คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รายจ่าย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 70 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3608/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ: ค่ากรรมการและค่าซื้อน้ำมันเตา ที่พิสูจน์ได้ ถือเป็นรายจ่ายที่นำมาหักลดหย่อนได้
การที่บริษัท อ. ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของโจทก์ได้ส่งกรรมการ 2 คน มาปฏิบัติงานให้โจทก์ตามข้อตกลงในสัญญามูลฐานการลงทุนร่วม แม้ในสัญญาดังกล่าวจะมิได้กำหนดว่าโจทก์ต้องจ่ายค่าตอบแทนให้แก่กรรมการดังกล่าวคนละเท่าใด แต่เห็นได้ว่าการทำงานของกรรมการนั้นย่อมมีค่าตอบแทน กรรมการทั้งสองเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการบริหารและการตลาดมาทำงานเพื่อประโยชน์ในกิจการของโจทก์ โดยเฉพาะ การที่โจทก์จ่ายให้กรรมการคนละ 7,500 บาท ต่อเดือน จึงเป็นจำนวนตามสมควร และถือเป็นค่าใช้จ่าย ในอันที่จะนำมาคำนวณกำไรสุทธิได้ ส่วนค่าซื้อนำมันเตาจากบริษัท ซ. นั้น แม้โจทก์จะมีเพียงใบเสร็จรับเงินชั่วคราวมาแสดง แต่ก็มีชื่อและที่อยู่ของบริษัท ซ. ปรากฏอยู่ในใบเสร็จนั้น ทั้งมีลายมือชื่อของพนักงานบริษัทดังกล่าวลงชื่อเป็นผู้รับเงิน และระบุว่าได้ชำระเงินด้วยเช็ค ซึ่งเรียกเก็บเงินจากบัญชีของโจทก์แล้วกรณีรายจ่ายนี้โจทก์พิสูจน์ตัวผู้รับเงินได้ จึงเป็นรายจ่ายที่สามารถนำมาคำนวณกำไรสุทธิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3594/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ค่าใช้จ่ายทางภาษี: ใบเสร็จที่พิสูจน์ผู้รับไม่ได้ ไม่ถือเป็นรายจ่ายที่หักลดหย่อนได้
โจทก์มีใบเสร็จรับเงินซึ่งเขียนด้วยลายมือบุคคลคนเดียวกันรวม 43 ฉบับมาแสดงอ้างว่าซื้อสินค้าจากร้าน ช.และร้านท.แต่โจทก์ไม่อาจหาผู้รับเงินได้ทั้งสองรายอ้างว่าร้านค้าทั้งสองรายเลิกกิจการไปแล้ว และไม่อาจตามหาเจ้าของร้านมาแสดงตัวได้ดังนี้ โจทก์น่าจะนำสืบพยานหลักฐานอื่นประกอบให้น่าเชื่อว่าโจทก์ได้สั่งซื้อสินค้าไปจากร้านค้าทั้งสองจริง และได้ชำระเงินไปจริงด้วยวิธีการใด แต่โจทก์หาได้นำสืบอย่างหนึ่งอย่างใดไม่จึงไม่น่าเชื่อว่าจะมีการจ่ายเงินค่าสินค้าไปจริง ตามพฤติการณ์ถือได้ว่ารายจ่ายดังกล่าวเป็นรายจ่ายซึ่งผู้จ่ายพิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (18) คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์เท่ากับยืนตามความเห็นของเจ้าพนักงานประเมิน เมื่อได้ทำคำวินิจฉัยเป็นหนังสือและส่งไปยังโจทก์ผู้อุทธรณ์ ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 34 จึงชอบแล้ว เพราะตามประมวลรัษฎากร มาตรา 34 ไม่ได้บัญญัติให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต้องให้เหตุผลในคำวินิจฉัยแจ้งไปยังผู้อุทธรณ์ด้วยแต่อย่างใด รายจ่ายใดที่โจทก์มิได้อุทธรณ์โต้แย้งไว้ในชั้นอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ แสดงว่าโจทก์พอใจการประเมินในรายการเกี่ยวกับรายจ่ายเหล่านั้นแล้ว โจทก์จะยกมากล่าวอ้างในชั้นศาลว่าการประเมินรายการนั้นไม่ถูกต้องหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3410/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินกองทุนสะสมของพนักงานถือเป็นสิทธิของพนักงาน ไม่ใช่ของนายจ้าง จึงเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้
ตามระเบียบเงินกองทุนสะสมกำหนดให้โจทก์จ่ายเงินเข้ากองทุนให้แก่พนักงานโดยฝากไว้ต่อธนาคาร ระบุรายชื่อพนักงานแต่ละคนมีสิทธิในเงินกองทุน ดอกเบี้ยที่ธนาคารจ่ายให้แก่เงินฝากตามกองทุนก็ตกเป็นของพนักงาน มิใช่ตกแก่โจทก์ อีกทั้งตามระเบียบเงินกองทุนไม่มีข้อกำหนดให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะเบิกเงินจากกองทุน และไม่มีเงื่อนไขกำหนดให้เงินที่โจทก์จ่ายเข้ากองทุนแล้วกลับคืนเป็นของโจทก์อีก เงินกองทุนจึงเป็นกรรมสิทธิ์ของพนักงาน ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (2) แม้โจทก์จะเป็นผู้เบิกเงินกองทุนจากธนาคารมาจ่ายแก่พนักงาน และมีสิทธิหักเงินที่เบิกมาชำระหนี้ได้ก่อน อีกทั้งพนักงานยังไม่ได้รับเงินจากโจทก์จนกว่าจะพ้นสภาพลูกจ้างก็ตาม ก็หาใช่ว่าโจทก์มีกรรมสิทธิ์ในเงินกองทุนอยู่อีกไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3410/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายเงินเข้ากองทุนสะสมพนักงานถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ หากจ่ายโดยเด็ดขาด
การที่โจทก์จ่ายเงินเข้ากองทุนให้แก่พนักงานในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี โดยฝากไว้ต่อธนาคารในนามของเงินกองทุนสะสมพนักงานบริษัทโจทก์และมีรายชื่อ พนักงานแต่ละคนเป็นผู้มีสิทธิในเงินกองทุนนั้น ทั้งโจทก์แจ้งยอด เงินสะสมให้พนักงานทราบทุกงวดที่จ่ายเงินสะสมและให้ธนาคารแจ้งยอด เงินสะสมทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยให้พนักงานทราบทุก 6 เดือน ดอกเบี้ยที่ธนาคารจ่ายให้แก่เงินฝากตามกองทุนนั้นก็ตก ได้แก่พนักงานแต่ละคน โดยไม่มีข้อกำหนดให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะเบิกเงินจากกองทุนไปใช้เพื่อประโยชน์ของโจทก์และไม่มีเงื่อนไขกำหนดให้เงินดังกล่าวกลับคืนเป็นของโจทก์อีก ดังนั้นเมื่อโจทก์จ่ายเงินเข้ากองทุนให้เป็นกรรมสิทธิ์ของพนักงาน โดยโจทก์ไม่มีกรรมสิทธิ์ในเงินกองทุนนั้นแล้ว จึงเป็นการที่โจทก์ได้จ่ายเงินให้แก่พนักงานอันเป็นลูกจ้างของโจทก์ไปโดยเด็ด ขาด ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ตรี (2).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3410/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินกองทุนสะสมพนักงานเป็นสิทธิของลูกจ้าง ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้
ตามระเบียบเงินกองทุนสะสมกำหนดให้โจทก์จ่ายเงินเข้ากองทุนให้แก่พนักงานโดยฝากไว้ต่อธนาคาร ระบุรายชื่อพนักงานแต่ละคนมีสิทธิในเงินกองทุน ดอกเบี้ยที่ธนาคารจ่ายให้แก่เงินฝากตาม กองทุนก็ตกเป็นของพนักงาน มิใช่ตกแก่โจทก์ อีกทั้งตามระเบียบ เงินกองทุนไม่มีข้อกำหนดให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะเบิกเงินจากกองทุน และไม่มีเงื่อนไขกำหนดให้เงินที่โจทก์จ่ายเข้ากองทุนแล้วกลับคืน เป็นของโจทก์อีกเงินกองทุนจึงเป็นกรรมสิทธิ์ของพนักงาน ถือเป็น รายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (2) แม้โจทก์จะเป็นผู้เบิกเงินกองทุนจากธนาคารมาจ่ายแก่พนักงาน และมีสิทธิหักเงิน ที่เบิกมาชำระหนี้ได้ก่อน อีกทั้งพนักงาน ยังไม่ได้รับเงินจากโจทก์จนกว่าจะพ้นสภาพลูกจ้างก็ตาม ก็หาใช่ ว่าโจทก์มีกรรมสิทธิ์ในเงินกองทุนอยู่อีกไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2231/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีตามมาตรา 49 ต้องตรวจสอบรายได้และรายจ่ายที่แท้จริงก่อน มิใช่แค่ผู้เสียภาษีไม่ยื่นหรือยื่นต่ำ
การที่เจ้าพนักงานประเมินจะประเมินภาษีโจทก์ผู้มีหน้าที่เสียภาษี โดยวิธีการตามมาตรา 49 แห่ง ป.รัษฎากรได้ จะต้องเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินไม่สามารถทราบได้ว่าโจทก์มีรายได้และรายจ่ายที่แท้จริงเพียงใด หาใช่เพียงแต่เจ้าพนักงานประเมินเห็นว่าผู้มีเงินได้มิได้ยื่นรายการเงินได้หรือยื่นรายการเงินได้ต่ำกว่าจำนวนที่ควรต้องยื่น ก็มีอำนาจกำหนดจำนวนเงินได้สุทธิตามอำนาจพิเศษที่กำหนดไว้ใน มาตรา 49 โดยอนุมัติของอธิบดีกรมสรรพากรได้ทันทีไม่ดัง จะเห็นได้จากมาตรา 49 ที่ให้นำมาตรา 19 ถึง 26 มาใช้บังคับโดยอนุโลมซึ่งหมายความว่าเจ้าพนักงานประเมินจะต้องทำการตรวจสอบไต่สวนโดยวิธีการปกติตามอำนาจในมาตรา 19 และ 23 จนไม่อาจจะทราบได้ว่าผู้มีเงินได้นั้นมีรายได้และรายจ่ายที่แท้จริงเพียงใดแล้ว จึงชอบที่จะใช้อำนาจตาม มาตรา 49 ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2231/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีตามมาตรา 49 ต้องมีข้อมูลเพียงพอแสดงว่าไม่สามารถทราบรายได้และรายจ่ายที่แท้จริงได้
การที่เจ้าพนักงานประเมินจะประเมินภาษีโจทก์ โดยวิธีการตามมาตรา 49 แห่งประมวลรัษฎากรได้ จะต้องเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินไม่สามารถทราบได้ว่าโจทก์มีรายได้และรายจ่ายที่แท้จริงเพียงใดหาใช่เพียงแต่เจ้าพนักงานประเมินเห็นว่าผู้มีเงินได้มิได้ยื่นรายการเงินได้หรือยื่นรายการเงินได้ต่ำกว่าจำนวนที่ควรต้องยื่น ก็มีอำนาจกำหนดจำนวนเงินได้สุทธิตามอำนาจพิเศษที่กำหนดไว้ในมาตรา 49โดยอนุมัติของอธิบดีกรมสรรพากรได้ทันทีไม่ ดังจะเห็นได้จากตัวบทมาตรา 49 ที่ให้นำบทบัญญัติมาตรา 19 ถึง 26 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งหมายความว่า เจ้าพนักงานประเมินจะต้องทำการตรวจสอบไต่สวนโดยวิธีการปกติตามอำนาจในมาตรา 19 และ 23 จนไม่อาจทราบได้ว่าผู้มีเงินได้นั้นมีรายได้รายจ่ายที่แท้จริงเพียงใดแล้วจึงชอบที่จะใช้อำนาจตามมาตรา 49 ได้ เจ้าพนักงานประเมินนำข้อมูลที่ได้จากโจทก์และข้อมูลที่ได้จากการตรวจสอบของตนมาคิดคำนวณหาเงินได้สุทธิของโจทก์ ตามสูตรการหาเงินได้สุทธิตามมาตรา 49 ที่จำเลยที่ 1 ใช้อยู่ แล้วคำนวณหาจำนวนเงินภาษีที่โจทก์ต้องชำระ โดยไม่ปรากฏในรายงานที่จัดทำเสนอขออนุมัติอธิบดีกรมสรรพากรเพื่อใช้วิธีการตามมาตรา 49 กับโจทก์เลยว่าข้อมูลที่ได้จากการตรวจสอบไต่สวนมีทางที่จะทราบรายได้รายจ่ายที่แท้จริงของโจทก์หรือไม่ เพราะเหตุใด แม้ในชั้นพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก็ปรากฏเพียงว่ามีการนำหลักฐานที่โจทก์นำไปแสดงเพิ่มเติมมาพิจารณาปรับปรุงรายการต่าง ๆ เพื่อให้ถูกต้องตามสูตรการหาเงินได้สุทธิของโจทก์เท่านั้น แสดงว่าเจ้าพนักงานประเมินประสงค์ใช้วิธีการตามมาตรา 49 กับโจทก์มาแต่แรกเนื่องจากเห็นว่าโจทก์แสดงจำนวนเงินปันผลในแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีต่ำและทำการประเมินภาษีโจทก์โดยวิธีการตามมาตรา 49โดยมิได้คำนึงว่าข้อมูลที่ได้จากการตรวจสอบไต่สวนยังสามารถทราบรายได้และรายจ่ายที่แท้จริงของโจทก์หรือไม่ การที่โจทก์มิได้แจ้งรายได้จากเงินปันผลที่มีการหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้แล้ว และมิแจ้งรายได้จากการขายหุ้นที่ไม่ต้องนำมาคิดคำนวณเพื่อเสียภาษี ถือได้ว่าเป็นข้อผิดพลาดเพียงเล็กน้อยทั้งไม่ปรากฏว่ามีกรณีที่โจทก์ไม่นำหลักฐานที่เจ้าพนักงานประเมินต้องการมาแสดงหรือหลีกเลี่ยงไม่ยอมตอบคำถามหรือข้อสงสัยของเจ้าพนักงานประเมิน กลับปรากฏว่าโจทก์ได้จัดทำบัญชีแหล่งที่มาของเงินได้โดยละเอียดมอบให้เจ้าพนักงานประเมินพร้อมหลักฐานที่แสดงถึงที่มาของเงินได้และไปพบเจ้าพนักงานประเมินตามนัดถึง6 ครั้ง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโจทก์มิได้มีเจตนาปกปิดแหล่งที่มาของเงินได้และให้ความร่วมมือกับเจ้าพนักงานประเมินในการตรวจสอบไต่สวนเป็นอย่างดี กรณีของโจทก์เป็นกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินยังสามารถทราบได้ว่าโจทก์มีรายได้และรายจ่ายที่แท้จริงเพียงใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4924/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รายจ่ายเพื่อบริการต่างประเทศ และการเครดิตภาษีหัก ณ ที่จ่าย การประเมินภาษีที่ถูกต้องตามกฎหมาย
โจทก์มิได้จ่ายเงินให้บริษัทต่างประเทศเพื่อเป็นค่าบริการสำหรับกิจการของโจทก์ จึงมิใช่เป็นรายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะของโจทก์และมิใช่การจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทยโดยเฉพาะ ไม่ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ เงินภาษี หัก ณ ที่จ่าย ที่โจทก์ถูกหักไว้ตามมาตรา 69 ทวิแห่งประมวลรัษฎากรโจทก์มีสิทธิเอาไปเครดิตภาษีได้เฉพาะในรอบระยะเวลาบัญชีที่หักไว้เท่านั้น เมื่อโจทก์ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายก่อนรอบระยะเวลาบัญชีที่ถูกประเมิน โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเอามาเครดิตภาษีในรอบระยะเวลาบัญชีที่ถูกประเมิน การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้โจทก์เสียภาษีในจำนวนที่เอาไปเครดิตไม่ได้ด้วยรวมเป็นเงินภาษีมากกว่าที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินให้โจทก์เสียเป็นเพียงการคิดภาษีให้ถูกต้องตามกฎหมายมิได้เอาเงินได้อื่นมาคำนวณเพื่อเรียกเก็บภาษี จึงมิใช่การประเมินเรียกเก็บเพิ่มเติมในประเด็นข้ออื่น หรือใช้อำนาจของเจ้าพนักงานประเมินเรียกเก็บภาษี คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจทำได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4673/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รายจ่ายที่ไม่สมเหตุสมผลและการยินยอมชำระภาษีเหมาจ่าย ศาลยืนตามประเมินเจ้าพนักงาน
ในชั้นตรวจสอบไต่สวน หุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์มิได้นำเอกสารเกี่ยวกับรายจ่ายที่เป็นปัญหาว่าต้องห้ามหรือไม่ไปมอบให้เจ้าพนักงาน ทั้งไม่มีบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเอกสารดังกล่าวมาเบิกความรับรอง รับฟังไม่ได้ว่ามีการจ่ายจริง โจทก์จะนำจำนวนเงินที่ปรากฏในเอกสารมาถือเป็นรายจ่ายไม่ได้
หุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์ยินยอมชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 3 ของยอดค่าจ้างแรงงาน ทั้งโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าจำนวนลูกจ้างของโจทก์มีเท่าใด แต่ละคนได้ค่าจ้างเท่าใด อันจะเป็นข้อที่ทำให้เห็นว่าการหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราดังกล่าวมีจำนวนเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด เมื่อโจทก์ยินยอมให้เจ้าพนักงานคิดคำนวณหักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นการเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 3 ของยอดค่าจ้างแรงงานและเจ้าพนักงานประเมินก็ได้ประเมินตามที่โจทก์ยินยอม อันเป็นการปฏิบัติไปตามความยินยอมของโจทก์ โจทก์จะมาอ้างภายหลังว่าเป็นการไม่ชอบไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4059/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินบำเหน็จพิเศษที่จ่ายให้พนักงานไม่มีสิทธิถอนจนกว่าออกจากงาน และอาจถูกหักเป็นค่าเสียหาย ไม่ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ
โจทก์จ่ายเงินเข้าบัญชีให้พนักงาน พนักงานมีหน้าที่จะต้องรำเงินที่จ่ายให้ส่งเป็นเงินประกันตัวและเมื่อส่งเป็นเงินประกันตัวแล้ว โจทก์จะนำเข้าฝากในบัญชีประจำของพนักงานพนักงานไม่มีสิทธิถอนเงินจำนวนนี้จนกว่าจะออกจากงานและถ้าออกโดยทำความเสียหายให้แก่โจทก์ โจทก์ก็จะหักเป็นค่าเสียหาย จึงถือไม่ได้ว่าเงินดังกล่าวตกเป็นกรรมสิทธิ์ของพนักงานโดยเด็ดขาด มีลักษณะเป็นการตั้งบัญชีสำรองจ่ายเงินบำเหน็จพิเศษไว้โดยมิได้มีการจ่ายจริง จึงเป็นเงินสำรองตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(1) จะถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้
of 7