พบผลลัพธ์ทั้งหมด 33 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12104/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นฎีกาไม่ชอบด้วยกฎหมายเมื่อมิได้วางค่าทนายความตามที่ศาลอุทธรณ์กำหนด แม้ศาลชั้นต้นจะรับฎีกาไว้
ค่าทนายความที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้โจทก์ชำระแก่จำเลยที่ 1 เป็นความรับผิดในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมที่โจทก์ผู้ฎีกาจะต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 หาใช่หนี้ตามคำพิพากษาในเนื้อหาคดี อันโจทก์จะพึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอทุเลาการบังคับคดี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 231 วรรคหนึ่ง ได้ไม่ ดังนั้น การที่โจทก์ยื่นฎีกาโดยจงใจนำเพียงค่าธรรมเนียม (ค่าขึ้นศาล) ตามที่จำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์มาวางศาลตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์พร้อมกับฎีกาโดยมิได้วางค่าทนายความที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้โจทก์ชำระแก่จำเลยที่ 1 จึงเป็นการยื่นฎีกาโดยมิชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 ชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งจะมีคำสั่งไม่รับฎีกาได้ทันที เพราะมิใช่กรณีที่โจทก์ชำระให้ครบถ้วนภายในกำหนดระยะเวลาตามที่เห็นสมควรเสียก่อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8323/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาปัญหาข้อเท็จจริง: ศาลต้องส่งคำร้องให้ผู้พิพากษาพิจารณาก่อนรับฎีกา และข้อจำกัดในการย้อนสำนวน
เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นและชั้นอุทธรณ์คนใดคนหนึ่งอนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นมีหน้าที่ต้องส่งคำร้องของจำเลยพร้อมสำนวนไปให้ผู้พิพากษาตามที่จำเลยระบุเพื่อพิจารณาคำร้องของจำเลยจนครบ เว้นแต่จะมีผู้พิพากษาคนใดคนหนึ่งอนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงครบทุกประเด็นตามที่จำเลยต้องการแล้ว เมื่อปรากฎว่ามีผู้พิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยฎีกาบางประเด็น ไม่อนุญาตบางประเด็น ศาลชั้นต้นก็มีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยในประเด็นที่มีผู้อนุญาตทันทีโดยไม่ส่งคำร้องของจำเลยพร้อมสำนวนไปให้ผู้พิพากษาคนอื่นตามคำร้องของจำเลยพิจารณาในปัญหาข้อเท็จจริงที่ยังไม่ได้รับอนุญาตเสียก่อน ย่อมเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 221
ปัญหาข้อเท็จจริงที่จำเลยขอให้ผู้พิพากษาอนุญาตให้ฎีกานั้น ต้องเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่ได้ยกขึ้นว่ากันแล้วโดยชอบในศาลล่าง เมื่อปรากฎว่าปัญหาข้อเท็จจริงที่จำเลยขอให้รับรองนั้น เป็นข้อเท็จจริงที่ยุติไปแล้วตั้งแต่ศาลชั้นต้นเพราะไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นในชั้นอุทธรณ์ จึงไม่มีเหตุที่จะย้อนสำนวนลงไปเพื่อให้ศาลชั้นต้นส่งคำร้องของจำเลยไปให้ผู้พิพากษาคนอื่นพิจารณาอีก
ปัญหาข้อเท็จจริงที่จำเลยขอให้ผู้พิพากษาอนุญาตให้ฎีกานั้น ต้องเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่ได้ยกขึ้นว่ากันแล้วโดยชอบในศาลล่าง เมื่อปรากฎว่าปัญหาข้อเท็จจริงที่จำเลยขอให้รับรองนั้น เป็นข้อเท็จจริงที่ยุติไปแล้วตั้งแต่ศาลชั้นต้นเพราะไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นในชั้นอุทธรณ์ จึงไม่มีเหตุที่จะย้อนสำนวนลงไปเพื่อให้ศาลชั้นต้นส่งคำร้องของจำเลยไปให้ผู้พิพากษาคนอื่นพิจารณาอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1689/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับแก้บทความผิดและโทษจำคุกโดยศาลอุทธรณ์ การรับฎีกาที่ไม่ชอบของศาลชั้นต้น
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 278 วรรคหนึ่ง, 365 (1) ประกอบมาตรา 362 และมาตรา 364 การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานบุกรุกโดยใช้กำลังประทุษร้ายตาม ป.อ. มาตรา 365 (1) ประกอบมาตรา 362 และมาตรา 364 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 จำคุก 1 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานกระทำอนาจารแก่บุคคลอายุกว่าสิบห้าปี ตาม ป.อ. มาตรา 278 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 จำคุก 2 ปี เป็นกรณีที่ทั้งสองศาลต่างวางบทความผิดแก่จำเลยทั้งมาตรา 278 วรรคหนึ่ง และมาตรา 365 (1) ประกอบมาตรา 362 และมาตรา 364 ซึ่งเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทอยู่แล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ปรับบทกฎหมายตามมาตรา 278 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นบทหนักที่สุดที่ใช้ลงโทษจำเลยให้ถูกต้องดังกล่าว ถือไม่ได้ว่าเป็นการแก้ไขบท แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 จะแก้ไขโทษเพิ่มขึ้นตามบทหนักที่ใช้ลงโทษแก่จำเลย ก็เป็นเพียงการแก้ไขเล็กน้อยและลงโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ดังนี้ ฎีกาของจำเลยที่ขอให้ลงโทษจำเลยสถานเบาและรอการลงโทษจำคุกนั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดโทษของศาลอุทธรณ์ภาค 4 ซึ่งเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จำเลยย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองว่า ข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดและอนุญาตให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 การที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำร้องขออนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงว่า สั่งในฎีกา แล้วมีคำสั่งในคำฟ้องฎีกาของจำเลยว่า เป็นกรณีแก้ไขมากและเพิ่มเติมโทษจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 ให้รับฎีกาของจำเลย จึงเป็นการสั่งคดีโดยผิดหลงและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ถือว่าไม่ได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาคดี ศาลฎีกามีอำนาจที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยโดยให้เพิกถอนคำสั่งและการดำเนินการดังกล่าวของศาลชั้นต้นที่ไม่ชอบเสียได้และสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบด้วยมาตรา 225