พบผลลัพธ์ทั้งหมด 109 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7263/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ต้องไม่เกินกรอบอุทธรณ์ของจำเลย แม้จำเลยจะยอมรับการรุกล้ำ แต่ศาลต้องพิจารณาเหตุสุจริต
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยบุกรุกที่ดินโจทก์หรือไม่ แล้วศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยบุกรุก จำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยไม่ได้ปลูกสร้างโรงเรือนและรั้วรุกล้ำเข้าไปในที่ดินโจทก์ ส่วนข้อความในอุทธรณ์ที่จำเลยกล่าวถึงการจัดทำแผนที่วิวาทว่า โรงเรือนและรั้วของจำเลยรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ 4 ตารางวา เป็นกรณีที่จำเลยกล่าวถึงข้อที่ศาลชั้นต้นอ้างไว้ในคำพิพากษาเท่านั้น มิใช่จำเลยยอมรับข้อเท็จจริงว่าโรงเรือนและรั้วของจำเลยรุกล้ำเข้าไปในที่ดินโจทก์จริง คดียังคงมีประเด็นว่าจำเลยบุกรุกที่ดินของโจทก์หรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยไม่ได้กระทำละเมิดโดยปลูกสร้างบ้านและรั้วรุกล้ำที่ดินของโจทก์จึงไม่เป็นการวินิจฉัยเกินกว่าอุทธรณ์ของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1563/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำทางน้ำสาธารณะด้วยการก่อสร้างกำแพง เจ้าของที่ดินไม่มีสิทธิในที่ดินสาธารณะ
จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกันในที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ 16573 และ 17726 ทิศใต้ของที่ดินทั้งสองแปลงมีลำกระโดงหลอดเจ๊กโป้ตั้งอยู่ ลำกระโดงดังกล่าวชาวบ้านได้ใช้เป็นทางสัญจรทางน้ำมาเป็นเวลานับสิบ ๆ ปี โดยไม่มีผู้ใดขัดขวางหวงห้าม นอกจากนี้ทางราชการยังเคยเข้าไปขุดลอกเมื่อลำกระโดงนั้นตื้นเขิน ถือได้โดยปริยายว่าเจ้าของที่ดินได้อุทิศที่ดินส่วนที่เป็นลำกระโดงให้เป็นทางน้ำสาธารณประโยชน์แล้วลำกระโดงหลอดเจ๊กโป้ จึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(2) ซึ่งไม่อาจโอนให้กันได้ การที่จำเลยทั้งสองก่อสร้างอาคารกำแพงอิฐบล็อคคอนกรีตเสริมเหล็กรุกล้ำเข้าไปในลำกระโดงหลอดเจ๊กโป้ซึ่งเป็นทางน้ำสาธารณประโยชน์โดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นนั้นจึงเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 21และข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522ข้อ 69 และข้อ 72 วรรคแรก เมื่อปรากฏว่ากำแพงอิฐบล็อคคอนกรีตเสริมเหล็กของจำเลยทั้งสองในส่วนที่รุกล้ำเข้าไปในลำกระโดงดังกล่าวไม่สามารถที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522ข้อ 72 วรรคแรกได้ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นในเขตกรุงเทพมหานคร จึงมีอำนาจสั่งให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนอาคารกำแพงอิฐบล็อคคอนกรีตเสริมเหล็กให้พ้นพื้นที่ลำกระโดงหลอดเจ๊กโป้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5637/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลูกสร้างบ้านรุกล้ำที่ดินผู้อื่น: พิจารณาเจตนาสุจริตและสิทธิการรื้อถอน
จำเลยที่ 1 ที่ 2 ปลูกบ้านในที่ดินของโจทก์ประมาณร้อยละ 70ส่วนอีกร้อยละ 30 ปลูกอยู่ในที่ดินของจำเลยที่ 1 เมื่อปรากฏว่าโรงเรือนส่วนใหญ่อยู่ในที่ดินของโจทก์ จึงเป็นกรณีปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310,1311หาใช่เป็นกรณีปลูกสร้างโรงเรือนรุกล้ำตามมาตรา 1312 ไม่ การที่จำเลยทั้งสี่ปลูกสร้างบ้านลงในที่ดินของโจทก์ โดยรู้ว่าไม่มีสิทธิเช่นนั้น จึงเป็นการปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินของโจทก์โดยไม่สุจริต ตามมาตรา 1311 โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้จำเลยรื้อถอนบ้านส่วนที่อยู่ในที่ดินของโจทก์ออกไป และจำเลยต้องทำที่ดินให้เป็นตามเดิมแล้วส่งคืนแก่โจทก์โดยจำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย ในคดีส่วนอาญาศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง โดยวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ไม่มีเจตนากระทำความผิดอาญา หาใช่การกระทำโดยมีเจตนาสุจริตตามความหมายในคดีส่วนแพ่งไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3549/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิสภาพที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเดิมก่อนรุกล้ำ ไม่ถือเป็นการละเมิด
เดิม ส.เป็นเจ้าของที่ดินของจำเลยและของโจทก์ส.ได้ปลูกสร้างตึกแถวในที่ดินเพื่อจัดสรรขาย จำเลยรับโอนที่ดินพร้อมตึกแถวจาก ส. โดยมีกันสาดและสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นรุกล้ำที่ดินของโจทก์ จำเลยจึงมิได้ก่อสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินของโจทก์และไม่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิให้จำเลยรื้อถอนและเรียกค่าเสียหายจากจำเลย จำเลยถูกฟ้องในข้อหาต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตหลังจากที่จำเลยเข้าอยู่อาศัยในตึกแถวพิพาทแล้ว การที่จำเลยให้การรับสารภาพไม่ได้แสดงว่าจำเลยเป็นผู้ต่อเติมอาคารเองเพราะจำเลยเพิ่งรับโอนอาคารหลังจากก่อสร้างเสร็จแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ยกข้อเท็จจริงว่า จำเลยปลูกสร้างอาคารรุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยสุจริตมาวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้องโจทก์ โดยที่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้และมิใช่เป็นปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3420/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอม การใช้ที่ดินร่วมกัน และค่าเสียหายจากการรุกล้ำที่ดิน
จำเลยให้การว่า ในการจัดสรรที่ดินเจ้าของที่ดินเดิมจะจัดสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กและฝังท่อระบายน้ำในที่ดินของโจทก์เพื่อจะยกให้เป็นที่สาธารณะเจ้าของที่ดินเดิมจะโอนขายที่ดินดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่นไม่ได้ จำเลยมีสิทธิจะใช้ที่ดินนั้น ถือได้ว่าจำเลยได้ให้การต่อสู้ไว้ด้วยแล้วว่า ที่ดินของโจทก์เป็นทางสาธารณะ หรือมิฉะนั้นจำเลยก็มีสิทธิใช้ที่ดินนั้นได้โดยชอบ ดังนั้น ศาลอุทธรณ์จึงกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพิ่มเติมได้ว่าที่ดินของโจทก์เป็นทางสาธารณะหรือไม่ และเมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรก็กำหนดประเด็นข้อพิพาทเพิ่มเติมได้อีกด้วยว่า จำเลยมีสิทธิใช้ที่ดินของโจทก์เพียงใดหรือไม่ ประเด็นข้อพิพาทที่ศาลอุทธรณ์กับศาลฎีกากำหนดเพิ่มเติมดังกล่าว เมื่อโจทก์กับจำเลยต่างนำสืบพยานหลักฐานไว้แล้ว ศาลฎีกาย่อมวินิจฉัยไปได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์พิจารณาและวินิจฉัยอีก เดิมที่ดินของโจทก์และจำเลยเป็นแปลงเดียวกัน ต่อมาเจ้าของที่ดินเดิมได้แบ่งแยกออกเป็นหลายแปลงโดยประสงค์ให้ที่ดินของโจทก์เป็นถนนอันเป็นสาธารณูปโภค ซึ่งผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินที่จัดสรร ที่ดินของโจทก์จึงต้องตกอยู่ในภาระจำยอมของที่ดินของจำเลย ตามนัยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 ลงวันที่24 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 30 วรรคแรก จำเลยจึงมีสิทธิใช้ที่ดินดังกล่าวได้ในฐานะเป็นผู้มีสิทธิในภารจำยอม การที่ตึกแถวของจำเลยมีกันสาดพิพาทรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์โดยจำเลยไม่ใช่ผู้สร้าง แต่เจ้าของที่ดินเดิมสร้างพร้อมตึกแถวของจำเลยในขณะที่เจ้าของที่ดินเดิมเป็นเจ้าของทั้งที่ดินของโจทก์และของจำเลยนั้นเป็นกรณีที่ไม่มีบทกฎหมายที่จะยกขึ้นปรับแก่คดีได้โดยตรง โดยบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 ต้องนำมาตรา 1312 วรรคแรกมาใช้บังคับในฐานะที่เป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง คือ จำเลยมีสิทธิใช้ส่วนแห่งกรรมสิทธิ์ที่ดินของโจทก์ที่อยู่ใต้แนวกันสาดที่พิพาทได้ แต่ต้องเสียค่าใช้ที่ดินนั้นให้โจทก์ โดยโจทก์ต้องจดทะเบียนภารจำยอมให้จำเลย ส่วนชายคาที่พิพาทซึ่งรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์โดยจำเลยสร้างหลังจากรับโอนที่ดินพร้อมตึกแถวมาแล้วจำเลยจะอ้างว่าเป็นการสร้างรุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยสุจริตไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1189/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินสาธารณประโยชน์ การรุกล้ำลำรางสาธารณะ และอำนาจหน้าที่ของเทศบาลในการดูแลรักษา
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์มีหน้าที่ดูแลรักษาที่ดินสาธารณประโยชน์ในเขตเทศบาล จำเลยได้ปลูกสร้างอาคารเลขที่ 54/8 รุกล้ำเข้าไปในลำรางสาธารณะที่ตื้นเขินกลายสภาพเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ในเขตเทศบาล เนื้อที่ 4.4 ตารางวา ซึ่งอยู่ในความดูแลรักษาของโจทก์ขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างดังกล่าว เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้วโจทก์ไม่ต้องแสดงโฉนดหรือหลักฐานแห่งที่ดินว่าเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์อย่างไร เพราะการเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์หรือไม่เป็นไปตามสภาพของที่ดิน และโจทก์ไม่จำต้องบรรยายมาในฟ้องว่า ที่ดินสาธารณประโยชน์ทั้งหมดมีเนื้อที่เท่าใดจำเลยปลูกสร้างอาคารรุกล้ำตั้งแต่เมื่อใด มีเขตกว้างยาวเท่าใดเพราะเป็นรายละเอียดที่คู่ความอาจนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม ลำรางสาธารณประโยชน์สำหรับระบายน้ำจากภูเขาซึ่งมีมานานแล้วเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ราษฎรใช้ประโยชน์ร่วมกัน แม้ต่อมาจะไม่มีสภาพเป็นทางระบายน้ำต่อไปและไม่มีราษฎรใช้ประโยชน์เมื่อยังไม่มีการตราพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนสภาพการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ตามมาตรา 8 ประมวลกฎหมายที่ดิน ที่ดินนั้นยังเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่เช่นเดิม ที่งอกริมตลิ่ง หมายถึงที่ดินที่งอกไปจากตลิ่งตามธรรมชาติซึ่งเกิดจากการที่สายน้ำพัดพาดินจากที่อื่นมาทับถมกันริมตลิ่งจนเกิดที่งอกขึ้น มิใช่งอกจากที่อื่นเข้ามาหาตลิ่ง โจทก์มีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาสาธารณสมบัติของแผ่นดินในเขตเทศบาลตามคำสั่งของกระทรวงมหาดไทย จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยรื้อถอนอาคารส่วนที่รุกล้ำสาธารณสมบัติของแผ่นดินได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 97/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้เช่าถูกรอนสิทธิจากสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำ ผู้เช่าฟ้องบังคับให้ผู้ให้เช่าช่วงส่งมอบที่ดิน
โจทก์จำเลยเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน เดิมบิดาโจทก์จำเลยเช่าที่ดินจากกรมการศาสนามาแล้วปลูกบ้านพิพาทมานานประมาณ50 ปี โดยโจทก์จำเลยอยู่กับบิดามารดาในบ้านนี้ ต่อมาบิดาตาย โจทก์จำเลยจึงไปขอแบ่งเช่าที่ดินที่ตั้งบ้านพิพาทจากกรมการศาสนาเนื้อที่คนละ 9 ตารางวา ปรากฏว่าบ้านพิพาทบางส่วนล้ำเข้าไปในเขตที่ดินที่โจทก์เช่ามา แม้โจทก์จะมีสิทธิอยู่อาศัยในบ้านพิพาทแต่ขณะฟ้องโจทก์มิได้ครอบครองบ้านพิพาทหรือครอบครองที่ดินส่วนที่ปลูกบ้านพิพาท การที่โจทก์เสียค่าเช่าที่ดินเต็มตามจำนวนเนื้อที่ดินที่เช่าแก่กรมการศาสนาหาได้หมายความว่ากรมการศาสนาผู้ให้เช่าได้ส่งมอบการครอบครองที่ดินส่วนที่บ้านพิพาทปลูกรุกล้ำอยู่นั้นให้แก่โจทก์แล้วไม่ เมื่อโจทก์ได้รับความเสียหายเนื่องจากไม่ได้ใช้ที่ดินเต็มเนื้อที่ที่เช่ามาเป็นเรื่องโจทก์ในฐานะผู้เช่าถูกรอนสิทธิในทรัพย์สินที่เช่า ชอบที่โจทก์จะฟ้องร้องบังคับให้ผู้ให้เช่าส่งมอบที่ดินส่วนที่บ้านพิพาทปลูกรุกล้ำอยู่นั้นให้โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 549 การที่จำเลยไม่ยอมรื้อบ้านพิพาทส่วนที่รุกล้ำให้โจทก์ถือไม่ได้ว่าโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2902/2528).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5970/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรังวัดที่ดิน, สิทธิครอบครอง, การรุกล้ำที่ดิน, และขอบเขตอำนาจฟ้องแย้ง
ที่ดินเดิม มีเพียง ส.ค.1 หากต่อมาเจ้าพนักงานออก น.ส.3 ให้แต่มีจำนวนเนื้อที่ไม่ตรงกัน ถือว่าจำนวนเนื้อที่ตามที่ปรากฏใน น.ส.3 ถูกต้องกว่า เพราะการออก น.ส.3 นั้น จะต้องมีการรังวัดเนื้อที่ดิน และมีเจ้าของที่ดินข้างเคียงรับรองแนวเขตว่าถูกต้อง แม้จำเลยฟ้องแย้งโจทก์เมื่อยังไม่เกิน 1 ปี นับแต่ถูกแย่งการครอบครอง ไม่ขาดสิทธิฟ้องแย้งเพื่อเอาคืนการครอบครอง แต่เมื่อ โจทก์ปลูกสร้างโรงเรือนรุกล้ำในที่ดินของจำเลยโดยสุจริต จำเลย จึงไม่อาจบังคับให้โจทก์รื้อถอนโรงเรือนส่วนที่รุกล้ำได้ ฟ้องแย้งของจำเลยไม่ได้ขอให้โจทก์ใช้ค่าที่ดินที่โจทก์รุกล้ำ ดังนั้น การที่ศาลล่างพิพากษาให้โจทก์ใช้ค่าที่ดินแก่จำเลยจึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอฟ้องแย้ง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้โจทก์จะไม่ได้ฎีกา ศาลฎีกาก็ หยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4782/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินติดแม่น้ำ: การรุกล้ำ การสงวนสิทธิ และความชอบด้วยกฎหมายในการคัดค้านการรับรองแนวเขต
แม้ที่ดินของจำเลยที่ 1 ในส่วนที่โอบล้อมปิดหน้าที่ดินของโจทก์และมารดาจะพังลงแม่น้ำเจ้าพระยาไปแล้วก็ตาม แต่จำเลยที่ 1 ยังคงสงวนสิทธิและครอบครองที่ดินส่วนนี้อยู่โดยการนำหินไปทิ้งเพื่อกันตลิ่งพังไว้เพื่อประโยชน์ที่จะสร้างเขื่อนให้เรือเข้าเทียบท่าลำเลียงสินค้า ที่ดินของจำเลยที่ 1 ในส่วนที่พังลงแม่น้ำเจ้าพระยาจึงไม่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน โจทก์สร้างบันไดบ้านของโจทก์รุกล้ำเข้าไปในที่ดินของจำเลยที่ 1 ดังกล่าว จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อจำเลยที่ 1 และการที่ผู้แทนของจำเลยที่ 2 ไปรับรองต่อนายช่างรังวัดสำนักงานที่ดินจังหวัดว่าเจ้าของไม่ได้ครอบครองทำประโยชน์และที่ดินตกเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินแล้ว จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อความเป็นจริง และเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง จำเลยที่ 1 ชอบที่จะใช้สิทธิอันชอบด้วยกฎหมายทักท้วงจำเลยที่ 2 กรณีดังกล่าวไม่อาจถือได้ว่า จำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 472/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมโดยอายุความ การรุกล้ำทางเดิน และสิทธิในการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง
โจทก์และบริวารใช้ทางพิพาทเดินออกสู่ทางสาธารณะมากว่า 10 ปี ทางพิพาทเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์โดยอายุความ เมื่อจำเลยก่อสร้างกำแพงรุกล้ำทางพิพาท เป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไป หรือเสื่อมความสะดวก โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของสามยึดทรัพย์มีสิทธิฟ้องให้จำเลยรื้อถอนกำแพงเฉพาะส่วนที่รุกล้ำได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 และมาตรา 1390
ที่ดินโจทก์ฟ้องอ้างว่าเป็นทางภาระจำยอมในคดีก่อนเป็นคนละแปลงกับที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ จึงไม่เป็นการยื่นคำฟ้องในเรื่องเดียวกันโจทก์ฟ้องจำเลยในคดีนี้อีก ไม่เป็นการฟ้องซ้ำหรือฟ้องซ้อน
ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า ถ้าจำเลยไม่รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากทางภาระจำยอม ก็ให้โจทก์รื้อถอนเองโดยจำเลยทั้งสองเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายนั้น เป็นการไม่ชอบโจทก์ชอบที่จะขอต่อศาลให้มีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 ทวิ
ที่ดินโจทก์ฟ้องอ้างว่าเป็นทางภาระจำยอมในคดีก่อนเป็นคนละแปลงกับที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ จึงไม่เป็นการยื่นคำฟ้องในเรื่องเดียวกันโจทก์ฟ้องจำเลยในคดีนี้อีก ไม่เป็นการฟ้องซ้ำหรือฟ้องซ้อน
ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า ถ้าจำเลยไม่รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากทางภาระจำยอม ก็ให้โจทก์รื้อถอนเองโดยจำเลยทั้งสองเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายนั้น เป็นการไม่ชอบโจทก์ชอบที่จะขอต่อศาลให้มีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 ทวิ