คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ร่วมรับผิด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 54 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1195/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ การร่วมรับผิดของนายจ้างและผู้ประกอบการขนส่ง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าเจาะจงตัวจำเลยที่ 2 ว่าเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ใช้ชื่อว่าบริษัท ส.จำกัด ไม่ต้องระบุว่าผู้ใดเป็นผู้กระทำการแทนจำเลยที่ 2 การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์นั่งรถยนต์รับจ้างสามล้อที่ ก.เป็นผู้ขับขี่แล่นมาถึงบริเวณใกล้ที่พักผู้โดยสารประจำทางใกล้สะพานสท้านนภา โฉมหน้าจากสถานีขนส่งสายใต้ไปทางสามแยกท่าพระถูกรถยนต์โดยสารประจำทางสาย 81 คันหมายเลขทะเบียน กท. จ.3991 พุ่งเข้าชนนั้นย่อมชัดแจ้งเข้าใจได้แล้วว่ารถชนกันที่ใด ส่วนค่าเสียหายโจทก์ก็บรรยายฟ้องแยกชนิดประเภทความเสียหายว่าเป็นเงินส่วนละเท่าใด ความเสียหายที่ทำให้โจทก์เสียฆานประสาทก็บรรยายว่าไม่อาจรับความรู้สึกในการดมกลิ่นอีกฟ้องของโจทก์ดังกล่าวจึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายในมูลละเมิด ไม่ได้ฟ้องเกี่ยวกับสินสมรถเป็นการฟ้องตามสิทธิที่มีอยู่เป็นการเฉพาะตัว จึงไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากสามี
โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ในมูลละเมิดภายในกำหนดอายุความ แต่ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องที่เกี่ยวกับค่าเสียหายในภายหลัง คำฟ้องเพิ่มเติมของโจทก์เกี่ยวกับค่าเสียหายดังกล่าวไม่ขาดอายุความ
จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 แต่จำเลยที่ 2 ได้นำรถยนต์โดยสารประจำทางคันเกิดเหตุของจำเลยที่ 2 มาวิ่งรับส่งคนโดยสารร่วมกับจำเลยที่ 3 ในเส้นทางเดินรถของจำเลยที่ 3 พนักงานเก็บเงินค่าโดยสารของรถยนต์โดยสารประจำทางดังกล่าวก็เป็นพนักงานของจำเลยที่ 3 จึงถือได้ว่าการนำรถยนต์โดยสารของจำเลยที่ 2 เข้ามาแล่นในเส้นทางสัมปทานที่จำเลยที่ 3 ได้รับจากรัฐบาลเป็นกิจการของจำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 3 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1744-1746/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อของทั้งสองฝ่าย (รถบรรทุกลากจูงและรถโดยสาร) และการร่วมรับผิดต่อผู้โดยสาร
จำเลยที่ 1 ขับรถโดยสารด้วยความเร็วสูงแซงขึ้นหน้ารถคันอื่นไปชนรถท้ายรถบรรทุกลากจูงที่จำเลยที่ 4 เป็นผู้ควบคุมและจอดล้ำออกมาโดยไม่ได้เปิดไฟ ย่อมเป็นความประมาทเลินเล่อของทั้งสองฝ่ายไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันความรับผิดระหว่างฝ่ายรถลากจูงและรถโดยสารจึงเป็นพับกันไป แต่ทั้งสองฝ่ายต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ซึ่งโดยสารมาในรถประจำทาง เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องฝ่ายรถลากจูงให้ร่วมรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทน และมิได้ฎีกาขอให้กำหนดค่าสินไหมทดแทนสูงขึ้นฝ่ายรถโดยสารควรรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์กึ่งหนึ่งของที่ศาลอุทธรณ์กำหนด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1367/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นายจ้างร่วมรับผิดในละเมิดของลูกจ้าง: ไม่ต้องบอกกล่าวค่าเสียหายก่อนฟ้อง
จำเลยที่ 2 เป็นนายจ้างจะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่1ลูกจ้างในผลแห่งละเมิดซึ่งจำเลยที่ 1 ได้กระทำไปในทางการที่จ้างจำเลยที่ 2 จึงอยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้เช่นเดียวกับจำเลยที่ 1หนี้ที่โจทก์ฟ้องเป็นหนี้อันเกิดแต่มูลละเมิดจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้ย่อมได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาที่จำเลยที่ 1 ทำละเมิดดังนั้นโจทก์จึงไม่จำต้องบอกกล่าวและแจ้งถึงค่าเสียหายให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ก่อนฟ้องคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 991/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องฝากทรัพย์เสียหาย & ฟ้องละเมิดขาดรายละเอียด: จำเลยไม่ร่วมรับผิด
โจทก์ที่ 1 บรรยายฟ้องว่า โจทก์ที่ 1 ฝากรถยนต์ไว้กับจำเลยที่ 1 โดยมีบำเหน็จค่าฝาก จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 นำรถที่จำเลยที่ 1 รับฝากออกไปขับทำให้รถเสียหาย จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดในค่าเสียหายนี้ ส่วนฟ้องของโจทก์ที่ 2 เพียงแต่กล่าวว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 นำรถยนต์ของโจทก์ที่ 1 ไปขับประมาท เป็นเหตุให้ชนรถของโจทก์ที่ 2 เสียหาย ฟ้องของโจทก์ที่ 1 เป็นเรื่องให้บังคับตามสัญญาฝากทรัพย์ ส่วนฟ้องของโจทก์ที่ 2 เป็นเรื่องละเมิดฟ้องของโจทก์ที่ 1 ไม่เคลือบคลุม แต่สำหรับฟ้องของโจทก์ที่ 2 ไม่ได้บรรยายว่าจำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ในการงานอะไร และการที่จำเลยที่ 2 นำรถของโจทก์ที่ 1 ออกไปขับเป็นการกระทำไปในทางการที่จำเลยที่ 1 จ้าง จึงเป็นฟ้องที่ขาดข้อความสำคัญที่จะให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดในผลอันเกิดแต่มูลละเมิดที่จำเลยที่ 2 ก่อให้เกิดขึ้น ศาลจะอาศัยฟ้องเช่นนี้พิพากษาให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425 มิได้
ศาลฎีกาโดยที่ประชุมใหญ่มีมติว่า การฟ้องขอให้ผู้รับฝากทรัพย์ใช้ค่าซ่อมรถยนต์ที่เกิดการเสียหายเนื่องจากความผิดของผู้รับฝาก เป็นการฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับการฝากทรัพย์ จึงต้องห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นเวลาหกเดือนนับแต่วันสิ้นสัญญา ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 671 และถือว่าวันสิ้นสุดสัญญาคือวันที่โจทก์ที่ 1 ได้รับรถยนต์คืนมา (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 17 - 18/2519)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 533/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์, การร่วมรับผิดของนายจ้าง, และการแก้ไขคำพิพากษาที่ผิดพลาด
ในคดีส่วนอาญาศาลได้พิพากษาคดีถึงที่สุดแล้วว่า จำเลยที่ 1 ฝ่ายเดียวเป็นผู้ประมาท ดังนั้นในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจึงต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาส่วนอาญาว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้กระทำละเมิดต่อโจทก์ แต่จะนำข้อเท็จจริงดังว่านี้มาใช้ยันจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นนายจ้างจำเลยที่ 1 หาได้ไม่ เพราะจำเลยที่ 2 มิได้เป็นคู่ความในคดีอาญานั้นด้วย
การกำหนดให้คู่ความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียม เป็นดุลพินิจของศาลจะคำนวณจากทุนทรัพย์ตามฟ้อง หรือตามที่โจทก์ชนะคดีก็ได้ เมื่อปรากฏว่าจำเลยต่อสู้คดีในลักษณะประวิงคดีและไม่สุจริต ศาลจะไม่ให้จำเลยรับผิดในค่าขึ้นศาลแทนโจทก์เฉพาะทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดีแต่ให้รับผิดตามทุนทรัพย์ที่ฟ้องก็ได้
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์คือค่าปลงศพ 25,000 บาท ค่าโจทก์ขาดไร้อุปการะ 161,500 บาท ค่าซ่อมรถ 3,000 บาท แล้วพิพากษาให้จำเลยชดใช้เงิน 164,500 บาท แก่โจทก์เป็นการผิดพลาดไปโดยมิได้เอายอดเงินค่าปลงศพ 25,000 บาท มารวมคำนวณด้วย ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน และจำเลยคงฎีกาฝ่ายเดียวต่อมาดังนี้ ศาลฎีกาชอบที่จะแก้ไขข้อผิดพลาดนี้เสียให้ถูกต้องได้โดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 พิพากษาแก้ให้จำเลยชดใช้เงิน 189,000 บาท แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1502/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบทำให้เกิดการฉ้อฉล โจทก์ขอให้จำเลยร่วมรับผิดค่าฤชาธรรมเนียม
เจ้าหน้าที่ของธนาคารจำเลยที่ 3 ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบเป็นเหตุให้จำเลยอื่นฉ้อฉลโอนที่ดินอันเป็นโมฆียะต้องบอกล้าง แม้จำเลยที่ 3 ไม่ต้องร่วมรับผิดในการโอนที่ดินคืน ศาลก็ให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมที่ต้องใช้แทนโจทก์ได้ ซึ่งศาลจะเรียกจนครบจำนวนที่โจทก์ได้เสียไปเท่านั้น มิใช่คิดค่าธรรมเนียมซ้ำเป็น 2 เท่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1508/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเมื่อภรรยาแยกยื่นรายการ: เจ้าพนักงานมีอำนาจแบ่งภาษีและให้ทั้งสองฝ่ายร่วมรับผิดชอบ
ภรรยาโจทก์แยกยื่นแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้ต่างหากจากโจทก์ เมื่อรายการที่ภรรยาโจทก์ยื่นไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ การออกหมายเรียกมาไต่สวนตามนัยมาตรา 19 แห่งประมวลรัษฎากร เจ้าพนักงานย่อมออกหมายเรียกไปยังภรรยาโจทก์ผู้ยื่นรายการมาทำการไต่สวน ไม่ใช่โจทก์ แต่เมื่อไต่สวนทราบจำนวนเงินภาษีอันถูกต้องแล้ว เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจแบ่งภาษีดังกล่าวออกตามส่วนของเงินได้พึงประเมินที่โจทก์และภรรยาโจทก์แต่ละฝ่ายได้รับ โดยแจ้งให้โจทก์และภรรยาโจทก์เสียเป็นคนละส่วนได้แต่ถ้าภาษีส่วนของฝ่ายใดค้างชำระ อีกฝ่ายหนึ่งก็ต้องรับผิดในการเสียภาษีที่ค้างชำระดังกล่าว ทั้งนี้ตามมาตรา 57 ตรี วรรคสาม ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานไต่สวนภรรยาโจทก์แล้ว ปรากฏว่าภรรยาโจทก์มีภาระต้องรับผิดชำระเงินภาษีเพิ่มเติมซึ่งโจทก์ต้องร่วมรับผิดด้วย เจ้าพนักงานประเมินจึงมีหนังสือแจ้งภาษีเงินได้ให้โจทก์ชำระโดยมิได้หมายเรียกโจทก์มาไต่สวน ย่อมเป็นการชอบแล้ว เพราะมิใช่การตรวจสอบภาษี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2962/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนสามัญร่วมรับผิดในหนี้ที่เกิดจากการประกอบธุรกิจร่วมกัน แม้ใช้ชื่อห้างเดิม
ห้าง ม. เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลมีจำเลยที่ 1 เป็นผู้ดำเนินกิจการแทน ต่อมาจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 เข้าหุ้นกันตั้งห้าง ส. เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล เพื่อขยายกิจการค้าของห้าง ม. และจำเลยที่ 1 ได้ทำการค้าของห้าง ส. ต่อมาในนามของห้าง ม. โดยความยินยอมของจำเลยที่ 2 และที่ 3 การที่จำเลยทั้งสามประกอบการค้าร่วมกันดังกล่าว จึงเป็นการเข้าหุ้นส่วนกัน เมื่อจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาทรัสต์รีซีทและเปิดเล็ตเตอร์ออฟเครดิตกับโจทก์ เป็นการทำแทนห้าง ส. แต่ใช้ชื่อห้าง ม. จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจึงต้องร่วมรับผิดชำระหนี้ให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2962/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนร่วมรับผิดในหนี้ของห้างหุ้นส่วน แม้ใช้ชื่อห้างอื่นในการทำสัญญา
ห้างม.เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลมีจำเลยที่ 1 เป็นผู้ดำเนินกิจการแทน ต่อมาจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 เข้าหุ้นกันตั้งห้างส. เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล เพื่อขยายกิจการค้าของห้างม. และจำเลยที่ 1 ได้ทำการค้าของห้างส.ต่อมาในนามของห้าง ม. โดยความยินยอมของจำเลยที่ 2 และที่ 3 การที่จำเลยทั้งสามประกอบการค้าร่วมกันดังกล่าว จึงเป็นการเข้าหุ้นส่วนกัน เมื่อจำเลยที่ 1ได้ทำสัญญาทรัสต์รีซีทและเปิดเล็ตเตอร์ออฟเครดิตกับโจทก์ เป็นการทำแทนห้าง ส. แต่ใช้ชื่อห้าง ม. จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจึงต้องร่วมรับผิดชำระหนี้ให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2530/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญา 3 ฝ่าย/การชำระหนี้แก่บุคคลภายนอก/สิทธิประโยชน์ของบุคคลภายนอก/จำเลยต้องร่วมรับผิด
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาตกลงให้จำเลยที่ 1 กับพวกปลูกตึกแถวในที่ดินของจำเลยที่ 2 แล้วให้ตึกแถวตกเป็นของจำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 2 ยอมให้จำเลยที่ 1 กับพวกมีสิทธิเรียกเก็บเงินช่วยค่าก่อสร้างจากคนมาขอเช่าตึกแถวและหาคนเช่าได้ และจำเลยที่ 2 จะทำสัญญาเช่าให้มีกำหนด 15 ปี โจทก์ทำสัญญาจองตึกแถว 1 ห้องจากจำเลยที่ 1 เพื่อเช่า และเสียเงินช่วยค่าก่อสร้างให้จำเลยที่1. ดังนี้ สัญญาระหว่างจำเลยทั้งสองนั้นเป็นสัญญาที่จำเลยที่ 2 ตกลงจะชำระหนี้แก่บุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 วรรคต้น โจทก์ได้แสดงเจตนาที่จะถือเอาประโยชน์แห่งสัญญาดังกล่าวแล้ว สิทธิของโจทก์ย่อมเกิดมีขึ้นตามวรรคสอง จำเลยทั้งสองหาอาจที่จะเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธิของโจทก์ได้ไม่ ตามมาตรา 375จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดส่งมอบห้องเช่าและจดทะเบียนการเช่าให้โจทก์ ถ้าหากสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับได้ จำเลยที่ 2ก็ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
of 6