พบผลลัพธ์ทั้งหมด 44 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2346/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องรับซื้อฝากและการอนุญาตประกอบธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์: การที่รัฐมนตรีไม่แจ้งไม่อนุญาตถือว่าโจทก์มีสิทธิ
บริษัทโจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล มีวัตถุประสงค์ในการรับซื้อฝากอสังหาริมทรัพย์อยู่ก่อนแล้ว ต่อมาเมื่อประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 ลงวันที่ 26 มกราคม 2515 ออกมาใช้บังคับก็ไม่ได้ระบุว่ากิจการรับซื้อฝากอสังหาริมทรัพย์เป็นกิจการที่ต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี หลังจากนั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ออกประกาศกำหนดให้กิจการรับซื้อฝากอสังหาริมทรัพย์เป็นกิจการที่ต้องขออนุญาตเพิ่มขึ้น และให้ถือว่าการประกอบกิจการดังกล่าวเป็นการประกอบธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์อย่างหนึ่ง ดังนั้น เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอรับอนุญาตต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเพื่อดำเนินกิจการดังกล่าวต่อไปภายในกำหนดตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวข้อ 22 และกระทรวงการคลังได้แจ้งชื่อบริษัทโจทก์ไปยังกระทรวงมหาดไทยเพื่อแจ้งต่อกรมที่ดินทั้งนับแต่โจทก์ยื่นคำร้องขอรับอนุญาตแล้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังก็ไม่เคยแจ้งโจทก์หรือกรมที่ดินว่าไม่อนุญาตตามคำร้องขอดังกล่าวของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิรับซื้อฝากที่ดินพิพาทได้โดยชอบ และมีอำนาจฟ้อง
เมื่อโจทก์มอบอำนาจให้ อ. ฟ้องและดำเนินคดีแทนแล้ว อ. ย่อมมีอำนาจทำคำให้การแก้ฟ้องแย้งของจำเลยได้โดยโจทก์ไม่ต้องทำหนังสือมอบอำนาจและแต่งทนายความให้กระทำการดังกล่าวอีก
เมื่อโจทก์มอบอำนาจให้ อ. ฟ้องและดำเนินคดีแทนแล้ว อ. ย่อมมีอำนาจทำคำให้การแก้ฟ้องแย้งของจำเลยได้โดยโจทก์ไม่ต้องทำหนังสือมอบอำนาจและแต่งทนายความให้กระทำการดังกล่าวอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 734/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดุลพินิจรัฐมนตรีในคำวินิจฉัยอุทธรณ์แรงงาน: ศาลยืนตามคำวินิจฉัยหากไม่ขัดกฎหมาย
คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ มาตรา 23 ย่อมเป็นที่สุด คู่ความจะฟ้องขอให้เพิกถอนหรือเปลี่ยนแปลงคำวินิจฉัยได้เฉพาะเมื่อคำวินิจฉัยนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น และหามีกฎหมายบังคับว่าการวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าว รัฐมนตรีจะต้องอาศัยหลักเกณฑ์อย่างไร หรือหากได้วางหลักเกณฑ์ในการวินิจฉัยไว้แล้วจะต้องถือหลักเกณฑ์นั้นตลอดไปไม่ การที่รัฐมนตรีจะนำพฤติการณ์ใดบ้างมาเป็นเหตุสนับสนุนการวินิจฉัยสั่งการ ย่อมเป็นดุลพินิจของรัฐมนตรี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2856/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาใน พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ และอำนาจขยายเวลาของรัฐมนตรี
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ มิได้กำหนดวิธีการนับระยะเวลาไว้ จึงต้องนำวิธีการกำหนดนับระยะเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 158 มาใช้บังคับคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้รับคำร้องของนายเกรียงศักดิ์ นพศรี ลูกจ้าง เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2524 จึงจะนับวันแรกที่คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้รับคำร้องรวมคำนวณด้วยไม่ได้กำหนดระยะเวลาเก้าสิบวันตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯมาตรา 125 จึงต้องเริ่มนับจาก วันที่ 28 พฤษภาคม 2524 และจะครบกำหนดเก้าสิบวันในวันที่ 25 สิงหาคม 2524
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 125 วรรคสองให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยใช้ดุลพินิจในการขยายเวลาการพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ไว้อย่างกว้างขวาง ไม่มีข้อจำกัดหรือกำหนดวิธีการในการร้องขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยสั่งอนุญาตไว้แต่อย่างใด เมื่อมีคำขออนุมัติขยายเวลาชี้ขาดของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ไปอีกสามสิบวัน นับแต่วันที่ 26 สิงหาคม 2524 ถึงวันที่ 24 กันยายน 2524 ทั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้มีคำสั่งอนุมัติให้ขยายระยะเวลาตามคำขอนั้นแล้ว และคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้มีคำสั่งก่อนครบกำหนดสามสิบวัน ตามที่ได้รับอนุมัติให้ขยายระยะเวลาออกไป คำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 125 วรรคสองให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยใช้ดุลพินิจในการขยายเวลาการพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ไว้อย่างกว้างขวาง ไม่มีข้อจำกัดหรือกำหนดวิธีการในการร้องขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยสั่งอนุญาตไว้แต่อย่างใด เมื่อมีคำขออนุมัติขยายเวลาชี้ขาดของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ไปอีกสามสิบวัน นับแต่วันที่ 26 สิงหาคม 2524 ถึงวันที่ 24 กันยายน 2524 ทั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้มีคำสั่งอนุมัติให้ขยายระยะเวลาตามคำขอนั้นแล้ว และคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้มีคำสั่งก่อนครบกำหนดสามสิบวัน ตามที่ได้รับอนุมัติให้ขยายระยะเวลาออกไป คำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2144/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งถอนสัญชาติโดยรัฐมนตรี การฟ้องจำเลยที่ไม่ใช่ผู้มีอำนาจโดยตรง ศาลไม่อาจบังคับได้
โจทก์ฟ้อง ก.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นจำเลยที่ 1และ ม. อธิบดีกรมตำรวจเป็นจำเลยที่ 2 ขอให้พิพากษาว่าคำสั่งของจำเลยที่ 1 ที่ให้ถอนสัญชาติไทย ของโจทก์เป็นคำสั่งที่มิชอบด้วยกฎหมายและให้เพิกถอนเสียศาลชั้นต้นรับฟ้องเฉพาะเกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ไม่รับฟ้องที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 คำสั่งศาลชั้นต้นถึงที่สุดดังนี้ คำสั่งถอนสัญชาติของโจทก์เป็นคำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย แต่คดีคงมีจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นอธิบดีกรมตำรวจเป็นจำเลยแต่ผู้เดียวรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมิได้เป็นคู่ความด้วยไม่มีโอกาสโต้แย้งข้อกล่าวหาของโจทก์ ศาลจึงจะพิพากษาว่าคำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมิชอบด้วยกฎหมายและให้เพิกถอนเสียตามคำขอของโจทก์หาได้ไม่ แม้จะสืบพยานต่อไปและข้อเท็จจริงได้ความตามที่โจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการถอนสัญชาติด้วย และเป็นผู้เสนอต่อคณะกรรมการถอนสัญชาติว่าควรถอนสัญชาติไทยของโจทก์โดยมิได้สืบสวนข้อเท็จจริงก่อน ก็หาเป็นเหตุให้ศาลอาจพิพากษาบังคับตามคำขอของโจทก์ได้ไม่ คดีจึงไม่ต้องสืบพยานต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1226/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจรับคำร้องทุกข์: รัฐมนตรีฯ ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ตาม ป.วิ.อาญา
เจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งมีอำนาจรับคำร้องทุกข์ได้ตามมาตรา 2 (17) นั้น ได้แก่พนักงานสอบสวนกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตาม มาตรา 123, 124 เท่านั้น รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงมหาดไทย ไม่ใช่พนักงานสอบสวนและพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตาม มาตรา 2 (16) และ 2 (17)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 444/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจรัฐมนตรีเพิกถอนใบอนุญาตฉายภาพยนตร์ แม้สภาพิจารณาอนุมัติแล้ว การออกใบอนุญาตของเจ้าพนักงานต้องเป็นไปตามคำสั่งรัฐมนตรี
จำเลยซึ่งมีหน้าที่พิจารณาออกใบอนุญาตทำการฉายภาพยนตร์ไม่อนุญาตให้โจทก์ทำการฉายภาพยนตร์แม้โจทก์อุทธรณ์ต่อสภาพิจารณาภาพยนตร์ๆ มีคำสั่งอนุมัติให้ฉายได้ ก็ตามเมื่อรัฐมนตรีมหาดไทยมีคำสั่งไม่อนุมัติจำเลยย่อมไม่ออกใบอนุญาตให้โจทก์ได้เพราะรัฐมนตรีมหาดไทยมีอำนาจเพิกถอนใบอนุญาตซึ่งออกตามความใน พระราชบัญญัติภาพยนตร์ พ.ศ.2473 ได้ตามแต่จะเห็นสมควร
เมื่อรัฐมนตรีสั่งไม่อนุมัติแล้วหากจำเลยจะขืนออกใบอนุญาตให้โจทก์ก็จะเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งหรือไร้ผลเพราะรัฐมนตรีย่อมเพิกถอนเสียได้
เมื่อรัฐมนตรีสั่งไม่อนุมัติแล้วหากจำเลยจะขืนออกใบอนุญาตให้โจทก์ก็จะเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งหรือไร้ผลเพราะรัฐมนตรีย่อมเพิกถอนเสียได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 174/2499
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องจำเลยรัฐมนตรีโดยไม่แสดงการกระทำละเมิดหรือพันธะตามกฎหมาย ศาลยกฟ้องตามมาตรา 172 ป.วิ.พ.
ฟ้องรัฐมนตรีว่าการมหาดไทย บรรยายว่าโจทก์เป็นคนไทยแต่เจ้าหน้าที่ให้จดทะเบียนต่างด้าว โจทก์ขอคืนสัญชาติต่อตำรวจท้องที่จนบัดนี้ยังไม่ทราบผลจึงขอให้ศาลไต่สวนสัญชาติ และเบิกถอนใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวดังนี้ไม่เป็นฟ้องที่ถูกต้องตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 214/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนของตำรวจสันติบาลต้องมีข้อกำหนดจากรัฐมนตรีฯ โจทก์มีหน้าที่นำสืบ
ตามความใน พ.ร.บ.จัดวางระเบียบราชการกรมตำรวจในกระทรวงมหาดไทย พ.ศ.2491 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้กำหนดตั้งหน่วยงานและเขตต์อำนาจการรับผิดชอบหรือเขตต์พื้นที่ปกครองของหน่วยราชการโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษากอบบัญชาการสอบสวนกลางกองตำรวจสันติบาลจะมีอำนาจสอบสวนได้เพียงใดหรือไม่นั้น ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดหรือข้อบังคับ ข้อกำหนดหรือข้อบังคับนั้น ๆ เป็นข้อเท็จจริงไม่ใช่ข้อกฎหมาย โจทก์ต้องนำสืบ
เมื่อ ร.ต.ท.ประชานายตำรวจสันติบาสเพียงแต่อ้างว่ามีอำนาจสอบสวน เพราะได้รับคำสั่งจากผู้กำกับการฯแล้ว แต่โจทก์มิได้สืบให้เห็นว่าผู้กำกับการมีอำนาจสั่งได้โดยชอบด้วยกฎหมายอย่างใด ดังนี้จึงฟังไม่ได้ว่า ร.ต.ท. ประชามีอำนาจสอบสวน
เมื่อ ร.ต.ท.ประชานายตำรวจสันติบาสเพียงแต่อ้างว่ามีอำนาจสอบสวน เพราะได้รับคำสั่งจากผู้กำกับการฯแล้ว แต่โจทก์มิได้สืบให้เห็นว่าผู้กำกับการมีอำนาจสั่งได้โดยชอบด้วยกฎหมายอย่างใด ดังนี้จึงฟังไม่ได้ว่า ร.ต.ท. ประชามีอำนาจสอบสวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1360/2482
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องยื่นตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด การยื่นเรื่องโดยตรงต่อรัฐมนตรีไม่ถือเป็นการอุทธรณ์
การอุทธรณ์คำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นซึ่งสั่งให้เลิกเลี้ยงสุกรในเขตต์เทศบาลนั้นต้องยื่นต่อเจ้าพนักงานตรงต่อรัฐมนตรีไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1359/2482
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องยื่นต่อเจ้าพนักงานนั้นโดยตรง การยื่นต่อรัฐมนตรีไม่ถือเป็นการอุทธรณ์
การอุทธรณ์คำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นซึ่งสั่งให้เลิกเสี้ยงสุกรในเขตต์เทศบาลนั้น ต้องยื่นต่อเจ้าพนักงานนั้น จะยื่นตรงต่อรัฐมนตรีไม่ได้