พบผลลัพธ์ทั้งหมด 88 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8437/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดค่าทดแทนเวนคืนที่เหมาะสม ศาลมีอำนาจปรับเพิ่มจากราคาประเมินทุนทรัพย์ได้
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกำหนดราคาเบื้องต้นและจ่ายเงินค่าทดแทนที่ถูกเวนคืนให้แก่โจทก์จำนวน 1,797,750 บาท ไม่เป็นธรรม เพราะโจทก์รับซื้อฝากมาราคา 4,287,500 บาท เงินค่าทดแทนจำนวนดังกล่าวเป็นราคาที่ต่ำกว่าความเป็นจริงและก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ เจ้าหน้าที่เวนคืนของจำเลยกำหนดราคาเบื้องต้นสำหรับที่ดินในการจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ต่ำกว่าราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมขัดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 และประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 ดังนี้ ฟ้องโจทก์ดังกล่าวได้กล่าวอ้างว่าจำเลยกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ไม่ชอบด้วยหลักเกณฑ์ตามมาตรา 21 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ด้วยแล้ว ซึ่งศาลก็ได้กำหนดเป็นประเด็นในคดีว่า จำเลยกำหนดค่าทดแทนเป็นธรรมหรือไม่ แต่เนื่องจากไม่ปรากฏราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืน ศาลล่างทั้งสองจึงกำหนดเงินค่าทดแทนตามราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมทำนองเดียวกับที่คณะกรรมการฯใช้เป็นเกณฑ์ในการกำหนดเงินค่าทดแทนเพียงแต่ศาลล่างทั้งสองเห็นว่าการกำหนดค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์เพียง 50เปอร์เซนต์ ของราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมไม่เป็นธรรม จึงได้กำหนดให้เพิ่มขึ้นเป็นตารางวาละ 1,200 บาทซึ่งไม่สูงกว่าราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ทั้งนี้โดยได้คำนึงถึงสภาพและที่ตั้งของที่พิพาท เหตุและวัตถุประสงค์ในการเวนคืนแล้ว เป็นการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ชอบด้วยมาตรา 21 แล้ว ศาลล่างทั้งสองหาได้พิพากษานอกประเด็นหรือแก้ไขหลักเกณฑ์ในการกำหนดเงินค่าทดแทนตามกฎหมายดังที่จำเลยฎีกา ทั้งตามมาตรา 25 และ 26 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ก็บัญญัติให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาเวนคืนฯ และให้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ ศาลย่อมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาบังคับให้จำเลยชำระค่าทดแทนเพิ่มแก่โจทก์ได้ตามบทกฎหมายดังกล่าว
เมื่อจำเลยต้องชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นให้แก่โจทก์ตามคำวินิจฉัยของศาล โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้น ซึ่งอัตราดอกเบี้ยสูงสุดนี้ในเวลาที่ต่างกันอาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงก็ได้ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 26 วรรคสาม ที่ศาลล่างทั้งสองให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราคงที่เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จจึงไม่ถูกต้อง
เมื่อจำเลยต้องชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นให้แก่โจทก์ตามคำวินิจฉัยของศาล โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้น ซึ่งอัตราดอกเบี้ยสูงสุดนี้ในเวลาที่ต่างกันอาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงก็ได้ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 26 วรรคสาม ที่ศาลล่างทั้งสองให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราคงที่เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จจึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8375/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: ศาลฎีกายกฟ้องประเด็นอายุความเวนคืน, ราคาประเมิน, และค่าเสียหายทางจิตใจ
ที่โจทก์ฎีกาว่า พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตเวนคืนที่ดินของโจทก์ได้สิ้นอายุก่อนโจทก์นำคดีมาสู่ศาล โจทก์จึงไม่มีอำนาจนำมาเป็นข้ออ้างเพื่อเสนอศาลให้พิจารณา และการเวนคืนที่ดินโจทก์ ไม่มีการออกกฎหมายโดยเฉพาะเพื่อเวนคืน จึงเป็นการผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2535 แก้ไข พ.ศ. 2538 นั้น เป็นการโต้แย้งการกระทำของโจทก์เอง มิได้โต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์จึงเป็นฎีกาที่มิได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นอ้างอิงไว้โดยชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย จำเลยกำหนดค่าทดแทนโดยอาศัยราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมพ.ศ. 2531 ถึง พ.ศ. 2534 เป็นเกณฑ์กำหนดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 หากโจทก์เห็นว่าราคาซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดมีราคาสูงกว่าที่จำเลยกำหนดการกำหนดค่าทดแทนให้โจทก์ไม่เป็นธรรม โจทก์ก็ต้องพิสูจน์ให้ศาลรับฟังได้เช่นนั้น เมื่อโจทก์ไม่ได้นำสืบพิสูจน์ให้ได้ความดังกล่าว จึงไม่อาจกำหนดค่าทดแทนให้โจทก์ตามคำฟ้องได้ การกำหนดค่าทดแทนในการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ได้มีพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530หมวด 2 กำหนดรายละเอียดของค่าทดแทนที่ผู้ถูกเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พึงได้รับค่าทดแทนไว้แล้วค่าเสียหายทางจิตใจมิใช่ค่าทดแทนที่พระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้ผู้ถูกเวนคืนพึงได้รับ ศาลฎีกาจึงกำหนดค่าทดแทนที่เป็นค่าเสียหายทางจิตใจให้โจทก์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4953/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากราคาต่ำกว่าราคาประเมินมาก
เจ้าพนักงานที่ดินได้ประเมินราคาที่ดินของจำเลยที่2คิดเป็นเงิน1,404,000บาทการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีอนุญาตให้ขายในราคา75,000บาทในการขายทอดตลาดครั้งแรกแม้ได้ตีราคาในขณะยึดไว้65,500บาทก็เป็นการขายทอดตลาดโดยรวบรัดและต่ำกว่าราคาที่แท้จริงมากจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2620/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: ราคาประเมินต้องเป็นธรรม พิจารณาสภาพที่ตั้งและวัตถุประสงค์การเวนคืน
ตาม พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลห้วยโป่งและตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง พ.ศ.2527 มาตรา 5ให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยกำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่เวนคืนตามความเป็นธรรมที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน... ทั้งนี้ให้คำนึงถึงผลการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ซึ่งตีราคาเพื่อประโยชน์แก่การเสียภาษีบำรุงท้องที่และราคาประเมินทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตลอดจนสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ประกอบกับเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่สังคม มาตรา 5 นี้เน้นให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยจำเลยกำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่เวนคืนตามความเป็นธรรมที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว ทั้งนี้นอกจากคำนึงถึงราคาประเมินทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมแล้วยังต้องคำนึงถึงสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ประกอบกับเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนด้วย ที่จำเลยกำหนดค่าทดแทนให้แก่โจทก์โดยกำหนดตามบัญชีราคาประเมินที่ดินที่ใช้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมซึ่งเป็นบัญชีกำหนดราคาที่ดินโดยเอาตำบล ถนนและทะเลเป็นหลักการประเมินราคาที่ดินเพื่อประโยชน์ในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมและเป็นการประเมินอย่างกว้าง ๆ ราคาที่ดินตามบัญชีดังกล่าวย่อมไม่ตรงกับความเป็นจริงเสมอไป ส่วนเหตุและวัตถุประสงค์ในการเวนคืน แม้จำเลยมีความประสงค์จะจัดตั้งการนิคมอุตสาหกรรมเพื่อส่งเสริมการลงทุนในประเทศให้มากขึ้นก็ตามแต่ตาม พ.ร.บ.การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ.2522 มาตรา 6กำหนดให้จำเลยเป็นนิติบุคคลซึ่งเห็นได้อยู่ในตัวว่ามีวัตถุประสงค์แสวงหากำไรทางเศรษฐกิจอยู่ด้วย ดังนั้น เมื่อจำเลยได้รับทรัพย์สินของโจทก์ไปเท่าใดก็ควรต้องใช้ค่าทดแทนให้โจทก์ตามราคาของทรัพย์สินนั้นในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาจึงจะถือว่าเป็นราคาตามความเป็นธรรม การที่จำเลยกำหนดค่าทดแทนให้แก่โจทก์โดยกำหนดราคาที่ดินของโจทก์ทุกแปลงตามการแบ่งเป็นหน่วยในบัญชีกำหนดราคาประเมินที่ดินที่ใช้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมนั้น เป็นการกำหนดราคาที่ดินของโจทก์โดยไม่คำนึงถึงสภาพและทื่ตั้งที่แท้จริงของที่ดินของโจทก์ และไม่ได้คำนึงถึงเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนด้วย ไม่ชอบด้วยมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับดังกล่าวข้างต้น แต่โจทก์ก็นำสืบไม่ได้ว่าในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกา ฯ นั้น ที่ดินพิพาทมีราคาที่ซื้อขายกันจริงเป็นราคาเท่าใด จึงกำหนดเงินค่าทดแทนให้ตามราคาที่ดินพิพาทที่จดทะเบียนซื้อขายหลังจากพระราชกฤษฎีกา ฯ ใช้บังคับประมาณ 3 เดือน อันเป็นเวลาใกล้เคียงกับการใช้บังคับพระราชกฤษฎีกา ฯ ดังกล่าว ซึ่งเชื่อว่าราคาที่ดินพิพาทที่จดทะเบียนซื้อขายไว้เป็นราคาซื้อขายกันจริง และเป็นราคาที่ตรงตามสภาพและที่ตั้งของที่ดินแล้วและถือว่าเป็นราคาตามความเป็นธรรมที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกา ฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1073/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการยกเลิกการขายทอดตลาด: การแจ้งการยึดทรัพย์, ราคาประเมิน, และสิทธิของผู้ถูกบังคับคดี
ตามคำร้องของจำเลยคัดค้านว่าจำเลยเพิ่งทราบว่ามีการยึดที่ดินและนำออกขายทอดตลาดโดยเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่เคยแจ้งการยึดและวันขายทอดตลาดให้จำเลยทราบมาก่อนทั้งการขายทอดตลาดก็ต่ำกว่าราคาท้องตลาดทำให้จำเลยได้รับความเสียหายเท่ากับจำเลยอ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อกฎหมายและมีความหมายในเชิงปฏิเสธว่าวันที่18มิถุนายน2535อันเป็นวันขายทอดตลาดซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีได้กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนนั้นจำเลยไม่ทราบมาก่อนส่วนในข้อที่ว่าจำเลยทราบถึงการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนตั้งแต่เมื่อใดนั้นยังไม่มีข้อเท็จจริงที่ศาลจะรับฟังมาวินิจฉัยข้อกฎหมายในข้อว่าจำเลยได้ยื่นคำร้องล่วงเลยกำหนดเวลาแปดวันนับแต่วันทราบการฝ่าฝืนนั้นหรือไม่ดังบัญญัติไว้ในมาตรา296วรรคท้ายแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งทั้งจำเลยฎีกาโต้เถียงอยู่ว่าจำเลยเพิ่งทราบถึงการฝ่าฝืนดังกล่าวในวันยื่นคำร้องและคดีก็ยังมีประเด็นโต้เถียงกันเรื่องราคาแท้จริงตามราคาท้องตลาดแห่งที่ดินพิพาทอีกด้วยสมควรที่ศาลชั้นต้นจะต้องดำเนินการไต่สวนคำร้องของจำเลยต่อไปจนสิ้นกระแสความเสียก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 786/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: ราคาประเมิน, สิ่งปลูกสร้างหลังเวนคืน, และขอบเขตค่าทดแทนตามกฎหมาย
พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษกฯ (พ.ศ.2526) มิได้บัญญัติเรื่องเงินค่าทดแทนไว้เป็นพิเศษ กรณีจึงต้องเป็นไปตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 76 (2) คือ เงินค่าทดแทนจะต้องกำหนดเท่าราคาของทรัพย์สินตามราคาของทรัพย์สินตามธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่ พ.ร.ฎ. กำหนดแนวทางที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษก ตอนแขวงบางซื่อ - แขวงลาดยาว พ.ศ.2517 ใช้บังคับ คือ วันที่ 29 พฤษภาคม 2517แต่โจทก์มิได้นำสืบว่าในวันเวลาดังกล่าวที่ดินของโจทก์มีราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดจำนวนเท่าใด ที่ดินของโจทก์ทั้งแปลงมีเนื้อที่ 7 ไร่ 2 งาน 80 ตารางวาโจทก์ซื้อมาตั้งแต่ พ.ศ.2521 ในราคา 11 ล้านบาทเศษ ถูกเวนคืนเพียง 3 ไร่2 งาน 48 ตารางวา การที่จำเลยนำบัญชีกำหนดจำนวนราคาที่ดินตามราคาตลาดเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมซึ่งมีผลใช้บังคับใน พ.ศ.2524 มาเป็นเกณฑ์ในการคำนวณเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์เป็นเงิน 8,140,337 บาท อันเป็นจำนวนเงินที่ใกล้เคียงกับราคาที่ดินทั้งแปลงที่โจทก์ซื้อมา จำนวนเงินค่าทดแทนดังกล่าวจึงน่าจะไม่ต่ำกว่าราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่ พ.ร.ฎ.ดังกล่าวใช้บังคับ ค่าทดแทนที่จำเลยกำหนดจึงชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมแก่โจทก์แล้ว
การปรับปรุงที่ดิน การทำถนนและอาคารโครงเหล็กตามที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องค่าทดแทนล้วนแล้วแต่ได้กระทำขึ้นภายหลังวันที่ พ.ร.ฎ.กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษกตอนแขวงบางซื่อ - แขวงลาดยาว พ.ศ.2517 ใช้บังคับ โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์การที่โจทก์ได้รับอนุญาตให้ทำถนนจากกรมทางหลวงก็ดี และได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ก็ดี ผู้ออกใบอนุญาตเช่นว่านั้น หาได้กระทำไปในฐานะเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์หรือได้รับมอบหมายจากบุคคลดังกล่าวตามเงื่อนไขที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 74 (2)กำหนดไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างดังกล่าว
การปรับปรุงที่ดิน การทำถนนและอาคารโครงเหล็กตามที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องค่าทดแทนล้วนแล้วแต่ได้กระทำขึ้นภายหลังวันที่ พ.ร.ฎ.กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษกตอนแขวงบางซื่อ - แขวงลาดยาว พ.ศ.2517 ใช้บังคับ โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์การที่โจทก์ได้รับอนุญาตให้ทำถนนจากกรมทางหลวงก็ดี และได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ก็ดี ผู้ออกใบอนุญาตเช่นว่านั้น หาได้กระทำไปในฐานะเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์หรือได้รับมอบหมายจากบุคคลดังกล่าวตามเงื่อนไขที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 74 (2)กำหนดไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6556/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: ราคาประเมินต้องเป็นธรรม พิจารณาสภาพที่ดิน, ที่ตั้ง, และประโยชน์ที่ได้รับ
พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลห้วยโป่งและตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยองจังหวัดระยอง พ.ศ. 2527 มาตรา 5 บัญญัติ ให้จำเลยกำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่เวนคืนตามความเป็นธรรมที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ฯ โดยนอกจากคำนึงถึงราคาประเมินทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมแล้ว ยังต้องคำนึงถึงสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ประกอบกับเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนด้วย และตามพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522 มาตรา 6 กำหนดให้จำเลยมีวัตถุประสงค์แสวงหากำไรทางเศรษฐกิจอยู่ด้วย จำเลยย่อมได้รับผลประโยชน์จากที่ดินที่ถูกเวนคืนด้วย เมื่อจำเลยได้รับที่ดินของโจทก์ไปเท่าใดก็ควรจะต้องใช้ค่าทดแทนราคาให้แก่โจทก์ตามราคาของ ที่ดินของโจทก์ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ฯ จึงถือว่าเป็นราคาตามความเป็นธรรม ที่ดินพิพาทของโจทก์ด้านหนึ่งติดทะเล อีกด้านหนึ่งติดถนนซอยสาธารณะ โจทก์ได้ปรับปรุงที่ดินทั้งแปลงให้มีสภาพที่ดีขึ้นเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยทั้งที่ดินพิพาทที่ถูกเวนคืนมีเนื้อที่ 10 ไร่ 3 งาน 85 ตารางวา ไม่มากจนถึงกับมีความจำเป็นที่จะต้องกำหนดราคาให้แตกต่างกันเป็นส่วน ๆ ลดหลั่นลงไปตามหน่วยที่กำหนดไว้ในบัญชีกำหนดราคาที่ดินตามราคาที่ดินตามราคาตลาดเพื่อเป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมอำเภอเมืองระยอง ปี 2525-2527 การกำหนดค่าทดแทนที่ดินพิพาทเป็นราคาเดียวกันตลอดทั้งแปลงเท่ากับราคาที่กำหนดไว้ตามบัญชีกำหนดราคา ฯ ในส่วนที่ดินนอกเขตสุขาภิบาลฝั่งทิศใต้ถนนสุขุมวิท บริเวณชายทะเลห่างจากทะเลหรือถนนริมทะเลรัศมี 100 เมตร จึงชอบด้วยมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลห้วยโป่งและตำบลมาบตาพุดอำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง พ.ศ. 2527
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5164/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดราคาค่าทดแทนเวนคืนตามราคาตลาดจริงในวันที่ พ.ร.ฎ.ใช้บังคับ มิใช่ราคาประเมิน
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 76 บัญญัติว่า "เงินค่าทดแทนนั้น ถ้าไม่มีบทบัญญัติเป็นพิเศษใน พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ซึ่งออกตามข้อ 63 แล้ว ให้กำหนดเท่าราคาทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันดังต่อไปนี้ (1) ในวันที่ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับในกรณีที่ได้มีการตรา พ.ร.ฎ.เช่นว่านั้น... ตามบทบัญญัติดังกล่าว เห็นได้ว่า การที่กำหนดให้ใช้ค่าทดแทนตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายกันในท้องตลาดนั้น หมายถึงราคาธรรมดาที่อาจซื้อขายกันในท้องตลาดตามความเป็นจริงในวันที่ พ.ร.ฎ.ใช้บังคับ มิได้หมายความว่า ถ้าในวันที่ พ.ร.ฎ.ใช้บังคับไม่มีหลักฐานการจดทะเบียนซื้อขายกันที่สำนักงานที่ดินก็จะต้องถือเอาราคาประเมินเพื่อใช้ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเป็นเกณฑ์กำหนดค่าทดแทน ทั้งการที่จำเลยกำหนดค่าทดแทนให้โจทก์ทั้งสิบสองโดยถือเอาราคาประเมินในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมดังกล่าวเป็นเกณฑ์กำหนดราคาค่าทดแทนย่อมคงที่ตลอดเวลาที่ใช้ราคาประเมินนั้น มิใช่ราคาที่ซื้อขายกันในท้องตลาดซึ่งที่ดินของโจทก์ทั้งสิบสองอาจเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ ปรากฏว่า วันที่28 ธันวาคม 2527 ซึ่งเป็นวันที่ พ.ร.ฎ.ประกาศใช้บังคับ จำเลยนำเอาราคาประเมินเพื่อใช้ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่เริ่มใช้บังคับนับแต่วันที่ 1 มกราคม 2525มาเป็นเกณฑ์กำหนดค่าทดแทนให้แก่โจทก์ทั้งสิบสองนับว่าเป็นราคาที่แตกต่างจากราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนประกาศใช้บังคับแน่ เนื่องจากเป็นเวลาที่เนิ่นนานร่วม 3 ปีแล้ว ราคาที่ดินย่อมสูงขึ้นเรื่อย ๆ เป็นธรรมดา ราคาประเมินเพื่อใช้ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2528 จึงเป็นราคาใกล้เคียงกับราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5164/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทดแทนเวนคืนต้องประเมินตามราคาตลาด ณ วันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ มิใช่ราคาประเมินที่ใช้จดทะเบียน
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 76 บัญญัติว่า"เงินค่าทดแทนนั้น ถ้าไม่มีบทบัญญัติเป็นพิเศษใน พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ซึ่งออกตามข้อ 63 แล้ว ให้กำหนดเท่าราคาทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันดังต่อไปนี้ (1) ในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับในกรณีที่ได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาเช่นว่านั้น ตามบทบัญญัติดังกล่าวเห็นได้ว่า การที่กำหนดให้ใช้ค่าทดแทนตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายกันในท้องตลาดนั้น หมายถึงราคาธรรมดาที่อาจซื้อขายกันในท้องตลาดตามความเป็นจริงในวันที่พระราชกฤษฎีกา ใช้บังคับ มิได้หมายความว่า ถ้าในวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ ไม่มีหลักฐานการจดทะเบียนซื้อขายกันที่สำนักงานที่ดินก็จะต้องถือเอาราคาประเมินเพื่อใช้ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเป็นเกณฑ์กำหนดค่าทดแทนทั้งการที่จำเลยกำหนดค่าทดแทนให้โจทก์ทั้งสิบสองโดยถือเอาราคาประเมินในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมดังกล่าวเป็นเกณฑ์กำหนดราคาค่าทดแทนย่อมคงที่ตลอดเวลาที่ใช้ราคาประเมินนั้นมิใช่ราคาที่ซื้อขายกันในท้องตลาดซึ่งที่ดินของโจทก์ทั้งสิบสองอาจเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ ปรากฎว่า วันที่ 28 ธันวาคม2527 ซึ่งเป็นวันที่พระราชกฤษฎีกา ประกาศใช้บังคับ จำเลยนำเอาราคาประเมินเพื่อใช้ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่เริ่มใช้บังคับนับแต่วันที่ 1 มกราคม 2525 มาเป็นเกณฑ์กำหนดค่าทดแทนให้แก่โจทก์ทั้งสิบสองนับว่าเป็นราคาที่แตกต่างจากราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนประกาศใช้บังคับแน่ เนื่องจากเป็นเวลาที่เนิ่นนานร่วม3 ปีแล้ว ราคาที่ดินย่อมสูงขึ้นเรื่อย ๆ เป็นธรรมดา ราคาประเมินเพื่อใช้ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2528 จึงเป็นราคาใกล้เคียงกับราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3068/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: ราคาค่าทดแทนต้องเป็นราคาตลาด ณ วันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ ไม่ใช่ราคาตามบัญชีราคาประเมิน
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 เรื่องทางหลวง ข้อ 76 นั้นกำหนดว่า เงินค่าทดแทนที่จะจ่ายให้แก่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนนั้นต้องกำหนดเท่าราคาของทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาด ในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับเมื่อกรมโยธาธิการจำเลยที่ 1 กำหนดเงินค่าทดแทนให้โจทก์ โดยถือบัญชีกำหนดจำนวนราคาที่ดินตามราคาตลาดเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดินปี 2525-2527 อันเป็นราคาคงที่ตลอดเวลาที่ใช้บัญชีดังกล่าวจึงมิใช่ราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาด ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นได้ตามภาวะเศรษฐกิจ ย่อมไม่เป็นธรรมต่อโจทก์และไม่ชอบด้วยกฎหมาย