พบผลลัพธ์ทั้งหมด 587 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1819/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รถยนต์ที่ถูกริบหลังคดีถึงที่สุด ผู้ซื้อสิทธิจากสถาบันการเงินมีสิทธิขอคืนได้ภายในกำหนด
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ริบรถยนต์ของกลางเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2541โดยไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้น คดีที่มีคำพิพากษาให้ริบรถยนต์ของกลางดังกล่าวถึงที่สุดในวันที่ 21 สิงหาคม 2541 แต่ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอคืนรถยนต์ของกลางเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2543 จึงเป็นการยื่นคำร้องเกินกำหนด1 ปี นับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว การยื่นคำร้องของผู้ร้องจึงไม่ชอบเพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาการปฏิรูประบบสถาบันการเงินฯ มาตรา 25 ก็มิได้บัญญัติยกเว้นการใช้บังคับบทบัญญัติการขอคืนทรัพย์สินที่ศาลสั่งให้ริบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 ไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1819/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ก่อนคดีถึงที่สุด และการขอคืนทรัพย์สินที่ถูกริบหลังคดีถึงที่สุด
เดิมบริษัทเงินทุน ท. เป็นเจ้าของรถยนต์ให้จำเลยเช่าซื้อเมื่อวันที่ 1 เมษายน2540 จำเลยกระทำความผิดเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2541 ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ริบรถยนต์เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2541 และผู้ร้องซื้อทรัพย์สินประเภทสัญญาเช่าซื้อจากองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินในนามและแทนบริษัทเงินทุน ท. เมื่อวันที่30 กรกฎาคม 2541 แม้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 188 จะบัญญัติว่า "คำพิพากษาหรือคำสั่งมีผลตั้งแต่วันที่ได้อ่านในศาลโดยเปิดเผยเป็นต้นไป"แต่การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ริบรถยนต์ ก็ยังไม่ทำให้รถยนต์ตกเป็นของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 35 ทันที เพราะคดียังไม่ถึงที่สุด ดังนั้นในระหว่างที่คดียังไม่ถึงที่สุด บริษัทเงินทุน ท. ย่อมมีสิทธิโอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ให้แก่ผู้ร้องได้โดยชอบและไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติห้ามโอนกรรมสิทธิ์กันไว้ ผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนรถยนต์หลังจากคดีถึงที่สุดแล้วได้ภายในกำหนด 1 ปี แต่ผู้ร้องยื่นคำร้องเกิน 1 ปี นับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 ประกอบกับพระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2540 มาตรา 25 ก็มิได้บัญญัติยกเว้นการใช้บังคับบทบัญญัติการขอคืนทรัพย์สินที่ศาลสั่งให้ริบไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1677/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องเกี่ยวกับรายละเอียดเล็กน้อย (หมายเลขทะเบียนรถ) ก่อนวันสืบพยาน ไม่ทำให้คู่ความเสียเปรียบ
การที่โจทก์ทั้งสองขอแก้ไขคำฟ้องเกี่ยวกับหมายเลขทะเบียนรถยนต์คันที่โจทก์ที่ 1 ขับ โดยขอแก้หมายเลขทะเบียนเฉพาะเลขตัวท้ายตัวเดียว โดยให้เหตุผลว่าพิมพ์เลขผิดพลาดจึงขอแก้ไขให้ถูกต้องตามความเป็นจริงโดยยังเป็นรถยนต์คันเดิมอยู่ดังนี้ เป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเกี่ยวกับรายละเอียดเพียงเล็กน้อยเพื่อให้ตรงตามความจริง และยังเป็นการขอแก้ไขก่อนวันสืบพยาน ไม่เป็นเหตุให้จำเลยเสียเปรียบในการต่อสู้คดี ที่ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้โจทก์ทั้งสองแก้ไขคำฟ้องส่วนนี้ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1281/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์และลักทรัพย์ต่อรถยนต์หลายคันถือเป็นกรรมต่างกัน แม้จะเกิดจากเหตุเดียวกัน
จำเลยใช้เหล็กทุบทำลายกระจกรถยนต์ถึง 9 คัน ทั้งยังได้ลักทรัพย์และพยายามลักทรัพย์ในรถยนต์ทั้ง 9 คันดังกล่าวด้วย แม้จำเลยอาจจะเมาสุราขาดสติเพียงครั้งเดียวและได้กระทำความผิดในคราวเดียวกัน แต่จำเลยได้กระทำต่อรถยนต์ถึง 9 คัน ซึ่งเป็นของผู้เสียหายคนละคนกัน โดยจำเลยกระทำความผิดทีละคันและคนละเวลา แม้จะเป็นเวลาที่ต่อเนื่องใกล้ชิดกัน แต่การกระทำความผิดในรถยนต์แต่ละคันก็เป็นความผิดสำเร็จเด็ดขาดไปแล้ว และเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตามที่ได้กระทำต่อรถยนต์ทุกคัน มิใช่ความผิดกรรมเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1281/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวหรือหลายกรรม: การทำลายทรัพย์สินและลักทรัพย์จากรถยนต์หลายคัน
ฎีกาของจำเลยที่ว่าการกระทำความผิดของจำเลยเป็นกรรมเดียวแม้จะมิได้ว่ากล่าวกันมาในศาลล่างทั้งสอง แต่เป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย จำเลยจึงยกขึ้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 195 วรรคสอง,225
จำเลยใช้เหล็กทุบทำลายกระจกรถยนต์ 9 คัน ทั้งยังได้ลักทรัพย์และพยายามลักทรัพย์ในรถยนต์ทั้ง 9 คัน ด้วย แม้จำเลยอาจจะเมาสุราขาดสติเพียงครั้งเดียวและได้กระทำความผิดในคราวเดียวกัน แต่จำเลยได้กระทำต่อรถยนต์ถึง 9 คัน ซึ่งเป็นของผู้เสียหายคนละคนกัน โดยจำเลยกระทำความผิดทีละคันและคนละเวลากัน แม้จะเป็นเวลาที่ต่อเนื่องใกล้ชิดกัน แต่การกระทำความผิด ในรถยนต์แต่ละคันก็เป็นความผิดสำเร็จเด็ดขาดไปแล้ว และเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตามที่ได้กระทำต่อรถยนต์ทุกคันมิใช่กรรมเดียว
จำเลยใช้เหล็กทุบทำลายกระจกรถยนต์ 9 คัน ทั้งยังได้ลักทรัพย์และพยายามลักทรัพย์ในรถยนต์ทั้ง 9 คัน ด้วย แม้จำเลยอาจจะเมาสุราขาดสติเพียงครั้งเดียวและได้กระทำความผิดในคราวเดียวกัน แต่จำเลยได้กระทำต่อรถยนต์ถึง 9 คัน ซึ่งเป็นของผู้เสียหายคนละคนกัน โดยจำเลยกระทำความผิดทีละคันและคนละเวลากัน แม้จะเป็นเวลาที่ต่อเนื่องใกล้ชิดกัน แต่การกระทำความผิด ในรถยนต์แต่ละคันก็เป็นความผิดสำเร็จเด็ดขาดไปแล้ว และเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตามที่ได้กระทำต่อรถยนต์ทุกคันมิใช่กรรมเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6288/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ใบรับรองตรวจสภาพรถไม่ใช่เอกสารราชการ ปลอมแปลงเอกสารเข้าข่ายความผิดตามมาตรา 264 และ 268
ใบรับรองการตรวจสภาพรถเป็นเอกสารที่กรมการขนส่งทางบกมอบให้บริษัทซึ่งได้รับอนุญาตให้จัดตั้งสถานตรวจสภาพรถเพื่อตรวจสภาพรถยนต์และออกใบรับรองเพื่อเป็นหลักฐานว่ารถยนต์ได้ผ่านการตรวจสภาพแล้ว พนักงานของบริษัทซึ่งมีหน้าที่ออกใบรับรองไม่ใช่เจ้าพนักงานตามกฎหมาย ใบรับรองการที่ออกโดยพนักงานของบริษัทจึงถือไม่ได้ว่าเป็นเอกสารราชการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(8) การที่จำเลยปลอมใบรับรองดังกล่าว จึงไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสารราชการตามมาตรา 265แต่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสารตามมาตรา 264 เมื่อจำเลยนำใบรับรองไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่สำนักงานขนส่งเพื่อใช้ประกอบการเสียภาษีประจำปีจึงเป็นความผิดตามมาตรา 268 วรรคหนึ่ง อีกกระทงหนึ่ง แต่เมื่อจำเลยเป็นผู้ปลอมเอกสารดังกล่าวแล้วใช้เอกสารปลอมที่จำเลยทำขึ้น จึงต้องลงโทษฐานใช้เอกสารปลอมตามมาตรา 268วรรคสอง แต่กระทงเดียว
อ. ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นมิใช่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์จึงไม่มีอำนาจอนุญาตให้ฎีกาได้ และไม่มีผลเป็นการอนุญาตให้ฎีกาที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 221 แต่เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าพฤติการณ์ในการกระทำความผิดของจำเลยไม่ร้ายแรงศาลฎีกามีอำนาจที่จะพิพากษาลงโทษจำเลยลดลงให้เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดีและรอการลงโทษได้
อ. ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นมิใช่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์จึงไม่มีอำนาจอนุญาตให้ฎีกาได้ และไม่มีผลเป็นการอนุญาตให้ฎีกาที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 221 แต่เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าพฤติการณ์ในการกระทำความผิดของจำเลยไม่ร้ายแรงศาลฎีกามีอำนาจที่จะพิพากษาลงโทษจำเลยลดลงให้เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดีและรอการลงโทษได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6182/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองยาเสพติดและการริบทรัพย์สิน: รถยนต์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด
จำเลยทั้งสามวางกัญชาแห้งอัดแท่งของกลางไว้ที่พื้นวางเท้าหลังเบาะคนขับรถยนต์กระบะ โดยมิได้ใช้รถยนต์กระบะเป็นที่ซุกซ่อนกัญชาแห้งอัดแท่งดังกล่าวรถยนต์กระบะจึงมิใช่ยานพาหนะซึ่งจำเลยทั้งสามได้ใช้ในการกระทำความผิดฐานมียาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ส่วนโทรศัพท์เคลื่อนที่ ถ่านโทรศัพท์ กุญแจรถยนต์ กุญแจล็อกรถ และพวงกุญแจ ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงให้ฟังว่าเป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ หรือวัตถุอื่นซึ่งได้ใช้ในการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 102 อีกทั้งมิใช่ทรัพย์สินที่ผู้ใดมีไว้เป็นความผิดหรือได้ทรัพย์สินดังกล่าวมาโดยได้กระทำความผิด จึงไม่อาจริบได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5865/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ประสบภัยจากรถคันอื่นไม่ต้องชำระค่าเสียหายเบื้องต้นคืนกองทุนทดแทนฯ
เจ้าของรถที่จะต้องชำระเงินค่าเสียหายเบื้องต้นคืนให้แก่สำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยพร้อมเงินเพิ่มตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถฯมาตรา 26 นั้น หมายถึงเจ้าของรถที่ก่อให้เกิดความเสียหายซึ่งมิได้จัดให้มีการประกันความเสียหายตามมาตรา 23(1) ไว้เท่านั้น แต่เมื่อจำเลยเป็นผู้ประสบภัยจากรถยนต์ของผู้อื่นที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย จำเลยจึงมิใช่เจ้าของรถที่ก่อให้เกิดความเสียหายตามมาตรา 23(1)
เจตนารมณ์ของการประกาศใช้ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถฯก็เพื่อให้ผู้ประสบภัยจากรถได้รับการเยียวยารักษาทันท่วงทีจากบริษัทประกันภัยหรือสำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ แล้วให้บริษัทหรือสำนักงานดังกล่าวมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากเจ้าของรถ ผู้ขับขี่รถที่ก่อให้เกิดความเสียหายเพราะความจงใจหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงได้ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถฯ มาตรา 31 โจทก์จึงไม่อาจฟ้องบังคับให้จำเลยชำระค่าเสียหายเบื้องต้นคืนให้แก่โจทก์
เจตนารมณ์ของการประกาศใช้ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถฯก็เพื่อให้ผู้ประสบภัยจากรถได้รับการเยียวยารักษาทันท่วงทีจากบริษัทประกันภัยหรือสำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ แล้วให้บริษัทหรือสำนักงานดังกล่าวมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากเจ้าของรถ ผู้ขับขี่รถที่ก่อให้เกิดความเสียหายเพราะความจงใจหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงได้ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถฯ มาตรา 31 โจทก์จึงไม่อาจฟ้องบังคับให้จำเลยชำระค่าเสียหายเบื้องต้นคืนให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4576/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบรถยนต์ที่ใช้ในการลักทรัพย์: ต้องมีการใช้รถยนต์โดยตรงในการขนย้ายทรัพย์สินที่ลักมาแล้วเท่านั้น
ขณะเกิดเหตุรถยนต์จอดอยู่นอกรั้วที่จำเลยกับพวกเข้าไปลักทรัพย์ โดยจำเลยกับพวกถูกจับขณะที่ยังไม่ได้ขนย้ายทรัพย์ที่ลักมาขึ้นรถยนต์ จำเลยกับพวกเพียงนำรถยนต์มาจอดใกล้บริเวณเกิดเหตุ เท่านั้น และจะใช้รถยนต์ในการขนย้ายทรัพย์ออกไปหลังจากที่ลักทรัพย์สำเร็จแล้ว เมื่อยังไม่มีการขนย้ายทรัพย์ที่ลักมาขึ้นรถยนต์ จึงไม่มีการใช้รถยนต์เป็นเครื่องมือหรือส่วนหนึ่งในการลักทรัพย์โดยตรงรถยนต์จึงมิใช่ทรัพย์สินที่ได้ใช้ในการกระทำความผิดอันพึงจะริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 จึงต้องคืนให้แก่ผู้ร้อง
ปัญหาที่ว่ารถยนต์ของกลางเป็นทรัพย์สินที่ได้ใช้ในการกระทำความผิดหรือไม่แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นอ้างสู่ศาลฎีกาโดยตรงก็ตาม แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ปัญหาที่ว่ารถยนต์ของกลางเป็นทรัพย์สินที่ได้ใช้ในการกระทำความผิดหรือไม่แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นอ้างสู่ศาลฎีกาโดยตรงก็ตาม แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4536/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานรับของโจร: การเรียกค่าไถ่รถยนต์แต่ไม่สามารถส่งคืนได้ ทำให้เกิดความสงสัยในเจตนา
จำเลยเรียกเอาเงินค่าไถ่รถยนต์กระบะจากผู้เสียหายซึ่งถูกคนร้ายลักไป แต่ผู้เสียหายก็ไม่ได้รับรถยนต์กระบะคืนตามที่จำเลยนัดหมาย แต่ได้รับคืนเนื่องจากเจ้าพนักงานตำรวจยึดได้ในท้องที่อื่นคนละท้องที่กับที่จำเลยนัดหมายให้ไปรับคืน ทั้งเป็นเวลาหลังจากที่จำเลยนัดหมายไว้ประมาณ 10 วัน ไม่อาจสันนิษฐานว่าคนร้ายนำรถยนต์กระบะคันดังกล่าวไปจอดทิ้งไว้เพื่อให้ผู้เสียหายรับคืนไปได้ จำเลยอาจสวมรอยคนร้ายเรียกเอาเงินจากผู้เสียหายเพียงลำพัง มิได้ช่วยคนร้ายจำหน่ายรถยนต์กระบะของผู้เสียหายโดยวิธีให้ผู้เสียหายไถ่คืน พยานหลักฐานของโจทก์จึงมีความสงสัยตามสมควรว่า จำเลยกระทำความผิดฐานรับของโจรหรือไม่ ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง