พบผลลัพธ์ทั้งหมด 196 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6194/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระงับความรับผิดของจำเลยที่ 3-5 หลังจำเลยที่ 1-2 ชำระหนี้ครบถ้วน แม้โจทก์ชนะคดีในชั้นฎีกาก็ไม่มีประโยชน์
โจทก์ฎีกาขอให้พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ชำระเงินตามฟ้องให้แก่โจทก์ เมื่อปรากฏว่า หลังจากศาลชั้นต้นพิพากษาคดีแล้ว จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว ดังนั้น ความรับผิดของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ต่อโจทก์ที่จะให้จำเลยที่ 3ถึงที่ 5 ต้องร่วมรับผิดด้วยนั้นจึงได้ระงับสิ้นไปโดยการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 แล้ว แม้โจทก์ชนะคดีในชั้นฎีกาก็ไม่เป็นประโยชน์แก่คดีโจทก์ในอันที่จะบังคับเอาสิ่งใดจากจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ได้อีกจึงไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6116/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งต่อความผิดฐานออกเช็คไร้ค่า คดีอาญาจึงระงับ
การที่จำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายในเช็คฉบับพิพาททั้งสามฉบับ ต่อมา ช. ในฐานะกรรมการผู้จัดการบริษัท ผ. ได้นำเช็คทั้งสามฉบับดังกล่าวไปขายลดให้แก่โจทก์ เมื่อเช็คแต่ละฉบับถึงกำหนดใช้เงิน ธนาคารตามเช็คได้ปฏิเสธการจ่ายเงินทุกฉบับ แต่เมื่อปรากฏว่าการที่โจทก์ได้ฟ้องบริษัท ผ.และช. กับพวกเป็นคดีแพ่งที่ศาลแพ่งให้ชำระหนี้เงินกู้และหนี้ตามสัญญาขายลดตั๋วเงินและคดีดังกล่าวคู่ความได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลได้มีคำพิพากษาตามยอมไปแล้ว แม้จำเลยจะมิได้เป็นคู่ความในคดีแพ่งนั้นด้วยก็ตาม ผลแห่งสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวก็ย่อมทำให้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ตามเช็คพิพาททั้งสามฉบับระงับสิ้นไป และโจทก์ได้สิทธิใหม่ตามแผนที่แสดงในสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 852 และถือว่าหนี้ที่ผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4ได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินนั้นได้สิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว คดีจึงเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7และสิทธินำคดีอาญามาฟ้องจำเลยของโจทก์ย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3941/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อไม่ระงับทันที หากเจ้าของกรรมสิทธิ์เปลี่ยนมือและเรียกเก็บค่าบริการเพิ่มเติม
สัญญาเช่าซื้อข้อ 6 ระบุว่า "ผู้เช่าซื้อฝ่าฝืน หรือหรือผิดสัญญานี้ข้อหนึ่งข้อใดถือว่าผู้เช่าซื้อผิดสัญญาผู้เช่าซื้อยอมให้ผู้ให้เช่าซื้อริบเงินค่าเช่าซื้อที่ส่ง มาแล้วทั้งหมดได้ทันทีโดยมิต้องบอกกล่าวให้ทราบแต่ประการใดทั้งสิ้น และถือว่าสัญญาเช่าซื้อฉบับนี้เป็นอันระงับสิ้นสุดลงทันที" แต่ตามที่ปฎิบัติต่อกันจำเลยทั้งสองมิได้ชำระค่าเช่าซื้อให้แก่โจทก์ในวันที่ 5 ของเดือน และหลายงวดชำระครั้งหนึ่งก็มี ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยทั้งสองมิได้มี เจตนาที่จะถือเอากำหนดเวลาเป็นสาระสำคัญ ดังนั้นในงวดต่อมา แม้จำเลยทั้งสองจะไม่ชำระค่าเช่าซื้อตามที่กำหนดไว้ในสัญญา สัญญาเช่าซื้อก็ยังไม่ระงับสิ้นสุดลงทันที โจทก์จะต้องกำหนด ระยะเวลาพอสมควรบอกกล่าวให้จำเลยทั้งสองชำระค่าเช่าซื้อ ที่ค้างอยู่ก่อน โจทก์จึงจะบอกเลิกสัญญาได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 การที่จำเลยทั้งสองไม่ชำระค่าเช่าซื้อให้แก่โจทก์เนื่องจากปรากฎว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของที่ดินพิพาทที่จำเลยทั้งสองเช่าซื้อ จำเลยทั้งสองอาจไม่ได้รับกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทนั้นแม้ได้ปฎิบัติตามเงื่อนไขเกี่ยวกับการชำระเงินโดยครบถ้วน ทั้งเจ้าของที่ดินพิพาทก็ประกาศให้จำเลยทั้งสองทราบด้วยว่า ที่ดินพิพาทไม่ใช่ของโจทก์ ซึ่งจำเลยทั้งสองอาจถูกฟ้องขับไล่เมื่อใดก็ได้ เมื่อโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทกลับคืนมา จำเลยทั้งสองเตรียมเงินค่าเช่าซื้อที่ค้าง 49,000บาท ไปชำระให้แก่โจทก์แล้ว แต่โจทก์ไม่ยอมรับโดยจะขอคิดดอกเบี้ยและค่าบริการเพิ่มอีกรวมแล้วเป็นเงินประมาณ130,000 บาท นั้น ถือได้ว่าเป็นกรณีการชำระหนี้ยังมิได้กระทำลงเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งจำเลยทั้งสองผู้เป็น ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 205 จำเลยทั้งสองจึงมิได้ผิดนัดและสัญญาเช่าซื้อ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3940/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมระงับสิ้นเนื่องจากไม่ใช้สิทธิเกิน 10 ปี และใช้ทางโดยความยินยอม
จำเลยได้ปลูกบ้านและทำประตูรั้วปิดกั้นทางพิพาทมานานประมาณ20 ปีแล้ว หลังจากนั้นโจทก์ได้ใช้ทางพิพาทโดยอาศัยสิทธิของจำเลยตลอดมา ถึงแม้โจทก์จะเคยได้ภาระจำยอมเหนือทางพิพาทมาก่อนหน้านั้นแล้ว แต่ต่อมาโจทก์ยอมรับสิทธิเหนือทางพิพาทของจำเลย ฐานะของโจทก์ย่อมเปลี่ยนไปเป็นการใช้ทางพิพาทโดยความยินยอมของจำเลยเป็นเวลานานถึง 20 ปี ย่อมถือได้ว่าภาระจำยอมระงับสิ้นไปเพราะการไม่ใช้ภาระจำยอมเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปีแล้ว ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1399 ทางพิพาทซึ่งอยู่ในที่ดินของจำเลย จึงไม่เป็นทางภาระจำยอมอีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4548/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมความในคดีอาญาฐานยักยอกและการระงับการฟ้องร้อง
เอกสารที่อ.ผู้เสียหายทำให้จำเลย มีข้อความระบุว่าอ.รับรองว่าอ.ได้รับการชดใช้ค่าเสียหายจากจำเลยแล้วและไม่ติดใจเอาความต่อไป ถือได้ว่าผู้เสียหายและจำเลยได้ตกลงยอมความกันแล้ว เมื่อความผิดฐานยักยอกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 เป็นความผิดอันยอมความกันได้ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3111/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อระงับเมื่อทรัพย์สูญหาย โจทก์ต้องคืนเงินดาวน์
แม้ขณะทำสัญญาเช่าซื้อโจทก์ยังไม่มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ให้เช่าซื้อโดยอยู่ในระหว่างโจทก์เช่าซื้อทรัพย์ดังกล่าวกับบ. ก็ตามแต่ตามสัญญาเช่าซื้อดังกล่าวโจทก์จะได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ก่อนที่โจทก์จะโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่จำเลยที่1ตามสัญญาสัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1จึงมีผลใช้บังคับได้ เมื่อทรัพย์ที่เช่าซื้อสูญหายสัญญาเช่าซื้อย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา567ส่วนค่าเช่าซื้อล่วงหน้าทั้งหมดซึ่งจำเลยที่1จ่ายเป็นเงินดาวน์ส่วนหนึ่งและทำสัญญากู้ให้ไว้แก่โจทก์อีกส่วนหนึ่งจึงเป็นเงินที่โจทก์ได้มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้หรือโดยเหตุที่มิได้มีได้เป็นขึ้นและเป็นทางให้จำเลยที่1เสียเปรียบหากทรัพย์ที่เช่าซื้อมิได้สูญหายเพราะความผิดของจำเลยที่1หรือโจทก์นำเงินดาวน์มาหักเป็นค่าเช่าซื้อก่อนสัญญาเช่าซื้อระงับโจทก์ก็ต้องคืนให้แก่จำเลยที่1 เมื่อจำเลยที่1ไม่ต้องรับผิดจำเลยที่2ผู้ค้ำประกันซึ่งต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมก็ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วยศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาถึงจำเลยที่2ซึ่งมิได้ฎีกาด้วยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2825/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับชำระหนี้เช็คพิพาททำให้สิทธิฟ้องอาญาและหนี้ตามเช็คระงับ
การที่ผู้เสียหายยอมรับเงินที่จำเลยนำมาชำระหนี้บางส่วนและรับเช็ค 2 ฉบับที่จำเลยออกให้เพื่อชำระหนี้ที่ยังค้างชำระอยู่ตามเช็คพิพาท แสดงว่าผู้เสียหายและจำเลยมุ่งหมายจะระงับข้อพิพาท โดยผู้เสียหายตกลงเข้าถือสิทธิในเช็คทั้งสองฉบับดังกล่าว และสละสิทธิหรือไม่ยึดถือสิทธิใด ๆ ที่มีอยู่ในเช็คพิพาทอีกต่อไปรวมทั้งสิทธิที่จะไม่ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยด้วย หนี้ตามเช็คพิพาทเป็นอันระงับไปมูลหนี้ตามเช็คพิพาทจึงสิ้นความผูกพัน คดีเป็นอันเลิกกันตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 7 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในเช็คพิพาทย่อมระงับไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1724/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้แทนและการแปลงหนี้ใหม่ทำให้สิทธิฟ้องคดีอาญาตามเช็คระงับ
ตามสัญญาชำระหนี้แทนซึ่ง อ. ตกลงขอเข้ามาชำระหนี้ตามเช็คพิพาทแทนจำเลยโดยจ่ายเช็คให้โจทก์3ฉบับมีข้อความอันเป็นสาระสำคัญว่าเมื่อ อ. ได้ผ่านเช็คทั้งหมดให้แล้วโจทก์จะไปถอนฟ้องคดีให้แก่จำเลยทันทีดังนั้นการที่ อ.จะต้องชำระเงินตามเช็คทั้ง3ฉบับจึงเป็นเงื่อนไขในการที่โจทก์จะถอนฟ้องคดีอาญาให้แก่จำเลยและตามสัญญาชำระหนี้แทนก็ไม่มีข้อความตอนใดที่แสดงว่าโจทก์ตกลงสละสิทธิในการดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยในทันทีเมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าเช็คทั้ง3ฉบับที่ อ. ชำระให้โจทก์ไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้จึงมีผลว่าโจทก์ไม่ผูกพันที่จะต้องถอนฟ้องกรณีถือไม่ได้ว่าเป็นการยอมความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา39(2) การที่โจทก์กับ อ. ตกลงทำสัญญาชำระหนี้แทนสั่งจ่ายเช็ค3ฉบับมอบให้โจทก์เป็นการชำระหนี้แทนเช็คพิพาทถือได้ว่ามีหนี้ใหม่เกิดขึ้นตามเช็คทั้ง3ฉบับอันเป็นการเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้จึงเป็นการแปลงหนี้ใหม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา349มีผลให้หนี้ตามเช็คพิพาทซึ่งเป็น หนี้เดิม ระงับไปมูลหนี้ที่จำเลยออกเช็คพิพาทจึงสิ้นผลผูกพันแม้สัญญาชำระหนี้แทนจะมีเงื่อนไขให้โจทก์ถอนฟ้องคดีอาญาเมื่อเช็คทั้ง3ฉบับเรียกเก็บเงินได้แล้วก็เป็นเงื่อนไขที่เกี่ยวกับการถอนฟ้องอันเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา39เท่านั้นหามีผลทำให้การตกลงดังกล่าวไม่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ไปไม่ดังนั้นคดีอาญาจึงเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯมาตรา7สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา39(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1275/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานออกเช็คและฉ้อโกงเป็นกรรมเดียวกัน หากมีคำพิพากษาเด็ดขาดในความผิดฐานออกเช็คแล้ว สิทธิฟ้องร้องในความผิดฐานฉ้อโกงย่อมระงับ
พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ในคดีนี้เป็นจำเลยต่อศาลชั้นต้นในข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534 และโจทก์ในคดีนี้ได้ฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นจำเลยในข้อหาความผิดดังกล่าวสำหรับเช็คฉบับเดียวกัน ความผิดที่ได้ฟ้องในคดีอาญาดังกล่าวกับคดีนี้จึงเป็นความผิดอันเกิดจากการกระทำกรรมเดียวกัน เมื่อศาลชั้นต้นได้พิจารณาสืบพยานฟังข้อเท็จจริง และพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ไปแล้วว่า จำเลยที่ 2 ไม่มีความผิด และคดีดังกล่าวถึงที่สุดโดยคู่ความมิได้อุทธรณ์ดังนี้ โจทก์จะขอให้ศาลพิจารณาข้อเท็จจริงใหม่ในข้อหาความผิดกรรมเดียวกันนั้นอีก จึงเป็นการไม่ชอบที่จะกระทำได้ เพราะสิทธิฟ้องร้องจำเลยที่ 2 ของโจทก์สำหรับข้อหาความผิดดังกล่าวในคดีนี้ได้ระงับสิ้นไปแล้ว ตาม ป.วิ.อ. มาตรา39 (4) ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิจารณาพิพากษาในข้อหาความผิดดังกล่าวอีกและศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาส่วนนี้มานั้นจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 39 (4) และ 193 แม้ปัญหานี้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246 และ 247 ประกอบป.วิ.อ. มาตรา 15 เมื่อปรากฏตามคำฟ้องของโจทก์ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ออกเช็คพิพาท และศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดฐานออกเช็คโดยเจตนาเพื่อไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คว่าการกระทำของจำเลยที่ 2 ไม่เป็นความผิดจำเลยที่ 1 จึงไม่อาจร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 2 ดังที่โจทก์ฟ้องได้ จำเลยที่ 1ย่อมไม่มีความผิดฐานร่วมกันออกเช็คโดยเจตนาเพื่อไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันฉ้อโกงโจทก์และร่วมกันออกเช็คโยเจตนาเพื่อไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค อันเป็นความผิดกรรมเดียวกัน เมื่อสิทธินำคดีอาญาของโจทก์มาฟ้องจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานออกเช็คโดยเจตนาเพื่อไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คระงับไปเพราะศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดฐานดังกล่าวแล้ว สิทธินำคดีอาญาของโจทก์มาฟ้องจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานฉ้อโกงอันเป็นความผิดกรรมเดียวกันกับความผิดฐานดังกล่าวจึงต้องระงับไปด้วยที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิจารณาพิพากษาในข้อหาความผิดฐานฉ้อโกงสำหรับจำเลยที่ 2 อีกและศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาส่วนนี้มานั้นจึงไม่ชอบด้วยป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) และ 193 เช่นกัน แม้ปัญหานี้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาแต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของปาะชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246 และ 247ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
การที่จำเลยที่ 1 ตกลงกับโจทก์ว่าจะนำเงินไปไถ่ถอนจำนองบ้านและที่ดินเพื่อนำบ้านและที่ดินมาขาย แล้วนำเงินที่ขายได้มาชำระหนี้ตามเช็คที่จำเลยออกให้แก่โจทก์ โดยโจทก์ได้ให้ภรรยาโจทก์จ่ายเช็คจำนวน 1,230,000บาท มอบให้จำเลยที่ 1 ไปไถ่ถอนจำนองและโจทก์ถอนแจ้งความร้องทุกข์ที่ขอให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 ในข้อหาความผิดเกี่ยวกับเช็คดังกล่าว โดยมีจำเลยที่ 2ออกเช็คให้โจทก์เป็นประกันไว้จำนวน 4,570,000 บาท แต่จำเลยที่ 1 มิได้ปฏิบัติตามข้อตกลง ดังนี้ ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นดังกล่าวเป็นเพียงจำเลยที่ 1 มิได้ปฏิบัติตามข้อที่ได้ตกลงไว้เท่านั้น ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการหลอกลวงฉ้อโกงโจทก์
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันฉ้อโกงโจทก์และร่วมกันออกเช็คโยเจตนาเพื่อไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค อันเป็นความผิดกรรมเดียวกัน เมื่อสิทธินำคดีอาญาของโจทก์มาฟ้องจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานออกเช็คโดยเจตนาเพื่อไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คระงับไปเพราะศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดฐานดังกล่าวแล้ว สิทธินำคดีอาญาของโจทก์มาฟ้องจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานฉ้อโกงอันเป็นความผิดกรรมเดียวกันกับความผิดฐานดังกล่าวจึงต้องระงับไปด้วยที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิจารณาพิพากษาในข้อหาความผิดฐานฉ้อโกงสำหรับจำเลยที่ 2 อีกและศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาส่วนนี้มานั้นจึงไม่ชอบด้วยป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) และ 193 เช่นกัน แม้ปัญหานี้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาแต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของปาะชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246 และ 247ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
การที่จำเลยที่ 1 ตกลงกับโจทก์ว่าจะนำเงินไปไถ่ถอนจำนองบ้านและที่ดินเพื่อนำบ้านและที่ดินมาขาย แล้วนำเงินที่ขายได้มาชำระหนี้ตามเช็คที่จำเลยออกให้แก่โจทก์ โดยโจทก์ได้ให้ภรรยาโจทก์จ่ายเช็คจำนวน 1,230,000บาท มอบให้จำเลยที่ 1 ไปไถ่ถอนจำนองและโจทก์ถอนแจ้งความร้องทุกข์ที่ขอให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 ในข้อหาความผิดเกี่ยวกับเช็คดังกล่าว โดยมีจำเลยที่ 2ออกเช็คให้โจทก์เป็นประกันไว้จำนวน 4,570,000 บาท แต่จำเลยที่ 1 มิได้ปฏิบัติตามข้อตกลง ดังนี้ ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นดังกล่าวเป็นเพียงจำเลยที่ 1 มิได้ปฏิบัติตามข้อที่ได้ตกลงไว้เท่านั้น ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการหลอกลวงฉ้อโกงโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6343/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความระงับสิทธิเรียกร้องเดิม ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิดหากไม่ตกลง
จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเช่าซื้อต่อโจทก์จึงได้ทำหนังสือยอมใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ แม้จะระบุว่าเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ แต่ข้อความในหนังสือระบุว่า ตามที่จำเลยที่ 1 ได้เช่าซื้อรถจักรยานยนต์ไปจากโจทก์นั้น จำเลยที่ 1ได้คืนรถจักรยานยนต์ที่เช่าซื้อให้แก่โจทก์ในสภาพเสียหายจึงยอมชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 16,350 บาท ให้แก่โจทก์ โดยผ่อนชำระเป็นงวด ๆ อันเป็นการตกลงระงับข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ซึ่งมีอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อเดิมให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันตามข้อตกลงใหม่แห่งหนังสือดังกล่าวนั่นเองจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 ดังนั้น สิทธิเรียกร้องของโจทก์ตามสัญญาเช่าซื้อเดิมจึงระงับไป และได้สิทธิเรียกร้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นตามมาตรา 852 เมื่อจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันสัญญาเช่าซื้อตามมูลหนี้เดิมไม่ได้ตกลงในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นด้วยจำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิด