พบผลลัพธ์ทั้งหมด 196 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5187/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การประเมินค่าทดแทน, ราคาที่ดินที่เหลือ, และดอกเบี้ย
การพิจารณาค่าทดแทนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืน นอกจากจะคำนึงถึงราคาประเมินเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดินแล้ว ยังจะต้องคำนึงถึงราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดตามที่เป็นอยู่ในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินฯ ออกใช้บังคับสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืน ดังที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21(1)(4)และ (5) มาประกอบการพิจารณาด้วย ทั้งนี้ ตามประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ข้อ 1 และข้อ 5 เมื่อราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินฯ ออกใช้บังคับสูงกว่าราคาที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นกำหนดให้ แต่เนื่องจากเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนครั้งนี้ ก็เพื่อสร้างและขยายทางหลวงแผ่นดิน อันเป็นการอำนวยความสะดวกแก่การจราจรและการขนส่งซึ่งเป็นกิจการสาธารณูปโภคเป็นประโยชน์ต่อสังคมมิได้เป็นการกระทำที่มีการแสวงหากำไรรวมอยู่ด้วย การที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าทดแทนให้โจทก์เพิ่มเติมโดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21 วรรคหนึ่ง(1) ถึง (5) จึงเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม และชอบด้วยกฎหมายแล้ว อำนาจฟ้องเรียกค่าทดแทนที่ดินเฉพาะส่วนที่เหลือจากการเวนคืนอันมีราคาลดลง เมื่อตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21 วรรคสามบัญญัติว่า ถ้าต้องเวนคืนอสังหาริมทรัพย์แต่เพียงส่วนหนึ่ง และส่วนที่เหลือนั้นมีราคาลดลง ให้กำหนดเงินค่าทดแทนให้เฉพาะสำหรับส่วนที่เหลืออันมีราคาลดลงนั้นด้วย การที่โจทก์ไม่พอใจจำนวนเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นกำหนดให้และได้อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมตามมาตรา 25วรรคหนึ่ง ขอให้กำหนดค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนเพิ่มขึ้นแม้โจทก์มิได้กล่าวในอุทธรณ์ขอเพิ่มค่าทดแทนที่ดินเฉพาะส่วนที่เหลือจากการเวนคืนอันมีราคาลดลงไว้ด้วย ก็ย่อมหมายถึงได้อุทธรณ์เงินค่าทดแทนที่ดินทั้งหมดที่โจทก์ควรจะได้รับเนื่องจากเหตุการเวนคืนที่ดินของโจทก์ในครั้นนี้แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าทดแทนส่วนนี้ได้ แม้ที่ดินตามโฉนดส่วนที่เหลือจากการเวนคืนเนื้อที่ 27 ไร่1 งาน 7 เศษ 3 ส่วน 10 ตารางวา จะมีถนนล้อมรอบทั้ง 4 ด้านแต่ที่ดินดังกล่าวก็อยู่ใกล้กันกับที่ดินส่วนที่เหลือตามโฉนดของโจทก์อีกแปลงหนึ่งที่ถูกเวนคืน ซึ่งมีเนื้อที่เหลือจากการถูกเวนคืนถึง 178 ไร่ 1 งาน 48 เศษ 4 ส่วน 10 ตารางวาและต่อมาโจทก์ได้ให้ พ. เช่าที่ดินส่วนที่เหลือจากการถูกเวนคืนตามโฉนดอีกแปลงหนึ่งดังกล่าวสร้างศูนย์การค้า ดังนี้สภาพโดยส่วนรวมแล้วที่ดินส่วนที่เหลือจากการถูกเวนคืนจึงมีราคาสูงขึ้น มิใช่ราคาลดลง ส่วนที่โจทก์อ้างว่าที่ดินส่วนที่เหลือเนื้อที่ 27 ไร่ 1 งาน 7 เศษ 3 ส่วน 10 ตารางวาถูกทางหลวงแผ่นดินล้อมรอบทั้ง 4 ด้าน ไม่สะดวกในการเข้าออกเพราะมีการเดินรถทางเดียว เมื่อปรากฏว่าโจทก์สามารถขออนุญาตต่อทางราชการขอเชื่อมทางเข้าออกที่ดินโจทก์กับทางหลวงแผ่นดินได้ ดังนี้แม้จะมีการเดินรถทางเดียวทำให้ไม่สะดวกไปบ้างก็ไม่ทำให้ราคาที่ดินของโจทก์ลดลงเนื้อที่ดินของโจทก์ยังมีเหลือจากการถูกเวนคืนถึง 27 ไร่ 1 งาน 7 เศษ 3 ส่วน 10 ตารางก่อนถูกเวนคืนที่ดินของโจทก์ด้านทิศตะวันตกติดถนนด้านทิศใต้ติดทางหลวงแผ่นดิน หากมีการก่อสร้างอาคารในที่ดินของโจทก์โดยที่มิได้มีการเวนคืน โจทก์ก็ต้องถอยร่นปฏิบัติตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 อยู่แล้ว ดังนั้นหากมีการก่อสร้างอาคารภายหลังการเวนคืนและโจทก์ต้องถอยร่นจากถนน จึงก็ไม่ทำให้ราคาที่ดินของโจทก์ลดลง พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคสาม บัญญัติว่า ในกรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้น ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ นับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้น ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราคงที่ตลอดไปจึงขัดกับบทกฎหมายข้างต้น และศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษาแก้ให้ถูกต้องตามมาตรา 26 วรรคสาม ได้โดยอัตราดอกเบี้ยสูงสุดต้องไม่เกินที่โจทก์ขอมา และแม้จำเลยจะมิได้ตกเป็นผู้ผิดนัด จำเลยก็ต้องชำระดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวสำหรับจำนวนเงินค่าทดแทนที่ศาลพิพากษาให้ชำระเพิ่มขึ้นตามบทกฎหมายดังกล่าวนั้นด้วย และเมื่อโจทก์กับจำเลยได้ทำบันทึกข้อตกลงกันในกรณีสงวนสิทธิอุทธรณ์ตามมาตรา 10 เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2534 ซึ่งตามมาตรา 11 วรรคหนึ่ง จำเลยต้องจ่ายเงินค่าอสังหาริมทรัพย์ตามบันทึกข้อตกลงให้แก่โจทก์ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันคือภายในวันที่ 7 พฤษภาคม 2534อันเป็นวันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนตามความในมาตรา 26วรรคสาม โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยนับแต่วันดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9777/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืน: หลักการคำนวณค่าทดแทนที่เป็นธรรมต่อผู้ถูกเวนคืนและสังคม โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อราคาที่ดินที่เหลือ
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ในคดีนี้เป็นการดำเนินการตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลสุรวงศ์ ตำบลสีลมอำเภอบางรัก และตำบลยานนาวา ตำบลทุ่งมหาเมฆ ตำบลทุ่งวัดดอน ตำบลช่องนนทรีอำเภอยานนาวา จังหวัดพระนคร พ.ศ.2511 และ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์ และแขวงสีลม เขตบางรัก และแขวงยานนาวา แขวงทุ่งมหาเมฆแขวงทุ่งวัดดอน และแขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2516แต่ภายหลังจาก พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 และประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มีผลใช้บังคับแล้ว การดำเนินการในเรื่องค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ที่ถูกเวนคืนก็ยังไม่เสร็จสิ้น ดังนั้นการดำเนินการต่อไปในเรื่องนี้จึงต้องดำเนินการตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหา-ริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ที่แก้ไขแล้ว ทั้งนี้เป็นไปตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 36 วรรคสอง และประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 ข้อ 4 วรรคหนึ่ง และเนื่องจาก พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงสุรวงศ์...พ.ศ. 2516 มิได้กำหนดเรื่องเงินค่าทดแทนไว้เป็นการเฉพาะ การกำหนดเงินค่าทดแทนจึงต้องบังคับตามบทบัญญัติมาตรา 21 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ซึ่งบัญญัติหลักการสำคัญไว้ในวรรคแรกว่า การกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่ผู้ถูกเวนคืนต้องให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม ส่วนที่มาตรา 21 วรรคสอง บัญญัติว่าถ้าการงานหรือกิจการอย่างใดที่ทำไปในการเวนคืน ได้กระทำให้อสังหาริมทรัพย์ที่เหลืออยู่นั้นมีราคาสูงขึ้น ให้เอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทน...และวรรคสามบัญญัติว่า ถ้าต้องเวนคืนอสังหาริมทรัพย์แต่เพียงส่วนหนึ่ง และส่วนที่เหลือนั้นราคาลดลงให้กำหนดเงินค่าทดแทนให้เฉพาะสำหรับส่วนที่เหลืออันราคาลดลงนั้นด้วยมาตรา 21 วรรคสองและวรรคสามนี้เป็นบทบัญญัติที่เป็นหลักการในการสนับสนุนให้การเวนคืนเป็นไปด้วยความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคมโดยสมบูรณ์ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าการเวนคืนทำให้อสังหาริมทรัพย์ที่เหลืออยู่มีราคาสูงขึ้นแล้วหากไม่นำเอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทน ก็จะทำให้ผู้ถูกเวนคืนได้รับผลประโยชน์จากการเวนคืนแต่ฝ่ายเดียว ในทางตรงกันข้าม หากอสังหาริมทรัพย์ส่วนที่เหลือนั้นราคาลดลงแล้วหากผู้ถูกเวนคืนไม่ได้รับเงินค่าทดแทนในส่วนนี้ ก็ย่อมไม่เป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนซึ่งขัดต่อหลักการสำคัญของมาตรา 21 ที่ให้กำหนดค่าทดแทนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม ส่วนมาตรา 21 วรรคสี่นั้น เป็นเพียงวิธีการที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามหลักการสำคัญของมาตรา 21เท่านั้น แม้ยังไม่มี พ.ร.ฎ.กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณออกใช้บังคับแล้วตามมาตรา 21 วรรคสี่ ก็ไม่ใช่กรณีที่จะทำให้หลักการตามมาตรา 21 วรรคสองและวรรคสาม ใช้ไม่ได้ หากปรากฏชัดว่าที่ดินในส่วนที่เหลือของโจทก์มีราคาสูงขึ้นเพราะการเวนคืนแล้ว ก็ชอบที่จะนำเอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 467/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับตามคำวินิจฉัย คชก.ตำบล: ศาลมีอำนาจพิจารณาราคาตาม พ.ร.บ.เช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้
คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลที่มิได้อุทธรณ์จะเป็นที่สุด แต่เมื่อผู้มีส่วนได้เสียร้องต่อศาลในการพิจารณาว่ามีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยดังกล่าว กฎหมายให้นำ ป.วิ.พ.มาใช้บังคับโดยอนุโลม ตาม ป.วิ.พ. มาตรา221 บัญญัติให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 ซึ่งในกรณีที่ศาลเห็นว่าคำชี้ขาดใดไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือมีความบกพร่องอันมิใช่สาระสำคัญและอาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ ศาลมีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธไม่รับบังคับตามคำชี้ขาดนั้นหรือแก้ไขให้ถูกต้องได้
การนำบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาพิพากษาตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการมาใช้บังคับแก่การพิจารณาพิพากษาบังคับตามคำวินิจฉัยที่ถึงที่สุดของ คชก.ตำบล จะต้องนำบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับเพียงเท่าที่ไม่ขัดต่อสภาพความชอบด้วยกฎหมายของคำวินิจฉัยที่ถึงที่สุดของ คชก.ตำบล โดยเฉพาะในข้อที่ว่าราคาที่ คชก.ตำบลวินิจฉัยให้ผู้รับโอนขายนาให้แก่ผู้เช่านาเป็นราคาตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง หรือไม่ มิใช่ข้อที่เป็นดุลพินิจเด็ดขาดของ คชก.ตำบลในการพิจารณาว่าจะบังคับตามคำวินิจฉัยของคชก.ตำบลหรือไม่ ศาลต้องพิจารณาว่าราคาที่ คชก.ตำบลวินิจฉัยเป็นราคาตามบทบัญญัติดังกล่าวหรือไม่ ถ้ามิใช่ศาลย่อมพิจารณาจากพยานหลักฐานและกำหนดราคาให้ถูกต้อง แล้วพิพากษาให้บังคับให้ขายตามราคาที่กำหนดไปได้
การนำบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาพิพากษาตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการมาใช้บังคับแก่การพิจารณาพิพากษาบังคับตามคำวินิจฉัยที่ถึงที่สุดของ คชก.ตำบล จะต้องนำบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับเพียงเท่าที่ไม่ขัดต่อสภาพความชอบด้วยกฎหมายของคำวินิจฉัยที่ถึงที่สุดของ คชก.ตำบล โดยเฉพาะในข้อที่ว่าราคาที่ คชก.ตำบลวินิจฉัยให้ผู้รับโอนขายนาให้แก่ผู้เช่านาเป็นราคาตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง หรือไม่ มิใช่ข้อที่เป็นดุลพินิจเด็ดขาดของ คชก.ตำบลในการพิจารณาว่าจะบังคับตามคำวินิจฉัยของคชก.ตำบลหรือไม่ ศาลต้องพิจารณาว่าราคาที่ คชก.ตำบลวินิจฉัยเป็นราคาตามบทบัญญัติดังกล่าวหรือไม่ ถ้ามิใช่ศาลย่อมพิจารณาจากพยานหลักฐานและกำหนดราคาให้ถูกต้อง แล้วพิพากษาให้บังคับให้ขายตามราคาที่กำหนดไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 467/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิซื้อคืนที่ดินเช่าเมื่อมีการซื้อขายจากผู้ให้เช่า: ศาลมีอำนาจแก้ไขราคาคำวินิจฉัยคชก. หากไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
คำวินิจฉัยของคชก.ตำบลที่มิได้อุทธรณ์จะเป็นที่สุดแต่เมื่อผู้มีส่วนได้เสียร้องต่อศาลในการพิจารณาว่ามีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยดังกล่าวกฎหมายให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา221บัญญัติให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ อนุญาโตตุลาการพ.ศ.2530ซึ่งในกรณีที่ศาลเห็นว่าคำชี้ขาดใดไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือมีความบกพร่องอันมิใช่สาระสำคัญและอาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ศาลมีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธไม่รับบังคับตามคำชี้ขาดนั้นหรือแก้ไขให้ถูกต้องได้ การนำบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาพิพากษาตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการมาใช้บังคับแก่การพิจารณาพิพากษาบังคับตามคำวินิจฉัยถึงที่สุดของคชก.ตำบลจะต้องนำบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับเพียงเท่าที่ไม่ขัดต่อสภาพความชอบด้วยกฎหมายของคำวินิจฉัยที่ถึงที่สุดของคชก.ตำบลโดยเฉพาะในข้อที่ว่าราคาที่คชก.ตำบลวินิจฉัยให้ผู้รับโอนขายนาให้แก่ผู้เช่านาเป็นราคาตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524มาตรา54วรรคหนึ่งหรือไม่มิใช่ข้อที่เป็นดุลพินิจเด็ดขาดของคชก.ตำบลในการพิจารณาว่าจะบังคับตามคำวินิจฉัยของคชก.ตำบลหรือไม่ศาลต้องพิจารณาว่าราคาที่คชก.ตำบลวินิจฉัยเป็นราคาตามบทบัญญัติดังกล่าวหรือไม่ถ้ามิใช่ศาลย่อมพิจารณาจากพยานหลักฐานและกำหนดราคาให้ถูกต้องแล้วพิพากษาให้บังคับให้ขายตามราคาที่กำหนดไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4380/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินหลังสละสิทธิ: ต้องแจ้งการเปลี่ยนแปลงราคา/วิธีการชำระเงินตาม พ.ร.บ.เช่าที่ดินฯ ก่อน
แม้จำเลยร่วมได้ลงลายมือชื่อในหนังสือปฏิเสธไม่ซื้อนาที่มีข้อความระบุว่า ฟ.และ ซ.เจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 6783 เนื้อที่ 20 ไร่เศษ ซึ่งจำเลยเช่าทำนาอยู่มีความประสงค์จะขายที่ดินโฉนดแปลงดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่นในราคาไร่ละ60,000 บาท ผู้เช่านาได้บอกปฏิเสธไม่ซื้อที่ดินแปลงนี้และยินยอมให้เจ้าของที่ดินขายให้แก่บุคคลอื่นไปได้ อันถือได้ว่าจำเลยร่วมสละสิทธิที่จะซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 6783จำนวน 20 ไร่เศษ ในราคาไร่ละ 60,000 บาท เป็นเงินกว่า 1,200,000 บาทแล้วก็ตาม แต่ถ้า ฟ.และ ซ.จะขายที่ดินแปลงดังกล่าวให้บุคคลอื่นในราคาหรือวิธีการชำระเงินที่แตกต่างไปจากราคาและวิธีการที่จำเลยร่วมสละสิทธิ ตามหนังสือปฏิเสธไม่ซื้อนา ฟ.และ ซ.จะต้องแจ้งให้จำเลยร่วมทราบโดยดำเนินการตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 53 วรรคหนึ่งใหม่ การที่ ฟ.และซ.ขายที่นาพิพาทเนื้อที่ 9 ไร่ 42 ตารางวา ซึ่งแบ่งแยกจากที่ดินโฉนดเลขที่ 6783เนื้อที่ 20 ไร่เศษดังกล่าวในราคาไร่ละ 60,000 บาท เป็นเงิน 5 แสนบาทเศษจึงเป็นการขายที่ดินที่มีจำนวนเนื้อที่และราคาน้อยกว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 6783 ถือได้ว่าเป็นการขายที่ดินในราคาหรือวิธีการชำระเงินที่แตกต่างไปจากราคาและวิธีการที่จำเลยร่วมสละสิทธิตามหนังสือปฏิเสธไม่ซื้อที่นา ดังนี้ ฟ.และ ซ.จึงต้องแจ้งให้จำเลยร่วมทราบโดยดำเนินการตามมาตรา 53 วรรคหนึ่งดังกล่าวข้างต้น จะถือว่าหนังสือปฏิเสธไม่ซื้อนาฉบับเดิม เป็นการปฏิเสธไม่ซื้อที่นาพิพาทที่แบ่งแยกมาจากที่ดินโฉนดเลขที่ 6783 ด้วยไม่ได้ เมื่อ ฟ.และ ซ.ขายที่นาพิพาทให้แก่โจทก์และโจทก์ร่วมโดยยังมิได้ดำเนินการตามบทบัญญัติมาตรา 53 วรรคหนึ่ง จำเลยร่วมในฐานะผู้เช่าผู้รับโอนที่นาพิพาทได้ตามมาตรา 54
ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์และโจทก์ร่วมจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่จำเลยร่วมผู้เช่านาเดิม และให้จำเลยร่วมชำระเงินค่าที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่โจทก์และโจทก์ร่วมโดยไม่ได้กำหนดระยะเวลาให้จำเลยร่วมนำเงินค่าที่นาพิพาทมาวางศาล ยังไม่สมบูรณ์ ศาลฎีกาจึงแก้ไขโดยกำหนดระยะเวลาให้จำเลยร่วมผู้เช่านานำเงินค่าที่นาพิพาทมาวางศาล มิฉะนั้นให้ถือว่าไม่ติดใจซื้อ
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนมติของ คชก.จังหวัดมิได้ขอให้บังคับผู้ใดให้โอนทรัพย์สินให้แก่โจทก์จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาลสำหรับฟ้องโจทก์เพียง 200 บาท ตามตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ. 2 (ก) ในศาลชั้นต้น โจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง200 บาท
ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์และโจทก์ร่วมจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่จำเลยร่วมผู้เช่านาเดิม และให้จำเลยร่วมชำระเงินค่าที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่โจทก์และโจทก์ร่วมโดยไม่ได้กำหนดระยะเวลาให้จำเลยร่วมนำเงินค่าที่นาพิพาทมาวางศาล ยังไม่สมบูรณ์ ศาลฎีกาจึงแก้ไขโดยกำหนดระยะเวลาให้จำเลยร่วมผู้เช่านานำเงินค่าที่นาพิพาทมาวางศาล มิฉะนั้นให้ถือว่าไม่ติดใจซื้อ
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนมติของ คชก.จังหวัดมิได้ขอให้บังคับผู้ใดให้โอนทรัพย์สินให้แก่โจทก์จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาลสำหรับฟ้องโจทก์เพียง 200 บาท ตามตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ. 2 (ก) ในศาลชั้นต้น โจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง200 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1444/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายแร่ดีบุก: การกำหนดราคา, เงินล่วงหน้า, และการเสียภาษี
ตามข้อกำหนดและเงื่อนไขในการซื้อเนื้อแร่ดีบุกระหว่างโจทก์ผู้ขายและบริษัท ท.ผู้ซื้อ ระบุว่าให้ถือว่าการส่งมอบแร่ดีบุกสำเร็จบริบูรณ์และกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินดังกล่าวคือแร่ทั้งหมดตกเป็นของบริษัท ท.เมื่อได้ชั่งน้ำหนักชื้นรวมตามวิธีที่ระบุไว้ ราคาซื้อให้คำนวณโดยใช้ราคาตลาดปีนังของวันตลาดดีบุกปีนังที่ผู้ขายระบุโดยผู้ขายอาจระบุเอาวันตลาดดีบุกปีนังวันใดวันหนึ่งภายใน 30 วัน หลังจากวันส่งมอบเป็นวันราคาตลาดปีนังก็ได้ ในกรณีที่ผู้ขายไม่ได้ระบุวันตลาดปีนังวันใดวันหนึ่งภายใน 30 วัน หลังจากวันส่งมอบเป็นราคาตลาดปีนัง ก็ให้ใช้วันตลาดดีบุกปีนังในวันที่ 30 หลังจากวันส่งมอบในการคำนวณราคาซื้อ และเมื่อได้รับคำขอจากผู้ขายบริษัท ท.จะจ่ายเงินล่วงหน้าให้แก่ผู้ขายเป็นเงินบาท จำนวนไม่เกินร้อยละ 80 ของราคาซื้อสุทธิประมาณได้จากปริมาณของแร่ดีบุกที่ผู้ขายส่งมอบให้แต่ละครั้งและที่ผู้ขายยังมิได้ระบุวันตลาดปีนังวันใดเป็นราคาตลาดปีนัง ราคาซื้อสุทธิที่ประมาณนี้ให้คำนวณจากราคาตลาดปีนังของวันที่จ่ายเงินล่วงหน้า สัญญาซื้อขายแร่เช่นนี้จึงเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดตั้งแต่วันที่มีการส่งมอบแร่ระหว่างโจทก์ผู้ขายและบริษัท ท.ผู้ซื้อแล้วเพียงแต่การกำหนดราคาแร่ที่แน่นอน ฝ่ายผู้ซื้อยินยอมให้ผู้ขายกำหนดภายหลังโดยถือราคาแร่ของตลาดปีนังในวันใดวันหนึ่งก็ได้ภายใน 30 วัน หลังจากวันส่งมอบแร่ถ้าผู้ขายไม่กำหนดภายในเวลาดังกล่าวให้ใช้วันตลาดดีบุกปีนังในวันที่ 30 หลังจากวันส่งมอบแร่เป็นราคาแร่ที่ซื้อขายกัน เหตุผลที่ต้องมีข้อตกลงเช่นนี้ก็เพื่อมิให้ผู้ขายเป็นฝ่ายเสียเปรียบเพราะราคาแร่ขึ้นลงทุกวัน และการที่ผู้ซื้อยอมจ่ายเงินล่วงหน้าจำนวนร้อยละ 80 ของมูลค่าแร่ให้แก่ผู้ขายเมื่อผู้ขายร้องขอทั้ง ๆ ที่ผู้ขายยังมิได้กำหนดราคาซื้อขายแร่ ก็ได้มีข้อกำหนดให้ผู้ขายเสียดอกเบี้ยในเงินดังกล่าวในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือน เริ่มตั้งแต่วันที่ 8 หลังจากวันที่จ่ายเงินล่วงหน้าจนกระทั่งผู้ขายจะได้ระบุวันตลาดปีนังที่ใช้คำนวณราคาแร่ที่ซื้อขายกัน ทั้งนี้ เพื่อมิให้ผู้ขายได้เปรียบผู้ซื้อเกินไปนั่นเอง ข้อตกลงดังกล่าวไม่เป็นการขัดต่อกฎหมายจึงใช้บังคับได้ บริษัทท.ได้ยืนยันว่าบริษัทไม่ได้ดำเนินการรับจำนำแร่ และเงินล่วงหน้าค่าแร่ที่บริษัทจ่ายให้ผู้ขายไปก่อนนั้นเป็นส่วนหนึ่งของราคาแร่ ดังนั้นเงินจำนวนร้อยละ 80 ของมูลค่าแร่ที่โจทก์ได้รับไว้เมื่อวันที่ 24 และ 26 ธันวาคม 2524 นั้น จึงเป็นส่วนหนึ่งของราคาแร่ที่บริษัท ท.ผู้ซื้อได้ชำระให้แก่โจทก์ผู้ขาย หาใช่เงินกู้ไม่ เงินจำนวนนี้จึงเป็นเงินได้พึงประเมินที่โจทก์จะต้องนำมาคำนวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปี 2524
ที่โจทก์แก้อุทธรณ์ขอให้ลดเบี้ยปรับเงินเพิ่มนั้น คำฟ้องโจทก์มิได้กล่าวข้อนี้ไว้ จึงไม่ใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลภาษีอากรกลาง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่โจทก์แก้อุทธรณ์ขอให้ลดเบี้ยปรับเงินเพิ่มนั้น คำฟ้องโจทก์มิได้กล่าวข้อนี้ไว้ จึงไม่ใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลภาษีอากรกลาง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10190/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดและขายทอดตลาดทรัพย์สิน: การปฏิบัติตามระเบียบและสิทธิของผู้เสนอราคา
ระเบียบของกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดี พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๓๙ ระบุว่า การประมาณราคาทรัพย์ที่มีการจำนำ หรือจำนองต้องปฏิบัติเช่นเดียวกับ ข้อ ๓๗ และ ๓๘ แต่ให้หมายเหตุไว้ด้วยว่าจำนำหรือจำนองเมื่อใด เพื่อประกอบดุลพินิจในการขายทอดตลาดระเบียบดังกล่าวบังคับเจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ทำการยึดที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของจำเลยให้ทำหมายเหตุไว้ แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีบกพร่องไม่ปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าว ถึงกระนั้นข้อบกพร่องดังกล่าวก็มิได้ทำให้การยึดทรัพย์และขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ชอบ เพราะระเบียบดังกล่าวมีไว้เพื่อประโยชน์ในการประมาณราคาทรัพย์ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีทำการยึด แต่การประมาณราคาทรัพย์ของเจ้าพนักงานบังคับคดีในการยึดครั้งนี้ ไม่ปรากฏว่าประมาณราคาต่ำหรือผิดพลาดเพราะความบกพร่องด้วยเหตุดังกล่าว ทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์ผู้นำยึดได้คัดค้านการประมาณราคาทรัพย์ของเจ้าพนักงานบังคับคดีว่าไม่ถูกต้องหรือต่ำกว่าราคาท้องตลาดการประมาณราคาทรัพย์สินจำเลยที่โจทก์นำยึดครั้งนี้จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
เจ้าพนักงานบังคับคดีได้กำหนดการขายทอดตลาด และทำการขายมาแล้วถึงสี่ครั้ง แต่ได้ราคาต่ำกว่าราคาประเมินของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ประมาณการไว้ และในการขายแต่ละครั้งโจทก์มีสิทธิเข้าสู้ราคาเพื่อให้ได้ราคาขายที่สูง แต่โจทก์ก็ละเลยไม่เข้าสู้ราคา ในการขายครั้งสุดท้ายเมื่อ ว.ให้ราคาสูงสุดซึ่งสูงกว่าที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินไว้ เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงมีคำสั่งขายให้ ว. การดำเนินการขายของเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงชอบด้วยระเบียบและกฎหมายแล้ว
เจ้าพนักงานบังคับคดีได้กำหนดการขายทอดตลาด และทำการขายมาแล้วถึงสี่ครั้ง แต่ได้ราคาต่ำกว่าราคาประเมินของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ประมาณการไว้ และในการขายแต่ละครั้งโจทก์มีสิทธิเข้าสู้ราคาเพื่อให้ได้ราคาขายที่สูง แต่โจทก์ก็ละเลยไม่เข้าสู้ราคา ในการขายครั้งสุดท้ายเมื่อ ว.ให้ราคาสูงสุดซึ่งสูงกว่าที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินไว้ เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงมีคำสั่งขายให้ ว. การดำเนินการขายของเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงชอบด้วยระเบียบและกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9050/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: การประเมินราคา, ค่าทดแทนส่วนที่เหลือ, ภาระจำยอม, และดอกเบี้ย
การที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นได้กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์โดยถือราคาประเมินทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2531 ถึง พ.ศ.2534 ของกรมที่ดินเป็นเกณฑ์กำหนด โดยกำหนดสูงกว่าราคาที่ดินที่มีการตีราคาไว้เพื่อประโยชน์ในการเสียภาษีบำรุงท้องที่ อันเป็นการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530 มาตรา 9 วรรคสี่ ก่อนถูกแก้ไขโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 ที่ให้นำมาตรา 21 (2) (3) มาเป็นเกณฑ์กำหนดก็ตาม แต่ก็เป็นราคาคงที่ตลอดเวลาที่ใช้บัญญัติดังกล่าว มิใช่ราคาที่ซื้อขายกันในท้องตลาดซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ เมื่อประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 ให้มีผลใช้บังคับแก่การเวนคืนซึ่งกำหนดราคาเบื้องต้น การจ่ายเงินค่าทดแทนในการฟ้องคดียังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับดังกล่าวใช้บังคับ และโจทก์ได้ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2534 คดีจึงยังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2534 ซึ่งเป็นวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 มีผลใช้บังคับ ฉะนั้นการพิจารณาค่าทดแทนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนสอดคล้องกับเจตนารมณ์ตามประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติดังกล่าวจะต้องนำเอาราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับ พ.ร.ฎ.ที่ออกตามมาตรา 6 สภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์นั้น เหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนดังที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ มาตรา 21 (1) (4) และ(5) มาประกอบการพิจารณาด้วย
อำนาจฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนเพราะเหตุราคาลดลงนี้ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 21 วรรคสาม บัญญัติว่า ถ้าต้องเวนคืนอสังหาริมทรัพย์แต่เพียงส่วนหนึ่งและส่วนที่เหลือนั้นราคาลดลงให้กำหนดเงินค่าทดแทนให้เฉพาะสำหรับส่วนที่เหลืออันราคาลดลงนั้นด้วย ซึ่งโจทก์ได้อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มขึ้น ย่อมหมายถึงการอุทธรณ์เงินค่าทดแทนที่ดินทั้งหมดที่โจทก์ควรได้รับเนื่องจากเหตุการเวนคืนที่ดินของโจทก์ครั้งนี้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนส่วนที่เหลือจากการเวนคืนได้
จำเลยได้สร้างทางจำเป็นกว้าง 4.80 เมตร ให้ที่ดินของโจทก์ส่วนที่เหลือจากการเวนคืน ซึ่งโจทก์สามารถใช้ทางจำเป็นดังกล่าวเข้าออกสู่ถนนสาธารณะได้โดยสะดวกอยู่แล้ว ที่โจทก์จะขอให้จดทะเบียนเป็นภาระจำยอมให้มีความกว้าง 6 เมตรนั้น เมื่อที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนไปนั้นเพื่อวัตถุประสงค์ให้เป็นทางด่วนสาธารณูปโภคและได้มีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290 ลงวันที่ 27พฤศจิกายน พ.ศ.2515 ข้อ 29 บัญญัติมีใจความว่า ห้ามมิให้ผู้ใดสร้างโรงเรือนหรือสิ่งอื่นเชื่อมต่อทางพิเศษ หากมีการฝ่าฝืน การทางพิเศษแห่งประเทศไทยมีอำนาจรื้อถอนหรือทำลายได้ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ห้ามเด็ดขาดที่จะมิให้ผู้ใดสร้างโรงเรือน หรือสิ่งอื่นเชื่อมทางพิเศษ ทั้งการได้ภาระจำยอมในที่ดินแปลงใดก็ตามต้องได้มาโดยนิติกรรม โดยอายุความ หรือโดยผลกฎหมายที่บัญญัติใน ป.พ.พ.เท่านั้น เมื่อกรณีของโจทก์ไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่กฎหมายบัญญัติไว้ จึงไม่อาจบังคับภาระจำยอมให้โจทก์ได้
ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 26 วรรคสาม ที่บัญญัติว่า ในกรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้นับแต่วันต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้น ดังนี้ผู้ได้รับชำระเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นจะต้องได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสิน ส่วนจะได้รับอัตราเท่าใด ก็เป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลง การที่ศาลอุทธรณ์ให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราต่อปีคงที่เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์จึงไม่ถูกต้อง
อำนาจฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนเพราะเหตุราคาลดลงนี้ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 21 วรรคสาม บัญญัติว่า ถ้าต้องเวนคืนอสังหาริมทรัพย์แต่เพียงส่วนหนึ่งและส่วนที่เหลือนั้นราคาลดลงให้กำหนดเงินค่าทดแทนให้เฉพาะสำหรับส่วนที่เหลืออันราคาลดลงนั้นด้วย ซึ่งโจทก์ได้อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มขึ้น ย่อมหมายถึงการอุทธรณ์เงินค่าทดแทนที่ดินทั้งหมดที่โจทก์ควรได้รับเนื่องจากเหตุการเวนคืนที่ดินของโจทก์ครั้งนี้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนส่วนที่เหลือจากการเวนคืนได้
จำเลยได้สร้างทางจำเป็นกว้าง 4.80 เมตร ให้ที่ดินของโจทก์ส่วนที่เหลือจากการเวนคืน ซึ่งโจทก์สามารถใช้ทางจำเป็นดังกล่าวเข้าออกสู่ถนนสาธารณะได้โดยสะดวกอยู่แล้ว ที่โจทก์จะขอให้จดทะเบียนเป็นภาระจำยอมให้มีความกว้าง 6 เมตรนั้น เมื่อที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนไปนั้นเพื่อวัตถุประสงค์ให้เป็นทางด่วนสาธารณูปโภคและได้มีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290 ลงวันที่ 27พฤศจิกายน พ.ศ.2515 ข้อ 29 บัญญัติมีใจความว่า ห้ามมิให้ผู้ใดสร้างโรงเรือนหรือสิ่งอื่นเชื่อมต่อทางพิเศษ หากมีการฝ่าฝืน การทางพิเศษแห่งประเทศไทยมีอำนาจรื้อถอนหรือทำลายได้ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ห้ามเด็ดขาดที่จะมิให้ผู้ใดสร้างโรงเรือน หรือสิ่งอื่นเชื่อมทางพิเศษ ทั้งการได้ภาระจำยอมในที่ดินแปลงใดก็ตามต้องได้มาโดยนิติกรรม โดยอายุความ หรือโดยผลกฎหมายที่บัญญัติใน ป.พ.พ.เท่านั้น เมื่อกรณีของโจทก์ไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่กฎหมายบัญญัติไว้ จึงไม่อาจบังคับภาระจำยอมให้โจทก์ได้
ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 26 วรรคสาม ที่บัญญัติว่า ในกรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้นับแต่วันต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้น ดังนี้ผู้ได้รับชำระเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นจะต้องได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสิน ส่วนจะได้รับอัตราเท่าใด ก็เป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลง การที่ศาลอุทธรณ์ให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราต่อปีคงที่เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์จึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7863/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาให้ทรัพย์สินแทนเงินกู้: โมฆะหากราคาไม่สมเหตุสมผล
หนังสือสัญญากู้ยืมเงินมีใจความว่า ถ้าโจทก์ผู้กู้ไม่นำเงินมาชำระคืนแก่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ให้กู้ตามกำหนด ผู้กู้ยืนยอมยกบ้านให้แก่ผู้ร้อง และสัญญากู้ยืมไม่ได้กำหนดเวลาชำระเงินคืนไว้ ความตกลงดังกล่าวเป็นกรณีที่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ให้กู้ยอมรับเอาทรัพย์สินอย่างอื่นเป็นการชำระหนี้แทนเงินที่ให้กู้ยืมโดยไม่ได้คิดเป็นจำนวนเท่ากับราคาท้องตลาดแห่งทรัพย์สินนั้น ในเวลาและ ณ สถานที่ส่งมอบซึ่งขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 656 วรรคสอง ความตกลงของโจทก์และผู้ร้องตามสัญญาข้อนี้จึงตกเป็นโมฆะตามมาตรา 656 วรรคสาม ดังนั้น แม้โจทก์ยื่นคำแถลงรวมทั้งเบิกความยืนยันว่าขอยกบ้านให้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ บ้านจึงยังคงเป็นของโจทก์ ผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขอให้ปล่อย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7697/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายห้องชุด: การเปลี่ยนแปลงพื้นที่และผลกระทบต่อสัญญา
การให้งดสืบพยานเป็นอำนาจของศาลที่จะใช้ดุลพินิจสั่งตามสมควรแก่กรณีเป็นเรื่อง ๆ ไป ถ้าข้อเท็จจริงเพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีแล้วก็ไม่จำต้องนำสืบพยานหลักฐานใดอีกกรณีคดีนี้ ศาลชั้นต้นพิจารณาคำฟ้อง คำให้การเอกสาร และคำเบิกความรับรองเอกสารของโจทก์ เห็นว่าเป็นการเพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีแล้ว จึงมีคำสั่งงดสืบพยานโจทก์ต่อไปเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลยพินิจทั้งนี้ก็เพื่อให้คดี ดำเนินไปโดยรวดเร็วและยุติธรรม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 86 วรรคสอง คำสั่งงดสืบพยานของศาลชั้นต้น จึงชอบแล้ว โจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุด เนื้อที่ประมาณ 157 ตารางเมตร เมื่อจำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคารชุดเสร็จปรากฏว่าห้องชุดมีเนื้อที่ 206 ตารางเมตรเศษ ซึ่งเกินกว่าร้อยละ 5 ของพื้นที่ที่กำหนดไว้ในสัญญา โจทก์จึงบอกปัดไม่ยอมรับมอบและชำระราคาห้องชุดดังกล่าว แต่จะขอรับมอบในพื้นที่ 157 ตารางเมตร พร้อมกับชำระราคาส่วนที่เหลือตามพื้นที่เดิม แต่เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายระบุว่า ผู้จะขายตกลงกับผู้จะซื้อห้องชุดเลขที่ 205 ชั้นที่ 2 คิดเป็นพื้นที่อันเป็นทรัพย์ส่วนบุคคลจำนวนประมาณ 157 ตารางเมตร ตามที่ปรากฏในแผนผังของอาคารชุดที่ทำเครื่องหมายเส้นสีแดงที่แนบท้ายสัญญาและหากพื้นที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง คู่สัญญาตกลงให้เพิ่มหรือลดราคาลงตามอัตราส่วนของราคาซื้อขายดังกล่าวข้างต้นเห็นได้ว่า คู่กรณีคือโจทก์กับจำเลยที่ 1 มีเจตนาจะซื้อจะขายห้องชุดกัน โดยมิได้ถือเป็นสาระสำคัญว่าพื้นที่ของห้องชุดจะต้องมีเนื้อที่เพียงประมาณ 157 ตารางเมตร เท่านั้นหากพื้นที่เพิ่มหรือลดลง คู่สัญญาตกลงกันให้เพิ่มหรือลดราคาลงตามอัตราส่วนของราคาที่ตกลงซื้อขายกัน ข้อสัญญาดังกล่าวจึงใช้บังคับได้ บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 466 วรรคสอง มิใช่ข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อปรากฏชัดว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงสัญญาอันเป็นข้อยกเว้นมิให้ใช้ข้อกฎหมายดังกล่าวข้างต้นบังคับ โจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงต้องผูกพันกันตามข้อสัญญาที่ตกลงกัน โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกปัดไม่รับพื้นที่ห้องชุดที่เพิ่มขึ้นและเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 มอบห้องชุดในพื้นที่ที่ประมาณไว้ตามสัญญา ส่วนจำเลยที่ 1 เมื่อสร้างห้องชุดเสร็จพร้อมส่งมอบแก่โจทก์ แต่โจทก์เพิกเฉยไม่ยอมชำระราคาห้องชุดดังกล่าวภายในกำหนดเวลาที่จำเลยที่ 1 แจ้งให้ทราบโดยไม่มีเหตุจะอ้างได้ตามกฎหมาย โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา