พบผลลัพธ์ทั้งหมด 38 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 762/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของผู้รับโอนในสัญญาเช่าที่ไม่จดทะเบียน และข้อยกเว้นความคุ้มครอง พ.ร.บ.ควบคุมการเช่า
แม้สัญญาเช่าห้องพิพาทจะเป็นสัญญาต่างตอบแทน สัญญานั้นก็ก่อให้เกิดเพียงบุคคลสิทธิ มีผลผูกพันเฉพาะคู่กรณีเท่านั้น ไม่ผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอน และเมื่อไม่ใช่สัญญาเช่าธรรมดา จำเลยจะอ้างประโยชน์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตราร 569 ไม่ได้
เงินกินเปล่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่า ฉะนั้น ข้อตกลงระหว่างเจ้าของเดิมกับจำเลยจึงเป็นสัญญาเช่าธรรมดา เมื่อไม่ได้จดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การเช่านั้นก็ใช้ได้เพียง 3 ปี เมื่อครบ 3 ปีและได้บอกเลิกการเช่าแล้ว โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของห้องพิพาทย่อมฟ้องขับไล่จำเลยได้
เมื่อจำเลยเช่าห้องพิพาทเพื่อทำการค้าขายเป็นส่วนใหญ่ ก็ไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน ฯ
เงินกินเปล่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่า ฉะนั้น ข้อตกลงระหว่างเจ้าของเดิมกับจำเลยจึงเป็นสัญญาเช่าธรรมดา เมื่อไม่ได้จดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การเช่านั้นก็ใช้ได้เพียง 3 ปี เมื่อครบ 3 ปีและได้บอกเลิกการเช่าแล้ว โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของห้องพิพาทย่อมฟ้องขับไล่จำเลยได้
เมื่อจำเลยเช่าห้องพิพาทเพื่อทำการค้าขายเป็นส่วนใหญ่ ก็ไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน ฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1349/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินขายฝากตกแก่ผู้ซื้อตั้งแต่ทำสัญญา ผู้รับโอนย่อมรับสิทธิและหน้าที่เดิมของผู้โอน
กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายฝากตกไปยังผู้ซื้อฝากตั้งแต่เวลาทำสัญญาขายฝาก ไม่ใช่เมื่อพ้นกำหนดเวลาไถ่คืน
จำเลยทำสัญญาเช่าห้องแถวกับเจ้าของเดิมก่อนโจทก์รับซื้อฝากห้องแถวจากเจ้าของเดิม โจทก์ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ไปย่อมรับโอนทั้งสิทธิและหน้าที่ของเจ้าของเดิมผู้โอนด้วย สัญญาเช่าของจำเลยนั้นจึงผูกพันโจทก์
จำเลยทำสัญญาเช่าห้องแถวกับเจ้าของเดิมก่อนโจทก์รับซื้อฝากห้องแถวจากเจ้าของเดิม โจทก์ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ไปย่อมรับโอนทั้งสิทธิและหน้าที่ของเจ้าของเดิมผู้โอนด้วย สัญญาเช่าของจำเลยนั้นจึงผูกพันโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 841/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลกระทบการรับโอนกรรมสิทธิที่ดินหลังมีคำพิพากษาต่อสิทธิในสัญญาจำนอง สิทธิในสัญญาจำนองผูกพันเฉพาะกรรมสิทธิ์ที่ดิน
โจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ศาลบังคับจำเลยคนหนึ่งรับโอนกรรมสิทธิที่ดินของโจทก์ตามสัญญาจะซื้อขาย และขอให้เพิกถอนสัญญาที่จำเลยอีกสองคนทำกันไว้เกี่ยวกับที่ดินแปลงนั้น เมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยคนหนึ่งรับโอนที่ดินแปลงนั้นลงชื่อในโฉนดเป็นผู้ถือกรรมสิทธิต่อไปแล้ว สัญญาจำนองจะใช้บังคับแก่ที่ดินนั้นได้หรือไม่ ย่อมเป็นภาระระหว่างจำเลย โจทก์จะอุทธรณ์ฎีกาขอให้ศาลเพิกถอนสัญญาจำนองอีกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2016/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิรวม สันนิษฐานเท่ากัน แต่พิสูจน์ส่วนได้เสียต่างกันได้ การรับโอนรู้ส่วนได้เสียไม่สุจริต
ป.ม.แพ่ง ฯ มาตรา 1357 เป็นแต่เพียงความสันนิษฐานของกฎหมายเท่านั้นว่า ผู้เป็นเจ้าของร่วมมีส่วนเท่ากันแต่ผู้เป็นเจ้าของร่วมกันย่อมนำสืบได้ว่า มีส่วนมากน้อยกว่ากันได้ ฉะนั้นผู้มีชื่อในโฉนดร่วมกันย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้แสดงว่าใครมีส่วนเป็นเจ้าของมากน้อยเพียงใดได้
ที่ดินมีชื่อผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิในโฉนดร่วมกัน 2 คน เจ้าของร่วมคนหนึ่งขายส่วนของคนให้แก่ผู้ซื้อ แล้วถูกผู้ซื้อฟ้องศาลจนศาลพิพากษาให้โอนแก่ผู้ซื้อ ในชั้นบังคับคดีผู้เป็นเจ้าของร่วมอีกคนหนึ่งยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลว่าเจ้าของร่วมผู้ขายมีกรรมสิทธิในที่ดินนั้น เพียง 3 ไร่ ไม่ใช่ครึ่งหนึ่ง ศาลได้รับข้อค้านนั้นไว้ดำเนินการพิจารณาต่อไป หลังจากนั้นผู้ซื้อจึงได้รับโอนที่ดินนั้นกึ่งหนึ่ง ดังนี้ ย่อมถือได้ว่ารับโอนไว้โดยรู้อยู่แล้วว่า ผู้ตายมีกรรมสิทธิไม่ถึงครึ่งหนึ่ง ดังที่มีชื่อในโฉนดเพราะมีข้อพิพาทกันต่อไปแล้วว่า ผู้ขายมีส่วนเป็นเจ้าของเท่าไรแน่ ฉะนั้นจึงเป็นการรับโอนโดยไม่สุจริต
ที่ดินมีชื่อผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิในโฉนดร่วมกัน 2 คน เจ้าของร่วมคนหนึ่งขายส่วนของคนให้แก่ผู้ซื้อ แล้วถูกผู้ซื้อฟ้องศาลจนศาลพิพากษาให้โอนแก่ผู้ซื้อ ในชั้นบังคับคดีผู้เป็นเจ้าของร่วมอีกคนหนึ่งยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลว่าเจ้าของร่วมผู้ขายมีกรรมสิทธิในที่ดินนั้น เพียง 3 ไร่ ไม่ใช่ครึ่งหนึ่ง ศาลได้รับข้อค้านนั้นไว้ดำเนินการพิจารณาต่อไป หลังจากนั้นผู้ซื้อจึงได้รับโอนที่ดินนั้นกึ่งหนึ่ง ดังนี้ ย่อมถือได้ว่ารับโอนไว้โดยรู้อยู่แล้วว่า ผู้ตายมีกรรมสิทธิไม่ถึงครึ่งหนึ่ง ดังที่มีชื่อในโฉนดเพราะมีข้อพิพาทกันต่อไปแล้วว่า ผู้ขายมีส่วนเป็นเจ้าของเท่าไรแน่ ฉะนั้นจึงเป็นการรับโอนโดยไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2016/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของร่วม: การพิสูจน์ส่วนได้เสียและผลของการรับโอนโดยไม่สุจริต
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1357 เป็นแต่เพียงความสันนิษฐานของกฎหมายเท่านั้นว่า ผู้เป็นเจ้าของร่วมมีส่วนเท่ากันแต่ผู้เป็นเจ้าของร่วมกัน ย่อมนำสืบได้ว่า มีส่วนมากน้อยกว่ากันได้ ฉะนั้นผู้มีชื่อในโฉนดร่วมกันย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้แสดงว่าใครมีส่วนเป็นเจ้าของมากน้อยเพียงใดได้
ที่ดินมีชื่อผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโฉนดร่วมกัน 2 คน เจ้าของร่วมคนหนึ่งขายส่วนของตนให้แก่ผู้ซื้อ แล้วถูกผู้ซื้อฟ้องศาลจนศาลพิพากษาให้โอนแก่ผู้ซื้อ ในชั้นบังคับคดีผู้เป็นเจ้าของร่วมอีกคนหนึ่งยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลว่าเจ้าของร่วมผู้ขายมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นเพียง 3 ไร่ ไม่ใช่ครึ่งหนึ่ง ศาลได้รับข้อค้านนั้นไว้ดำเนินการพิจารณาต่อไป หลังจากนั้นผู้ซื้อจึงได้รับโอนที่ดินนั้นกึ่งหนึ่ง ดังนี้ ย่อมถือได้ว่ารับโอนไว้โดยรู้อยู่แล้วว่าผู้ขายมีกรรมสิทธิ์ไม่ถึงครึ่งหนึ่งดังที่มีชื่อในโฉนด เพราะมีข้อพิพาทกันต่อไปแล้วว่า ผู้ขายมีส่วนเป็นเจ้าของเท่าไรแน่ ฉะนั้นจึงเป็นการรับโอนโดยไม่สุจริต
ที่ดินมีชื่อผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโฉนดร่วมกัน 2 คน เจ้าของร่วมคนหนึ่งขายส่วนของตนให้แก่ผู้ซื้อ แล้วถูกผู้ซื้อฟ้องศาลจนศาลพิพากษาให้โอนแก่ผู้ซื้อ ในชั้นบังคับคดีผู้เป็นเจ้าของร่วมอีกคนหนึ่งยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลว่าเจ้าของร่วมผู้ขายมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นเพียง 3 ไร่ ไม่ใช่ครึ่งหนึ่ง ศาลได้รับข้อค้านนั้นไว้ดำเนินการพิจารณาต่อไป หลังจากนั้นผู้ซื้อจึงได้รับโอนที่ดินนั้นกึ่งหนึ่ง ดังนี้ ย่อมถือได้ว่ารับโอนไว้โดยรู้อยู่แล้วว่าผู้ขายมีกรรมสิทธิ์ไม่ถึงครึ่งหนึ่งดังที่มีชื่อในโฉนด เพราะมีข้อพิพาทกันต่อไปแล้วว่า ผู้ขายมีส่วนเป็นเจ้าของเท่าไรแน่ ฉะนั้นจึงเป็นการรับโอนโดยไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 194-195/2488
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับโอนโฉนดที่ดินไขว้กัน สิทธิในที่ดินตามสัญญาซื้อขาย
สองคนซื้อที่ดินคนละแปลง และได้รับที่มาครอบครองตามที่ตั้งใจซื้อแล้ว แต่รับโอนโฉนดไขว้กันไป ดังนี้คนหนึ่งฟ้องอีกคนหนึ่งขอให้โอนโฉนดตามที่ดินที่ตนรับซื้อได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10605/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ จำเลยต้องตรวจสอบหลักประกันก่อนรับโอน หากรับโอนแล้วมีผลผูกพันต้องชำระหนี้
โจทก์ในฐานะผู้โอนกับจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้รับโอน ตกลงทำสัญญาโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของผู้โอนรวมตลอดถึงสิทธิอื่นใดเหนือทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันการชำระหนี้สำหรับสินทรัพย์ด้อยคุณภาพนั้นตามข้อกำหนดและเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 และสัญญานี้ และสิทธิหรือภาระผูกพันอื่นใดที่ผู้โอนมีต่อลูกหนี้ โจทก์โอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพรายบริษัท อ. มีหลักประกันเป็นสิทธิการเช่าอาคารพาณิชย์ 4 ชั้น ให้แก่จำเลยที่ 1 โดยโฉนดอันเป็นที่ตั้งอาคารพาณิชย์ที่เช่าไม่ปรากฏชื่อบริษัท อ. ในฐานะผู้เช่า แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่า สิทธิการเช่าอาคารซึ่งเป็นหลักประกันสินทรัพย์ด้อยคุณภาพรายนี้ บริษัท อ. ซึ่งเป็นลูกหนี้สินทรัพย์ด้อยคุณภาพเช่าอาคารจาก ส. มีการทำหนังสือสัญญาเช่าช่วงและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่ง ส. ทำหนังสือยินยอมอนุญาตให้มอบสิทธิการเช่าอาคารเป็นหลักประกันการชำระหนี้แก่โจทก์ โดยตกลงยินยอมโอนสิทธิการเช่าให้แก่โจทก์หรือบุคคลที่โจทก์กำหนด และจะไม่โอนสิทธิการเช่าให้แก่บุคคลอื่นเว้นแต่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ โดย ส. เช่าอาคารดังกล่าวจาก ช. โดยมีข้อตกลงให้เช่าช่วงได้ มีการทำหนังสือสัญญาเช่าและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ส่วน ช. เช่าที่ดินที่ตั้งอาคารดังกล่าวเพื่อสร้างอาคารจาก ศ. โดยผู้ให้เช่าที่ดินตกลงให้เช่าช่วงอาคารได้แต่ไม่ให้เช่าช่วงที่ดิน มีการทำหนังสือสัญญาเช่าและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จากสัญญาเช่าและข้อตกลงต่าง ๆ ข้างต้น สิทธิการเช่ารายนี้อาจจำหน่ายหรือโอนได้ แต่ต้องเป็นไปเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์ ดังนั้น สิทธิการเช่ารายนี้เมื่ออาจจำหน่ายหรือโอนได้ย่อมมีราคา จึงเป็นทรัพย์สินที่ไม่มีรูปร่างที่อาจนำไปจำหน่ายหรือโอนได้ ซึ่งลูกหนี้ให้ไว้แก่โจทก์เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ของตนตามสัญญาให้สินเชื่อตามคำจำกัดความ "ทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน" แล้ว สินทรัพย์ด้อยคุณภาพรายนี้จึงมีลักษณะตาม พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 มาตรา 31 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14933/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับโอนที่ดินโดยไม่สุจริตหลังมีสัญญาซื้อขายแล้ว ย่อมใช้สิทธิยันผู้ซื้อรายอื่นไม่ได้
การที่โจทก์ทราบดีว่า พ. ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยแล้ว แต่โจทก์ยังจดทะเบียนรับโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 21585 รวมทั้งที่ดินพิพาทจาก พ. โดยเสน่หาซึ่งเป็นเวลาภายหลังจาก พ. ทำหนังสือสัญญาซื้อขายให้แก่จำเลยแล้ว จึงเป็นการรับโอนมาโดยไม่สุจริต แม้โจทก์มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 21585 ก็ตาม แต่โจทก์ก็ไม่สามารถนำมาใช้ยันจำเลยซึ่งอาศัยอยู่ในที่ดินพิพาทตามหนังสือสัญญาซื้อขาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกไปจากที่ดินพิพาทและเรียกค่าเสียหาย