องรับผิด เป็นคำฟ้องที่ไม่ชัดแจ้งไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ฟ้องโจทก์ทั้งสองสำหรับจำเลยที่ 2 เป็นฟ้องเคลือบคลุม
ผู้ตายมีหน้าที่จะต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูโจทก์ที่ 1 ตามกฎหมาย โจทก์ที่ 1 จึงมีสิทธิได้รับค่าขาดไร้อุปการะตาม ป.พ.พ. มาตรา 443 วรรคสาม โดยไม่ต้องพิจารณาว่า ในขณะนั้นผู้ตายได้อุปการะเลี้ยงดูโจทก์ที่ 1 เป็นเงินเดือนละเท่าใด แม้โจทก์ที่ 1 ไม่มีหลักฐานเกี่ยวกับแหล่งที่มาของเงินได้ของผู้ตาย ศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์ที่ 1 ตามสมควรได้ เมื่อพิจารณาถึงอายุของโจทก์ที่ 1 ซึ่งขณะเกิดเหตุมีอายุ 53 ปี ส่วนผู้ตายมีอายุ 57 ปี ย่อมเห็นได้ว่า โจทก์ที่ 1 มีโอกาสได้รับอุปการะตามกฎหมายได้ไม่น้อยกว่า 10 ปี ที่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าขาดไร้อุปการะให้แก่โจทก์ที่ 1 เดือนละ 6,000 บาท เป็นเวลา 10 ปี ถือว่าเหมาะสมแล้ว
ฟ้องโจทก์ทั้งสองมิได้กล่าวอ้างหรือแสดงว่าจำเลยที่ 2 รับประกันภัยค้ำจุนไว้จากผู้ใด และผู้เอาประกันภัยมีนิติสัมพันธ์กับจำเลยที่ 1 อย่างไร อันจะทำให้ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบในผลแห่งละเมิดของจำเลยที่ 1 ด้วย ฟ้องโจทก์ทั้งสองจึงขาดสาระสำคัญอันเป็นมูลที่จะให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิด เท่ากับคำฟ้องโจทก์ทั้งสองมิได้บรรยายข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาที่จะให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยต้องรับผิด เป็นคำฟ้องที่ไม่ชัดแจ้งไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ฟ้องโจทก์ทั้งสองสำหรับจำเลยที่ 2 เป็นฟ้องเคลือบคลุม
ผู้ตายมีหน้าที่จะต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูโจทก์ที่ 1 ตามกฎหมาย โจทก์ที่ 1 จึงมีสิทธิได้รับค่าขาดไร้อุปการะตาม ป.พ.พ. มาตรา 443 วรรคสาม โดยไม่ต้องพิจารณาว่า ในขณะนั้นผู้ตายได้อุปการะเลี้ยงดูโจทก์ที่ 1 เป็นเงินเดือนละเท่าใด แม้โจทก์ที่ 1 ไม่มีหลักฐานเกี่ยวกับแหล่งที่มาของเงินได้ของผู้ตาย ศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์ที่ 1 ตามสมควรได้ เมื่อพิจารณาถึงอายุของโจทก์ที่ 1 ซึ่งขณะเกิดเหตุมีอายุ 53 ปี ส่วนผู้ตายมีอายุ 57 ปี ย่อมเห็นได้ว่า โจทก์ที่ 1 มีโอกาสได้รับอุปการะตามกฎหมายได้ไม่น้อยกว่า 10 ปี ที่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าขาดไร้อุปการะให้แก่โจทก์ที่ 1 เดือนละ 6,000 บาท เป็นเวลา 10 ปี ถือว่าเหมาะสมแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15438-15440/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวการตัวแทน ละเมิดจากรถชน: ทายาทต้องรับผิดในผลละเมิดของตัวแทน
ป. ใช้ให้จำเลยที่ 1 ขับรถกระบะพา ป. ไปทำธุรกิจที่เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี โดย ป. นั่งไปด้วย ย่อมถือได้ว่า ป. เป็นตัวการ จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของ ป. ในกิจการนี้โดยปริยาย เมื่อจำเลยที่ 1 ขับรถกระบะไปชนรถแท็กซี่เป็นเหตุให้ ป. กับ ส. ถึงแก่ความตาย และโจทก์ที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ได้รับบาดเจ็บสาหัส จำเลยที่ 1 จึงทำละเมิดภายในขอบอำนาจของตัวแทน ป. ซึ่งเป็นตัวการต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 1 กระทำไป จำเลยที่ 2 เป็นภริยาของ ป. เป็นทายาทโดยธรรมต้องร่วมรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 537/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจโจทก์ร่วมและประเด็นความประมาทของผู้ขับขี่ กรณีรถชน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยและผู้ตายต่างขับรถมาด้วยความประมาท ตามคำฟ้องของโจทก์ถือว่าผู้ตายมิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) ส. โจทก์ร่วมซึ่งเป็นภรรยาของผู้ตาย จึงไม่มีอำนาจเข้ามาจัดการแทนผู้ตายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (2) และไม่มีสิทธิขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการซึ่งเป็นโจทก์เดิมได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ ส. เข้าร่วมเป็นโจทก์จึงไม่ชอบ ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้าง แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225