คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รับมรดก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 82 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 548/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินที่ได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายของคนต่างด้าว และการรับมรดกที่ไม่มีผลทำให้ได้กรรมสิทธิ์
ง. สามีโจทก์เป็นคนต่างด้าวซื้อที่ดินแปลงพิพาทเพื่ออยู่อาศัยโดยมิได้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงและไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา86 แล้วใส่ชื่อ บ. บิดาโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนหลังจาก ง. ถึงแก่กรรม บ. ได้ขอออกโฉนดที่ดินดังกล่าวต่อมา บ.ถึงแก่กรรม โจทก์จึงขอรับมรดกที่พิพาทและฟ้องขับไล่จำเลยซึ่งเป็นบุตรของ ง. ซึ่งเกิดจากภริยาของง. อีกคนหนึ่งออกจากที่พิพาทกรณีดังกล่าวเป็นเรื่องที่ ง. คนต่างด้าวได้ที่ดินมาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย บ.ซึ่งได้ที่ดินมาในฐานะเป็นเจ้าของแทนคนต่างด้าวย่อมไม่อาจอ้างกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นได้ เมื่อ บ. ตายที่นั้นไม่ใช่มรดกของ บ. โจทก์ผู้ไปขอรับมรดกมาย่อมไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 397/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองเป็นมรดก ไม่ใช่การครอบครองทรัพย์ผู้อื่น ต้องจดทะเบียนรับมรดก
ที่ดินมีโฉนดตกทอดมาทางมรดกผู้รับมรดกครอบครองมาไม่ใช่ได้กรรมสิทธิ์ตาม มาตรา 1382 จึงมาร้องขอให้ศาลแสดงกรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายที่ดินไม่ได้ เป็นเรื่องขอจดทะเบียนตาม ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 81 โฉนดปลวกกินหมดก็ขอใบแทนตาม มาตรา 60 หากเจ้าพนักงานที่ดินไม่ทำให้ก็เป็นข้อพิพาทไม่ใช่ร้องฝ่ายเดียวเป็นคดีไม่มีข้อพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2583/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความเท็จเกี่ยวกับสถานภาพสมรสกระทบสิทธิภริยาเดิมในการรับมรดก โจทก์มีสิทธิฟ้องอาญา
สามีจดทะเบียนสมรสกับหญิงอื่นโดยที่ยังไม่ขาดจากภริยาเดิมที่ได้จดทะเบียนสมรสไว้ แต่อ้างกับเจ้าหน้าที่จดทะเบียนว่าไม่เคยจดทะเบียนสมรสมาก่อน ภริยาเดิมเป็นผู้เสียหายฟ้องสามีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา137 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1069-1070/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์และการยกข้อต่อสู้กรรมสิทธิ์ของผู้รับมรดก
โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินมาโดยการรับมรดกต้องรับไปทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ โจทก์จึงไม่ใช่บุคคลภายนอกผู้ได้กรรมสิทธิ์มาโดยเสียค่าตอบแทนตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 จำเลยจึงยกกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทอันได้มาโดยการครอบครองปรปักษ์ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ แม้จำเลยจะยังมิได้จดทะเบียนการได้มาก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1048/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีที่ดิน: บุตรนอกกฎหมายต้องได้รับการรับรองเพื่อมีสิทธิรับมรดก
ตามคำฟ้องโจทก์กล่าวอ้างแต่เพียงว่า โจทก์ทั้งสี่เป็นบุตร นอกกฎหมายของ ม. และก่อนถึงแก่กรรม ม. บิดาโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท มิได้กล่าวอ้างว่าโจทก์ทั้งสี่มีสิทธิรับมรดกที่ดินพิพาทแปลงนี้ในฐานะอะไร เพราะบุตรนอกกฎหมายที่มีสิทธิรับมรดกของบิดาได้จะต้องเป็นบุตรที่บิดาได้รับรองแล้วดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1627แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และตามพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบ ก็ไม่ปรากฏว่าพฤติการณ์อันใดที่แสดงว่าโจทก์ทั้งสี่เป็นบุตร นอกกฎหมาย ที่บิดารับรองแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทจึงไม่มีอำนาจฟ้องเกี่ยวกับ ที่ดินแปลงนี้ และเรื่องอำนาจฟ้องนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความจะมิได้ยกขึ้นกล่าวอ้าง หากแต่ศาลพิจารณาเห็นสมควรย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยชี้ขาดคดีได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1133/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับมรดกโดยไม่ชอบ โจทก์มีสิทธิขอเพิกถอนการจดทะเบียนได้
การที่จำลยยื่นเรื่องราวขอรับมรดกของเจ้ามรดกในที่ดินพิพาทและจดทะเบียนโอนรับมรดกที่ดินพิพาทมา ตลอดจนการยอมรับว่าบิดาจำเลยเป็นผู้เสียภาษีบำรุงท้องที่แทนในนามของเจ้ามรดกตลอดมา เท่ากับเป็นการยอมรับความเป็นเจ้าของของเจ้ามรดก มิใช่เป็นการครอบครองในลักษณะเป็นปรปักษ์ต่อเจ้ามรดก จำเลยจึงไม่อาจอ้างการได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382
หลังจากเจ้ามรดกตายมีทายาทอื่นที่มิใช่โจทก์จำเลยครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทต่อมา โฉนดที่ดินพิพาทยังคงมีชื่อเจ้ามรดกถือกรรมสิทธิ์ และจำเลยเพิ่งจะยื่นขอโอนรับมรดก แสดงว่าที่ดินพิพาทยังเป็นของเจ้ามรดกอันจะพึงตกได้แก่บรรดาทายาทซึ่งมีฐานะเป็นเจ้าของร่วมกันมา ในเบื้องต้นต้องถือว่าได้ครอบครองไว้แทนกัน
การที่จำเลยซึ่งมิใช่ทายาทของเจ้ามรดก เอาที่ดินพิพาทไปจดทะเบียนโอนรับมรดกโดยปราศจากความรู้เห็นยินยอมของทายาทที่แท้จริง แล้วจดทะเบียนโอนยกให้แก่ ข. โจทก์ซึ่งเป็นทายาทของเจ้ามรดกชอบที่จะขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนรับมรดก และการจดทะเบียนการให้นั้นเสียได้ เพราะจำเลยได้สิทธิมาโดยไม่ชอบ ข.ผู้รับโอนที่ดินจากจำเลยย่อมไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 181/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับมรดกของบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรอง
บุตรนอกกฎหมายซึ่งบิดารับรองโดยเลี้ยงดูร่วมบ้านให้เรียกว่าบิดา เป็นที่รู้กันทั่วไป รับมรดกของบิดาได้ตาม มาตรา 1627พี่น้องของเจ้ามรดกซึ่งเป็นทายาทลำดับถัดไปอ้างอายุความมาตัดบุตรซึ่งเป็นทายาทลำดับที่ 1 ไม่ได้ตามมาตรา 1755

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 357/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับมรดกความแทนคู่ความที่มรณะหลังศาลอุทธรณ์พิพากษา และอำนาจศาลชั้นต้นในการวินิจฉัยสั่ง
การร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะหลังจากศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีแล้วนั้น เมื่อศาลชั้นต้นยังไม่สั่งรับฎีกาของคู่ความฝ่ายที่มรณะ คดีย่อมยังอยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะวินิจฉัยสั่งได้
การที่ศาลจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีจากสารบบความตามมาตรา 42แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งนั้น จะต้องเป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมรณะในระหว่างที่คดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลนั้นเอง เมื่อคู่ความมรณะระหว่างที่คดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลอุทธรณ์ เป็นเวลาเกินกว่าหนึ่งปีแล้ว แต่ศาลอุทธรณ์มิได้สั่งจำหน่ายคดี จนกระบวนพิจารณาได้ผ่านจากชั้นศาลอุทธรณ์มาเป็นกระบวนพิจารณาชั้นศาลฎีกา โดยศาลชั้นต้นได้สั่งให้ทายาทของผู้มรณะเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ และได้สั่งรับฎีกาแล้ว ย่อมมิใช่เป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมรณะในระหว่างที่คดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลฎีกา ศาลฎีกาจะสั่งจำหน่ายคดีมิได้
(วรรคท้าย วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 40/2515)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1402/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบุตรนอกกฎหมายรับมรดก: การรับรองบุตรโดยมิได้จดทะเบียนสมรส
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกจากที่พิพาทและให้ส่งกระบือให้โจทก์เมื่อทางพิจารณาฟังได้ว่าที่พิพาทเป็นมรดกตกแก่โจทก์จำเลย ศาลย่อมพิพากษาให้แบ่งมรดกนั้นได้
บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว ย่อมมีสิทธิรับมรดกของบิดาได้โดยไม่ต้องจดทะเบียนรับรองบุตร และไม่จำต้องขอให้ศาลสั่งแสดงว่าเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายเสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1723/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตกลงชำระหนี้และรับมรดก: ไม่ใช่การสละมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 1612
ข้อตกลงระหว่างทายาทที่ให้ทายาทคนหนึ่งชำระหนี้สินของเจ้ามรดกทั้งหมดแล้วยินยอมให้ทายาทผู้ชำระหนี้ดังกล่าวแต่ผู้เดียวลงชื่อรับมรดกส่วนของเจ้ามรดกในโฉนดที่ดินนั้นไม่ใช่เป็นเรื่องทายาทสละมรดก ตามความหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1612 เพราะการสละมรดกตามมาตรานี้หมายถึงการสละส่วนของตนโดยไม่เจาะจงว่าจะให้แก่ทายาทคนใด
of 9