คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รื้อถอน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 396 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7467/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิภารจำยอม อายุความละเมิด การรื้อถอนสิ่งรุกล้ำ และอำนาจฟ้องร้อง
การให้การต่อสู้ว่าได้สิทธิภารจำยอมในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นโดยการครอบครองนั้นเป็นข้ออ้างที่รอนสิทธิในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นจึงต้องชัดแจ้งตามหลักเกณฑ์ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382 เมื่อจำเลยให้การเพียงว่าก่อนซื้อที่ดินโจทก์ทราบดีว่าจำเลยได้ใช้สอยประโยชน์ในที่ดินของโจทก์มาโดยตลอดและเป็นที่ดินที่ตกเป็นภารจำยอมตามกฎหมาย เนื่องจากผู้ก่อสร้างตึกแถวได้กันไว้เป็นทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณะ โดยมิได้อ้างว่าจำเลยครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลาสิบปีแล้วมาด้วย ถือไม่ได้ว่าจำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยได้สิทธิภารจำยอมในส่วนแห่งแดนกรรมสิทธิ์ที่ดินของโจทก์โดยการครอบครอง จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทในส่วนนี้ ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกปัญหาว่าจำเลยได้สิทธิภารจำยอมในที่ดินของโจทก์โดยอายุความหรือไม่ขึ้นวินิจฉัยให้เป็นการวินิจฉัยนอกเหนือจากคำให้การของจำเลยหรือนอกประเด็นข้อพิพาทต้องถือว่าปัญหาดังกล่าวตามฎีกาของจำเลยเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์
แม้จำเลยติดตั้งเครื่องปรับอากาศซึ่งรุกล้ำไปในแดนแห่งกรรมสิทธิ์ที่ดินของโจทก์เกินกว่า 10 ปี และต่อมาได้เปลี่ยนเครื่องปรับอากาศเครื่องใหม่ติดตั้งแทนและโจทก์รู้ถึงการทำละเมิดมาเกินกว่า 10 ปีแล้ว แต่การละเมิดรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์คงมีอยู่อย่างต่อเนื่องจนถึงวันฟ้องและปัจจุบันโจทก์ชอบที่จะฟ้องให้จำเลยรื้อถอนเครื่องปรับอากาศที่รุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ได้ หาอยู่ในบังคับอายุความ 1 ปีไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5496/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสร้างโรงเรือนในที่ดินผู้อื่นโดยสุจริตหลังทำสัญญาขายฝาก: สิทธิในการรื้อถอนและค่าขาดประโยชน์
จำเลยปลูกสร้างอาคารทาวน์เฮ้าส์ในที่ดินพิพาททั้งก่อนและหลังทำสัญญาขายฝากเฉพาะที่ดินพิพาทแก่โจทก์ โดยโจทก์รับรู้และยินยอมให้ปลูกสร้างและจำเลยเข้าใจว่าตนมีสิทธิที่จะปลูกสร้างได้ต่อไปจนแล้วเสร็จเพราะเชื่อว่าตนมีสิทธิไถ่ที่ดินพิพาทคืนได้ภายในเวลาที่กำหนดในสัญญาการปลูกสร้างอาคารในที่ดินพิพาทของจำเลยจึงเป็นการสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริต แต่เมื่อทำสัญญาขายฝากแล้วจำเลยไม่ไถ่คืนภายในกำหนด ที่ดินพิพาทย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อ ปัญหาว่าจำเลยต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปและต้องชดใช้ค่าขาดประโยชน์แก่โจทก์ หรือไม่ กรณีดังกล่าวไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับได้โดยตรง จึงต้อง อาศัย เทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งอันได้แก่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1310 วรรคหนึ่ง ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินได้เป็นเจ้าของโรงเรือนนั้นแต่ถ้าโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินสามารถแสดงได้ว่ามิได้มีความประมาทเลินเล่อจะบอกปัดไม่ยอมรับโรงเรือนนั้นและเรียกให้ผู้สร้างรื้อถอนไป และทำที่ดินให้เป็นตามเดิมก็ได้ตามมาตรา 1310 วรรคสอง การที่โจทก์ปล่อยให้จำเลยปลูกสร้างอาคารต่อไปทั้งที่ได้ทำสัญญาขายฝากโดยโจทก์มิได้ห้ามปราม หรือขอให้จำเลยยุติการก่อสร้างถือได้ว่าโจทก์มีส่วนประมาทเลินเล่ออยู่ด้วยในการสร้างโรงเรือนของจำเลย โจทก์จึงไม่อาจบอกปัดไม่ยอมรับโรงเรือนนั้นและเรียกให้จำเลยผู้สร้างรื้อถอนไปตามมาตรา 1310 วรรคสอง และไม่อาจเรียกค่าขาดประโยชน์จากจำเลยได้เพราะจำเลยมิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4564/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินพร้อมทางเข้าออก และขอบเขตการบังคับใช้คำพิพากษาในการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง
ขณะที่จำเลยแบ่งขายที่ดินของตนให้แก่โจทก์กับพวก จำเลยสัญญาว่าจะแบ่งที่ดินของจำเลยทำเป็นทางเข้าออกของที่ดินโจทก์สู่ทางสาธารณะอันถือได้ว่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนการซื้อขายที่ดินของจำเลย จำเลยจึงต้องผูกพันตามสัญญา ซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว และสิทธิเรียกร้องของโจทก์ดังกล่าวไม่ใช่สิทธิตามกฎหมายอันเกิดจากกรณีที่ที่ดินของโจทก์ถูกที่ดินของจำเลยล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 1349ศาลจึงไม่มีอำนาจในการกำหนดสถานที่และวิธีการทำทางโดยต้องคำนึงถึงที่ดินจำเลยให้เสียหายแต่น้อยที่สุดที่จะเป็นได้
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยเปิดทางเข้าออกและรื้อถอนบ้านเรือนที่ปลูกขวางทางเข้าออก ถือได้ว่าในส่วนคำขอให้รื้อถอนบ้านเรือนเป็นคดีฟ้องขอให้ขับไล่แม้บ้านที่ปลูกขวางทางเข้าออกเป็นบ้านของบุตรสาวจำเลย ก็ถือว่าเป็นวงศ์ญาติของจำเลย เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายชนะคดี และศาลพิพากษาให้จำเลยรื้อถอนบ้านดังกล่าวออกไป คำพิพากษาดังกล่าวย่อมใช้บังคับตลอดถึงวงศ์ญาติทั้งหลายและบริวารของจำเลยที่อยู่บนที่ดินนั้นได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 ประกอบมาตรา 145

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4564/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาต่างตอบแทนการซื้อขายที่ดิน และการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างขวางทางเข้าออก
ขณะที่จำเลยแบ่งขายที่ดินของตนให้แก่โจทก์กับพวก จำเลยสัญญาว่าจะแบ่งที่ดินของจำเลยทำเป็นทางเข้าออกของที่ดินโจทก์สู่ทางสาธารณะอันถือได้ว่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนการซื้อขายที่ดินของจำเลย จำเลยจึงต้องผูกพันตามสัญญา ซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว และสิทธิเรียกร้องของโจทก์ดังกล่าวไม่ใช่สิทธิตามกฎหมายอันเกิดจากกรณีที่ที่ดินของโจทก์ถูกที่ดินของจำเลยล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 ศาลจึงไม่มีอำนาจในการกำหนดสถานที่และวิธีการทำทางโดยต้องคำนึงถึงที่ดินจำเลยให้เสียหายแต่น้อยที่สุดที่จะเป็นได้
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยเปิดทางเข้าออกและรื้อถอนบ้านเรือนที่ปลูกขวางทางเข้าออก ถือได้ว่าในส่วนคำขอให้รื้อถอนบ้านเรือนเป็นคดีฟ้องขอให้ขับไล่ แม้บ้านที่ปลูกขวางทางเข้าออกเป็นบ้านของบุตรสาวจำเลย ก็ถือว่าเป็นวงศ์ญาติของจำเลย เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายชนะคดี และศาลพิพากษาให้จำเลยรื้อถอนบ้านดังกล่าวออกไปคำพิพากษาดังกล่าวย่อมใช้บังคับตลอดถึงวงศ์ญาติทั้งหลายและบริวารของจำเลยที่อยู่บนที่ดินนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ประกอบมาตรา 145

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 951/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โรงเรือนรุกล้ำที่ดิน: ภารจำยอมเฉพาะตัวโรงเรือน, รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างอื่น, ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครไม่ผูกพันเจ้าของที่ดิน
การสร้างโรงเรือนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1312 หมายถึงการสร้างบ้านสำหรับอยู่อาศัย ดังนั้นโรงรถ ท่อน้ำประปา ปั๊มน้ำ และแท็งก์น้ำจึงมิใช่โรงเรือนตามความหมายของบทบัญญัติมาตรานี้ และไม่ถือว่าเป็น ส่วนหนึ่งส่วนใดของโรงเรือนด้วย แม้จำเลยจะสร้างหรือทำ โดยสุจริต ก็ไม่ได้รับความคุ้มครอง จำเลยต้องรื้อถอน ออกจากที่ดินของโจทก์ทั้งสอง คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้โจทก์ทั้งสองไปจดทะเบียนภารจำยอมให้จำเลยเฉพาะส่วนที่โรงเรือนของจำเลยรุกล้ำเข้าไปในแนวเขตที่ดินของโจทก์ทั้งสอง โดยให้วัดเป็นแนวดิ่ง ตามแนวชายคาหรือส่วนใดส่วนหนึ่งที่ยื่นล้ำออกจากตัวโรงเรือน ตั้งฉากกับที่ดินของโจทก์ทั้งสองยาวตลอดแนวที่ปลูกสร้างรุกล้ำ นั้นเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์การจดทะเบียนภารจำยอมไว้ ชัดแจ้งแล้ว ไม่ก่อให้เกิดข้อโต้แย้งระหว่างโจทก์ทั้งสอง กับจำเลยซึ่งจะต้องตกลงกันอีกแต่อย่างใด และตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 นั้น ย่อมหมายถึง ให้จดทะเบียนสิทธิเป็นภารจำยอมเฉพาะตัวโรงเรือนที่ รุกล้ำเท่านั้น ไม่มีผลให้บุคคลผู้สร้างโรงเรือนรุกล้ำ เข้าไปในที่ดินของผู้อื่นได้สิทธิภารจำยอมในที่ดินของ ผู้อื่นอีก 2 เมตร โดยวัดจากตัวโรงเรือนส่วนที่รุกล้ำเข้าไป แม้จะมีข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 74 กำหนดให้อาคารที่ปลูกในที่ดินเอกชน ให้ผนังด้านที่มีหน้าต่างประตูหรือช่องระบายอากาศ อยู่ห่างเขตที่ดินได้สำหรับชั้นสองลงมาระยะไม่น้อยกว่า 2 เมตร ก็ตามก็เป็นคนละกรณีกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9515/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลูกสร้างกีดขวางทางสัญจรในทะเลสาบ: ศาลมีอำนาจสั่งรื้อถอนได้ แม้ไม่มีคำสั่งเจ้าท่า
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยปลูกสร้างอาคารเป็นสะพานทางเดินล่วงล้ำเข้าไปเหนือน้ำในน้ำของทะเลสาบสงขลาอันเป็นทางสัญจรของประชาชนโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าท่า ขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ. การเดินเรือในน่านน้ำไทย ฯ มาตรา 117 , 118 และให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากทะเลสาบสงขลา ดังนี้ ถือว่าเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว แม้จะมิได้บรรยายฟ้องว่า เจ้าท่ามีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งก็ตาม เพราะ พ.ร.บ. การเดินเรือในน่านน้ำไทย ฯ มาตรา 118 ทวิ ที่แก้ไข เป็นการกำหนดวิธีการรื้อถอนหรือแก้ไขอาคารหรือสิ่งอื่นใดที่ปลูกสร้างขึ้นโดยไม่รับอนุญาตจากเจ้าท่าเท่านั้น ไม่ใช่บทบัญญัติซึ่งเป็นองค์ประกอบของความผิดตามฟ้อง เมื่อฟังได้ว่าจำเลยปลูกสร้างกีดขวางทางสัญจรของประชาชน เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. การเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ. 2456 มาตรา 117 ศาลย่อมมีอำนาจที่จะพิพากษาในคดีอาญาคดีนี้ให้จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองเป็นผู้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่กีดขวางทางสัญจรดังกล่าวออกไปจากทะเลสาบสงขลาได้ตามมาตรา 118 ทวิ วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7696/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมในที่ดินจัดสรร การรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างกีดขวางสิทธิการใช้ทาง
เจ้าของที่ดินเดิมได้แบ่งแยกที่ดินแปลงใหญ่ออกเป็นแปลงย่อยรวม 26 แปลง แล้วจัดสรรขายแก่บุคคลทั่วไปโดยกันที่ดินส่วนที่เป็นทางพิพาท กว้าง 5 เมตร ยาว 80 เมตร เพื่อเป็นทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณะของที่ดินแปลงย่อยทุกแปลงและเป็นทางภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรดังกล่าวตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ข้อ 30 โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นผู้ซื้อที่ดินแปลงย่อยที่จัดสรรขายย่อมมีสิทธิใช้ประโยชน์ทางพิพาทได้ แม้โจทก์ที่ 1 มีทางออกสู่ถนนสาธารณะทางอื่นไม่จำเป็นต้องใช้ทางพิพาทและโจทก์ที่ 2 พักอาศัยอยู่ที่อื่นก็ตาม กรณียังไม่อาจถือได้ว่าทางพิพาทนั้นหมดประโยชน์แก่ที่ดินของโจทก์ทั้งสองที่จะใช้ออกสู่ทางสาธารณะ การที่จำเลยก่อสร้างรั้วและประตูลงในทางพิพาทย่อมเป็นการทำให้โจทก์ทั้งสองไม่ได้รับความสะดวก ถือว่าเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดที่จำเลยก่อสร้างออกไปเสียจากทางพิพาทได้
สภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับตามคำฟ้องของโจทก์เป็นการขอให้บังคับรื้อถอนรั้วประตูและหลังคาตลอดจนสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ ที่กีดขวางออกไปเสียจากทางภาระจำยอม แล้วทำทางภาระจำยอมให้กลับสู่สภาพเดิม แต่โจทก์ทั้งสอง มิได้เป็นเจ้าของผู้ถือกรรมสิทธิ์ในทางภาระจำยอมดังกล่าว และประเด็นข้อพิพาทก็คงมีเพียงว่า จำเลยได้ก่อสร้างรั้ว ประตู และสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ ในทางภาระจำยอมหรือไม่เท่านั้น และหากจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในทางพิพาทโดยการครอบครอง ทางพิพาทดังกล่าวก็ยังคงเป็นภาระจำยอมสำหรับที่ดินของโจทก์ทั้งสองเช่นเดิม คดีจึงไม่มีประโยชน์ที่จะวินิจฉัยว่า จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในทางพิพาทโดยการครอบครองแล้วหรือไม่ ฎีกาของจำเลยในปัญหาข้อนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6972/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลูกสร้างสิ่งล้ำน้ำและการลงโทษปรับตาม พ.ร.บ.เดินเรือฯ ศาลฎีกายืนโทษปรับและคำสั่งรื้อถอน
ความผิดตามพระราชบัญญัติ การเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ. 2456มาตรา 117ต้องระวางโทษปรับตามมาตรา 118 โดยคำนวณตามพื้นที่ของอาคารหรือสิ่งอื่นใดในอัตราไม่น้อยกว่าตารางเมตรละห้าร้อยบาท แต่ไม่เกินตารางเมตรละหนึ่งหมื่นบาทจำเลยปลูกสร้างอาคารเป็นสะพานทางเดินและทำเป็นศาลาท่าน้ำล่วงล้ำเข้าไปเหนือน้ำในน้ำ ของทะเลสาบเป็นเนื้อที่ 143.32 ตารางเมตร การที่ศาลล่างลงโทษปรับจำเลย 214,980 บาท เมื่อลดโทษกึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 78 แล้งคงปรับ 107,490 บาทเป็นการปรับโดยคำนวณตามพื้นที่ตารางเมตรละ 1,500 บาท นับว่าเหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งรูปคดีแล้ว พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทยฯ มาตรา 118 ทวิ ที่แก้ไขแล้วเป็นการกำหนดวิธีการรื้อถอนหรือแก้ไขอาคารหรือสิ่งอื่นใดที่ปลูกสร้างขึ้นโดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าท่าเท่านั้นไม่ใช่บทบัญญัติซึ่งเป็นองค์ประกอบของความผิดตามฟ้อง ดังนั้น แม้ฟ้องของโจทก์มิได้บรรยายว่าเจ้าท่ามีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนหรือแก้ไขสิ่งปลูกสร้างแล้ว แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งก็เป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(5) แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3574/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องขับไล่หลังโอนสิทธิ & ค่าทนายความคดีไม่มีทุนทรัพย์ การรื้อถอนบ้านโดยเจ้าพนักงานบังคับคดี
ขณะที่โจทก์เสนอคำฟ้องต่อศาลโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยซึ่งอยู่ในที่ดินโดยละเมิดสิทธิของโจทก์ แม้ภายหลังฟ้องคดีแล้ว โจทก์จดทะเบียนโอนสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่ผู้อื่นไป อำนาจฟ้องของโจทก์ที่บริบูรณ์อยู่แล้วยังคงมีผลอยู่ต่อไป คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้และอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้รวมกันต้องถือเอาอัตราค่าทนายความในคดีไม่มีทุนทรัพย์ซึ่งมีอัตรา สูงกว่ามาใช้บังคับ แต่เมื่อโจทก์มิได้ฎีกาปัญหานี้ศาลฎีกาจึงไม่อาจกำหนดค่าทนายความในศาลชั้นต้นให้จำเลย ใช้แทนให้สูงขึ้นได้ การรื้อถอนบ้านจำเลยออกจากที่ดินพิพาทนั้น หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำบังคับของศาล โจทก์อาจยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีจัดการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 ทวิ ได้อยู่แล้วโจทก์จะรื้อถอนบ้านของจำเลยเองโดยให้ศาลบังคับให้จำเลย ออกค่าใช้จ่ายหาได้ไม่ ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3486/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจบังคับคดี: ป.วิ.พ. มาตรา 296 ทวิ เป็นกฎหมายเฉพาะเหนือกว่า ป.พ.พ. มาตรา 213
โจทก์จะขอให้ศาลพิพากษาตามคำขอของโจทก์ที่ว่า ถ้าจำเลยไม่ดำเนินการรื้อถอนให้โจทก์หรือบุคคลภายนอกเป็นผู้รื้อถอน โดยให้จำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งหมดไม่ได้ เพราะเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่จะดำเนินการตามป.วิ.พ.มาตรา 296 ทวิ ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะเกี่ยวกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาจึงนำ ป.พ.พ.มาตรา 213 วรรคสอง ซึ่งเป็นกฎหมายสารบัญญัติที่มิใช่บทบัญญัติในการบังคับคดี มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ไม่ได้
of 40