คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รับรอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 161 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2755/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองตั๋วเงิน: เจ้าหนี้ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้น สิทธิไล่เบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
เจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้จ่ายและได้รับรองตั๋วแลกเงินอันต้องผูกพันจ่ายเงินตามเนื้อความแห่งคำรับรองของตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา937ย่อมอยู่ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นอย่างเดียวกับลูกหนี้ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายตั๋วแลกเงินลูกหนี้ไม่ได้อยู่ในฐานะที่มีความผูกพันอยู่แล้วก่อนเจ้าหนี้ตามมาตรา967วรรคสามเจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิไล่เบี้ยบังคับเอาแก่ลูกหนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1315/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองลายพิมพ์นิ้วมือโดยพยาน: ความถูกต้องตามกฎหมาย
ในเอกสารส่งมอบการครอบครองหมาย ล.12 มีลายมือชื่อของ ว. ลงไว้ว่าเป็นผู้รับมอบ และในช่องพยานก็มีลายมือชื่อ ป. และลายมือชื่อเซ็นไว้อ่านไม่ออกอีกคนหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีลายมือชื่อ น. ผู้เขียนอีกคนหนึ่งลงไว้จึงถือได้ว่าบุคคลที่ลงลายมือชื่อดังกล่าวเป็นพยานผู้รับรองลายพิมพ์นิ้วมือของ ม. ไว้ครบจำนวนสองคนเป็นการถูกต้อง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 9 วรรคสอง แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7350/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกันภัยทางทะเล: ผลของการไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการตรวจสภาพเรือและการรับรองของผู้เอาประกันภัย
สัญญาประกันภัยทางทะเลที่ทำขึ้นนั้น เมื่อประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายทะเล ทั้งไม่มีจารีตประเพณี จึงต้องวินิจฉัยคดีตามหลักกฎหมายทั่วไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4เมื่อกรมธรรม์ทำเป็นภาษาอังกฤษ จึงควรถือกฎหมายของอังกฤษเป็นกฎหมายทั่วไป ตามกรมธรรม์ประกันภัยมีข้อความให้ผู้เอาประกันภัยนำเรือไปตรวจสภาพ และปฏิบัติตามคำแนะนำให้ซ่อมแซมเรือ ตามกฎหมายอังกฤษข้อความดังกล่าวเป็นคำรับรองของผู้เอาประกันภัย เป็นคำมั่นสัญญาที่ผู้เอาประกันต้องปฏิบัติโดยเคร่งครัด และไม่จำต้องมีข้อความต่อท้ายว่า ถ้าผู้เอาประกันภัยไม่ปฏิบัติแล้วผู้รับประกันภัยจะหลุดพ้นความรับผิด ผู้เอาประกันภัยมิได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยก่อนนำเรือออกทะเล เมื่อเรืออับปางที่ต่างประเทศ ผู้รับประกันภัยจึงไม่ต้องรับผิดการที่บริษัทรับประกันภัยต่อได้จ่ายเงินให้จำเลยในรูปสินไหมกรุณา ซึ่งเป็นเงินที่ผู้รับประกันภัยจ่ายให้แม้จะมีความเห็นว่าผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดชอบตามเงื่อนไขในกรมธรรม์โจทก์ในฐานะผู้รับจำนองจึงไม่อาจเข้ารับช่วงทรัพย์เรียกร้องค่าสินไหมทดแทนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5764/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทายาทโดยธรรมของบุตรนอกกฎหมายที่ได้รับการรับรองและการเพิกถอนนิติกรรมรับมรดก
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1629 ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับแต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลัง อันดับที่ 1 คือผู้สืบสันดานซึ่งตามมาตรา 1627บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้ด้วย ดังนั้น ประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดว่า จำเลยเป็นทายาทโดยธรรมของนาย อ.เจ้ามรดกหรือไม่ จึงรวมไปถึงปัญหาว่าจำเลยเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วหรือไม่ด้วย
จำเลยมีสำเนาทะเบียนการสมรสระหว่างจำเลยกับ ส.สามีซึ่งเป็นเอกสารมหาชนระบุว่า จำเลยเป็นบุตรนาย อ. นาง ก. และใช้นามสกุลขณะสมรสว่า "เพชรม่อม" อันเป็นนามสกุลของนาย อ. อีกด้วยแม้นาย อ. นาง ก.ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย แต่ผู้ใหญ่บ้านก็เบิกความรับรองว่า ขณะเยาว์วัยจำเลยอาศัยอยู่กับนาย อ.บิดาที่บ้าน จึงฟังได้ว่านาย อ.อุปการะเลี้ยงดูจำเลยอย่างบุตรและให้ใช้นามสกุลเดียวกัน ถือเป็นการรับรองว่าจำเลยเป็นบุตร จำเลยจึงมีสิทธิรับมรดกไม่มีพินัยกรรมของนาย อ.ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1627 และมาตรา 1629
โจทก์ฟ้องให้เพิกถอนนิติกรรมที่จำเลยขอรับมรดกที่ดินพิพาทส่วนของนาย อ. อ้างว่า นาย อ.ได้ยกที่ดินพิพาทส่วนของนาย อ.ให้โจทก์แล้วไม่มีประเด็นว่าโจทก์แย่งการครอบครองที่ดินพิพาทเกินกว่า 1 ปี หรือไม่ ทั้งคำพยานโจทก์ ก็ไม่ได้ยืนยันว่า นาย อ.ยกที่ดินพิพาทส่วนของนาย อ.ให้โจทก์การที่โจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทรวมทั้งส่วนของนาย อ.หลังจากนาย อ.ตายแล้วเท่ากับเป็นการครอบครองแทนจำเลยซึ่งเป็นทายาทนาย อ.จนกว่าโจทก์จะแสดงเจตนาเปลี่ยนการครอบครองเป็นครอบครองเพื่อตน เมื่อจำเลยเป็นทายาทโดยธรรมของนาย อ.ได้ทำนิติกรรมจดทะเบียนสิทธิรับโอนที่ดินพิพาทส่วนของนาย อ.บิดาโดยชอบ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4894/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นฎีกาเกินกำหนด แม้ศาลชั้นต้นรับรองเหตุฎีกา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์รับรองว่ามีเหตุสมควรที่จะฎีกาได้ ผู้ฎีกาต้องยื่นคำร้องถึงผู้พิพากษานั้นพร้อมกับคำฟ้องฎีกาต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 247 ประกอบด้วยมาตรา 248 วรรคสี่ การที่จำเลยเคยยื่นคำฟ้องฎีกาภายในกำหนดระยะเวลาฎีกา แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับแล้ว คำฟ้องฎีกาของจำเลยจึงตกไป แม้ต่อมาจำเลยได้ยื่นคำฟ้องฎีกาฉบับใหม่พร้อมกับยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองให้ฎีกาและผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองว่ามีเหตุสมควรที่จะฎีกาได้ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งรับคำฟ้องฎีกาของจำเลยก็ตาม ก็เป็นคำฟ้องฎีกาที่ยื่นพ้นกำหนด1 เดือน นับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้ว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4894/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาพ้นกำหนดระยะเวลาและการรับรองฎีกาของผู้พิพากษา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์รับรองว่ามีเหตุสมควรที่จะฎีกาได้ ผู้ฎีกาต้องยื่นคำร้องถึงผู้พิพากษานั้นพร้อมกับคำฟ้องฎีกาต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247 ประกอบด้วยมาตรา 248 วรรคสี่ การที่จำเลยเคยยื่นคำฟ้องฎีกาภายในกำหนดระยะเวลาฎีกา แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับแล้ว คำฟ้องฎีกาของจำเลยจึงตกไป แม้ต่อมาจำเลยได้ยื่นคำฟ้องฎีกาฉบับใหม่พร้อมกับยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองให้ฎีกาและผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองว่ามีเหตุสมควรที่จะฎีกาได้ ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งรับคำฟ้องฎีกาของจำเลยก็ตาม ก็เป็นคำฟ้องฎีกาที่ยื่นพ้นกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้ว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4894/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาพ้นกำหนดระยะเวลา แม้ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นรับรองเหตุฎีกา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2535 จำเลยยื่นคำฟ้องฎีกาเมื่อวันที่1 กรกฎาคม 2535 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามฎีกา จึงไม่รับ วันที่ 2 กรกฎาคม 2535 จำเลยยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองให้ฎีกาโดยจำเลยมิได้ยื่นคำฟ้องฎีกามาด้วย ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2535 ว่า จำเลยยื่นคำร้องขอให้รับรองฎีกาโดยไม่แนบคำฟ้องฎีกาที่จะให้รับรองมาด้วยจึงให้ยกคำร้อง วันที่ 28 กรกฎาคม 2535 จำเลยยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองให้ฎีกาพร้อมกับยื่นคำฟ้องฎีกาฉบับใหม่ ดังนี้ การที่จำเลยเคยยื่นคำฟ้องฎีกาภายในกำหนดระยะเวลาฎีกา แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับแล้ว คำฟ้องฎีกาของจำเลยจึงตกไป แม้ต่อมาจำเลยได้ยื่นคำฟ้องฎีกาฉบับใหม่พร้อมกับยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองให้ฎีกา และผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองว่ามีเหตุสมควรที่จะฎีกาได้ ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งรับคำฟ้องฎีกาของจำเลยก็ตาม ก็เป็นคำฟ้องฎีกาที่ยื่นพ้นกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 แล้ว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3237/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองลายพิมพ์นิ้วมือในหนังสือมอบอำนาจทำให้หนังสือมอบอำนาจสมบูรณ์และผู้มอบอำนาจมีอำนาจฟ้อง
พยานลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดี แม้จะไม่ระบุว่าเป็นการรับรองลายพิมพ์นิ้วมือผู้มอบอำนาจก็ถือว่าเป็นการรับรองลายพิมพ์นิ้วมือนั่นเอง การลงลายพิมพ์นิ้วมือจึงถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 9 วรรคสอง หนังสือมอบอำนาจสมบูรณ์ถูกต้อง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1036/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งวันนัดฟังคำสั่งล้มละลายที่ไม่ชอบ และการรับรองการทราบคำสั่งภายหลัง
จำเลยที่ 1 มีภูมิลำเนาที่แน่นอนจึงไม่ใช่กรณีที่ไม่สามารถส่งหมายให้แก่จำเลยที่ 1 ณ ภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 ได้ การส่งหมายแจ้งวันนัดฟังคำสั่งหรือคำพิพากษาในวันที่ 26 มีนาคม 2534 ให้จำเลยที่ 1 ทราบโดยวิธีปิดประกาศหน้าศาล จึงเป็นการแจ้งวันนัดที่ไม่ชอบ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มาศาลย่อมไม่อาจถือได้ว่า จำเลยที่ 1ได้ทราบคำสั่งหรือคำพิพากษาในวันดังกล่าว แต่ตามคำร้องของจำเลยที่ 1 รับว่าได้ทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เมื่อวันที่1 กรกฎาคม 2534 ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกเลิกคำสั่งเดิม โดยให้ถือว่าจำเลยที่ 1 ทราบหรือได้ฟังคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2534 จึงชอบแล้วไม่มีเหตุต้องดำเนินกระบวนพิจารณาแจ้งวันนัดให้จำเลยที่ 1 มาฟังคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดใหม่ การอ่านคำสั่งหรือคำพิพากษาให้คู่ความฟังนั้นเป็นเรื่องเฉพาะตัวของคู่ความแต่ละรายเป็นรายบุคคลไป หากเป็นการอ่านคำสั่งหรือคำพิพากษาให้คู่ความรายใดฟังเป็นการไม่ชอบก็มีผลเฉพาะคู่ความรายนั้น ๆ ไม่มีผลถึงการอ่านให้คู่ความรายอื่นที่ได้ฟังคำสั่งหรือคำพิพากษาโดยชอบแล้ว สิทธิในการอุทธรณ์เป็นเรื่องเฉพาะตัวของคู่ความแต่ละรายไป จำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดนับแต่วันที่ทราบคำสั่ง จะถือตามสิทธิอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ไม่ได้ จำเลยทั้งสามเป็นหนี้โจทก์จำนวน 1,336,580 บาท พร้อมดอกเบี้ยและโจทก์มีหนังสือทวงถามจำเลยทั้งสามให้ชำระหนี้แล้ว 2 ครั้งซึ่งมีระยะห่างกันไม่น้อยกว่า 30 วัน จำเลยทั้งสามไม่ชำระหนี้ทั้งจำเลยทั้งสามร่วมกันแถลงยอมรับในวันสืบพยานจำเลยว่าจำเลยทั้งสามเป็นหนี้โจทก์ตามฟ้องและเป็นบุคคลที่มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพฤติการณ์ที่โจทก์กล่าวอ้างในฟ้องจริง ไม่ติดใจสืบพยานจำเลยอีกต่อไป หากถึงวันนัดฟังคำสั่งหรือคำพิพากษาจำเลยทั้งสามไม่สามารถชำระหนี้ให้โจทก์ได้ ก็ให้ศาลพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งตามรูปคดีต่อไป และเมื่อถึงวันนัดฟังคำสั่งหรือคำพิพากษา จำเลยทั้งสามมิได้ชำระหนี้ให้โจทก์ตามที่ได้แถลงต่อศาลชั้นต้น ดังนี้ จึงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นบุคคลที่มีหนี้สินล้นพ้นตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1836/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองฎีกาโดยอัยการสูงสุด และการพิจารณาคดีอาญาที่ต้องห้ามฎีกา
อัยการสูงสุดได้มีหนังสือลงลายมือ ชื่อรับรองว่ารูปคดีมีเหตุอันควรที่ศาลฎีกาจะได้วินิจฉัย จึงรับรองฎีกาของโจทก์เพื่อศาลฎีกาจะได้พิจารณาพิพากษาต่อไป การรับรองให้ฎีกาเช่นนี้ชอบด้วยมาตรา 221 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแล้ว ไม่จำต้องยกเหตุผลหรือระบุว่ามีข้อความใดในส่วนใดของฎีกาที่ศาลฎีกาควรจะวินิจฉัย
of 17