คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ระเบียบข้อบังคับ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 70 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1750/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าชดเชยกรณีเกษียณอายุรัฐวิสาหกิจ: การพิจารณาเงินบำเหน็จและค่าชดเชยตามระเบียบและข้อบังคับ
ค่าชดเชยที่รัฐวิสาหกิจจำเลยจ่ายให้แก่พนักงานกรณีพนักงานพ้นจากตำแหน่งเพราะเกษียณอายุตามระเบียบของจำเลย มีจำนวนเท่ากับเงินเดือนค่าจ้างอัตราสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ถือเป็นเงินทั้งหมดที่จ่ายให้เพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เรื่องมาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ข้อ 47 วรรคสอง จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานตามข้อ 47 วรรคหนึ่งให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นพนักงานอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1378/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชักชวนพนักงานของจำเลยไปทำงานที่อื่น แม้ไม่สำเร็จ หรือไม่ทำให้เสียหาย ไม่ถือเป็นการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ หรือฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับร้ายแรง
การที่โจทก์ชักชวนพนักงานของจำเลยให้ไปทำงานที่สถานประกอบการอื่นที่ประกอบกิจการอย่างเดียวกับจำเลย โดยกล่าวลอย ๆ ไม่มีข้อเสนอที่แน่นอน ผู้ที่ถูกชักชวนก็มิได้ลาออกไปทำงานที่สถานประกอบการอื่น และไม่ปรากฏว่าจำเลยเสียหายการกระทำของโจทก์จึงไม่ถึงขั้นเป็นการสนทนาให้ร้ายเป็นผลให้เกิดความเสียหายต่อธุรกิจของจำเลยหรือดำเนินการแข่งขันกับจำเลยซึ่งถือว่าเป็นการปฏิบัติตนเป็นปฏิปักษ์ต่อจำเลย มิใช่การฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของจำเลยกรณีที่ร้ายแรงและไม่ถือว่าโจทก์กระทำการอื่นไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ให้ลุล่วงไปถูกต้องและสุจริตด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 118/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างต้องอาศัยเหตุร้ายแรงตามระเบียบ หากการกระทำไม่เข้าข่ายเหตุร้ายแรงที่กำหนดไว้ แม้จะผิดระเบียบวินัย ก็ไม่อาจอ้างเป็นเหตุเลิกจ้างได้
ระเบียบข้อบังคับของนายจ้างกำหนดกรณีที่ถือว่าเป็นความผิดอย่างร้ายแรงที่จะลงโทษถึงเลิกจ้างได้โดยกำหนดไว้รวม 10 ประการแต่การที่กรรมการลูกจ้างพูดจาส่อเสียด พนักงานด้วยกันไม่อยู่ใน 10 ประการที่นายจ้างกำหนดไว้ว่าเป็นความผิดร้ายแรงนายจ้างย่อมไม่อาจอ้างมาเป็นเหตุเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 964/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่กระทำผิดระเบียบข้อบังคับ นายจ้างต้องตักเตือนเป็นหนังสือเว้นแต่กรณีร้ายแรง การทำร้ายร่างกายที่ไม่ร้ายแรงไม่ถือเป็นเหตุเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยซึ่ง เป็นนายจ้างที่กำหนดให้จำเลยเลิกจ้างลูกจ้างผู้ก่อเหตุทะเลาะวิวาท ทำร้ายร่างกายกันนั้น ต้อง อยู่ภายใต้บังคับของประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3) โจทก์ลูกจ้างทำร้าย บ. แต่ไม่เป็นเหตุให้ บ. ได้ รับอันตรายแก่กายและจิตใจ เกิดเหตุในห้องครัว ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อ ชื่อเสียงของจำเลยไม่เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับกรณีที่ร้ายแรง เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดย มิได้ตักเตือน เป็นหนังสือก่อน ดังนี้ จำเลยต้อง จ่ายค่าชดเชยให้โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2364/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างฐานผิดระเบียบข้อบังคับซ้ำคำเตือน ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
ตามระเบียบและข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยได้กำหนดไว้ว่าพนักงานซึ่งไม่ปฏิบัติตามระเบียบวินัย และข้อบังคับอาจถูกผู้บังคับบัญชา หรือฝ่ายบุคคลพิจารณาลงโทษได้ตามลักษณะความผิดเป็นกรณี ๆ ไป ดังนั้น เมื่อโจทก์มิได้มาทำงานและมิได้ยื่นใบลากิจหรือลาป่วยโดยไม่มีเหตุจำเป็น จำเลยเคยมีหนังสือตักเตือนโจทก์ระบุการกระทำของโจทก์ว่าหยุดงานโดยไม่ลา และไม่มีเหตุอันควรเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของบริษัทจำเลยในเรื่องการหยุดงานโดยไม่มีเหตุอันสมควร โจทก์ได้ขาดงานอีกรวม 7 วัน โดยไม่มีเหตุอันสมควร โดยไม่ยื่นใบลากิจ หรือลาป่วยเช่นเดียวกัน การกระทำผิดของโจทก์จึงเป็นการซ้ำคำเตือน จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2215/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างและการจ่ายค่าชดเชย: กรณีลูกจ้างกระทำผิดระเบียบข้อบังคับ ต้องพิจารณาความร้ายแรงและคำเตือน
ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน และคำสั่งของนายจ้างนั้นต้อง อยู่ภายใต้บังคับของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานด้วย ดังนี้ เมื่อประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวข้อ 47(3) กำหนดว่า นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างที่ฝ่าฝืนข้อบังคับระเบียบเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วย กฎหมายของนายจ้างโดย ไม่จ่ายค่าชดเชยต่อ เมื่อการฝ่าฝืนของลูกจ้างเป็นความผิดกรณีร้ายแรง ถ้า ไม่ใช่ความผิดกรณีร้ายแรงลูกจ้างก็ต้อง เคยถูก ตักเตือนเป็นหนังสือมาก่อนแล้ว และกระทำความผิดซ้ำ คำเตือน ฉะนั้นแม้ระเบียบข้อบังคับของจำเลยซึ่ง เป็นนายจ้างกำหนดว่าจำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้างที่ทำผิดระเบียบข้อบังคับโดย ไม่ต้องคำนึงว่าเป็นกรณีร้ายแรงหรือไม่ก็ตาม แต่ เมื่อปรากฏว่าโจทก์มิได้กระทำผิดร้ายแรง และมิได้กระทำผิดซ้ำ คำเตือนอีก เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้อง จ่ายค่าชดเชย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4921/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างและการจ่ายค่าชดเชย: ระเบียบข้อบังคับนายจ้างต้องไม่ขัดแย้งกับประกาศกระทรวงมหาดไทยที่ให้ความคุ้มครองแรงงาน
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 มีเจตนารมณ์เพื่อให้ความคุ้มครองแรงงานแก่ลูกจ้างโดยบัญญัติไว้ในข้อ 47 ว่า นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างประจำซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้... (3) ฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างและนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว... การที่จำเลยออกระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานว่า ลูกจ้างผู้ใดถูกใบเตือนของจำเลย 3 ครั้ง จึงจะถูกให้ออกจากงานโดยไม่ได้รับเงินชดเชยใด ๆ นั้น กลับเป็นคุณแก่ลูกจ้าง โดยให้ความคุ้มครองลูกจ้างมากยิ่งขึ้นกว่าที่ประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวข้างต้นได้ให้ความคุ้มครองไว้ระเบียบข้อบังคับดังกล่าวจึงหาขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2093/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของลูกจ้างต่อการปฏิบัติหน้าที่ผิดระเบียบข้อบังคับของนายจ้าง และการจ่ายเงินค่าดำเนินธุรกิจโดยมิชอบ
คำฟ้องของโจทก์ได้ บรรยายว่า ขณะเกิดเหตุคดีนี้จำเลยทั้งห้าเป็นลูกจ้างโจทก์ จำเลยแต่ละคนมีตำแหน่ง อะไร มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบตาม กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งของโจทก์อย่างไร และจำเลยทั้งห้าได้ กระทำผิดระเบียบข้อบังคับในเรื่องอะไรเมื่อใด และทำอย่างไร ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายในการกระทำแต่ละครั้งเป็นจำนวนเงินเท่าใดไม่มีข้อความใด เคลือบคลุมอันจะเป็นเหตุให้จำเลยไม่เข้าใจข้อหา ทั้งตาม คำให้การของจำเลยทั้งห้าก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งห้าไม่เข้าใจข้อหาในตอน ใด จึงเป็นคำฟ้องที่ได้ บรรยายโดย แจ้งชัดถึง สภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับ และข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหานั้นแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โจทก์เคยยื่นฟ้องจำเลยทั้งห้ากับบุคคลอื่นเป็นจำเลยต่อศาลแพ่งในมูลละเมิด แต่ ศาลแพ่งได้ จำหน่ายคดีของโจทก์เฉพาะ จำเลยทั้งห้าออกจากสารบบความ เพราะได้ มีคำวินิจฉัยของอธิบดี ผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางว่าคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งห้าเกิดจากมูลละเมิดระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานกลาง เช่นนี้ โจทก์จะยื่นฟ้องจำเลยทั้งห้าเป็นคดีใหม่ต่อ ศาลแรงงานกลางในเรื่องใด ย่อมเป็นสิทธิของโจทก์ ไม่มีกฎหมายใด บัญญัติไว้ว่าต้อง ฟ้องตาม เรื่องเดิม คำฟ้องโจทก์อ้างว่า จำเลยทั้งห้าไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบข้อบังคับของโจทก์ในการจ่ายเงินค่าดำเนิน ธุรกิจ โดยร่วมกันทำเรื่องเสนอและอนุมัติจ่ายเงินค่าดำเนิน ธุรกิจให้แก่ ว. เป็นการไม่ชอบด้วย ข้อบังคับของโจทก์ว่าด้วยเงินค่าดำเนิน ธุรกิจ พ.ศ. 2518ที่แก้ไขแล้ว จึงเป็นการฟ้องจำเลยทั้งห้าว่าปฏิบัติหน้าที่ผิดสัญญาจ้างแรงงาน อันเป็นการไม่ปฏิบัติตาม ข้อตกลงแห่งการจ้างซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ10 ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 ข้อบังคับของโจทก์ว่าด้วยเงินค่าดำเนิน ธุรกิจ พ.ศ. 2518ข้อ 5 กำหนดให้จ่ายเงินค่าดำเนิน ธุรกิจแก่พนักงานเดินตลาดและบุคคลอื่นในกรณีที่เป็นผู้ติดต่อแนะนำลูกค้ามาสั่งซื้อ ผลิตภัณฑ์ของโจทก์ เมื่อการสั่งซื้อ สั่งจ้าง ผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปตามฟ้องจากโจทก์ของหน่วยงานในกองทัพบก เป็นการสั่งซื้อ สั่งจ้าง โดยตรงไม่ผ่านการติดต่อ ของ ว. ว. จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าดำเนิน ธุรกิจ การที่จำเลยทั้งห้าได้ ร่วมกันเสนอและอนุมัติให้จ่ายเงินค่าดำเนิน ธุรกิจให้แก่ ว. จึงเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนข้อบังคับดังกล่าว ข้อบังคับของโจทก์ว่าด้วยเงินค่าดำเนิน ธุรกิจ พ.ศ. 2518นอกจากกำหนดไว้ในข้อ 5 ดังกล่าวแล้ว ในข้อ 7 กำหนดไว้ว่า ให้พนักงานเดินตลาดหรือบุคคลอื่นนำหลักฐานขอซื้อ ผลิตภัณฑ์ของลูกค้าซึ่งตน เป็นผู้ติดต่อแนะนำนั้นเสนอต่อ แผนกขายเพื่อพิจารณาตรวจสอบการที่จำเลยที่ 4 ซึ่ง เป็นหัวหน้าแผนกขายได้ ทำบันทึกข้อความเสนอเรื่องให้จ่ายเงินค่าดำเนิน ธุรกิจโดย ไม่มีผู้มาขอรับ และจำเลยที่ 1ที่ 2 ที่ 3 ซึ่ง เป็นคณะกรรมการพิจารณาจ่ายเงินค่าดำเนิน ธุรกิจพิจารณาเสนอให้จ่ายเงินดังกล่าวได้ โดย จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4ไม่ได้ตรวจสอบหลักฐานให้ได้ความชัดเจนก่อนว่า การจำหน่ายผลิตภัณฑ์แต่ละครั้งตามฟ้อง ได้มีผู้มาติดต่อ แนะนำลูกค้ามาซื้อ จริงหรือไม่ และ ว. มีสิทธิได้รับเงินค่าดำเนิน ธุรกิจหรือไม่ทั้ง ว. ก็ไม่เคยทำเรื่องเป็นหลักฐานขอรับเงินค่าดำเนิน ธุรกิจเลยและตาม หลักฐานที่เสนอขออนุมัติเบิกเงินดังกล่าวส่วนหนึ่งระบุให้จ่ายแก่หน่วยงาน และเจ้าหน้าที่ของกองทัพบกผู้สั่งซื้อ สั่งจ้างผลิตภัณฑ์ อาหารสำเร็จรูปตามฟ้องของโจทก์ อีกส่วนหนึ่งก็ระบุเพียงว่าให้จ่ายแก่ผู้ดำเนินการติดต่อ โดย ไม่ได้ระบุชื่อ ผู้มีสิทธิรับเงิน จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ด้วย ความประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้จำเลยที่ 5 ซึ่ง รักษาการผู้อำนวยการโจทก์สั่งอนุมัติจ่ายเงินค่าดำเนิน ธุรกิจให้ไปโดย ความประมาทเลินเล่อไม่ตรวจสอบหลักฐานให้แน่ชัด และไม่ปฏิบัติตาม ข้อบังคับของโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยทั้งห้าจึงต้อง ร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหาให้แก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4519/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่กระทำผิดร้ายแรง การพิจารณาความผิดตามระเบียบข้อบังคับ และสิทธิในการได้รับค่าชดเชย
ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างกำหนดความผิดและมาตรการการลงโทษไว้ ซึ่งประกอบด้วยโทษสถานเบาสถานปานกลาง สถานหนักและโทษทางวินัย ส่วนกรณีความผิดอื่นที่ไม่ระบุในข้อบังคับให้ทำการพิจารณาโดยหัวหน้างานหรือฝ่ายจัดการเพื่อเปรียบเทียบการลงโทษ ลูกจ้างชกต่อยผู้บังคับบัญชาในขณะกำลังเปลี่ยนกะพนักงานต่อหน้าพนักงานอื่นจำนวนมาก ด้วยสาเหตุเนื่องมาจากการทำงาน ถือว่าเป็นความผิดกรณีร้ายแรงเปรียบเทียบได้กับโทษทางวินัย คือ เจตนากระทำผิดอาญาต่อนายจ้าง ซึ่งมีโทษให้ออกโดยไม่จ่ายเงินชดเชย และถือว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอันเป็นกรณีร้ายแรงนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1159/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างต้องเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับ หากไม่ปฏิบัติตามขั้นตอน แม้จ่ายค่าชดเชยก็ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
กรณีที่นายจ้างขอเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างโดยกล่าวหาว่ากระทำผิดนั้น การเลิกจ้างจำต้องอยู่ภายใต้บังคับระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เมื่อความผิดฐานแจ้งอาการป่วยด้วยความเท็จตามระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้องกำหนดให้ผู้ร้องมีสิทธิเลิกจ้างลูกจ้างได้ก็ต่อเมื่อได้ลงโทษด้วยการเตือนเป็นหนังสือก่อนแล้ว ดังนั้นเมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ร้องเคยลงโทษผู้คัดค้านซึ่งเป็นลูกจ้างด้วยการเตือนเป็นหนังสือมาก่อน แม้ผู้ร้องจะขอเลิกจ้างโดยยินยอมจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าก็ไม่ทำให้ผู้ร้องมีสิทธิเลิกจ้าง.
of 7